องก์ที่๑ “สืบสายธาร อารยะ ชยราชปุรี”
• วงแหวนแห่งกาลเวลา เคลื่อนผ่านตามสายกระแสแห่งแม่น้ำราชบุรีหรือแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสายน้ำแห่งชีวิต จิตและวิญญาณ ของผู้คนในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแอบอิงกับสองฟากฝั่งความอุดม และสั่งสมอารยธรรมมานานนับพันปี โดยมีหลักฐานทางโบราณคดี และโบราณสถานที่สำคัญ นั่นคือ เมืองโบราณคูบัวอันเปรียบเหมือนศูนย์กลางของชุมชนโบราณของแผ่นดินนี้ในยุควัฒนธรรมทวารวดี และสันนิษฐานว่าเป็นท่าจอดเรือสมัยโบราณ รวมทั้งหลักฐานโบราณสถานวัดโขลงสุวรรณคีรี และแหล่งโบราณคดีบนเทือกเขางู อันแสดงถึงอารยะของแผ่นดินถิ่นนี้ ที่ปรากฏภาพพระพุทธรูปแกะสลักในถ้ำต่างๆ
• สืบยุคสู่วัฒนธรรมเขมรโบราณในพุทธศตวรรษที่ ๑๖,๑๘ จึงเกิดเมือง “ชยราชบุรี” ที่สันนิษฐานว่าเป็นเมืองราชบุรีที่มีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยังมีเมืองโบราณโกสินารายณ์ โบราณสถาน จอมปราสาท และพระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี และอีกนานับความเรืองค่าที่แสดงถึงความเรืองงามของบรรพชนคนราชบุรี ซึ่งสืบทอดสร้างสรรค์ชุมชนบนผืนแผ่นดินนี้ จากรุ่นสู่รุ่น จากยุคสู่ยุค อันจารึกไว้คู่วันเวลา
• วันเวลาแห่งสายน้ำแม่กลอง จึงสะท้อนสู่คืนวันแห่งแผ่นดินที่ปวงบรรพชนคนราชบุรีทั้งสิ้น ได้สืบสานสั่งสมกันมาด้วยอารยะแห่งจิตวิญญาณ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันประกอบด้วยจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นชุมชนสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มของไทย โดยใช้สองฝั่งของแม่น้ำแม่กลองเป็นแกนหลัก จะมีเรื่องราวของสุวรรณภูมิโดยเฉพาะตั้งแต่เขตอำเภอบ้านโป่งลงมาตลอดลำน้ำแม่กลองไปถึงอัมพวา ซึ่งเป็นดินแดนแห่งราชนิกูลของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง : นิเวศวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ” ซึ่งจะมีเส้นทางที่เกี่ยวข้อง กับวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ
องก์ที่ ๒ “คุณความดี รังสฤษฎ์ สถิตหล้า”
• เสียงเพลงพิษฐานบอกกล่าววันชื่นคืนสุขแห่งวิถีชีวิตของคนราชบุรี ที่พร้อมปกป้องรักษาผืนแผ่นดิน จนล่วงผ่านสู่คืนวันแห่งแผ่นดินแตก กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าข้าศึกโจมตีจนเสียกรุงครั้งที่ ๒
• ราชบุรีครานั้น มีนายทองด้วงเป็นหลวงยกบัตร และมีภรรยาชื่อนาก ซึ่งทั้งคู่พยายามรวบรวมผู้คนไม่ให้หลบหนีเข้าป่า และป้องกันการข่มเหงจากกองทัพพม่า อีกทั้งยังให้น้องชายชื่อบุญมาไปร่วมกับกองทัพพระเจ้าตากสินในการกู้ชาติประกาศอิสรภาพได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๐
• คนราชบุรีมีความยินดี ปิติยิ่งนัก เมื่อรู้ว่านายทองด้วงและนายบุญมาได้กลายเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน
• ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ได้เกิดศึกสำคัญอันประจักษ์คู่เมืองราชบุรี นั่นคือ การสู่รบที่สมรภูมิ “บ้านนางแก้ว” อำเภอโพธาราม นายทองด้วงและนายบุญมาในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งได้ทำการร่วมรบเคียงคู่กันจนสามารถได้ชัยชนะเหนือกองทัพพม่า ยังความปลาบปลื้มปิติปรีดาแก่ชาวราชบุรี
• จนกระทั่งได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ทรงได้เป็นจอมทัพบัญชาการร่วมกับสมเด็จพระอนุชาธิราชรบกับกองทัพพม่าของพระเจ้าปดุงใน “สมครามเก้าทัพ” ที่สมรภูมิทุ่งเขางู อำเภอเมืองราชบุรี จนกองทัพพม่าแตกพ่าย และยังความสุขสงบร่มเย็นแก่ผืนแผ่นดินราชบุรีสืบมา
