เมื่อวันที่ 21-22 ต.ค.2551 ผมได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTEd 2008)” ณ ห้องประชุมอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจัดโดย สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้น โดยหัวข้อในการสัมมนาครั้งนี้คือ การจัดการเรียน 2 สถานะ (Dual Mode) เรื่องราวเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ จากที่ได้ฟังการบรรยายมาตลอด 2 วัน พอที่จะสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
การเรียนรู้ 2 สถานะ หมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ 2 วิธี คือ สถานะจริง (Real mode) และสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ซึ่งหากจะอธิบายง่ายๆ ให้มองภาพอย่างชัดเจน อาจอธิบายได้ดังนี้
การเรียนจากสถานะที่ 1 คือ สถานะจริง (Real mode) คือ ภาพที่เราเห็นอยู่เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือภาพที่ครูอาจารย์เข้าสอนหรือพบผู้เรียนโดยตรงในห้องเรียน มีการปฏิสัมพันธ์กัน ถ่ายทอดความรู้ต่อกันและกันโดยตรง (Face to Face)
ส่วนการเรียนจากสถานะที่ 2 คือ สถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) คือ ภาพที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าห้องเรียน สามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ โดยครูอาจารย์ จะเป็นผู้จัดทำสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังผู้เรียน อิทธิพลที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ก็คือ นวัตกรรมกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์เริ่มอยู่ในโลกดิจิตอล
ยืน ภู่วรวรรณ (2551) กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียน 2 สถานะ (Virtual Mode) ว่า
การเรียนรู้ 2 สถานะ หมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ 2 วิธี คือ สถานะจริง (Real mode) และสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ซึ่งหากจะอธิบายง่ายๆ ให้มองภาพอย่างชัดเจน อาจอธิบายได้ดังนี้
การเรียนจากสถานะที่ 1 คือ สถานะจริง (Real mode) คือ ภาพที่เราเห็นอยู่เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือภาพที่ครูอาจารย์เข้าสอนหรือพบผู้เรียนโดยตรงในห้องเรียน มีการปฏิสัมพันธ์กัน ถ่ายทอดความรู้ต่อกันและกันโดยตรง (Face to Face)
ส่วนการเรียนจากสถานะที่ 2 คือ สถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) คือ ภาพที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าห้องเรียน สามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ โดยครูอาจารย์ จะเป็นผู้จัดทำสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังผู้เรียน อิทธิพลที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ก็คือ นวัตกรรมกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์เริ่มอยู่ในโลกดิจิตอล
ยืน ภู่วรวรรณ (2551) กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียน 2 สถานะ (Virtual Mode) ว่า
- มีความยืดหยุ่นทั้งเวลาและสถานที่
- เป็นการเรียนรู้แบบทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนโดยไม่จำกัดสภาพภูมิศาสตร์
- นิสิตเรียนอย่างกระตือรือร้น เรียนแบบแสวงหา
- Virtually และไม่จำกัดขอบเขตของข่าวสาร
- ผู้เรียนช่วยกำหนดผลลัพธ์ และการคาดหวัง
- อาจารย์ยืนอยู่ข้าง คอยแนะนำ เป็นที่ปรึกษา
- ยืดหยุ่นให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองหรือเป็นทีม
- ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นประตูสู่โลกกว้าง
- การประเมินเป็นรายบุคคล ใช้ Portfolio
นอกจากนั้นยังกล่าวต่ออีกว่า รูปแบบการจัดการเรียน 2 สถานะ (Dual Mode) จะต้องมีเครือข่ายและการโทรคมนาคมเป็นสื่อกลาง ระหว่าง
- ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ
- นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร
- ความรู้และปัญญา
- คอมพิวเตอร์และการประมวลผล
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะได้รับความรู้จากวิธีการจัดการเรียนการสอนต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้ (www.internettime.com/itimegroup/MOE1.PDF)
- การติวและการสอนกันเอง นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 90
- การเรียนรู้ด้วยการกระทำ นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 75
- การสนทนากลุ่ม นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 50
- การสาธิต นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 30
- การใช้โสตทัศนูปกรณ์ช่วย นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 20
- การบรรยายในห้องเรียน นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 5
จากจำนวนร้อยละของการได้รับความรู้ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมที่ครูอาจารย์เข้าบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะได้รับความรู้เพียงแค่ ร้อยละ 5 ดังนั้นการเรียนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ด้วยพลังแห่งดิจิตอล อินเเตอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่ที่รวดเร็วหลากหลายวิธี การเรียนแบบใหม่นี้ น่าจะทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เรียนรู้เอง สามารถคิด วิเคราะห์ และใช้เหตุผลได้ดีขึ้น
หากเรามามองถึงสภาพการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ของโรงเรียนไทยในปัจจุบัน เราก็ยังคงที่จะมองเห็นภาพของคุณครูที่กำลังพูดเจื้อยแจ้วพร่ำสอนหนังสือให้แก่นักเรียนในห้อง มีการปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างลูกศิษย์กับครู คุณครูบ้างก็มีสื่อการสอนที่จัดทำขึ้นเองหรือซื้อหามา เพื่อประกอบการเรียนให้เด็กเข้าใจดียิ่งขึ้น ถึงเวลาหมดชั่วโมงสอน ก็เดินออกจากห้องเรียนนี้ ไปสอนห้องเรียนอื่นต่อ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป นี่คือการสอนในสถานะจริง (Real Mode)
แต่หากโรงเรียนและคุณครูต้องการจัดการเรียนการในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ควบคู่ไปกับสถานะจริง (REal Mode) ด้วย โรงเรียนและคุณครูจะต้องทำอย่างไร?
