คำกล่าวของอาจารย์ ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 เวลาประมาณ 09.30 น. ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “การวิจัยในชั้นเรียน” ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยสำนักเลขาธิการคุรุสภา ศ.ดร.เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์ ราชบัณฑิตและประธานกรรมการคุรุสภา (อาจารย์ผมเอง) เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมี ดร.จักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา เป็นผู้กล่าวรายงาน
ศ.ดร.เสริมศักดิ์ฯ ได้ให้ข้อคิดแก่ ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ที่มาจากทั่วประเทศกว่า 1,500 คน ในพิธีเปิดการประชุม พอสรุป โดยสังเขปได้ ดังนี้
ท่านบอกว่าในต่างประเทศมีคำว่า “Banana Professor” แล้วท่านก็โยงมาถึง “Banana Teacher” ซึ่งพอจะอธิบายได้ความหมายได้คล้ายกัน คือ ต้นกล้วย (Banana) เวลาออกลูกออกผลแล้ว ต้นกล้วยก็ตาย โดยนัยยะของท่านแล้ว ท่านหมายถึง ไม่อยากให้คุณครูทุกคนเป็นอย่างต้นกล้วย เมื่อผลิตผลงานเพียงแค่ชิ้นสองชิ้นแล้วก็ตายไปจากความเป็นครู เช่น ผลงานวิจัยเพื่อเลื่อนฐานะ พอได้เลื่อนแล้ว แล้วก็หยุดนิ่ง ไม่ทำอะไรต่อเลย ครูต้องมั่นพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้อยู่เสมอ.....
ท่านกล่าวต่อว่า ครูในปัจจุบันมักจะมุ่งพัฒนาผู้อื่น จนลืมพัฒนาตัวเอง ครูควรตระหนักและต้องพัฒนาตัวเองบ้าง ก็เพราะว่า เด็กที่เข้ามาเรียนกับเราจะมีกองทุนติดตัวมาด้วยทุกคนแต่ไม่เท่ากัน กองทุนที่พูดถึงนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง แต่หมายถึง กองทุนความรู้ ซึ่งแต่ละคนจะมีกองทุนความรู้ที่แตกต่างกันไป เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ อาทิ วิธีการอบรมสอนสั่งของพ่อแม่ สภาวะแวดล้อมทางครอบครัว สังคมที่แตกต่างกัน ฯลฯ ดังนั้น ครูจึงต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตัวเองเพื่อหาวิธีการสั่งสอนลูกศิษย์ที่มีกองทุนแตกต่างกันเหล่านี้ อยู่เสมอ.....
ขอให้คุณครูเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ คือ อย่าคิดแบบแยกส่วน ขอให้คิดแบบเรื่องเดียวกัน เช่น เด็กในห้องเรียนของเรา คนดี คือ ดีมาก/เลวน้อย คนไม่ดี คือ เลวมาก/ดีน้อย แล้วถามต่อว่า คนดีนั้น คือ ดีเรื่องอะไร? ไม่ว่าครูจะคิดอย่างไร ดีมากเลวน้อยหรือดีน้อยเลวมาก นั้น ล้วนแล้วขึ้นอยู่กับวิธีคิดและมุมมองของครู ว่าจะเอาอะไรมาวัดว่า “เป็นคนดี”
ในยุคสังคมที่ค่อนข้างสับสนเสื่อมถอยทางคุณธรรมและจริยธรรม อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ ฝากให้คุณครูสอนเด็ก ใน 3 เรื่อง คือ
1. สอนให้เด็กรู้จักตนเอง คนที่ไม่ค่อยรู้จักตนเอง มักเป็นคนที่ชอบสร้างปัญหาเสมอ
2. สอนให้เด็กรู้จักพอเสียบ้าง รู้จักว่าจะอุปโภคและบริโภคขนาดไหนที่พอดี อะไรคือความอยาก อะไรคือความจำเป็น
3. สอนให้เด็กรู้จักบุญคุณ แต่บุญคุณนี้ให้คิดในทางกลับกัน เช่น เมื่อเราให้เขา อย่าคิดว่าเรามีบุญคุณต่อเขา และเขาต้องตอบแทนบุญคุณให้เรา ต้องคิดใหม่ว่า หากไม่มีเขา เราจะให้ใคร นับเป็นบุญคุณอย่างยิ่งที่มีเขา
เรื่องสุดท้ายขอให้ครูทุกคน มองโลกในแง่ดีไว้เสมอแล้วเราจะดีเอง เช่น ทำไมมีน้ำให้ผมดื่มแค่ครึ่งแก้ว แล้วเกิดอารมณ์เสีย โมโห แต่หากเราคิดใหม่ว่า “ยังมีน้ำเหลืออยู่ให้ผมดื่มอีกตั้งครึ่งแก้ว นับเป็นโชคดีของผมเสียเหลือเกิน”
