เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ส.ค.2552 ผมได้ไปดูการแข่งขันกรีฑานักเรียน นักศึกษา จ.ราชบุรี ประจำปี 2552 ที่สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นสนามที่สวยงามมากอันเป็นผลพวงมาจากการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 34 ที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เห็นและรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนัก คือ ในปีนี้ สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ยกทีมงานมาทำหน้าที่จัดการแข่งขันกรีฑา ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ใน จ.ราชบุรี ของเรา ซึ่งแต่เดิม ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี เป็นผู้จัดการแข่งขันให้มาโดยตลอด โดยระดมบุคลากรจากแวดวงการศึกษา ครูบาอาจารย์ และคนกีฬาต่างๆ ของ จ.ราชบุรี มาร่วมด้วยช่วยกัน
เหตุการณ์อย่างนี้...ถือว่า...ราชบุรี หน้าแตก...มองโดยผิวเผินทั่วไปเหมือนกับว่า จ.ราชบุรี ไม่มีน้ำยาแม้แต่จะจัดกรีฑาให้นักเรียนนักศึกษาของตัวเอง ทั้งๆ ที่คนกีฬา ครูบาอาจารย์ ของราชบุรี ก็มีฝีมือเคยผ่านการจัดการแข่งขันระดับชาติมาจำนวนมากมาย.. มีทั้งคณะกรรมการผู้ตัดสินที่สังกัดสมาคมกีฬาต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน... สอบถามลึกๆ ไปถึงสาเหตุ...ก็ได้รับคำตอบเช่นเดิม...คือ งบประมาณที่ให้มาใช้ในการจัดการแข่งขันไม่เพียงพอ ..ในปีนี้ ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี จึงขอไม่จัดการแข่งขันให้ เนื่องจากต้องควักเงินจ่ายเพิ่มเติมเองมาหลายปีแล้ว เรื่องสาเหตุงบประมาณไม่เพียงพอนี้ ไม่ใช่แต่กรีฑาอย่างเดียว..กีฬาชนิดอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน....แต่หลายชนิดกีฬาก็ยังพอกระท่อนกระแท่นจัดกันไปได้ คำถามมีอยู่ว่า ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี บอกว่างบประมาณไม่พอจัด แต่ทำไม สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ถึงจัดได้ ทั้งๆ ที่มาตั้งไกล คำถามเช่นนี้...ไม่รู้ใครจะเป็นผู้ตอบ หากพูดกันเรื่องที่มาของงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดแล้ว น่าจะมาจาก 2 แหล่ง คือ จากงบประมาณประจำปีของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จัดสรรผ่านมาทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาแต่ละจังหวัด (ศูนย์พลศึกษาเดิม) และงบประมาณประจำปีขององค์การส่วนบริหารจังหวัดที่จัดสรรไว้ให้ ซึ่งงบประมาณทั้งสองแหล่งนี้ ทุกคนก็รู้ว่าทุกๆ ปี มันไม่เพียงพออยู่แล้ว... ในจังหวัดที่ให้ความสำคัญด้านกีฬา ไม่ว่าจะกีฬานักเรียนนักศึกษา กีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬาแห่งชาติ เขาไม่มัวรอแต่งบประมาณประจำปีที่จัดสรรให้ เขาพยายามระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน มาช่วยกันสนับสนุนเสริมเติมในส่วนที่ขาด โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ของจังหวัดเป็นแกนนำชักจูง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกสมาคมกีฬาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของจังหวัด เป็นต้น แต่จังหวัดราชบุรี ในช่วง 10 กว่าปีหลังนี้ มีการจัดการแข่งขันกันแบบขอไปที จัดตามหน้าที่ ให้เสร็จๆ หากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี ทั้งเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งของรัฐ เอกชน และท้องถิ่น ลองนั่งทบทวนกันดูให้ดี อย่าเที่ยวไปโยนบาปให้กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา แต่เพียงฝ่ายเดียว ลองมองว่าเขาอุตส่าห์หาเงินมาจัดการแข่งขันให้กับนักเรียนนักศึกษาของเรา และ อบจ.