องก์ที่ ๓ “คุณค่าคน คุณค่ารัก จำหลักฟ้า”
• อาทิตย์ ทองทอทาบอาบขอบฟ้า วันเวลาของ “คนราชบุรี” ล่วงผ่านสู่ยุคต้นรัตนโกสินทร์อันเป็นช่วงแห่งกาลประจักษ์ถึงคุณค่าของผู้คนที่ไหลรินเข้ามาร่วมชีวิตกันเป็นหนึ่งเดียว ณ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วยชาวไทยพื้นถิ่น, ชาวไทยกะเหรี่ยง และชาวไทยทรงดำ
• สายแสงแห่งความสุข ทอทอดกลุ่ม ๘ ชาติพันธ์ ส่องทอให้เห็นประวัติความเป็นมาของแต่ละชาติพันธุ์, วัฒนธรรมประเพณี, การแต่งกาย, ภาษา, การละเล่นพื้นบ้าน และการร่วมอยู่อาศัยกันในผืนแผ่นดินแห่งนี้อย่างมีความสุขของทุกชาติพันธุ์
• ความสุขในทุกรอยยิ้มแต่งแต้มสีสันของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ประดุจสายรุ้งที่ทอประกายเหนือโค้งคุ้งฟ้าราชบุรี และไม่มีวันเลือนลับไปจากแผ่นดินนี้
“ผืนแผ่นดินแห่งความรัก และความเป็นหนึ่งวิถีแห่งห้วงหัวใจคนราชบุรี”
องก์ที่ ๔ “คุณค่าเมือง เรืองสง่า พระบารมี”
• จันทร์ทอแสงสืบสายคุณค่าสู่คน “คุณค่าเมือง” เสมือนความเรืองรองของพระอาทิตย์ที่สืบสายสู่พระจันทร์ “คุณค่าเมือง” จึงเรืองอนันต์นับแต่คืนวันแห่งการวางศิลาฤกษ์ฝังหลักเมืองในช่วงรัชกาลที่ ๒ การสร้างเขาวังในช่วงรัชกาลที่ ๔ และที่สำคัญในช่วงรัชกาลที่ ๔ คือปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุดคลองดำเนินสะดวก ซึ่งได้กลายเป็นชุมชนใหญ่ และเป็นหนึ่งในคุณค่าสำคัญประจำเมือง
• ในช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ราชบุรีได้รับการยกขึ้นเป็น “มณฑลราชบุรี” และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรีถึง ๑๐ ครั้ง และหนึ่งในนั้นคือ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเปิดสะพานรถไฟ “จุฬาลงกรณ์” ข้ามแม่น้ำแม่กลองในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และเคยเสด็จพระทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด อีกทั้งยังทรงจัดตั้งกรมทหารต่างๆ เป็นแบบอย่างชาวยุโรปและหนึ่งในนั้น อันก่อเกิดและสถิตอยู่คู่เมืองราชบุรี คือ กรมการทหารช่าง และจังหวัดทหารบกราชบุรี “ค่ายภาณุรังษี” ตามพระนาม จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช
• สืบรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสืบทอดการสร้างสรรค์พัฒนา และเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองราชบุรีหลายครั้ง เพื่อกิจการซ้อมรบเสือป่า และได้ทรงเปิดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๕๖ พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นโรงเรียนหลวง ในยุคนี้ได้มีสโสรเสือป่า, อาคารศาลากลางจังหวัด, อาคารศาลแขวงอันเป็นสถาปัตยกรรมคู่เมือง และที่สำคัญอันสถิตอยู่คือเมืองคือ การพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดซึ่งเดิมใช้สัญลักษณ์ “เขางู” ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นตราสัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ พระแสงขรรค์ชัยศรี และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานบนพานทองอันแสดงถึงความหมายแห่งชื่อเมืองราชบุรีว่า “เมืองแห่งพระราชา”
องก์ที่ ๕ “ยุคสงคราม งามน้ำใจ ไม่รู้สิ้น”
• เสียงหวูดรถไฟ เป็นหนึ่งในเสียงแห่งลมหายใจของชาวจังหวัดราชบุรี เพราะเป็นเส้นทางรถไฟสู่สายใต้
• สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น และนำไปสู่สิถีชีวิตซึ่งบอบช้ำจากผลของสงคราม แต่ก็นำไปสู่คุณค่า “ความมีน้ำใจ” ของคนราชบุรี เมื่อฝ่ายไทยยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพ และวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๘๕ หน้าประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าเป็นวันที่หน่อยทหารซากาโมโตแห่งกองพลทหารรถไฟที่ ๙ ของกองทัพญี่ปุ่น ได้ลงมือปักหลักหินบอกเลขกิโลเมตรที่ ๐ ของทางรถไฟสายไทย – พม่า หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทางรถไฟสายมรณะ” ลง ณ สถานีหนองปลาดุก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง แต่ก่อนหน้านั้นในราวสองเดือนชาวหนองปลาดุกต่างมีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะร่างเตี้ยที่เข้ามาตัดฟันต้นไม้ต้นไร่ในสวนของตน เพื่อเตรียมพื้นที่สร้างค่ายทหาร ซึ่งนอกจากจะมีค่ายพักและค่ายกักกันแล้วยังมีโรงเรือนขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นโรงซ่อมบำรุงหัวรถจักรที่ขนมาเตรียมไว้ใช้ เป็นพาหนะลำเลียงเหล่าทหารและยุทธภัณฑ์ไปยังพม่า
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ประจักษ์ถึงความรักแผ่นดินของชาวราชบุรี ในการร่วมกับขบวนการเสรีไทยเข้าต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น รวมทั้งการมีน้ำใจต่อเชลยศึกที่มาก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ทั้งที่สถานีรถไฟหนองปลาดุก และวัดนักบุญยอเซฟ บ้านโป่ง ซึ่งทำให้เชลยศึกชาวต่างชาติซาบซึ้งในน้ำใจชาวราชบุรีที่ดูแล รักษาไข้ ให้อาหารและนำเสื้อผ้าไปแจก แม้จนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสุดสงคราม ทหารญี่ปุ่นตกเป็นเชลยฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวราชบุรีก็ไม่ได้คิดแก้แค้นกลับสงสารและเห็นใจเชลยศึกญี่ปุ่นที่แออัดยัดเยียดอยู่ ณ สถานีรถไฟหนองปลาดุก จึงได้แสดงน้ำใจดูแลจนทหารญี่ปุ่นซาบซึ้งใจ
ความรักความผูกพันในสายใยแห่งน้ำใจ จึงทำให้คนราชบุรีได้รับการยกย่องว่ามีจิตใจงดงามและมีความรักที่บริสุทธิ์ ที่พร้อมจะมอบให้คนทั้งโลกที่ได้มาเยือน “ถิ่นคนงาม นามราชบุรี”
องก์ที่ ๖ “แสงแผ่นดิน แสกเวลา ฟ้าเปลี่ยนสี”
• สายลมแห่งความรัก พัดพาสู่คืนวันภายใต้ร่มฟ้าพระมหาบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอันนำมาซึ่งความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พร้อมจะดับทุกข์ให้กับชาวราชบุรี
• วันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๗ ได้เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ขึ้นที่ตลาดบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง ไฟได้ลุกลามเผาไหม้อาคารบ้านเรือนของราษฎรอย่างรวดเร็วเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาคารบ้านเรือนถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งตลาด ราษฎรจำนวนหลายร้อยหลังคาเรือนไม่มีที่อยู่อาศัย เกิดความเดือนร้อนอย่างมหันต์แก่ผู้ประสบภัยครั้งนี้ ความได้ทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยเป็นการส่วนพระองค์ โดยทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๙๗ และได้ทอดพระเนตรสถานที่เกิดเหตุ ณ ว่าที่การอำเภอบ้านโป่ง พร้อมได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของเครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ประสบอัคคีภัยยังความปลาบปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
