หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

77 เคล็ดลับการเพิ่มการเดิน 2,000 ก้าว

ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของ กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง "77 เคล็ดลับกับการเพิ่ม 2,000 ก้าว" เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี หากลองปฏิบัติตาม ก็จะสามารถเปลี่ยนนิสัยของคนไทยให้หันมารักการเดินกันมากยิ่งขึ้น (ในประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ของเขาจะชอบการเดิน) เพราะปัจจุบันนี้ คนไทยมักไม่ค่อยชอบเดิน ชอบใช้แต่ยานพาหนะ ซึ่งก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองมากมายตามมา


ความนำการเดินมากขึ้น 2,000 ก้าวจากปกติ และลดอาหาร 100 แคลอรี่ต่อวัน สามารถควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในกิจวัตรประจำวันจะช่วยเพิ่มการเดินอีก 2,000 ก้าว หรือเพิ่มระยะเวลาการเดินอย่างน้อย 10 นาทีในแต่ละครั้ง ท่านสามารถเพิ่มการเดินที่บ้าน ที่ทำงาน และช่วงเวลาว่าง จาก 77 เคล็ดลับต่อไปนี้ ให้ท่านเลือกเคล็ดลับที่ท่านชอบหลายๆ ประการในแต่ละวัน จะช่วยให้ท่านบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ที่บ้าน
  1. เดินรอบบ้านหรือรอบหมู่บ้าน
  2. เดินเลยร้านขายของชำแล้ววกกลับมาซื้อของ
  3. ไปโรงเรียนที่อยู่ใกล้แล้วเดินในลู่วิ่งรอบสนาม 4 รอบเท่ากับประมาณ 2,000 ก้าว
  4. เดินขึ้น-ลงบันไดหลายๆ เที่ยว เพื่อทำงานบ้าน
  5. จอดรถไกลจากร้านอาหารหรือธนาคารเล็กน้อยแล้วเดินต่อ
  6. ระหว่างรอพบแพทย์หาโอกาสเดินไปมา
  7. ฟังเพลงขณะกำลังเดิน
  8. ชวนเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมาเดินด้วยกัน
  9. เดินไปส่งลูกที่โรงเรียน
  10. พาสุนัขไปเดินเล่น
  11. จัดตั้งชมรมเดินในชุมชนของท่าน
  12. เดินไปทำธุระที่ร้านค้า ไปรษณีย์ใกล้บ้าน
  13. พูดคุยกับครอบครัวระหว่างการเดินหลังอาหารเย็น
  14. เดินไปวัด โบสถ์หรือมัสยิด
  15. เดินรอบบ้านขณะคุยโทรศัพท์
  16. หาโอกาสเดินไปดูพระอาทิตย์ขึ้น
  17. เดินไปเยี่ยมเยี่ยนเพื่อนบ้าน
  18. พยายามเดินให้ได้ระยะทางไกลๆ
  19. จดบันทึกจำนวนก้าวและความรู้สึกดีๆ จากการเดิน
  20. เดินบนเครื่องสายพานในวันที่ฝนตก หรือข้างนอกมืดเกินไปที่จะเดิน
  21. เดินย่ำท้าวหรือเดินไปเดินมาขณะดูโทรทัศน์
  22. เข็นรถกลับไปคืนร้านค้า หลังจากท่านเก็บของเรียบร้อย
  23. เข้าร่วมเดินการกุศล
  24. เดินก่อนถึงเวลานอน 2-3 ชั่วโมง จะช่วยให้หลับสนิท
ที่ทำงาน
  1. เดินในที่ทำงานก่อนจะเริ่มงานในตอนเช้า
  2. ลงรถประจำทาง ก่อนถึงที่หมาย 1-2 ป้าย แล้วเดินต่อไป
  3. เดินไปทำงานถ้าที่พักอาศัยอยู่ไม่ไกล
  4. เดินไปชงกาแฟจากจุดที่อยู่ไกลโต๊ะทำงานที่สุด
  5. เดินเข้าห้องน้ำที่อยู่อีกฟากหนึ่งของตึก
  6. เดินระหว่างพักการประชุม
  7. เดินเร็วๆ 10 นาทีช่วงพักกลางวัน
  8. ขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์และบันไดเลื่อน
  9. จอดรถไว้ไกลๆ ในที่จอดรถ
  10. ออกไปเดินสัก 4-5 นาที เพื่อคลายเครียด
  11. เดินไปร้านค้าใกล้ๆ เพื่อซื้อของ
  12. จัดตั้งชมรมเดินในที่ทำงาน
  13. ชวนเพื่อนร่วมงานไปเดินก่อนทำงานและหลังเลิกงาน
  14. เดินไปคุยกับเพื่อนร่วมงานที่โต๊ะแทนที่จะโทรศัพท์หรือส่งอีเมล์
  15. กระตุ้นเพื่อนร่วมงานไปร่วมเดินกับท่านช่วงเวลาพัก
  16. เดินรอบที่ทำงาน
ช่วงเวลาว่าง
  1. เดินดูสินค้าตามร้านต่างๆ ภายในศูนย์การค้า
  2. เดินดูให้รอบศูนย์การค้าก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
  3. เข้าร่วมกลุ่มการเดินหรือแอโรบิกในน้ำ แรงต้านของน้ำจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  4. เดินเที่ยมชมพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ หรืออุทยาน
  5. เดินวนรอบๆ งานแสดงสินค้าก่อนจะตัดสินใจซื้อ
  6. เริ่มด้วยการเดินช้าๆ แล้วเพิ่มความเร็วขึ้นตามที่ต้องการ แล้วผ่อนหยุดด้วยการเดินช้าๆ ในช่วงท้ายของการเดิน
  7. ร่วมกิจกรรมเดิน/วิ่งของชุมชน
  8. ท่องธรรมชาติด้วยการเดิน
  9. หาเส้นทางการเดินใหม่ๆ เพื่อสำรวจทิวทัศน์ที่แปลกออกไป
  10. เดินท่องเที่ยวโบราณสถาน
  11. อาสาสมัครพาผู้สูงอายุเดินเที่ยว
  12. จัดวันทำความสะอาดชุมชนร่วมกัน
  13. นัดเพื่อนกินอาหารกลางวันที่ร้านที่สามารถเดินไปได้
  14. เดินหาสินค้าราคาถูก บริเวณตลาดนัดใกล้บ้าน
  15. เดินไปเที่ยวชุมชนใกล้เคียง
  16. เดินส่องกล้องชมนก
  17. เข้าร่วมกลุ่มเต้นแอโรบิก
  18. ไปเที่ยวชายทะเลและเดินไปตามชายหาด
  19. เล่นกีฬาที่ชอบ
  20. ให้รางวัลตัวเองเมื่อเดินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  21. เดินรอบสนามขณะที่ลูกเล่นกีฬา
  22. เดินออกรอบตีกอล์ฟโดยไม่ใช้รถกอล์ฟ
  23. เดินไปสวนสาธารณะกับลูก
  24. ออกกำลังกายที่ชอบ
กิจกรรมอื่นๆ
  1. เต้นรำยามค่ำคืนในคลับ
  2. ล่องแพ พายเรือคายัค หรือแคนู
  3. ขี่จักรยานท่องเที่ยวหรือไปทำธุระ
  4. เล่นสเกตแถวบ้าน
  5. กายบริหาร เช่น ฝึกชี่กง ไทเก็ก ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  6. รำไม้พลองป้าบุญมี
  7. เรียนมวยไทยแอโรบิก
  8. กำจัดวัชพืช พรวนดินด้วยจอบ คราด ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดหญ้า
  9. ว่ายน้ำในสระ
  10. ดำน้ำชมปะการัง
  11. สลับทิศทางการเดิน-เริ่มเดิน จากจุดสิ้นสุดไปหาจุดเริ่มต้นแทน
  12. เล่นเกมไล่จับ รีๆ ข้าวสาร งูกินหาง มอญซ่อนผ้า กับลูก
  13. ล้างรถด้วยตนเอง
ที่มา : กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2552). 77 เคล็ดลับกับการเพิ่ม 2,000 ก้าว. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

พฤษภาเสริมบารมี

ไม้มงคล 9 ชนิดในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ก่อนทำการก่อสร้างนิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิดปักกับพื้นดิน ไม้ทั้ง 9 ชนิด มีชื่อเนมงคลนามดังนี้


  1. ราชพฤกษ์ (คูน) -ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
  2. ขุนุน -หนุนให้ดีขึ้น ร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
  3. ชัยพฤกษ์ -การมีโชคชัย ชัยชนะ
  4. ทองหลาง - มีเงินมีทอง
  5. ไผ่สีสุก - มีความสุข
  6. ทรงบาดาล - ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
  7. สัก - ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ
  8. พะยูง - การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
  9. กันเกรา - ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง
ไม้มงคลประจำวันเกิดหลายคนอาจเคยคิดอยากปลูกต้นไม้สักต้น แต่ไม่รู้ว่าจะปลูกต้นอะไรดี ไม้ดอก ไม้ใบ หรือไม้ผลดีนะ หากคิดไม่ออกลองเอาไม้มงคลประจำวันเกิดมาให้เลือกปลูกตามแต่ใจชอบ ถึงแม้ใครจะไม่เชื่อตามโบราณ ก็น่าจะลองเลือกปลูกไม้มงคลตามวันเกิดดูสักต้น เพราะการปลูกต้นไม้ย่อให้ประโยชน์แก่ผู้ปลูก
  1. วันอาทิตย์-โป๊ยเซียน (ดอกเหลือง-ส้ม)-ไม้แห่งโชคลาภ
    -โกศล -คุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข
    -จำปา-ต้นไม้นำโชค
    -ราชพฤกษ์(คูน) -ช่วยให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี
    -กุหลาบ(ดอกเหลือง-ส้ม)-ความสง่างาม ภาคภูมิ
    -ชบา(ดอกเหลือง-ส้ม),ชุมเห็ดเทศ
  2. วันจันทร์-วาสนา-เกิดแรงบันดาลตามความปรารถนา
    -มะลิ-ทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์
    -มะม่วง-ทำให้ผู้ปลูกร่ำรวย
    -กวนอิม-ฐานะดี เกิดความร่ำรวย
    -จำปี-การงานก้าวหน้า
    -มะยม-ผู้คนนิยมชมชอบ
    -พลูด่าง-เจริญงอกงามในชีวิต
    -กระถิน-ป้องกันเสนียดจัญไร
    -แก้ว-จิตใจบริสุทธิ์ใสดุจแก้ว
    -บัวบก, มะละกอ, โป๊ยเซียน(ดอกขาว-เหลือง),ฝรั่ง,โกศล,ราตรี,ชะพลู
  3. วันอังคาร-เข็ม(ดอกแดง-ชมพู)-เกิดความคิดอ่านที่ดี
    -พญายอ-ชีวิตราบรื่นเป็นสุขสมบูรณ์
    -ชบา(ดอกแดง-ชมพู) -การงานก้าวหน้าไร้อุปสรรค
    -กุหลาบ(ดอกแดง-ชมพู),โป๊ยเซียน(ดอกแดง-ชมพู),อัญชัน,โกศล
  4. วันพุธ-กล้วย-ร่มเย็น สุขกายสบายใจ
    -กวนอิม,วาสนา,พลูด่าง,โป๊ยเซียน(ดอกเหลือง),มะละกอ,ราชพฤกษ์,ชบา(ดอกเหลือง),โกศล,กุหลาบ(ดอกเหลือง)
  5. วันพฤหัสบดี-พุด(ดอกขาว)-ความเจริญมั่นคง
    -มะลิ,จำปี,ราตรี,มะละกอ,กุหลาบ(ดอกขาว),แก้ว
  6. วันศุกร์-อัญชัน-ประสบความสำเร็จในชีวิต
    -กุหลาบ(ดอกแดง-ชมพู),เข็ม(ดอกแดง-ชมพู),โกศล,ชบา(ดอกแดง-ชมพู),โป๊ยเซียน(ดอกแดง-ชมพู)
  7. วันเสาร์-วาสนา,มะลิ,กวนอิม,ชมพู่,จำปี,จำปา,มะละกอ,ฝรั่ง,มะม่วง,ราชพฤกษ์(คูน)
ปลูกต้นไม้ตามทิศ
  1. ทิศอุดร(ทิศเหนือ)-ส้มป่อย-ขับไล่ภูติผีปีศาจ
    -ส้มซ่า-ลูกหลานมีชื่อเสียงขจรขจายซูซ่าไปทั่วเมือง
    -มะเดื่อ
  2. ทิศพายัพ(ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)-มะพูด,มะกรูด,มะนาว
  3. ทิศประจิม(ทิศตะวันตก)-มะขาม-คนเกรงขามน่ากลัว
    -มะยม-เพื่อให้คนนิยม
    -พุทรา-คนนิยมไม่สร่างซา
  4. ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)-ขนุน-มีคนสนับสนุนอุดหนุนจุนเจือ
    -สะเดา-ป้องกันภูติผีปีศาจ
    -พิกุล,ราชพฤกษ์
  5. ทิศทักษิณ(ทิศใต้)-มะม่วง,มะพลับ,ตะโก
  6. ทิศอาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้)-สารภี,ยอ,กระถิน
  7. ทิศบูรพา(ทิศตะวันออก)-ไผ่สีสุก-ความมั่งมีศรีสุขหรืออยู่เย็นเป็นสุข
    -กุ่ม-เก็บเงินไว้ได้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ฐานะมั่นคง
    -มะพร้าว
  8. ทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)-ทุเรียน-เป็นผู้คงแก่เรียน
    -มะตูม-ป้องกันเสนียดจัญไร
    -ไผ่รวก
ต้นไม้ที่เป็นมิ่งขวัญของคนเกิดในปีนักษัตรต่างๆ
  1. ปีชวด-ต้นมะพร้าว และต้นกล้วย
  2. ปีฉลู-ต้นตาล
  3. ปีขาล-ขนุนสำมะลอ ต้นรัง
  4. ปีเถาะ-ต้นมะพร้าว
  5. ปีมะโรง-ต้นงิ้ว และกอไผ่
  6. ปีมะเส็ง-กอไผ่ และต้นรัง
  7. ปีมะเมีย-ต้นกล้วย
  8. ปีมะแม-ปาริชาตและไผ่ป่า
  9. ปีวอก-ขนุน
  10. ปีระกา-ยางและฝ้ายเทศ
  11. ปีจอ-สำโรง และบัวหลวง
  12. ปีกุน-บัวหลวง
ที่มา :
สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลาง จ.ราชบุรี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์พฤกษาเสริมบารมี.แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี 2553.

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

แม้วเล่อร์ :คำสาบานของแม้ว

เมื่อ แม้วเล่อร์ถังแตก เหล่าสหายแดงจึงเกิดความไม่มั่นใจในสภาพคล่องทางการเงิน
ท่านแม้วเล่อร์จึงต้องเรียกความเชื่อมั่นในแบบฉบับนักการเมือง นั่นคือ "การสาบาน"

ขอขอบคุณผู้ที่สร้างสรรค์
ที่มา : แม้ว เชิญยิ้ม
http://mblog.manager.co.th/pocketclan/th-91077/

คำพิพากษายึดทรัพย์ทักษิณ ตอน 6 (จบ)