ก็พยายามจัดสรรงบประมาณให้ แต่พวกเราก็ยังรู้สึกหงุดหงิด และไม่พอใจ อ้างเสมอว่างบประมาณไม่พอในการจัดการแข่งขัน ต้องควักเงินตัวเองมาจ่ายทุกครั้ง อย่างนี้ไม่จัดเสียดีกว่า ผมอยากทุกคนมองไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันมากกว่าเอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ควรคิดถึง “งาน” ก่อน “เงิน” ถ้าคิดเรื่อง “เงิน” ก่อนก็ไม่ต้องทำอะไร ก็รู้ๆ อยู่แล้วว่าประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยพอที่จะจัดสรรงบประมาณทุกอย่างให้เพียงพอแก่ทุกคนตามที่ต้องการได้ หากพวกเราทุกคนและทุกภาคส่วน มีความจริงใจที่ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาของจังหวัดเราได้มีทักษะและประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬาจริงๆ แล้ว เราก็ต้องช่วยกันเสียสละบ้าง อย่าอ้างเรื่องงบประมาณน้อยแล้วไม่ทำงาน ดั่งพระบรมราโชวาทของในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลน มาเป็นข้ออ้างในการทำงาน จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ลองมองจังหวัดอื่นที่เขาสามารถจัดการแข่งขันได้ดี เขาก็ได้รับงบประมาณเช่นเดียวกับเราหรือบางจังหวัดอาจได้น้อยกว่าเราเสียอีก สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานก็ไม่มี บุคคลการด้านกีฬาก็สู้ของ จ.ราชบุรี เราไม่ได้ แต่เขาก็สามารถจัดการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่พยายามหาวิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปได้มาใช้ในราชบุรีบ้าง อาทิ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยจิตอาสา บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดการแข่งขันก็เป็นครูบาอาจารย์ในแวดวงทางการศึกษาและคนกีฬาด้วยกันทั้งนั้น ควรเสียสละเพื่อเด็กนักเรียนบ้าง ลดค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ลดค่าตอบแทนคณะกรรรมการ งดตัดเสื้อกรรมการ โรงเรียนใดมีสนามและอุปกรณ์การแข่งขันที่ดีได้มาตรฐาน ก็รับอาสาจัดการแข่งขันให้ จัดบุคลากรให้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันจัดการแข่งขันแบบพอเพียงแต่มีคุณภาพ ลดการจัดการแข่งขันแบบแยกส่วนลักษณะเบี้ยหัวแตก อะไรที่ควรลดได้ด้วยจิตที่เสียสละก็ควรสละ ผู้อำนวยการทุกโรงเรียนควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างจริงใจ เพราะเป็นเกมของลูกศิษย์ตัวเอง นอกเหนือจากการลดรายจ่ายแล้ว การหาวิธีเพิ่มงบประมาณในการจัดการแข่งขันก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดราชบุรีทุกคนที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นแกนนำชักชวนให้ทุกภาคส่วนหันมาช่วยกันสร้างกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดราชบุรีให้เป็นวาระของจังหวัด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนหันมาให้การสนับสนุน แทนที่จะคุยโม้โอ้อวดอย่างเดียวว่า เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ไม่ช่วยพัฒนาอะไรเลย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ทุกวันนี้ เป็นไปแบบแกนๆ มีแต่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนดูกันเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาไม่เคยมานั่งชมเลย แม้แต่การมอบเหรียญรางวัล บางชนิดกีฬายังหาผู้มอบเหรียญไม่ได้เลยก็มี ต้องมอบเหรียญรางวัลกันแบบขอไปที จริงๆ แล้ว เจ้าของเกม หรือเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา จ.ราชบุรี ที่แท้จริง ควรจะเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 และเขต 2 สมาคมการศึกษาเอกชน จ.ราชบุรี เทศบาล และ อบต.ต่างๆ ที่มีการจัดการศึกษาท้องถิ่นเป็นของตนเอง เพราะประโยชน์ที่ได้รับในการจัดการแข่งขัน ก็คือ นักเรียนนักศึกษาในสังกัดของแต่ละสถานศึกษานั่นเอง แต่ในวันนี้ หน่วยงานเหล่านี้แทบไม่ได้มีบทบาทหรือตระหนักในบริบทดังกล่าวเลย ควรพึงเข้าใจว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี เป็นเพียงตัวกลางที่นำงบประมาณในการจัดการแข่งขันมาให้ ช่วยประสานงานไปยังชมรมกีฬาหรือโรงเรียนต่างๆ ให้ช่วยจัดการแข่งขันให้ ทำดีก็เสมอตัว ทำชั่วก็ถูกต่อต้าน ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือร่วมใจ หันมาตั้งต้นกันใหม่ คิดกันใหม่ ทบทวนบทบาทและหน้าที่กันใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ นักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ของพวกเราทุกคน...