• สายแห่งพระมหากรุณาธิคุณยังส่องทอความห่วงใย ทั้งในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ราชบุรีและวิกฤตการณ์น้ำเสียในลำน้ำแม่กลอง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาวิกฤตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดราชบุรี อันนำไปสู่การพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และก้าวไปสู่การเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ในพระบรมราชูถัมภ์ อันนำมาซึ่งความสถาพร และยั่งยืนของความเป็นดินแดนแห่งโคนมในปัจจุบัน รวมถึงโครงการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน นอกจากนั้นได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเมืองราชบุรีอเนกอนันต์ และเสด็จราชดำเนินเมืองราชบุรีหลายครั้ง ทั้งที่อำเภอจอมบึง เยี่ยมราษฎรอันเนื่องจากอุทกภัย ถวายพระกฐินต้น ณ วัดโชติทายการาม อำเภอดำเนินสะดวก พระราชทานพระพุทธรูปสี่มุมเมืองและอื่นๆ อันจารึกไว้คู่แผ่นดินราชบุรี ทำให้คืนวันของราชบุรีก้าวเข้าสู่ความเรืองรองผ่องอำไพ อันสนิทแนบแน่นในดวงใจแห่งการถวายความจงรักภักดีของชาวราชบุรีนิรันดร์กาล
องก์ที่ ๗ “เอกลักษณ์ ประจักษ์ค่า โรจน์รวี”
• ดาวทองแสงระยิบระยับประดับฟ้า ส่องทอคุณค่าแห่งมรดกเมืองเรืองอำไพ
• ทั้งคุณค่าของมรดกแห่งวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ทั้งมรดกทางอารยธรรมล้ำค่า ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสืบทอดตกสู่ผู้คนชาวราชบุรีในปัจจุบัน สมดั่งคำขวัญจังหวัดที่ว่า
“คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง
เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างความร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี ”
• นอกจากนี้มรดกทางวัฒนธรรม ปูชนียวัตถุสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ทั้งพระพุทธรูปสี่มุมเมืองหลวงพ่อแก่นจันทร์, ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเกษตรกรรม แหล่งภูมิปัญญาพื้นบ้านและอื่นๆ อีกมากมาย
• ด้วยความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ในอนาคตจังหวัดราชบุรีได้วางแนวทางโครงการ“เวนิสเอเชีย” โครงการเปิดจุดผ่อนปรน เส้นทางอันดามันโทลเวย์ เพื่อการฟื้นฟูชีวิตชนบท วัฒนธรรมไทยริมน้ำ และการสัญจรทางน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน
• คุณค่ามรดกอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี จึงเรืองงามคู่วัน คู่เวลาและก้าวสู่ความเรืองรองรุ่งฟ้าตามแผนพัฒนา และวิสัยทัศน์ของจังหวัดราชบุรี ภายใต้การบริหารงานอย่างมุ่งมั่นของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งคณะทำงานของจังหวัด ของเอกชน ของประชาชนทุกคน เพื่อให้บ้านเมืองนี้ดำรงรากเหง้าแห่งวิถีชนที่งดงามและพร้อมที่จะก้าวสู่กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างมีเอกลักษณ์
องก์ที่ ๘“เฉลิมพระชนม์ ๘๐ พรรษาพระภูมี ฉลองราชบุรีศรีราชบัลลังก์”
• วงแหวนแห่งกาลเวลา เคลื่อนผ่านสู่ปัจจุบัน ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระราชาผู้ทรงธรรม จังหวัดราชบุรีในฐานะเมืองแห่งพระราชาซึ่งผ่านวันเวลาคู่ราชบัลลังก์มาแต่อดีตสืบปัจจุบัน จึงล้อมรักผนึกใจชาวราชบุรีทั้งมวล ร่วมเฉลิมพระเกียรติสืบทอดคุณค่าแห่งใต้ฟ้าบารมีและร่วมถวายความจงรักภักดี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พร้อมทั้งตั้งจิตปณิธานในการสืบสานธำรงรักษา คุณค่าคน คุณค่าเมือง และคุณค่าของจิตใจ ให้เรืองรองรุ่งฟ้าเปล่งปรากฏเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดราชบุรีทั้งมวล ในการที่ได้เกิดมาในเมืองแห่งพระราชา นามว่า “จังหวัดราชบุรี”