ต่อมาบริษัทไทยคมแจ้งว่าจะได้รับเงินสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องลงนามในหนังสือรีลีส แอนด์ ดิสชาร์จ เพื่อปลดภาระผูกพันให้แก่บริษัทประกันภัย และเปิดบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ กับธนาคารที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ข้างต้น นายสุรพงษ์ ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคอมร้องขอ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ปรากฏตามหนังสือที่ อช 423/2546 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานการสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาเบิกใช้จากบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ เพื่อนำไปสร้าวดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3อาร์ จนกระทั่งส่งขึ้นสู่วงจรเมื่อเดือนพฤาภาคม 2549 ซึ่งค่าสร้างมากกว่าค่าสินไหมทดแทนจำนวน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น บริษัทไทยคมได้นำหลักฐานไปเบิกใช้เงินดังกล่าว แต่ยังไม่หมด โดยในปัจจุบันยังมียอดเงินคงเหลือค้างในบัญชีเอสโครว์ แอคเคานต์ ที่ประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 1,800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เห็นว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ นั้น ตามสัญญาสัมปทาน เอกสาร หมาย ร449 ข้อ 37 ได้กำหนดให้บริษัทผู้รับสัมปทาน รีบซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดการหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงผู้ให้สัมปทานก็จะมอบเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยให้ และถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดหามีราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทผู้รับสัมปทานตกลงเป็นผู้รับผิดชอบ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงข้อสัญญาสัมปทานข้อ 37 ดังกล่าว กรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ซึ่งกรณีนี้ก็คือดาวเทียมไทยคม 3 ถ้าเกิดความเสียหายบางส่วน บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องดำเนินการซ่อมแซมแล้วจึงมารับค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน แต่ถ้าเกิดความเสียหายทั้งดวงจนไม่สามารถที่จะใช้งาน หรือดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นทดแทน แล้วจึงรับเงินค่าสินไหมทดแทนจากทางกระทรวงผู้ให้สัมปทาน ทั้งนี้ หากค่าซ่อมแซมหรือราคาดาวเทียมดวงใหม่มีราคาสูงกว่าจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน ทางบริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องรับผิดชอบในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ตามข้อสัญญาดังกล่าว การที่มีการอนุมัติให้บริษัทผู้รับสัมปทาน นำวงเงินบางส่วนจำนว 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนช่องสัญญาณเดิม และใช้เป็นสำรอง จึงขัดต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากบริษัทไทยคมทำผิดสัญญา ไม่มีดาวเทียมสำรองไทยคม 3 มาโดยตลอด และบริษัทไทยคมผู้รับสัมปทานจะต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการให้มีดาวเทียมใช้ได้อย่างพอเพียง และโดยต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องนำเงินค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับไปสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือกำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา ได้อนุมัติตามที่บริษัทไทยคม ผู้รับสัมปทานร้องขอ การอนุมัติให้นำเงินบางส่วนที่ได้รับจากค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เกิดความเสียหายดังกล่าวไปเช่าดาวเทียมของต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนและใช้สำรอง จึงเป็นการอนุมัติที่ไม่ชอบ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป เพราะในช่วงเวลานั้นบริษัทไทยคมไม่ต้องใช้เงินทุนของตนเอง หรือไม่ต้องระดมทุน โดยกู้ยืมเงินหรือดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินการซ่อมแซมดาวเทียมไทยคม 3 หรือจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ตามสัญญาสัมปทาน และยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงผู้ให้สัมปทาน ในทางกลับกัน ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ เนื่องจากทรัพย์สินที่ทำประกันภัยเป็นของรัฐ ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลและคงไว้เป็นหลักประกันความมั่นคง หากเกิดกรณีไม่สามารถซ่อมแซมหรือจัดหาทรัพย์สินทดแทนเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทนตามสัญญาให้แล้วเร็จก่อน การที่บริษัทไทยคมซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานโดยตรง ได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องใช้เงินทุนหรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรอง ไทยคม 3 มูลค่า 4,000 ล้านบาท จากการไม่ต้องดำเนินการ กระบวนการรับสัมปทานใหม่จากโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,459,000,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 จากการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรเป็นเวลา 8 ปี มูลค่าไม่เกิน 16,459,000,000 ล้านบาท จากการไม่ตจ้องจัดสรรสร้างดาวเทียมสำรองดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง จากการไม่ต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน หรือกู้ยืมเงิน มาเพื่อรักษาสัดส่วนที่บริษัทชินคอร์ปจะต้องถือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 ให้คงเหลือสัดส่วนที่จะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และจากการไม่ต้องซ่อมแซมหรือจัดหาดาวเทียมมาทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย ซึ่งเมื่อซ่อมแซมและจัดหามรดกแทนแล้ว จะต้องตกเป็นทรัพย์สินของรัฐ ตามสัญญาสัมปทาน แต่ได้นำเงินค่าสินไหมทดแทนที่กระทรวงคมนาคมได้รับจากบริษัทประกันภัย ไปใช้ในการเช่าดาวเทียมต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียหาย จำนวน 268 ล้านบาท ซึ่งบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้ได้รับสัญญาดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจากรัฐโดยตรง และมีภาระต้องรับผิดร่วมกันและแทนกัน องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยกรณีสุดท้ายในเรื่องของการอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ ซึ่งในเรื่องนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าการดำเนินการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้กู้ยืมเงินแก่สหภาพพม่าดังกล่าวนี้เป็นไปโดยชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคมหรือไม่ ข้อนี้ปรากฏข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการที่ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรีได้บริหารราชการในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งผู้บริหารประเทศจะต้องดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปิพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่ดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของสว่นตนด้วย แต่ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพยานหลักฐาน กลับปรากฏถึงพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับมา ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังนี้ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 เอกอัครราชทูตสหภาพพม่าประจำประะเทศไทย ได้นำส่งหนังสือจากนายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ถึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น เพื่อขอให้ประเทศไทยพิจารณาให้สินเชื่อจำนวน 3,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลสหภาพพม่า เพื่อการก่อสร้างโครงการ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน แต่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ สหภาพพม่า ได้มีหนังสือลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย แจ้งว่า กระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า มีโครงการจะพัฒนาการให้บริการระบบโทรคมนคม ในเขตชนบทและพื้นที่ห่างไกล โดยการใช้บรอดแบนด์ แซทเทลไลท์ เทอร์มินัล และระบบไฟเบอร์ออพติก เคเบิ้ล จึงขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในลักษณะเงินกู้แบบผ่อนปรน มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และแบบให้เปล่า มูลค่า 1,050,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมากระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้ในการซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากนั้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ตจึงมีการทำสัญญาเงินกู้ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กับธนาคารการค้าต่างประเทศ แห่งสหภาพพม่า โดยกระทรวงการคลัง และรัษฎากร แห่งสหภาพพม่า เป็นผู้ค้ำประกัน ในการรับเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าว กำหนดให้ผู้กู้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญญาจัดซื้จัดจ้างสินค้าทุน หรือบริการให้ผู้ให้กู้พิจารณาอนุมัติก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า ก็ได้ส่งคำขอรับการให้สินเชื่อ พร้อมสัญาจัดซื้อจัดจ้าง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ระหว่างกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า กับบริษัทไทยคม ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ บางส่วนจำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้อนุมัติคำขอดังกล่าว และได้แจ้งให้ธนาคารการค้าของต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 ต่อมาธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า มีหนังสือลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 แจ้งการโอนสิทธิรับเงินของบริษัทไทยคม ให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลสจำกัด และธนาคารเพื่อการส่งอกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้จ่ายเงินสินเชื่อให้แก่ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งสหภาพพม่า โดยจ่ายตรง ให้แก่บริษัทไทยคม จำนวน 9.702,733.03 ดอลลารดอลลาร์สหรัฐฯ และให้แก่บริษัทฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด จำนวน 5,577,266.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลในสมัยแรก ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสพบและหารือข้อราชการกับผู้นำของสหพพม่าหลายครั้ง โดยในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภพพม่าอย่างเป็นการทางการ ตามคำเชิญของ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.ท.ขิ่น ยุ้ต์ เลขาธิการสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ต่อมาระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้เดินทางไปเยือนสหภาพพม่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้พบและหารือข้อราชการกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย และ พล.ท.