1. คุณภาพที่พึงต้องมี (Must be quality) หมายถึง คุณภาพที่ต้องมีอย่างครบถ้วนเป็นปกติ ถ้าหากไม่มีคุณภาพอย่างนี้ในสินค้าเมื่อใด ลูกค้าจะไม่ซื้ออย่างแน่นอน เพราะไม่ปกติ
2. คุณภาพที่จูงใจซื้อ (Attractive quality) หมายถึง คุณภาพที่โดยปกติจะไม่มีอยู่ในตัวสินค้า แต่ถ้าหากมี ก็จะจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อขึ้นมาได้
3. บันทึกคุณภาพ (Control of quality records) หมายถึง บันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ เช่น การจำแนก รวบรวม การทำดัชนี การสืบค้น การเข้าแฟ้ม การจัดเก็บ เก็บรักษา และการทำลายทิ้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วต้องจัดให้มีและยึดมั่นเป็นระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกคุณภาพเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นไปได้ตามเกณฑ์ข้อกำหนด และแสดงถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลของระบบคุณภาพ
4. การตรวจประเมินคุณภาพในองค์กร (Internal quality audits) หมายถึงระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าด้วยการวางแผนและดำเนินการในการตรวจประเมินคุณภาพในองค์กร เพื่อตรวจดูว่ากิจกรรมทางด้านคุณภาพและผลลัพธ์ที่ได้ เป็นไปตามแผนดำเนินการที่วางไว้หรือไม่ และเพื่อตรวจพิจารณาดูประสิทธิผลของระบบคุณภาพ
5. ผู้แทนฝ่ายบริหารในระบบคุณภาพ (Quality Management Representative (QMR)) หมายถึง ผู้บริหารที่จะดำรงตำแหน่งเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารในระบบคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อองค์กรได้ตัดสินใจแล้วว่าจะจัดทำระบบคุณภาพมาตรฐานขึ้นใช้ในองค์กร องค์กรจะต้องเตรียมบุคลากรที่จะมาดำเนินการจัดทำและติดตั้งระบบคุณภาพให้แน่นอน โดยมีผู้รับผิดชอบที่สำคัญสองคน คือ ผู้บริหารโครงการติดตั้งระบบ และผู้บริหารที่จะดำรงตำแหน่งเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารในระบบคุณภาพ
6. คณะกรรมการคุณภาพประจำองค์กร (Quality management committee) หมายถึง ซึ่งเป็นการพัฒนามาจาก คณะกรรมการผลัดดันโครงการ (Steering committee) ในการจัดทำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 มีหน้าที่กลั่นกรองและอนุมัติใช้ แก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ในระบบคุณภาพ รวมทั้งเป็นผู้ทบทวนปรับปรุง และพัฒนาระบบคุณภาพให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
7. นโยบายคุณภาพ (quality policy) หมายถึง ถ้อยคำที่ระบุถึงแนวทางและเป้าหมาย รวมทั้งพันธกิจด้านคุณภาพขององค์กร ซึ่งแสดงออกต่อลูกค้าหรือสาธารณชน หรือแม้แต่บุคลากรภายในองค์กรของตนเอง เพื่อเป็นการบ่งบอกหรือป่าวประกาศ ถึงความมุ่งมั่นต่อคุณภาพที่จะเกิดจากการดำเนินการ รวมทั้งการที่องค์กรจะปฏิเสธอย่างแข็งขันต่อสภาพที่ตรงกันข้ามจากที่กำหนดไว้ในนโยบายนั้น
8. คู่มือคุณภาพ (quality manual) หมายถึง บทบัญญัติของระบบคุณภาพ ซึ่งระบุว่า องค์กรต้องจัดการเรื่องอะไรบ้าง เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าสิ่งที่เป็นข้อกำหนดในด้านคุณภาพจะบรรลุผลอย่างแน่นอน
9. ระเบียบปฏิบัติด้านคุณภาพ (quality procedures) หมายถึง บทบัญญัติที่แสดงวิธีดำเนินการหรือวิธีปฏิบัติ ในประเด็นหรือเรื่องราวที่ระบุไว้ในคู่มือคุณภาพ โดยระบุในทำนองที่ว่า เพื่อให้บรรลุผลไปตามแนวทางของการบริหาร หรือเมื่อมีการนำแนวทางที่กำหนดไว้มาใช้ปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม
10. แผนคุณภาพ (quality plan) หมายถึง การจัดทำแผนปฏิบัติการ ซึ่งแสดงรายละเอียดของการดดำเนินงานขององค์กร เพื่อชี้ให้เห็นว่า ข้อกำหนดของลูกค้าในด้านผลิตภัณฑ์ หรือข้อกำหนดของโครงการ หรือในสัญญา สามารถบรรลุผลเป็นรูปธรรมได้จริง ด้วยกิจกรรมที่ปรากฏในแผนคุณภาพนั้น โดยในทางปฏิบัติผู้ประกอบการอาจจัดทำแผนคุณภาพเป็นสองลักษณะ คือ แผนคุณภาพทั่วไปขององค์กร และแผนคุณภาพเฉพาะ
11. การตรวจประเมินคุณภาพ (quality audit) คือการตรวจสอบอย่างเป็นระบบและอิสระจากสิ่งที่ตรวจ เพื่อจะดูว่ากิจกรรมด้านคุณภาพและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกับแผนการดำเนินการที่ได้จัดวางไว้หรือไม่ ได้มีการดำเนินการไปตามที่ได้กำหนดหรือจัดวางไว้จริงอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่และเหมาะสมแก่การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
12. การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management (TQM)) เป็นแนวทางการจัดงานองค์กรที่เน้นคุณภาพในทุกขั้นตอนและทุกจุดของงาน เพื่อให้สามารถประกันคุณภาพของผลผลิตว่าเป็นที่พอใจของผู้รับบริการหรือลูกค้า อันจะส่งผลให้องค์กรได้รับความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
13. นักท่องเที่ยวคุณภาพ (Quality tourist) หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวตามที่ต้องการได้และขณะเดียวกันเป็นนักท่องเที่ยวที่ไม่ก่อ....
14. หลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ (Eight Quality Management Principles) หมายถึง หลักการบริหารคุณภาพ 8 อย่าง เพื่อให้สนองรับต่อ ISO9001:2000 ซึ่งเขียนไว้ในระบบบริหารคุณภาพ ISO9004 อันได้แก่ หลักการที่ 1 : Customer-Focused Organization (องค์กรที่มุ่งเน้นความสำคัญของลูกค้า) หลักการที่ 2 : Leadership (ผู้นำที่มุ่งมั่น) หลักการที่ 3 Involvement of People (การบริหารงานโดยให้พนักงานมีส่วนร่วม) หลักการที่ 4 : Process Approach (การมองอย่างเป็นกระบวนการ) หลักการที่ 5 : System Approach to Management (หลักการบริหารเชิงระบบ) หลักการที่ 6 : Continual Improvement (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) หลักการที่ 7 : Factual approach to decision making (การอาศัยข้อเท็จจริงช่วยในการตัดสินใจ) และ หลักการที่ 8 : Mutually beneficial supplier relationships (การมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ส่งมอบ)
15. การควบคุมคุณภาพมุ่งสู่ความผิดพลาดที่ศูนย์ (Zero quality control) หมายถึง แนวความคิดการลดต้นทุนการผลิตโดยการควบคุมคุณภาพการผลิตและลดปริมาณของเสีย ในกระบวนการผลิตให้เท่ากับศูนย์ [15]
16. ระบบการควบคุมคุณภาพทางสถิติ (Statistical Quality Control System(SQCS)) เป็นการใช้สถิติในการกำหนดค่าควบคุมเพื่อใช้เป็นตัวแยกชิ้นงานที่ยอมรับได้ กับชิ้นงานที่ยอมรับไม่ได้ หรือชิ้นงานเสีย จำนวนของการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ จะเป็นไปตามหลักของการเก็บสถิติ
17. ระบบคุณภาพพื้นฐานของไทย (Thai Foundation Quality System (TFQS)) เป็นโครงการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 เพื่อสร้างพื้นฐานบันไดขั้นแรกในการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมไทยขนาดกลางและเล็ก (SME) ให้สามารถพัฒนาก้าวสู่การจัดการคุณภาพระดับสากล
18. คุณภาพของการบริการ (Quality of Service-QoS) เป็นมาตราที่ใช้วัดในการรับส่งข้อมูล การยอมรับในเรื่องคุณภาพ ซึ่งเป็นระดับที่บางครั้งก็ยากแก่การกำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพบนอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างไร แต่หากพิจารณา QoS ในเชิงเทคนิค พอจะนิยามได้ด้วยพารามิเตอร์หลายๆ ตัว เช่น การมีให้ใช้งานได้ (Availability) ช่องสัญญาณที่ส่งได้ (Throughput) การหายของแพ็กเก็ต (Packet Loss) เวลาลาเทนซี่ (Latency)
19. กลุ่มคุณภาพ (Quality Control Circle (QCC)) หมายถึง กลุ่มพนักงานเล็กๆ ที่อยู่หน้างาน ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพงาน สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการได้ด้วยตนเองตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม (Autonomus) ใช้ Qc Concept และ เทคนิคในการแก้ปัญหา
20. ผู้นำคุณภาพ (Quality Leadership) เป็นผู้นำที่จะพยายามปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เกิดคุณภาพในงาน มีลักษณะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การบริหารยึดถือความจริงมากกว่าความรู้สึก มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถที่จะใช้แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
21. การควบคุมคุณภาพภายใน (Internal Quality Control) ในความหมายของงานประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง เป็นส่วนที่สถาบันกี่ศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพภายในขององค์ประกอบต่างๆ ที่จะมีผลต่อคุณภาพของบัณฑิต และต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการของการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งการมีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายในด้วย
22. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) ในความหมายของงานประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันอุดมศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบเชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่า การจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ มุ่งเน้นการตรวจสอบในคณะวิชาเป็นหลัก
23. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) ในความหมายของงานประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการประเมินผลการดำเนินการของคณะวิชาโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการใช้ระบบการประกันคุณภาพ หรือระบบควบคุมคุณภาพแล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากน้อยเพียงใด
24. รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (The Malcolm Baldrige National Quality Award -MBNQA) รางวัลนี้ เป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
25. รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) เป็นรางวัลที่เริ่มจัดตั้งขึ้นโดยการผลักดันของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางและมีหน้าที่ผลักดันและประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อประกาศเกียรติคุณองค์กรที่มีผลงานดีเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติและขยายผลการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเผยแพร่วิธีการปฏิบัติขององค์กรที่ได้รับรางวัลให้เป็นแบบอย่างต่อสาธารณะ
26. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ในความหมายของระบบ ISO 9001:2000 จะเกี่ยวข้องกับการประเมินตัวสินค้า หรือบริการโดยตรง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อที่จะให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการที่กำหนด
27. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ในความหมายของระบบ ISO 9001:2000 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อที่จะให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการที่กำหนด
28. การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) ในความหมายของระบบ ISO 9001:2000 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารคุณภาพ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อที่เพิ่มความสามารถในการผลิตหรือให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการ กล่าวคือ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดประโยชน์ในคุณลักษณะของคุณภาพ ซึ่งเป้าหมายหลัก ก็เพื่อตองสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้า
29. เครือข่ายคุณภาพของเอเชีย (Asian Network for Quality – ANQ) เป็นการรวมตัวกันของสมาคมคุณภาพจาก 12 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ อิหร่าน อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และดูไบ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มี สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย (The Standards & Quality Association of Thailand) เป็นผู้แทน
30. การตรวจสอบคุณภาพภายนอก (External Quality Audit) ในความหมายของงานประกันคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) ซึ่งแยกได้เป็น การตรวจสอบคุณภาพภายใน (Internal Quality Audit) การตรวจสอบคุณภาพภายนอก (External Quality Audit) และการรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation) ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพภายนอก (External Quality Audit) หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพโดยหน่วยงาน กลุ่มภายนอก ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเกณฑ์มาตรฐานก็ได้
31. การรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation) ในความหมายของงานประกันคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) ซึ่งแยกได้เป็น การตรวจสอบคุณภาพภายใน (Internal Quality Audit) การตรวจสอบคุณภาพภายนอก (External Quality Audit) และการรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation) ซึ่งการรับรองคุณภาพหมายถึง การรับรองหรือไม่รับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานซึ่งบางครั้งเป็นมาตรฐานทางกายภาพ เช่น พื้นที่ จำนวนอุปกรณ์ ฯลฯ
ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดี ๆ
ตอบลบหาไดเมนชันของคุณภาพได้เยอะดีจัง เก่งมากค่ะ / บุญญาพร
ตอบลบ