• วงแหวนแห่งกาลเวลา เคลื่อนผ่านตามสายกระแสแห่งแม่น้ำราชบุรีหรือแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสายน้ำแห่งชีวิต จิตและวิญญาณ ของผู้คนในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแอบอิงกับสองฟากฝั่งความอุดม และสั่งสมอารยธรรมมานานนับพันปี โดยมีหลักฐานทางโบราณคดี และโบราณสถานที่สำคัญ นั่นคือ เมืองโบราณคูบัวอันเปรียบเหมือนศูนย์กลางของชุมชนโบราณของแผ่นดินนี้ในยุควัฒนธรรมทวารวดี และสันนิษฐานว่าเป็นท่าจอดเรือสมัยโบราณ รวมทั้งหลักฐานโบราณสถานวัดโขลงสุวรรณคีรี และแหล่งโบราณคดีบนเทือกเขางู อันแสดงถึงอารยะของแผ่นดินถิ่นนี้ ที่ปรากฏภาพพระพุทธรูปแกะสลักในถ้ำต่างๆ
• สืบยุคสู่วัฒนธรรมเขมรโบราณในพุทธศตวรรษที่ ๑๖,๑๘ จึงเกิดเมือง “ชยราชบุรี” ที่สันนิษฐานว่าเป็นเมืองราชบุรีที่มีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยังมีเมืองโบราณโกสินารายณ์ โบราณสถาน จอมปราสาท และพระโพธิสัตย์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี และอีกนานับความเรืองค่าที่แสดงถึงความเรืองงามของบรรพชนคนราชบุรี ซึ่งสืบทอดสร้างสรรค์ชุมชนบนผืนแผ่นดินนี้ จากรุ่นสู่รุ่น จากยุคสู่ยุค อันจารึกไว้คู่วันเวลา
• วันเวลาแห่งสายน้ำแม่กลอง จึงสะท้อนสู่คืนวันแห่งแผ่นดินที่ปวงบรรพชนคนราชบุรีทั้งสิ้น ได้สืบสานสั่งสมกันมาด้วยอารยะแห่งจิตวิญญาณ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันประกอบด้วยจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นชุมชนสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มของไทย โดยใช้สองฝั่งของแม่น้ำแม่กลองเป็นแกนหลัก จะมีเรื่องราวของสุวรรณภูมิโดยเฉพาะตั้งแต่เขตอำเภอบ้านโป่งลงมาตลอดลำน้ำแม่กลองไปถึงอัมพวา ซึ่งเป็นดินแดนแห่งราชนิกูลของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง : นิเวศวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ” ซึ่งจะมีเส้นทางที่เกี่ยวข้อง กับวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ
องก์ที่ ๒ “คุณความดี รังสฤษฎ์ สถิตหล้า”
• เสียงเพลงพิษฐานบอกกล่าววันชื่นคืนสุขแห่งวิถีชีวิตของคนราชบุรี ที่พร้อมปกป้องรักษาผืนแผ่นดิน จนล่วงผ่านสู่คืนวันแห่งแผ่นดินแตก กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าข้าศึกโจมตีจนเสียกรุงครั้งที่ ๒
• ราชบุรีครานั้น มีนายทองด้วงเป็นหลวงยกบัตร และมีภรรยาชื่อนาก ซึ่งทั้งคู่พยายามรวบรวมผู้คนไม่ให้หลบหนีเข้าป่า และป้องกันการข่มเหงจากกองทัพพม่า อีกทั้งยังให้น้องชายชื่อบุญมาไปร่วมกับกองทัพพระเจ้าตากสินในการกู้ชาติประกาศอิสรภาพได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๐
• คนราชบุรีมีความยินดี ปิติยิ่งนัก เมื่อรู้ว่านายทองด้วงและนายบุญมาได้กลายเป็นทหารเอกของพระเจ้าตากสิน
• ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ได้เกิดศึกสำคัญอันประจักษ์คู่เมืองราชบุรี นั่นคือ การสู่รบที่สมรภูมิ “บ้านนางแก้ว” อำเภอโพธาราม นายทองด้วงและนายบุญมาในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งได้ทำการร่วมรบเคียงคู่กันจนสามารถได้ชัยชนะเหนือกองทัพพม่า ยังความปลาบปลื้มปิติปรีดาแก่ชาวราชบุรี
• จนกระทั่งได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ทรงได้เป็นจอมทัพบัญชาการร่วมกับสมเด็จพระอนุชาธิราชรบกับกองทัพพม่าของพระเจ้าปดุงใน “สมครามเก้าทัพ” ที่สมรภูมิทุ่งเขางู อำเภอเมืองราชบุรี จนกองทัพพม่าแตกพ่าย และยังความสุขสงบร่มเย็นแก่ผืนแผ่นดินราชบุรีสืบมา