ขุ่น ยุ้นต์ ว่าทั้งสองฝ่ายได้หารือและเสนอความร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การตลาด และความร่วมมือทางวิชาการ ต่อมาวันที่ 6-8 ตุลาคม 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้พบและหารือกับนายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เมืองบาหลี ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากการประชุมดังกล่าวแล้ว นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่า ได้มีหนังสือถึง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอวงเงินสินเชื่อ จำนวน 3,000 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องจักรกล การก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ ชินโนวรรณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาคำขอของรัฐบาลสหภาพพม่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ได้จัดให้มีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง และที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า ปรากฏผลการประชุมได้มีการทำปฏิญาพุกามว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย กัมพูชา สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทั้ง 4 ประเทศจะให้ความร่วมมือกันในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่า ตลอดจนการให้ความร่วมมือในระหว่างประเทศ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าวนั้น มิได้ระบุถึงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม โดยที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อจากรัฐบาลไทยในครั้งแรก ก็ด้วยความประสงค์ที่จะใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการคมนาคม ซึ่งอยู่ในกรอบความร่วมมือที่ประเทศไทยเคยเสนอในชั้นที่ผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปเยือนสหภาพพม่าใน 2 ครั้งแรก และข้อตกลงร่วมกันตามปฏิญญาพุกาม ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น นายสุรเกียรติ์ และนายอภิชาติ เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 569-576 ได้ความทำนองเดียวกันว่า เมื่อรัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอวงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม กรมเอเชียตะวันออกได้พิจารณาและเสนอรายงานพร้อมข้อคิดเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียไว้ ซึ่งปรากฏในข้อเสียว่า เป็นเรื่องที่อาจจะมีข้อครหาว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ และเมื่อระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการพบปะหารือข้อราชการแบบทวิภาคีในการประชุมรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ภูเก็ต นายสุรเกียรติ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แจ้งเรื่องที่อาจมีข้อครหาว่าผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้ ให้นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหภาพพม่าทราบ และขอให้โครงการดังกล่าวอยู่ในวงเงินสินเชื่อ 3,000 ล้านบาท ครั้นเมื่อนายสุรเกียรติ์นำเรื่องเสนอต่อผู้ถูกกล่าวหาแล้ว กลับมีการสั่งด้วยวาจาให้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีก เป็น 4,000 ล้านบาท แม้จะปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานภายในของประเทศไทยเอง และที่มีไปยังหน่วยงานของรัฐบาลสหภาพพม่า รวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการให้วงเงินกู้สินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่าว่า เป็นการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นกรณีสืบเนื่องมาจาก การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตามที่รัฐบาลสหภาพพม่าร้องขอ และติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะตลอดมา การระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินสินเชื่อว่า เพื่อซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศมีลักษณะเป็นทำนองหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม อันอาจทำให้เกิดข้อครหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่กรมเอเชียตะวันออก เสนอรายงานไว้ดังกล่าว ดังนั้นการพิจารณาและอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าในครั้งนี้นั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามกรอบความร่วมมือของทุกเรื่องดังกล่าวแล้ว ข้อเท็จจริงยังปรากฏต่อไปอีกว่า เป็นการดำเนินการที่มีผลประโยชน์การประกอบธุรกิจของบริษัทไทยคม ซึ่งได้ความจาก นายณัฐพงษ์ เต็มศิริพงศ์ และนายเผด็จ ว่องพยาบาล พนักงานของบริษัทไทยคม เบิกความต่อศาลว่า บริษัทไทยคมได้ไปประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมในสหภาพพม่า ตั้งแต่ปี 2541 และในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม เจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ยังได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จีเอสเอ็ม ผ่านดาวเทียม แข่งกับบริษัทต่างชาติ แล้วได้รับคำชมเชยจากกระทรวงสื่อสารไปรษณีย์ และโทรเลขแห่งสหภาพพม่า จนกระทั่งได้มีการทำสัญญาโรมมิ่งอะกรีเมนท์ กับกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และบริษัทไทยคม เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากสหภาพพม่าในการขยายการให้บริการโทรศัพท์ มาตั้งแต่ปลายปี 2546 แล้ว และยังปรากฏต่อมาจากเอกสารหมาย ร 565- ร 568 ว่า หลังจากมีการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม แล้ว รัฐบาลสหภาพพม่า โดยกรมความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ได้มีหนังสือขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และหลังจากมีการเจรจาหารือกันแล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหภาพพม่า ได้แจ้งโครงการที่จำเป็นต่อการปรับปรุงคุณภาพการบริการโทรคมนาคม ได้แก่ แผนการพัฒนาโทรคมนาคมสหภาพพม่า ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยสัญญาณดาวเทียม โครงการการส่งสัญญาณทั่วประเทศของสหภาพพม่า โดยเป็นระบบใยแก้วนำแสง 1,500 กิโลเมตร และโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสหภาพพม่า ซึ่งมีบริษัทไทยคม เป็นผู้จัดหา ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกในทุกโครงการ โดยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์บรอดแบรนด์เซทเทิลไลท์ และอุปกรณ์เพิ่มเติม เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม และด้านเทคนิค กับช่วยเหลือในการติดตั้งในโครงการแรก กับเป็นผู้บริหารจัดการ และที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและเทคนิคใน 2 โครงการหลัง อันแสดงให้เห็นว่า บริษัทไทยคม ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว ส่วนข้อที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า บริษัทไทยคมขายสินค้าให้กับรัฐบาลสหภาพพม่าตามพันธสัญญาที่มีต่อกันมาแต่เดิม และเป็นการซื้อขายกันตามปกติ ไม่ว่าจะได้รับเงินสินเชื่อหรือไม่ รัฐบาลสหภาพพม่าจำเป็นต้องซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นประจำอยู่แล้วนั้น เห็นว่า ในการประชุมระดับผู้นำ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ร่วมเดินทางเป็นคณะ อย่างเป็นทางการไปด้วย ระหว่างการประชุมยังมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม จำนวน 8 คน และบริษัท เอไอเอส จำนวน 2 คน เข้าร่วมทำการสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนทีจีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ต่อมาทางการสหภาพพม่าได้มีหนังสือ ลงวันที่ 8 มกราคม 2547 ถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย เสนอโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในเขตชนบท และพื้นที่ห่างไกลของกระทรวงสื่อสาร ไปรษณีย์และโทรเลข แห่งสหภาพพม่า และขอรับความช่วยเหลือจากไทย มูลค่า 24.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสหภาพพม่ายังได้มีหนังสือลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 ขอเพิ่มวงเงินกู้สินเชื่อ จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท และมีหนังสือ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ติดตามผล รวมทั้งการขอลดดอกเบี้ย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา ได้สั่งการต่อนายสุรเกียรติ์ ให้แจ้งไปว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการว่า ให้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การอุดหนุนชดเชยในส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยด้วย และภายหลังที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ในวันที่ 15 มีนาคม 2547 ได้มีการประชุมระหว่าง นายสุรเกียรติ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อ 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5.75 เป็นอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติวงเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท แก่สหภาพพม่า ตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต่อมาสหภาพพม่าได้ขอให้ปลอดการชำระหนี้การจ่ายเงินต้น เป็น 5 ปี ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นชอบ คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องมีมติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นระยะเวลากู้ 12 ปี โดย 5 ปีแรกชำระเฉพาะดอกเบี้ย สำหรับ 7 ปีที่เหลือชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยการที่อนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อมูลค่า 4,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขดังกล่าว เป็นการให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 การให้กู้เงินดังกล่าวจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงต้องขอคุ้มครองความเสียหายตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหายังสั่งการให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า ในวงเงิน 4,000 ล้านบาท หากได้รับความเสียหาย ก็ให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ชดเชยแก่ธนาคารตามจำนวนที่เสียหาย และให้ชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยที่ได้รับจากรัฐบาลสหภาพพม่า กับต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคาร และกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายที่จะต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดเชยความเสียหายแก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2549 และปีงบประมาณ 2550 รวมเป็นเงินจำนวน 140,349,600 บาท การขอวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคม เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมระดับผู้นำ ว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่กรุงย่างกุ้ง และเมืองพุกาม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคม และบริษัทเอไอเอส ได้ไปสาธิตระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็มผ่านดาวเทียม ในการประชุมด้วยดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า การขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทไทยคมนั่นเอง ส่วนที่ได้ความว่า มีการใช้เงินที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อไปซื้อสินค้าต่างๆ จากผู้ประกอบกิจการอื่นในประเทศไทยอีกหลายรายการ ก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อที่ว่า บริษัทไทยคมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการในกรณีนี้ได้ และที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างต่อไปว่า การจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาและดุลพินิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยนั้น เห็นว่า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ในการพิจารณาและอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าครั้งนี้ ได้ความจาก นายปกรณ์ และนายสถาพร ชินจิตร อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า เป็นการดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศ โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิได้รับชดเชยในส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของธนาคารอีกด้วย ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า การดำเนินการกรณีนี้พิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการดำเนินการเป็นผลให้บริษัท ปตท.