ชาติชาย คเชนชล
เหตุการณ์อย่างนี้...ถือว่า...ราชบุรี หน้าแตก...มองโดยผิวเผินทั่วไปเหมือนกับว่า จ.ราชบุรี ไม่มีน้ำยาแม้แต่จะจัดกรีฑาให้นักเรียนนักศึกษาของตัวเอง ทั้งๆ ที่คนกีฬา ครูบาอาจารย์ ของราชบุรี ก็มีฝีมือเคยผ่านการจัดการแข่งขันระดับชาติมาจำนวนมากมาย.. มีทั้งคณะกรรมการผู้ตัดสินที่สังกัดสมาคมกีฬาต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน... สอบถามลึกๆ ไปถึงสาเหตุ...ก็ได้รับคำตอบเช่นเดิม...คือ งบประมาณที่ให้มาใช้ในการจัดการแข่งขันไม่เพียงพอ ..ในปีนี้ ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี จึงขอไม่จัดการแข่งขันให้ เนื่องจากต้องควักเงินจ่ายเพิ่มเติมเองมาหลายปีแล้ว เรื่องสาเหตุงบประมาณไม่เพียงพอนี้ ไม่ใช่แต่กรีฑาอย่างเดียว..กีฬาชนิดอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน....แต่หลายชนิดกีฬาก็ยังพอกระท่อนกระแท่นจัดกันไปได้ คำถามมีอยู่ว่า ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี บอกว่างบประมาณไม่พอจัด แต่ทำไม สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ถึงจัดได้ ทั้งๆ ที่มาตั้งไกล คำถามเช่นนี้...ไม่รู้ใครจะเป็นผู้ตอบ หากพูดกันเรื่องที่มาของงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดแล้ว น่าจะมาจาก 2 แหล่ง คือ จากงบประมาณประจำปีของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จัดสรรผ่านมาทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาแต่ละจังหวัด (ศูนย์พลศึกษาเดิม) และงบประมาณประจำปีขององค์การส่วนบริหารจังหวัดที่จัดสรรไว้ให้ ซึ่งงบประมาณทั้งสองแหล่งนี้ ทุกคนก็รู้ว่าทุกๆ ปี มันไม่เพียงพออยู่แล้ว... ในจังหวัดที่ให้ความสำคัญด้านกีฬา ไม่ว่าจะกีฬานักเรียนนักศึกษา กีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬาแห่งชาติ เขาไม่มัวรอแต่งบประมาณประจำปีที่จัดสรรให้ เขาพยายามระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน มาช่วยกันสนับสนุนเสริมเติมในส่วนที่ขาด โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ของจังหวัดเป็นแกนนำชักจูง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกสมาคมกีฬาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของจังหวัด เป็นต้น แต่จังหวัดราชบุรี ในช่วง 10 กว่าปีหลังนี้ มีการจัดการแข่งขันกันแบบขอไปที จัดตามหน้าที่ ให้เสร็จๆ หากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี ทั้งเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งของรัฐ เอกชน และท้องถิ่น ลองนั่งทบทวนกันดูให้ดี อย่าเที่ยวไปโยนบาปให้กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา แต่เพียงฝ่ายเดียว ลองมองว่าเขาอุตส่าห์หาเงินมาจัดการแข่งขันให้กับนักเรียนนักศึกษาของเรา และ อบจ.ก็พยายามจัดสรรงบประมาณให้ แต่พวกเราก็ยังรู้สึกหงุดหงิด และไม่พอใจ อ้างเสมอว่างบประมาณไม่พอในการจัดการแข่งขัน ต้องควักเงินตัวเองมาจ่ายทุกครั้ง อย่างนี้ไม่จัดเสียดีกว่า ผมอยากทุกคนมองไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันมากกว่าเอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ควรคิดถึง “งาน” ก่อน “เงิน” ถ้าคิดเรื่อง “เงิน” ก่อนก็ไม่ต้องทำอะไร ก็รู้ๆ อยู่แล้วว่าประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยพอที่จะจัดสรรงบประมาณทุกอย่างให้เพียงพอแก่ทุกคนตามที่ต้องการได้ หากพวกเราทุกคนและทุกภาคส่วน มีความจริงใจที่ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาของจังหวัดเราได้มีทักษะและประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬาจริงๆ แล้ว เราก็ต้องช่วยกันเสียสละบ้าง อย่าอ้างเรื่องงบประมาณน้อยแล้วไม่ทำงาน ดั่งพระบรมราโชวาทของในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลน มาเป็นข้ออ้างในการทำงาน จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ลองมองจังหวัดอื่นที่เขาสามารถจัดการแข่งขันได้ดี เขาก็ได้รับงบประมาณเช่นเดียวกับเราหรือบางจังหวัดอาจได้น้อยกว่าเราเสียอีก สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานก็ไม่มี บุคคลการด้านกีฬาก็สู้ของ จ.