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 เวลาประมาณ 09.30 น. ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “การวิจัยในชั้นเรียน” ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยสำนักเลขาธิการคุรุสภา ศ.ดร.เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์ ราชบัณฑิตและประธานกรรมการคุรุสภา (อาจารย์ผมเอง) เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมี ดร.จักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา เป็นผู้กล่าวรายงาน
ศ.ดร.เสริมศักดิ์ฯ ได้ให้ข้อคิดแก่ ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ที่มาจากทั่วประเทศกว่า 1,500 คน ในพิธีเปิดการประชุม พอสรุป โดยสังเขปได้ ดังนี้
ท่านบอกว่าในต่างประเทศมีคำว่า “Banana Professor” แล้วท่านก็โยงมาถึง “Banana Teacher” ซึ่งพอจะอธิบายได้ความหมายได้คล้ายกัน คือ ต้นกล้วย (Banana) เวลาออกลูกออกผลแล้ว ต้นกล้วยก็ตาย โดยนัยยะของท่านแล้ว ท่านหมายถึง ไม่อยากให้คุณครูทุกคนเป็นอย่างต้นกล้วย เมื่อผลิตผลงานเพียงแค่ชิ้นสองชิ้นแล้วก็ตายไปจากความเป็นครู เช่น ผลงานวิจัยเพื่อเลื่อนฐานะ พอได้เลื่อนแล้ว แล้วก็หยุดนิ่ง ไม่ทำอะไรต่อเลย ครูต้องมั่นพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้อยู่เสมอ.....
ท่านกล่าวต่อว่า ครูในปัจจุบันมักจะมุ่งพัฒนาผู้อื่น จนลืมพัฒนาตัวเอง ครูควรตระหนักและต้องพัฒนาตัวเองบ้าง ก็เพราะว่า เด็กที่เข้ามาเรียนกับเราจะมีกองทุนติดตัวมาด้วยทุกคนแต่ไม่เท่ากัน กองทุนที่พูดถึงนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง แต่หมายถึง กองทุนความรู้ ซึ่งแต่ละคนจะมีกองทุนความรู้ที่แตกต่างกันไป เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ อาทิ วิธีการอบรมสอนสั่งของพ่อแม่ สภาวะแวดล้อมทางครอบครัว สังคมที่แตกต่างกัน ฯลฯ ดังนั้น ครูจึงต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตัวเองเพื่อหาวิธีการสั่งสอนลูกศิษย์ที่มีกองทุนแตกต่างกันเหล่านี้ อยู่เสมอ.....
ขอให้คุณครูเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ คือ อย่าคิดแบบแยกส่วน ขอให้คิดแบบเรื่องเดียวกัน เช่น เด็กในห้องเรียนของเรา คนดี คือ ดีมาก/เลวน้อย คนไม่ดี คือ เลวมาก/ดีน้อย แล้วถามต่อว่า คนดีนั้น คือ ดีเรื่องอะไร? ไม่ว่าครูจะคิดอย่างไร ดีมากเลวน้อยหรือดีน้อยเลวมาก นั้น ล้วนแล้วขึ้นอยู่กับวิธีคิดและมุมมองของครู ว่าจะเอาอะไรมาวัดว่า “เป็นคนดี”
ในยุคสังคมที่ค่อนข้างสับสนเสื่อมถอยทางคุณธรรมและจริยธรรม อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ ฝากให้คุณครูสอนเด็ก ใน 3 เรื่อง คือ
1. สอนให้เด็กรู้จักตนเอง คนที่ไม่ค่อยรู้จักตนเอง มักเป็นคนที่ชอบสร้างปัญหาเสมอ
2. สอนให้เด็กรู้จักพอเสียบ้าง รู้จักว่าจะอุปโภคและบริโภคขนาดไหนที่พอดี อะไรคือความอยาก อะไรคือความจำเป็น
3. สอนให้เด็กรู้จักบุญคุณ แต่บุญคุณนี้ให้คิดในทางกลับกัน เช่น เมื่อเราให้เขา อย่าคิดว่าเรามีบุญคุณต่อเขา และเขาต้องตอบแทนบุญคุณให้เรา ต้องคิดใหม่ว่า หากไม่มีเขา เราจะให้ใคร นับเป็นบุญคุณอย่างยิ่งที่มีเขา
เรื่องสุดท้ายขอให้ครูทุกคน มองโลกในแง่ดีไว้เสมอแล้วเราจะดีเอง เช่น ทำไมมีน้ำให้ผมดื่มแค่ครึ่งแก้ว แล้วเกิดอารมณ์เสีย โมโห แต่หากเราคิดใหม่ว่า “ยังมีน้ำเหลืออยู่ให้ผมดื่มอีกตั้งครึ่งแก้ว นับเป็นโชคดีของผมเสียเหลือเกิน”
เข้ามาอ่านแล้วครับ น่าสนใจกับข้อคิดเรื่อง banana professor
ตอบลบ