สผ.จำกัด(มหาชน) ได้รับสัมปทานบ่อแก๊สธรรมชาติ ที่สหภาพพม่านั้น เป็นการนำเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมากล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 คู่สมรส ยังคงถือหุ้นรายใหญ่อยู่อย่างแท้จริงในบริษัทไทยคม และบริษัทชินคอร์ป จึงเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทไทยคม โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่กว่าร้อยละ 51 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 599 กรณีย่อมเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า ดังนี้ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทไทยคม และบริษัท ชินคอร์ป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวมาข้างต้น เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ เห็นว่าในช่วงเวลาที่มีการดำเนินการตั้ง 5 กรณีตามคำร้องนั้น ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับรัฐมนตรีอื่น ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และจะต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 201 และ 202 ในการบริหารราชการแผ่นดินมี พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น โดยความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีอำนาจกำกับโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกรณีที่จำเป็น จะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีก็ได้ มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในการปฏิบัติตามนโยบาย ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงต่างๆ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ แต่มีข้อจำกัดว่า อำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 11 กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้ง หรือลดทอนอำนาจที่มีอยู่ของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้บทบัญญัติมาตรา 217 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ในการให้รัฐมนตรีพ้นจากการเป็นรัฐมนตรี แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดินว่า มีขอบเขตกว้างขวางมาก โดยมีอำนาจเหนือข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งในทุกกระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทบวงต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการ กำกับดูแลกระทรวง ทบวง และรัฐวิสาหกิจนั้นๆ โดยนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลตามลำดับชั้นผ่านรัฐมนตรี หรือเข้าไปเป็นประธานกรรมการ ในบรรดาคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้น ในส่วนของ กสท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดนั้น ปรากฏตามประกาศบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน ) เรื่องโครงสร้างองค์กรสายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 อนุมัติให้แปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยยังคงมีอำนาจและสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องแต่งตั้งกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทนี้ และกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่า ความเห็นของกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวเป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 23 ดังกล่าว สำหรับในส่วนของ กสท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดแล้วเช่นกันนั้น เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) โดยการแปลงสภาพจาก กสท.ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และได้รับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ของ กสท. ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้กิจการดำเนินไปโดยต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้บริษัทยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจสังกักกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน และยังปรากฏตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ว่า อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาตรา 22 และ 23 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนทุนเป็นหุ้นตามกฎหมายดังกล่าว ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังทั้งหมด และระหว่างที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้โอนหุ้นที่ถือให้แก่บุคคลอื่น มิให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดในส่วนที่ว่าด้วยผู้ถือหุ้นและจำนวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนพึงถือไว้ได้ มาใช้บังคับ และให้ถือว่าความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับบริษัทนั้น เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ประกอบกับข้อบังคับของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน ) ข้อ 27 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่ตั้งบุคคลเพื่อเป็นกรรมการบริษัท และข้อ 25 กำหนดให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อน ถึงคราวออกตามวาระได้ วรรค 2 กระทรวงการคลังเห็นว่า เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงเห็นควรให้คณะกรรมการบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ใหม่ ดังนั้น วรรค 3 โดยให้ถือความเห็นของกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามนัย มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ.2536 โดยมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ มาตรา 7 ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาประเทศโดยการให้สินเชื่อค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง ให้บริการที่จำเป็นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมเศรษฐกิจ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มอบหมายและผู้จัดการเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน อย่างน้อย 3 คน วรรค 2 ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการตามวรรค 1 คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 14 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ(3) รัฐมนตรีให้ออกด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มาตรา 19 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริหารได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ดังนั้นเมื่อได้พิจารณาถึงที่มาการแต่งตั้ง และการให้คุณให้โทษ ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนทำให้เห็นได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายกรัฐมนตรี มีความเกี่ยวข้องอยู่ด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโดยตรงตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ยังมีอำนาจกำกับดูแลโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้น รวมทั้งผ่านคณะกรรมการคณะต่างๆ ที่รับผิดชอบกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐนั้นๆ อยู่ด้วย ใน 5 กรณีที่ถูกกล่าวหานั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้อง สั่งการที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีโดยชัดแจ้ง อยู่ 2 กรณี คือ กรณีการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต และให้นำค่าภาษีสรรพสามิตไปหักออกจากค่าสัมปทาน เพื่อจะต้องแบ่งส่วน แบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน โดยเป็นการสั่งการและมอบนโยบายให้ปฏิบัติเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้าราชการ และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้วงเงินสินเชื่อแก่รัฐบาลสหภาพพม่า โดยผู้ถูกกล่าวหาได้สั่งการและมอบนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ข้าราชการและคณะกรรมการของธนาคารดังกล่าว ส่วนอีก 3 กรณีคือ กรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วมและให้นำค่าใช้เครือข่ายร่วมหักออกจากส่วนแบ่งค่าสัมปทานก่อนจะนำส่งหน่วยงานภาครัฐผู้ให้สัมปทาน และกรณีการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม และสนับสนุนธุรกิจดาวเทียม ตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาล้วนแต่เป็นผู้กำกับดูแลในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นลำดับชั้นลงไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ด้วย สำหรับคณะกรรมการประสานงานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ สัญญาสัมปทานข้อ 39 ระบุให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม รวม 4 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ส่วน ทศท. และ กสท. แม้จะได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดย ทศท.เป็นบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) กสท. เป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) แต่ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัททั้ง 2 เป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เพียงแต่ ทศท. และกสท. อยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ในช่วงแรก ต่อมาได้โอนงานส่วนนี้ให้กระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ดูแลรับผิดชอบ ตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดังกล่าว ต่างเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับ 3 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เริ่มต้นมาจากการร้องขอของบริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือที่มีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรณีการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม และอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ได้นั้น ตามคำให้การและคำเบิกความของ นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้จัดการผลประโยชน์ นายพิชัย อยู่คง ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการ ทศท. นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลประโยชน์ และนางพจนีย์ ไทยจินดา ผู้อำนวยการกองผลประโยชน์ที่ 1 ฝ่ายผลประโยชน์ ได้ความในทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาหลักการที่บริษัท เอไอเอส เสนอต่อ ทศท. เพื่อพิจารณารวม 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 28 สิงหาคม โดยวาระเพื่อพิจารณาเป็นวาระจรทั้ง 2 ครั้ง มีนายสุธรรม มะลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท. เป็นผู้ที่นำเรื่องเข้าที่ประชุม ในการประชุมครั้งแรก ซึ่งไม่ได้เสนอโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ดังที่เคยปฏิบัติมา และการนำเสนอปัญหาทางด้านเทคนิค เกี่ยวกับการที่บริษัท เอไอเอส ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่พอ และ ทศท.