ราชบุรี เราไม่ได้ แต่เขาก็สามารถจัดการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่พยายามหาวิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปได้มาใช้ในราชบุรีบ้าง อาทิ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยจิตอาสา บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดการแข่งขันก็เป็นครูบาอาจารย์ในแวดวงทางการศึกษาและคนกีฬาด้วยกันทั้งนั้น ควรเสียสละเพื่อเด็กนักเรียนบ้าง ลดค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ลดค่าตอบแทนคณะกรรรมการ งดตัดเสื้อกรรมการ โรงเรียนใดมีสนามและอุปกรณ์การแข่งขันที่ดีได้มาตรฐาน ก็รับอาสาจัดการแข่งขันให้ จัดบุคลากรให้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันจัดการแข่งขันแบบพอเพียงแต่มีคุณภาพ ลดการจัดการแข่งขันแบบแยกส่วนลักษณะเบี้ยหัวแตก อะไรที่ควรลดได้ด้วยจิตที่เสียสละก็ควรสละ ผู้อำนวยการทุกโรงเรียนควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างจริงใจ เพราะเป็นเกมของลูกศิษย์ตัวเอง นอกเหนือจากการลดรายจ่ายแล้ว การหาวิธีเพิ่มงบประมาณในการจัดการแข่งขันก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดราชบุรีทุกคนที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นแกนนำชักชวนให้ทุกภาคส่วนหันมาช่วยกันสร้างกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดราชบุรีให้เป็นวาระของจังหวัด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนหันมาให้การสนับสนุน แทนที่จะคุยโม้โอ้อวดอย่างเดียวว่า เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ไม่ช่วยพัฒนาอะไรเลย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ทุกวันนี้ เป็นไปแบบแกนๆ มีแต่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนดูกันเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาไม่เคยมานั่งชมเลย แม้แต่การมอบเหรียญรางวัล บางชนิดกีฬายังหาผู้มอบเหรียญไม่ได้เลยก็มี ต้องมอบเหรียญรางวัลกันแบบขอไปที จริงๆ แล้ว เจ้าของเกม หรือเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา จ.ราชบุรี ที่แท้จริง ควรจะเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 และเขต 2 สมาคมการศึกษาเอกชน จ.ราชบุรี เทศบาล และ อบต.ต่างๆ ที่มีการจัดการศึกษาท้องถิ่นเป็นของตนเอง เพราะประโยชน์ที่ได้รับในการจัดการแข่งขัน ก็คือ นักเรียนนักศึกษาในสังกัดของแต่ละสถานศึกษานั่นเอง แต่ในวันนี้ หน่วยงานเหล่านี้แทบไม่ได้มีบทบาทหรือตระหนักในบริบทดังกล่าวเลย ควรพึงเข้าใจว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี เป็นเพียงตัวกลางที่นำงบประมาณในการจัดการแข่งขันมาให้ ช่วยประสานงานไปยังชมรมกีฬาหรือโรงเรียนต่างๆ ให้ช่วยจัดการแข่งขันให้ ทำดีก็เสมอตัว ทำชั่วก็ถูกต่อต้าน ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือร่วมใจ หันมาตั้งต้นกันใหม่ คิดกันใหม่ ทบทวนบทบาทและหน้าที่กันใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ นักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ของพวกเราทุกคน...
ชาติชาย คเชนชล
เราก็ต้องช่วยกันเสียสละบ้าง อย่าอ้างเรื่องงบประมาณน้อยแล้วไม่ทำงาน ดั่งพระบรมราโชวาทของในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลน มาเป็นข้ออ้างในการทำงาน จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ....ขอยืมไปเผยแพร่นะคะ ชอบมากๆค่ะ
ตอบลบ