องก์ที่ ๓ “คุณค่าคน คุณค่ารัก จำหลักฟ้า”
• อาทิตย์ ทองทอทาบอาบขอบฟ้า วันเวลาของ “คนราชบุรี” ล่วงผ่านสู่ยุคต้นรัตนโกสินทร์อันเป็นช่วงแห่งกาลประจักษ์ถึงคุณค่าของผู้คนที่ไหลรินเข้ามาร่วมชีวิตกันเป็นหนึ่งเดียว ณ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วยชาวไทยพื้นถิ่น, ชาวไทยกะเหรี่ยง และชาวไทยทรงดำ
• สายแสงแห่งความสุข ทอทอดกลุ่ม ๘ ชาติพันธ์ ส่องทอให้เห็นประวัติความเป็นมาของแต่ละชาติพันธุ์, วัฒนธรรมประเพณี, การแต่งกาย, ภาษา, การละเล่นพื้นบ้าน และการร่วมอยู่อาศัยกันในผืนแผ่นดินแห่งนี้อย่างมีความสุขของทุกชาติพันธุ์
• ความสุขในทุกรอยยิ้มแต่งแต้มสีสันของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ประดุจสายรุ้งที่ทอประกายเหนือโค้งคุ้งฟ้าราชบุรี และไม่มีวันเลือนลับไปจากแผ่นดินนี้
“ผืนแผ่นดินแห่งความรัก และความเป็นหนึ่งวิถีแห่งห้วงหัวใจคนราชบุรี”
องก์ที่ ๔ “คุณค่าเมือง เรืองสง่า พระบารมี”
• จันทร์ทอแสงสืบสายคุณค่าสู่คน “คุณค่าเมือง” เสมือนความเรืองรองของพระอาทิตย์ที่สืบสายสู่พระจันทร์ “คุณค่าเมือง” จึงเรืองอนันต์นับแต่คืนวันแห่งการวางศิลาฤกษ์ฝังหลักเมืองในช่วงรัชกาลที่ ๒ การสร้างเขาวังในช่วงรัชกาลที่ ๔ และที่สำคัญในช่วงรัชกาลที่ ๔ คือปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุดคลองดำเนินสะดวก ซึ่งได้กลายเป็นชุมชนใหญ่ และเป็นหนึ่งในคุณค่าสำคัญประจำเมือง
• ในช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ราชบุรีได้รับการยกขึ้นเป็น “มณฑลราชบุรี” และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรีถึง ๑๐ ครั้ง และหนึ่งในนั้นคือ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเปิดสะพานรถไฟ “จุฬาลงกรณ์” ข้ามแม่น้ำแม่กลองในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และเคยเสด็จพระทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด อีกทั้งยังทรงจัดตั้งกรมทหารต่างๆ เป็นแบบอย่างชาวยุโรปและหนึ่งในนั้น อันก่อเกิดและสถิตอยู่คู่เมืองราชบุรี คือ กรมการทหารช่าง และจังหวัดทหารบกราชบุรี “ค่ายภาณุรังษี” ตามพระนาม จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช
• สืบรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงสืบทอดการสร้างสรรค์พัฒนา และเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองราชบุรีหลายครั้ง เพื่อกิจการซ้อมรบเสือป่า และได้ทรงเปิดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๕๖ พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นโรงเรียนหลวง ในยุคนี้ได้มีสโสรเสือป่า, อาคารศาลากลางจังหวัด, อาคารศาลแขวงอันเป็นสถาปัตยกรรมคู่เมือง และที่สำคัญอันสถิตอยู่คือเมืองคือ การพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดซึ่งเดิมใช้สัญลักษณ์ “เขางู” ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นตราสัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ พระแสงขรรค์ชัยศรี และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานบนพานทองอันแสดงถึงความหมายแห่งชื่อเมืองราชบุรีว่า “เมืองแห่งพระราชา”
องก์ที่ ๕ “ยุคสงคราม งามน้ำใจ ไม่รู้สิ้น”
• เสียงหวูดรถไฟ เป็นหนึ่งในเสียงแห่งลมหายใจของชาวจังหวัดราชบุรี เพราะเป็นเส้นทางรถไฟสู่สายใต้
• สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น และนำไปสู่สิถีชีวิตซึ่งบอบช้ำจากผลของสงคราม แต่ก็นำไปสู่คุณค่า “ความมีน้ำใจ” ของคนราชบุรี เมื่อฝ่ายไทยยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพ และวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๘๕ หน้าประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าเป็นวันที่หน่อยทหารซากาโมโตแห่งกองพลทหารรถไฟที่ ๙ ของกองทัพญี่ปุ่น ได้ลงมือปักหลักหินบอกเลขกิโลเมตรที่ ๐ ของทางรถไฟสายไทย – พม่า หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทางรถไฟสายมรณะ” ลง ณ สถานีหนองปลาดุก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง แต่ก่อนหน้านั้นในราวสองเดือนชาวหนองปลาดุกต่างมีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะร่างเตี้ยที่เข้ามาตัดฟันต้นไม้ต้นไร่ในสวนของตน เพื่อเตรียมพื้นที่สร้างค่ายทหาร ซึ่งนอกจากจะมีค่ายพักและค่ายกักกันแล้วยังมีโรงเรือนขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นโรงซ่อมบำรุงหัวรถจักรที่ขนมาเตรียมไว้ใช้ เป็นพาหนะลำเลียงเหล่าทหารและยุทธภัณฑ์ไปยังพม่า
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ประจักษ์ถึงความรักแผ่นดินของชาวราชบุรี ในการร่วมกับขบวนการเสรีไทยเข้าต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น รวมทั้งการมีน้ำใจต่อเชลยศึกที่มาก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ทั้งที่สถานีรถไฟหนองปลาดุก และวัดนักบุญยอเซฟ บ้านโป่ง ซึ่งทำให้เชลยศึกชาวต่างชาติซาบซึ้งในน้ำใจชาวราชบุรีที่ดูแล รักษาไข้ ให้อาหารและนำเสื้อผ้าไปแจก แม้จนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสุดสงคราม ทหารญี่ปุ่นตกเป็นเชลยฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวราชบุรีก็ไม่ได้คิดแก้แค้นกลับสงสารและเห็นใจเชลยศึกญี่ปุ่นที่แออัดยัดเยียดอยู่ ณ สถานีรถไฟหนองปลาดุก จึงได้แสดงน้ำใจดูแลจนทหารญี่ปุ่นซาบซึ้งใจ
ความรักความผูกพันในสายใยแห่งน้ำใจ จึงทำให้คนราชบุรีได้รับการยกย่องว่ามีจิตใจงดงามและมีความรักที่บริสุทธิ์ ที่พร้อมจะมอบให้คนทั้งโลกที่ได้มาเยือน “ถิ่นคนงาม นามราชบุรี”
องก์ที่ ๖ “แสงแผ่นดิน แสกเวลา ฟ้าเปลี่ยนสี”
• สายลมแห่งความรัก พัดพาสู่คืนวันภายใต้ร่มฟ้าพระมหาบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอันนำมาซึ่งความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พร้อมจะดับทุกข์ให้กับชาวราชบุรี
• วันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๗ ได้เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ขึ้นที่ตลาดบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง ไฟได้ลุกลามเผาไหม้อาคารบ้านเรือนของราษฎรอย่างรวดเร็วเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาคารบ้านเรือนถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งตลาด ราษฎรจำนวนหลายร้อยหลังคาเรือนไม่มีที่อยู่อาศัย เกิดความเดือนร้อนอย่างมหันต์แก่ผู้ประสบภัยครั้งนี้ ความได้ทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยเป็นการส่วนพระองค์ โดยทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๙๗ และได้ทอดพระเนตรสถานที่เกิดเหตุ ณ ว่าที่การอำเภอบ้านโป่ง พร้อมได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของเครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ประสบอัคคีภัยยังความปลาบปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