ควรรับผิดในช่วงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้เครือข่ายร่วม เกิดขึ้นจากการหารือกันระหว่างนายสุธรรมกับนายวรุฒ ซึ่งเป็นข้อเสนอต่อ ทศท.ว่า ควรอนุมัติให้บริษัท เอไอเอส หักค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ทศท.ได้อนุมัติเรื่องนี้แล้ว การดำเนินการต่อจากนั้นไม่เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมีพฤติการณ์ของฝ่ายผู้บริหาร ทศท.ที่จะสนองตอบการร้องของบริษัท เอไอเอส อย่างรวดเร็ว ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการ ทั้งในกรณีที่ขอปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า และกรณีอนุมัติให้ใช้เครือข่ายร่วม และหักค่าใช้จ่ายเครือข่ายร่วมออกจากส่วนแบ่งรายได้ก่อนที่จะนำส่งให้ ทศท. กรณีโครงการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่บริษัท ชินคอร์ป ขออนุมัติให้บริษัท ไทยคม ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ก็มีพฤติการณ์ทำนองเดียวกัน โดยปรากฏว่าได้มีการเสนอรายงานและมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุมัติไปก่อนที่คณะกรรมการประสานงานจะได้รับรองรายงานการประชุม ทั้งไม่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยแม้จะมีการเสนอเรื่องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่ปรากฏจากบันทึกถ้อยคำของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ให้ถ้อยคำต่ออนุกรรมการไต่สวนว่า ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เนื่องจากสัญญาสัมปทานเรื่องดังกล่าว มีผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ จึงให้ถอนเรื่องกลับคืนไป นอกจากนี้ นายพิพัฒน์ ปทุมวงศ์ ผู้จัดการส่วนผลบประโยชน์ในขณะนั้น เบิกความว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้น่าจะมีการส่งสัญญาณมาจากภายนอก เนื่องจากบริษัท เอไอเอส มีข้ออ้างในเรื่องที่จะให้บริการแก่ประชาชนในราคาที่ถูกลง แต่ต่อมากลับมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส และประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการอนุมัติให้ตามคำร้องขอของบริษัท เอไอเอสได้ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ผู้อำนวยการส่วนวางแผนการเงิน เบิกความประกอบเอกสารหมาย ร 231 ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ค่อนข้างรวดเร็ว และมีความพยายามที่จะเสนอเรื่องให้ทันในวันที่ 12 เมษายน 2544 ที่มีการประชุมคณะกรรมการ ทศท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำอันไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหา ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตลอด ดังที่ได้วินิจฉัยไปข้างต้น ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การดำเนินการทั้ง 5 กรณีดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีของผู้ถูกกล่าวหา องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหาใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของบริษัท ชินคอร์ป ตามคำร้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้น และเงินปันผล ตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงใด เห็นว่าเมื่อผลของการดำเนินการทั้งหมดเป็นการเอื้อประโยชน์โดยตรงแก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส กลับบริษัท ไทยคม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ย่อมทำให้บริษัท ชินคอร์ป ได้รับประโยชน์ในรูปผลกำไรจากการประกอบการของตนเอง และเงินปันผลกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม นอกจากนี้ยังเป็นการให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป ถึงความมั่นคงของกิจการอันก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้สนใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้มูลค่าหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเงินปันผลค่าหุ้นและเงินค่าขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ที่รับไว้ในนามผู้คัดค้านที่ 2-5 จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ.2542 แต่โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินดังกล่าวระหว่างสมรสกันตามกฎหมาย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่า ศาลจะสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้หรือไม่ เห็นว่า การจะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินไม่ว่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น อันเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน หรือเป็นสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่จะสามารถยกขึ้นยันต่อบุคคลอื่นได้นั้น ได้ความว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาโดยชอบและในทางที่สมควร คดีนี้ได้ความจากการไต่สวนว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชินคอร์ป ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด มาตั้งแต่ปี 2546 หุ้นที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถืออยู่รวมกันมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูง ทั้งยังร่วมดำเนินกิจการด้วยกันและมีผลประโยชน์ร่วมกันตลอดมา ดังได้ความจากผู้คัดค้านที่ 3 ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนักบริหาร ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ดูแลจัดการด้านการเงินและทรัพย์สิน ในช่วงเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาก่อตั้งบริษัทแอมเพิลริช แล้วขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาให้แก่บริษัท แอมเพิลริช ได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ออกเงินจ่ายค่าซื้อหุ้นให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาแทนบริษัท แอมเพิลริช ไปก่อน จากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจึงนำเงินที่ได้รับดังกล่าวคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในภายหลัง นอกจากผู้คัดค้านที่ 1 ยังมีส่วนร่วมในการหลีกเลี่ยงข้อห้ามการเป็นผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยการโอนหุ้นในส่วนของตนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แสวงหาประโยชน์ร่วมกันตลอดมา เมื่อฟังว่าเงินปันผลค่าหุ้น และเงินที่ได้จากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาอันเป็นการได้มาโดยมิชอบเสียแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่อาจอ้างว่า เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส หรือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันเพื่อรับการคุ้มครองสิทธิในส่วนของตนได้ ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เงินในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดินได้ด้วย ส่วนเงินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของแผ่นดินเพียงใดนั้น เห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินไว้ 2 กรณี ได้แก่คำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การที่ทรัพย์สินหรือหนี้สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือหนี้สินลดลงผิดปกติ และคำว่า ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งหมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความหมายของคำดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า มูลคดีของการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน อาจแยกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่ง กับที่ยื่นเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว พบว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติกรณีนึง กับการที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ อีกกรณีหนึ่ง ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 คัดค้านในทำนองว่า ก่อนผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระแรก ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 มีทรัพย์สินตามรายการที่ระบุในบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมูลค่ารวมท 15,124 ล้านบาท จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินในส่วนนี้ตกเป็นของแผ่นดินได้นั้น เห็นว่า คดีนี้ คตส.ดำเนินการไต่สวน และผู้ร้องยื่นคำร้องกล่าวถึงการที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท ชินคอร์ป โดยเป็นผู้ถือหุ้น แล้วปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่นายกรัฐมนตรีกระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือ และทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้อง ก็มุ่งเฉพาะเงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีอยู่ในกรณีหลัง อีกทั้งทางไต่สวนของ คตส. และคำร้องของผู้ร้อง ไม่มีคำขอบังคับไปถึงทรัพย์สินอื่น จึงไม่มีข้อต้องพิจารณาตามคำคัดค้านดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 แต่อย่างไรก็ดี ยังมีข้อต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า เงินปันผล และเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรทั้งจำนวนหรือไม่ ในข้อนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และร่ำรวยผิดปกติ แล้ว เห็นว่า ไม่ว่ามูลคดีจะเป็นกรณีใดกรณีดังที่กล่าวมา ทรัพย์สินอันจะนำมาพิจารณาว่าเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ย่อมต้องเป็นทรัพย์สินนอกเหนือจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอยู่แล้ว อันอยู่ในความหมายธรรมดาของการร่ำรวยผิดปกตินั่นเอง สำหรับเงินปันผลค่าหุ้นที่ได้จากบริษัท ชินคอร์ป เป็นส่วนของกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท ชินคอร์ป บางส่วนและที่ได้จากเงินปันผลตามจำนวนที่ถืออยู่ในบริษัท เอไอเอส และบริษัท ไทยคม บางส่วน ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว และต้องตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ส่วนเงินที่ได้จากการขายหุ้น เป็นเงินที่มีมูลค่าเดิมของหุ้นรวมอยู่ด้วย ทรัพย์สินที่ได้มานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว คือ ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น