- คุณครูคงต้องรู้จักการสร้างบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ (e-learning) และสื่อการสอนอิเลคทรอนิค (e-media) จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการสอนของตนเอง เป็นที่น่าสนใจต่อเด็ก แล้วผลิตออกมาในรูปแบบของ CD, DVD หรือ File สำหรับนำเสนอ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งระบบออพไลน์ และออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และต้องสามารถให้นักเรียนทบทวนบทเรียนได้เมื่อต้องการโดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
- โรงเรียนต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถจะเปิด e-learning และ e-media ทั้งในระบบออพไลน์และออนไลน์ได้ มีการจัดการบริหารระบบให้สามารถสนองตอบความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง
- โรงเรียนต้องวางแผนการจัดตารางสอนและการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง รวมทั้งมีรูปแบบการประเมินผลนักเรียนที่เชื่อถือได้จากการเรียนการในสถานะเสมือนจริง
- โรงเรียนและคุณครูสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้วใน Virtual World มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ของเด็กในสถานะเสมือนจริงได้ อาทิ Hi5, Facebook, Blog , MSN, ICQ, Wikipedia, You tube, Second life หรือการสร้าง Avatar เป็นต้น
หากสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ 2 สถานะได้ บทบาทของครูและอาจารย์ก็จะเปลี่ยนไป กล่าวคือ (ยืน ภู่สุวรรณ.2551)
- เปลี่ยนบทบาทจากหน้าชั้นเรียนในสถานะจริง (Real Mode) หรือเรียกว่าการป้อนเนื้อหา กลับมาเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode)
- เปลี่ยนจากการเป็นต้นแบบ เป็นคอยกำกับการเรียนรู้
- ร่วมบทบาทระหว่างการเรียนรู้ของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้สอน
- มีการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ในรูปแบบใหม่ใน Virtual Space (เช่น e-learning, e-education, Online classroom, e-University เป็นต้น)
แต่อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอน 2 สถานะ (Dual Mode) ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคมาก โดยฌแพะปัญหาที่สำคัญคือ
- ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร ขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
- องค์กรยังขาดวัฒนธรรมในการสนับสนุน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการขององค์กร ขาดแรงจูงใจในการสร้าง การใช้ดิจิตอล การแบ่งปัน และการใช้ร่วมกัน
- บุคคลากรไม่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ เรียนรู้เพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการจัดการดิจิตอล อีกทั้งบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องไอที และมักไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการ ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากกิจกรรมต่างๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีการลงทุนที่เหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการสนับสนุนกระบวนการ ทำให้การพัฒนาระบบในองค์กรล่าช้า
สำหรับในทัศนะส่วนตัวของผมแล้ว การจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ (Dual Mode) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งในปัจจุบันพวกเราก็จัดการเรียนการสอนไปบ้างแล้ว เพียงแต่ไม่รู้ตัว เช่น การใช้สื่อ CD-ROM ในการสอน หรือการใช้ e-learning ในบางสถานการศึกษา เป็นต้น เพียงแต่เรายังไม่สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนในโลกเสมือนจริง (Virtual World) ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากพวกเราส่วนใหญ่ขาดทักษะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Skill) และขาดทักษะทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด (IT skill) ประกอบกับขาดงบประมาณในการลงทุนในด้านนี้อย่างเพียงพอ ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว วันหนึ่ง โรงเรียนของเราคงสามารถจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ ได้อย่างแน่นอน.
อ้างอิง- ยืน ภู่สุวรรณ.(21 ต.ค.2551). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ "ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ 2 สถานะในระดับอุดมศึกษา". การประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTEd 2008)”. สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ตอบลบ