หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทบทวนการกระทำของทักษิณกับพวก

ขณะที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ เป็นวันที่ 25 ส.ค.2551 เวลาประมาณ 13.00 น. ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 13 ชั่วโมง ที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นัดพันธมิตรทั่วประเทศไทย มาร่วมกันชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในเช้าวันที่ 26 ส.ค.2551 เวลา 07.00 น. ณ บริเวณสะพานมัฆวานและถนนราชดำเนิน โดยประกาศว่าจะเป็นการชุมนุมครั้งสุดท้าย ไม่ชนะไม่เลิก

ข้าพเจ้าได้มานั่งทบทวนแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนี้ ล้วนมีสาเหตุมาจาก คนๆ เดียวที่ชื่อ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั่นเอง ข้าพเจ้าจึงได้นำ มติคณะกรรมการ คตส.เรื่องการอายัดทรัพย์ของนายทักษิณฯ มาให้ท่านอ่านกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันการลืมและเป็นอุทธาหรณ์เตือนใจให้แก่คนรุ่นต่อๆ ไป ดังนี้

____________


****คำแถลง มติ คตส.****
มติคณะกรรมการตรวจสอบ
เรื่อง ให้อายัดทรัพย์ของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กับพวก
ด้วยผลจากการตรวจสอบและไต่สวนในคดีต่างๆ ของ คณะกรรมการตรวจสอบ (คตส.) ได้ลุล่วงถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ได้ทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ดังนี้
พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบมีพยานหลักฐานจนถึงขั้นถูกกล่าวหา ๕ คดี และ เกิดความเสียหายต่อรัฐดังนี้
๑. การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินมูลค่าตามสัญญา ๗๗๒ ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย


๒. การจัดซื้อกล้ายางมูลค่าตามสัญญา ๑,๔๔๐ ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๓. การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX ๙๐๐๐ รัฐเสียหายประมาณ๑,๕๐๐ ล้านบาท

๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท

๕. การให้เงินกู้โดยทุจริตของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย รัฐเสียหายประมาณ ๕,๑๘๕ ล้านบาท
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติมีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ยังคงถือไว้ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา แต่ได้ให้บุตร ญาติ หรือบุคคลผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และยังได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการชินคอร์ปหลายประการ ดังนี้
๑. แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน ประมาณ ๗๑,๖๖๗ ล้านบาท
๒. แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียหายประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท
๔. ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่จำเป็นเป็นเหตุให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)รัฐเสียหาย เป็นจำนวนเงินประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
๕. สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท
๖. อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาวเทียมในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เป็นอันมาก
การใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเองดังกล่าว มีทั้งที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เกี่ยวข้องสั่งการโดยตรง หรือละเว้นไม่กำกับสั่งการดูแลมีความพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนตรวจสอบตามกฎหมายทุกครั้ง ยังผลเป็นประโยชน์อัน มิควรได้ตกเป็นมูลค่าแฝงฝังอยู่ในหุ้นของตน จนมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างผิดปกติตลอดเวลา
ในท้ายที่สุดก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเพิ่มเติมให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทด้านกิจการโทรคมนาคม จากเดิมไม่เกินร้อยละ ๒๕ เป็นไม่เกินร้อยละ ๕๐ พร้อม ๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นที่มีชื่อครอบครัวและบริวารของตนเป็นเจ้าของอยู่ร้อยละ ๔๙.๒ ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งเมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๙ ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นดังกล่าวให้แก่กองทุนเทมาเส็กในวันจันทร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๙ ได้เงินจากการขายหุ้นทั้งหมด เป็นจำนวน ๗๓,๒๗๑ ล้านบาท
คำสั่งอายัดทรัพย์คณะกรรมการตรวจสอบ จึงเห็นว่า ผลการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบและไต่สวนดังกล่าวในปัจจุบัน มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ และเนื่องจากได้พบว่าเงินบางส่วนได้ถูกยักย้ายถ่ายโอนแล้ว เช่นเงินค่าขายหุ้นชินคอร์ปก็คงเหลืออยู่ในบัญชีประมาณ ๕๒,๘๘๔ ล้านบาทเท่านั้น

อาศัยอำนาจตามความในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ ๕ วรรคสอง และข้อ ๘ จึงมีมติให้อายัดเงิน ในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดังนี้
คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.๐๑๖/๒๕๕๐ ให้อายัดบัญชีเงินฝากที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มทุนเทมาเส็คดังนี้
๑. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๑๖๐๔-๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๒. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๒๗๗๒๒-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๓.บัญชีเลขที่ ๒๐๘-๑-๐๐๐๒๒-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเซ็นจูรี่
๔. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๓๑๐๐๘-๘ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๕. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๒-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๖. บัญชีเลขที่ ๐๐๑-๑-๕๕๒๓๒-๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม
๗. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๔๑๕๒๔-๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๘. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๒๖๓๑-๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๙. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๒๒๒๒-๐ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๐. บัญชีเลขที่ ๐๐๑-๑-๕๕๑๘๘-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม
๑๑. บัญชีเลขที่ ๐๑๔-๑-๑๑๓๐๐-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาพหลโยธิน
๑๒. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๗๘๑๘๘-๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๓. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๑๑๘๘-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๔. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๕-๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๕. บัญชีเลขที่ ๐๑๔-๒-๔๑๓๓๕-๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน
๑๖. กองทุนธนบดี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในนามนายพานทองแท้ ชินวัตร
๑๗. กองทุนธนบดี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในนามนางสาวพินทองทา ชินวัตร
๑๘. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๒-๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๑๙. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๓-๐ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๒๐. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๒๘๗-๙ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๒๑. บัญชีเลขที่ ๑๔๖-๒-๓๑๐๘๑-๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร

*********************************

คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ
ที่ คตส. ๐๑๗/๒๕๕๐

ให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
ทุกบัญชีเงินฝาก ทุกธนาคาร และทุกสถาบันการเงิน

การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งทั้งสองนี้ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
อนึ่ง บุคคลใดกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งดังกล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันออกคำสั่งนี้
วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐

***************************************
คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ
ที่ คตส. /๒๕๕๐
เรื่อง อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
---------------------------------------
ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบในการประชุมครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ มีมติว่าจากการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ
อาศัยอำนาจตามความในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๕ และข้อ ๘ คณะกรรมการตรวจสอบ จึงออกคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และสถาบันการเงิน ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ทุกบัญชี ทุกธนาคาร และทุกสถาบันการเงิน ไว้ก่อน และให้ทุกธนาคาร และสถาบันการเงินส่งรายงานบัญชี รายละเอียดการฝากถอนเงินของแต่ละบัญชี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบันต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งนี้ ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง อนึ่ง บุคคลใดกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งดังกล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันออกคำสั่งนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
(นายนาม ยิ้มแย้ม)
ประธานกรรมการตรวจสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น