การจะให้ค่าขายหุ้นตกเป็นของแผ่นดินทั้งจำนวน ย่อมเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 และเมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ตนปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัญญาสัมปทานจากรัฐ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 ประกอบพฤติการณ์กับผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 หาทางหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมาย ด้วยการให้ผู้คัดค้านที่ 2-5 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไว้แทน รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี กระทำการต่างๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัทในเครือดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมไม่เป็นการสมควรที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้รับประโยชน์ที่มีผลมาจากการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงถือว่า ประโยชน์จากราคาหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ส่วนที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันก่อนที่ผู้ถูกกล่าวหาจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวาระแรก คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ศ 7 แล้วปรากฏว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป มีราคาซื้อขายเฉลี่ยหุ้นละ 213.09 บาท เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นหลังเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาทแล้ว เท่ากับราคาซื้อขายในวันดังกล่าวมีราคาหุ้นละ 21.309 บาท ครั้นคำนวณจากหุ้นจำนวน 1,419,490,150 หุ้น ที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,247,915,606.35 บาท อันถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีอยู่แต่เดิม และไม่อาจให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้องได้ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินคงมีเฉพาะเงินปันผลค่าหุ้น จำนวน 6,898,722,129 บาท และเงินที่ได้จากการขายหุ้นหังหักราคาหุ้นที่มีอยู่เดิมแล้ว จำนวน 39,474,965,325.70 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,373,687,454.74 บาท พร้อมดอกผลของเงินจำนวนดังกล่าว ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า มีเหตุที่ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งอายัดของ คตส.ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้ง 22 หรือไม่ เพียงใด เห็นว่าสำหรับผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ได้ความว่า การยื่นคำร้องขอพิสูจน์ต่อ คตส. และคตส.มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์สินแล้ว ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.036/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ที่ คตส.037/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 และที่ คตส.014/2551 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 จึงไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ์ และศาลไม่จำต้องพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 ต่อไป ส่วนผู้คัดค้านอื่นนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้วินิจฉัยแล้วว่า เงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อพิจารณารายการทรัพย์สินที่ คตส.มีคำสั่งอายัดไว้ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส และผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นแทนดังที่วินิจฉัยมา ปรากฏว่ามีจำนวนเพียงพอกับจำนวนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยคำคัดค้านของผู้คัดค้านอื่นที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของ คตส.อีกต่อไป ศาลพิพากษาว่า ให้เงินที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝาก นับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับเอาจากทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ อันได้แก่ บัญชีเงินฝากและหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37287-9 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-2-31081-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลบ บัญชีเลขที่ 001-0-55188-2 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-414524-4 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12631-3 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12222-0 ชื่อบัญชี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-1-11300-9 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-2-41335-5 ชื่อบัญชี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-78188-1 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-11188-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13095-6 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-27722-2 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ บัญชีเลขที่ 127-2-37342-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ 127-2-37343-0 ชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-55232-5 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาย่อยเซ็นจูรี บัญชีเลขที่ 208-1-00022-9 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-2-31008-8 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-13092-2 ชื่อบัญชีนายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-12632-1 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หน่วยลงทุน น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทขพาณิชย์สะสมทรัพข์ตราสารหนี้ เลขทะเบียนที่ 111-8-0226591-6 จำนวน 13215,843.1522หน่วย หน่วยลงทุนของพานทองแท้ ชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยสะสมทัพย์ ตราสารหนี้ เลขที่บัญชี 001-8-0283005-7 จำนวน 70,815,404.7729 หน่วย ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้แก่ บัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-63930-3 ชื่อบัญชี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม บัญชีเลขที่ 001-1-1-55021-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-03165-7 ชื่อบัญชีคุณหญิพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04128-8 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สำนักรัชโยธิน บัญชีเลขที่ 111-1-04129-6 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาซอยอารีย์สัมพันธ์ บัญชีเลขที่ 056-2-00065-1 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) สาขาถนนสุขสวัสดิ์ บัญชีเลขที่ 164-2-28388-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร บัญชีเลขที่ 146-0-44839-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 013-2-08229-9 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารทหาไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเพนนินซูลา บัญชีเลขที่ 202-3-00330-0 ชื่อบัญชีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ธนาคารนครหลวงจำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย บัญชีเลขที่ 108-3-09761-3 ชื่อบัญชีนางพจมาน ชินวัตร ตามคำสั่งคณะรรมการตรวจสอบที่ คตส.029/2550 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2550 บัญชีเงินฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02118-9 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ฝากธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน 8 บัญชีเลขที่ 084-3-02187-4 ชื่อบัญชีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ตามคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.028/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 หน่วยลงทุนของคุณหญิงพจมานชินวัตร ในบัญชีกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ เลขที่ทะเบียน 001-8-266016-6 จำนวน 57,799,458.9970 หน่วย การบังคับเอาจากทรัพย์สินดังกล่าว หากไม่พอให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ คตส.ได้มีคำสั่งอายัดไว้ หากได้เงินครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว ก็ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินอื่น ของผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 และให้ยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 ที่ 14 ที่ 17 และที่ 19 กับเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านรายอื่น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลบันทึกรายงานกระบวนการพิจารณาไว้ว่า นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ ผู้ร้อง ผู้รับมอบอำนาจของผู้ถูกกล่าวหา ทนายผู้ถูกกล่าวหา ผู้คัดค้าน และทนายผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 21 มาศาล ส่วนผู้คัดค้านที่ 22 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มากศาลให้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความที่มาศาลฟังในวันนี้แล้ว โดยถือว่าผู้คัดค้านที่ 22 ทราบคำพิพากษาของศาลในวันนี้ด้วยแล้ว

คำพิพากษายึดทรัพย์ทักษิณ ตอน 5

แม้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด จะทำให้บริษัท เอไอเอส มีรายจ่ายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น หาเป็นเหตุให้ต้องกำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันใหม่ โดยอ้างว่าเป็นการให้บริการรูปแบบใหม่ที่ไม่มีกำหนดไว้ในสัญญาหลัก ดังที่กล่าวอ้าง องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีความเห็นด้วยเสียงข้างมากว่า เป็นการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท เอไอเอส ทั้งนี้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการประสานพิจารณาอนุมัติเสียก่อน เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงาน หรือดำเนินกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยเรื่องนี้เปลี่ยนไป กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับ... ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 (ครั้งที่ 7) ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม หรือโรมมิ่ง และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอไอเอส หรือไม่ ในข้อนี้ปรากฏว่า บริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอไอเอส คิดเป็นร้อยละ 42.90 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เมื่อปี 2533 บริษัท เอไอเอส ได้เข้ารับสัญญาสัมปทานอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก ทศท. มีกำหนดอายุสัญญา 20 ปี และในปี 2539 ทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญา(ครั้งที่ 4) ลงวันที่ 20 กันยายน 2539 ขยายกำหนดอายุสัญญาเป็น 25 ปี ต่อมาบริษัท เอไอเอส ต้องการขยายการให้บริการลูกค้าได้ทดลองเข้าไปร่วมใช้เครือข่ายของบริษัท ดีพีซี ที่บริษัท เอไอเอส เป็นผู้มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ประมาณร้อยละ 98.55 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยบริษัท ดีพีซี ได้รับสัมปทานการจัดสรรคลื่นความถี่ และเป็นคู่สัญญากับ กสท. ครั้นวันที่ 20 กันยายน 2549 ทศท.