• สายแห่งพระมหากรุณาธิคุณยังส่องทอความห่วงใย ทั้งในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ราชบุรีและวิกฤตการณ์น้ำเสียในลำน้ำแม่กลอง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาวิกฤตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดราชบุรี อันนำไปสู่การพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ และก้าวไปสู่การเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ในพระบรมราชูถัมภ์ อันนำมาซึ่งความสถาพร และยั่งยืนของความเป็นดินแดนแห่งโคนมในปัจจุบัน รวมถึงโครงการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน นอกจากนั้นได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเมืองราชบุรีอเนกอนันต์ และเสด็จราชดำเนินเมืองราชบุรีหลายครั้ง ทั้งที่อำเภอจอมบึง เยี่ยมราษฎรอันเนื่องจากอุทกภัย ถวายพระกฐินต้น ณ วัดโชติทายการาม อำเภอดำเนินสะดวก พระราชทานพระพุทธรูปสี่มุมเมืองและอื่นๆ อันจารึกไว้คู่แผ่นดินราชบุรี ทำให้คืนวันของราชบุรีก้าวเข้าสู่ความเรืองรองผ่องอำไพ อันสนิทแนบแน่นในดวงใจแห่งการถวายความจงรักภักดีของชาวราชบุรีนิรันดร์กาล
องก์ที่ ๗ “เอกลักษณ์ ประจักษ์ค่า โรจน์รวี”
• ดาวทองแสงระยิบระยับประดับฟ้า ส่องทอคุณค่าแห่งมรดกเมืองเรืองอำไพ
• ทั้งคุณค่าของมรดกแห่งวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ทั้งมรดกทางอารยธรรมล้ำค่า ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสืบทอดตกสู่ผู้คนชาวราชบุรีในปัจจุบัน สมดั่งคำขวัญจังหวัดที่ว่า
“คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง
เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างความร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี ”
• นอกจากนี้มรดกทางวัฒนธรรม ปูชนียวัตถุสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ทั้งพระพุทธรูปสี่มุมเมืองหลวงพ่อแก่นจันทร์, ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเกษตรกรรม แหล่งภูมิปัญญาพื้นบ้านและอื่นๆ อีกมากมาย
• ด้วยความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ในอนาคตจังหวัดราชบุรีได้วางแนวทางโครงการ“เวนิสเอเชีย” โครงการเปิดจุดผ่อนปรน เส้นทางอันดามันโทลเวย์ เพื่อการฟื้นฟูชีวิตชนบท วัฒนธรรมไทยริมน้ำ และการสัญจรทางน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน
• คุณค่ามรดกอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี จึงเรืองงามคู่วัน คู่เวลาและก้าวสู่ความเรืองรองรุ่งฟ้าตามแผนพัฒนา และวิสัยทัศน์ของจังหวัดราชบุรี ภายใต้การบริหารงานอย่างมุ่งมั่นของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งคณะทำงานของจังหวัด ของเอกชน ของประชาชนทุกคน เพื่อให้บ้านเมืองนี้ดำรงรากเหง้าแห่งวิถีชนที่งดงามและพร้อมที่จะก้าวสู่กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างมีเอกลักษณ์
องก์ที่ ๘“เฉลิมพระชนม์ ๘๐ พรรษาพระภูมี ฉลองราชบุรีศรีราชบัลลังก์”
• วงแหวนแห่งกาลเวลา เคลื่อนผ่านสู่ปัจจุบัน ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระราชาผู้ทรงธรรม จังหวัดราชบุรีในฐานะเมืองแห่งพระราชาซึ่งผ่านวันเวลาคู่ราชบัลลังก์มาแต่อดีตสืบปัจจุบัน จึงล้อมรักผนึกใจชาวราชบุรีทั้งมวล ร่วมเฉลิมพระเกียรติสืบทอดคุณค่าแห่งใต้ฟ้าบารมีและร่วมถวายความจงรักภักดี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พร้อมทั้งตั้งจิตปณิธานในการสืบสานธำรงรักษา คุณค่าคน คุณค่าเมือง และคุณค่าของจิตใจ ให้เรืองรองรุ่งฟ้าเปล่งปรากฏเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดราชบุรีทั้งมวล ในการที่ได้เกิดมาในเมืองแห่งพระราชา นามว่า “จังหวัดราชบุรี”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น