และบริษัท เอไอเอส ตกลงแก้ไขสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ครั้งที่ 7) เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายร่วม มีสาระสำคัญคือ ทศท.อนุมัติให้บริษัท เอไอเอส สามารถนำค่าใช้เครือข่ายร่วม ที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้บริการรายอื่นมาหักออกจากรายได้ค่าบริการ และเงินอื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ ก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้แบบอัตราก้าวหน้า ตามสัญญาหลัก ข้อ 30 และข้อตกลงต่อท้ายสัญญา (ครั้งที่ 4) ข้อ 7 โดยบริษัท เอไอเอส อ้างว่า เหตุที่ต้องใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท ดีพีซี เพราะบริษัท เอไอเอส มีปริมาณเลขหมายที่เปิดให้บริการจำนวนมาก ไม่เพียงพอกับความถี่ที่ได้รับจัดสรรจาก ทศท. 7.5 MHz ทำให้ขีดความสามารถของโครงข่ายจำกัดกว่าโครงข่ายอื่น และมีข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถวางโครงข่ายเพิ่มเติมได้อีก และเพื่อเป็นการลดข้อจำกัดทางเทคนิคของบริษัท เอไอเอส จึงต้องไปใช้เครือข่ายร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่ง ทศท.ควรรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดหาคลื่นความถี่ ข้ออ้างของบริษัท เอไอเอส ดังกล่าวนี้ เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท เอไอเอส เอง ซึ่งเป็นเรื่องของการแข่งขันในทางการค้าในการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ส่วนการกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ หรือข้อจำกัดเกี่ยวกับความถี่ที่ได้รับจาก ทศท. เป็นเรื่องที่บริษัท เอไอเอส สามารถคาดหมายได้อยู่แล้วในขณะที่เข้าทำสัญญาสัมปทานกับ ทศท. เพราะสัญญาสัมปทาน ข้อ 29.9 ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ทศท.จะต้องจัดหาคลื่นความถี่ย่าน 909-915 MHZ และ 950-960 MHz สำหรับระบบ NMT900 ให้กับบริษัท เอไอเอส 400 ช่วงสัญญาณ ส่วนความถี่ที่จะใช้กับระบบจีเอสเอ็ม ทศท.จะดำเนินการขอและจัดสรรให้ต่อไปเมื่อได้รับแจ้งจากบริษัท เอไอเอส ทั้งปรากฏจากรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร ทศท.ครั้งที่ 1/2545 วันที่ 21 สิงหาคม 2545 วาระที่ 4.12 เรื่องขออนุมัติหลักการใช้เครือข่ายร่วมกัน ในส่วนข้อพิจารณาของที่ประชุม ข้อ 2 ว่า สำหรับรายจ่ายของบริษัท เอไอเอส จากการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น ถือเป็นภาระหน้าที่ของบริษัท เอไอเอส ที่จะต้องขยายโครงข่ายให้สามารถรองรับการให้บริการ โดยบริษัท เอไอเอส จะเลือกวิธีการลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม หรือการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทศท.จัดจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับบริษัท เอไอเอส จนเต็มความสามารถของ ทศท. เท่าที่ ทศท.ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ย่อมเป็นการปฏิบัติไปโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามสัญญาสัมปทานแล้ว เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวมิได้อยู่ภายใต้อำนาจการบริหารจัดการของ ทศท.โดยตรง แต่ได้รับมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข อีกทอดหนึ่ง และข้อสัญญาสัมปทานไม่มีสภาพบังคับไว้แต่อย่างใด้ว่า ทศท.จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในเรื่องใดๆ หากไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นที่พอเพียงกับการให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัท เอไอเอส เพราะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการแข่งขันสูงและต่อเนื่อง ย่อมมีความไม่แน่นอนจากสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา และบริษัทผู้ให้บริการมักจะมีรายการส่งเสริมการขายในรูปแบบที่ต่างกันไป โดยมักจะใช้วิธีการของให้คู่สัมปทานอนุมัติให้ทดลองให้บริการไปก่อนแล้วจึงเจรจากับผู้ให้สัมปทานต่อเนื่องกันไป ซึ่งส่วนใหญ่การเจรจามักประสบความสำเร็จตามที่ผู้รับสัมปทานร้องขอ อันเป็นการปฏิบัติไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา ฝ่ายที่รับสัมปทานไปแล้วแต่มักไม่ตรงตามข้อสัญญาดังที่สำนักงานอัยการสูงสุดเคยพิจารณาแจ้งไว้ ซึ่งปรากกฏอยู่ในรายงานการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองวาระการประชุมของคณะกรรมการ ทศท.ครั้งที่ 3/2545 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ดังนั้นการที่ บริษัท เอไอเอส เลือกการขยายเครือข่ายการให้บริการ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยวิธีการใช้เครือข่ายร่วมกับบริษัท ดีพีซี ซึ่งถือได้ว่า เป็นบริษัทเดียวกับบริษัท เอไอเอส แทนที่จะลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการประหยัดเงินลงทุนการสร้างโครงข่าย และเป็นค่าใช้จ่ายจากการใช้เครือข่ายร่วมของบริษัทตนเอง บริษัท เอไอเอส ไม่อาจที่จะกล่าวอ้างในเรื่องจำนวนความถี่ที่ได้รับการจัดสรรจาก ทศท.ได้ ทั้งไม่อาจปัดให้เป็นความรับผิดชอบของ ทศท.ที่จะต้องจัดหาความถี่มาให้เพียงพอแก่การให้บริการของบริษัท เอไอเอส ทั้งบริษัท เอไอเอส มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 264 ข้อ 9 ข้อ 16 และ ข้อ 30 เมื่อสัญญาสัมปทานข้อ 9 กำหนดว่า บริษัท เอไอเอส ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญา และรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด ข้อ 16 กำหนดว่า ต้องจัดหาอุปกรณ์เซลูล่า 900 เพื่อให้เปิดบริการได้ ตามประมาณการลงทุนแผนการติดตั้งและสามารถบริการได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และต้องให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และข้อ 30 กำหนดว่าต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.เป็นรายปีตามหลักประกันขั้นต่ำ หรืออัตราร้อยละของรายได้ หรือผลประโยชน์อื่นใดที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าภาษีใดๆ ทั้งสิ้น จำนวนไหนมากกว่าให้ถือเอาจำนวนนั้น บริษัท เอไอเอสจึงต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเอง การแก้ไขสัญญาเพื่อปัดความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงขัดต่อสัญญาหลัก และถือว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยผ่านการใช้เครือข่ายร่วม เป็นรายได้ และผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส พึงได้รับในรอบปีที่จะต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ ทศท.ตามสัญญาหลักข้อ 30 มิใช่เป็นรายได้พิเศษนอกสัญญาดังที่บริษัท เอไอเอส กล่าวอ้าง อย่างไรก็ตาม การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลัก ด้วยการนำค่าใช้จ่าย ค่าเครือข่ายร่วม ซึ่งบริษัท เอไอเอส จะต้องรับผิดชอบตามสัญญา มาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ ย่อมเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ทศท. ที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการใช้บริการของลูกค้าเท่าจำนวนครั้งต่อนาทีที่มีการใช้บริการเครือข่ายร่วมกับเครือข่ายอื่น นับจากวันที่สัญญาแก้ไขมีผลบังคับ เดือนตุลาคม 2545 ถึงเดือนเมษายน 2551 ปรากฏจากรายงานการตรวจสอบว่า บริษัท เอไอเอส ใช้เครือข่ายร่วม 13,283,420,483 นาที คิดเป็นเงิน 6,960,359,401 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการแก้ไขสัญญาที่ไม่ชอบด้วยสัญญาหลัก ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่แท้จริงอยู่ในบริษัท ชินคอร์ป และในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าว ส่วนข้อที่ว่า การแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(ครั้งที่ 7 ) จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงาน ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป ส่วนการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับบริษัท ดีพีซี ปัญหาที่ควรวินิจฉัยเป็นประการแรก มีว่า ขณะเกิดเหตุผู้ถูกกล่าวหาถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป หรือไม่ ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า หน่วยงานของรัฐภายใต้อำนาจหน้าที่บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สมเหตุผล เพราะการที่ กสท.ปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมให้กับบริษัท ดีพีซี เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอไอเอส ที่มีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นอยู่จำนวน 1,263,712,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.06 ผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป อยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลประโยชน์ดังกล่าวจึงตกแก่ผู้กล่าวหา นอกจากนี้ผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการปรับลด ยังตกแก่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งมีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป เงินที่ได้จากการขายหุ้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความว่า ผู้ถูกกล่าวหารวบรวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ทั้งหมดขายให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2549 แม้การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2548 ด้วยการที่บริษัท เอไอเอส มีหนังสือตามเอกสารหมาย ร 353 หน้า 13773 ถึงบริษัท ดีพีซี ขอปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม จากเดิม 2.10 บาท เป็น 1.10 บาท อันเป็นเวลาก่อนผู้ถูกกล่าวหารวบรวมหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ขายให้กลุ่มเทมาเส็ก ก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า บริษัท เอไอเอส ได้รับประโยชน์จาก กสท. ดำเนินการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมให้กับบริษัท ดีพีซี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง 31 มีนาคม 2550 เป็นเงิน 796,220,310 บาท รวมทั้งที่ได้ความจากการไต่สวนว่า ในวันที่ 28 มิถุนายน 2549 ซึ่งนายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. ได้อนุมัติให้ปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ตามที่ฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ กสท. โดยนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ มีหนังสือลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 เสนอ และให้มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2549 เป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น เป็นเวลาหลังจากวันที่มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก แล้ว ผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่ได้ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ในขณะที่มีการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ดังนั้นหากผลประโยชน์ที่บริษัท เอไอเอส ได้รับจากการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ตกแก่หุ้นบริษัท ชินคอร์ป เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์ย่อมมิใช่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่เป็นกลุ่มเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ที่ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ไปแล้ว และเป็นผู้ถือหุ้นดังกล่าวอยู่ในขณะนั้น องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ผลประโยชน์อันเกิดจากการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม จึงไม่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นในเรื่องปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมอีกต่อไป กรณีการละเว้นอนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการดาวเทียม ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และกิจการของครอบครังของผู้ถูกกล่าวหา ในข้อนี้มีข้อที่จะต้องพิจารณาตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการตรวจสอบ และตามคำร้องของผู้ร้องอยู่ 3 กรณีด้วยกัน กล่าวคือ กรณีอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ กรณีอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เรื่องการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ป ในบริษัท ไทยคม จากที่ต้องถือครองหุ้นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 40 และกรณีอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจากการที่ดาวเทียมไทยคม 3 เกิดความเสียหาย จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ ซึ่งในเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศนี้ เป็นโครงการของประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์หลักจะให้มีดาวเทียมสื่อสารเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารภายในประเทศเท่านั้น โดยกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการในระยะเริ่มแรก ก่อนที่จะมีการปรับปรุงระบบราชการ และมีการจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขึ้นมารับงานส่วนนี้จากกระทรวงคมนาคม ในเวลาต่อมา โดยมีบริษัท ชินคอร์ป เป็นผู้รับสัมปทาน ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 1 กันยายน 2534 ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นชื่อของบริษัท ชินคอร์ป ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 449 ตามสัญญาดังกล่าวได้ระบุรายละเอียดไว้ในบทนำว่า สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 ณ กระทรวงคมนาคม โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งต่อไปจะเรียกว่ากระทรวงฝ่าย 1 กับบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า บริษัทอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศเรื่องข้อกำหนดในการทำข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 20 กันยายน 2531 ให้ภาคเอกชนสนใจยื่นเสนอแสดงความจำนงที่จะขอรับสัมปทานเพื่อดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ และบริษัทเป็นผู้หนึ่งที่ได้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวง และโดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดังกล่าวข้างต้น เป็นโครงการของประเทศ ซึ่งเมื่อรัฐให้สัมปทานแก่บริษัทแล้ว ดาวเทียมที่บริษัทจัดส่งขึ้นไป ตลอดจนสถานีภาคพื้นดินที่บริษัทสร้างขึ้นจะต้องตกเป็นของรัฐทันที และโดยที่กระทรวงได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของบริษัทเป็นข้อเสนอซึ่งเป็นที่พอใจของกระทรวง ดังนั้นกระทรวงโดยอนุมัติของรัฐมนตรี จึงได้คัดเลือกและตกลงให้บริษัทได้เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการนี้ และตามข้อสัญญา ข้อ 1 สิทธิให้บริการวงจรดาวเทียม กระทรวงตกลงให้บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยกระทรวงตกลงให้บริษัทมีสิทธิ์ในการบริหารกิจการ และการให้บริการวงจรดาวเทียมทรานส์ปอนเดอร์ เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า วงจรดาวเทียม และมีสิทธิ์เก็บค่าใช้วงจรดาวเทียมจากผู้ใช้วงจรดาวเทียม ทั้งนี้ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ ข้อ 2 ระยะเวลาดำเนินกิจการและการคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงตกลงให้บริษัทมีสิทธิ์ในการดำเนินกิจการในข้อ 1 มีกำหนด 30 ปีนับแต่วันลงนามในสัญญา ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า อายุสัญญา และกระทรวงตกลงจะคุ้มครองสิทธิ์ในการดำเนินกิจการและให้บริการวงจรดาวเทียมของบริษัทไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการแข่งขัน และจัดให้ผู้ใช้บริการวงจรดาวเทียมและสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินใช้วงจรดาวเทียม มีกำหนดระยะเวลา 8 ปี นับแต่ลงนามในสัญญา หากพ้นกำหนดระยะเวลา 8 ปีดังกล่าวแล้ว การคุ้มครองสิทธิ์ของบริษัทเป็นอันหมดไป ข้อ 5 การดำเนินงานและแผนดำเนินงาน 5.1 บริษัทตกลง 5.1.1 จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดวงที่ 1 ขึ้นสู่วงโคจรออร์บิทอล โพซิชั่น ของกระทรวงตามที่กำหนดในข้อ 12 ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ตำแหน่งวงโครจร พร้อมจัดให้มีดาวเทียมสำรอง แบล็คอัพ และสำหรับดาวเทียมภาคพื้นดิน กราวน์แบล็คอัพ รวมทั้งจัดให้มีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ดวงที่ 2 และดวงต่อๆ ไป ขึ้นใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่องกันจนสิ้นอายุดาวเทียมดวงก่อน 5.1.4 จัดส่งดาวเทียมสำรองตาม 5.1.1 ขึ้นอยู่ในตำแหน่งวงโคจรอินออร์บิต แบ็กอัพ หลังจากดาวเทียมดวงแรกเริ่มให้บริการแล้วไม่เกิน 12 เดือน ข้อ 6 คุณสมบัติของดาวเทียม รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะดาวเทียมแซทเทิลไลท์เทคนิเชียน ทุกดวงที่บริษัทสร้างและจัดส่งตามสัญญานี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงก่อน และอุปกรณ์ทั้งหมดของดาวเทียม จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ยอมรับแล้วว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี ทั้งนี้คุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ตั้งแต่ดวงที่ 2 เป็นต้นไป จะต้องมีคุณสมบัติการใช้งานไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองดวงที่ 1 ตามที่กำหนดในข้อ 7 แต่จำนวนวงจรดาวเทียมชนิดย่านความถี่ซีแบนด์ หรือ เคยูแบนด์ ตามข้อ 7.1.1 ให้เป็นไปตามที่กระทรวงและบริษัทจะตกลงกัน และบริษัทรับรองว่า ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองของบริษัททุกดวงจะไม่ทำอินครายออร์บิต เว้นแต่ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง ซึ่งมิใช่เป็นดาวเทียมหลักสำรองแล้วแต่ยังสามารถให้บริการวงจรดาวเทียม ....(สัญญาณหาย)....เพื่อใช้งานต่อเนื่อง ข้อ 13 การนำวงจรดาวเทียมไปให้ประเทศอื่นใช้ บริษัทจะให้โอกาสเท่าเทียมกันในการขอใช้วงจรดาวเทียมของผู้ใช้วงจรดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศทุกราย และในกรณีที่มีวงจรดาวเทียมเหลือจากปริมาณการใช้ภายในประเทศ บริษัท ด้วยความเห็นชอบของกระทรวง สามารถนำวงจรดาวเทียมที่เหลือไปให้บริษัทอื่นใช้ได้ ข้อ 15 การโอนกรรมสิทธิ์ การส่งมอบ หรือรับมอบทรัพย์สิน บริษัทยอมให้ดาวเทียมทุกดวงที่จัดตั้งตามสัญญานี้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวง ในวันที่ผ่านการทดสอบใช้งานจากทั้งสองฝ่าย หลังจากดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแล้ว ส่วนสถานีควบคุมดาวเทียม รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามข้อ 5 หลังจากบริษัทจัดตั้งและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเรียบร้อยแล้ว บริษัทยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงทันที และกระทรวงจะมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้บริษัทครอบครอง เพื่อใช้ในการดำเนินการตามข้อกำหนด และเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้ อุปกรณ์ที่บริษัทจัดหามาภายหลังการส่งมอบทรัพย์สินตามวรรคแรก เพื่อใช้เกี่ยวกับการให้บริการวงจรดาวเทียมตามสัญญานี้ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทั้งนี้ บริษัทยอมให้อุปกรณ์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงทันที และกระทรวงจะมอบให้บริษัทครอบครองไว้เพื่อใช้ดำเนินกิจการเช่นเดียวกับวรรคแรก และ ข้อ 27 การใช้วงจรดาวเทียมโดยไม่เสียค่าตอบแทน บริษัทตกลงให้กระทรวง หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ ใช้วงจรดาวเทียมแบบ นัน พรีเอ็นติเบิล ทรานส์พอนเดอร์ ของดาวเทียมที่บริษัทจัดตั้งขึ้น ซึ่งใช้เป็นดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองในย่านความถี่ซีแบนด์ จำนวนหนึ่ง วงจรดาวเทียมทรานส์พอนเดอร์ ตลอดอายุสัญญานี้ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แก่บริษัท ทั้งนี้ กระทรวง ส่วนราชการ หรือหน่วยงานดังกล่าว จะไม่นำวงจรดาวเทียมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระทรวง ส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ มีสิทธิ์ที่จะใช้ในย่านความถี่เคยูแบนด์ ซึ่งได้ระบุไว้ในข้อ 6 ในเรื่องคุณสมบัติของดาวเทียมด้วย นอกจากข้อกฎหมายดังกล่าวแล้ว ในส่วนของข้อเท็จจริงสำหรับกรณีการอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้ส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ เพื่อให้เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 นั้น ในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้จัดสร้างและจัดส่งโดยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กระทรวงคมนาคม ตามสัญญาสัมปทาน ปรากฏว่า วันที่ 17 ธันวาคม 2536 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 1 วันที่ 7 ตุลาคม 2537 ได้จัดส่งดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 2 และวันที่ 16 เมษายน 2540 ได้จัดส่งดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 3 ปรากฏตามเอกสาร หมาย ร 442 และกระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลโครงการดาวเทียมอยู่ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ที่จะจัดส่งขึ้นสู่อวกาศต่อไป คือดาวเทียมไทยคม 4 แต่เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจัดส่งขึ้นสู่อวกาศนั้น บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอเลื่อนกำหนดหลายครั้ง ซึ่งต่อมาบริษัทผู้รับสัมปทานก็ได้ขอแก้กำหนดทางด้านเทคนิค โดยขอเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ได้มีการจัดส่งดาวเทียมดวงนี้ขึ้นสู่อวกาศในวงโคจร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ร 442 ร 443 ร 510 ร 519 ร 521 ร 522 และ ร 518 ในเรื่องโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดังกล่าว ตามข้อกำหนดประกาศแข่งขันสัมปทานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการสื่อสารภายในประเทศไว้อย่างชัดเจน และกำหนดให้มีดาวเทียมหลัก และระบบดาวเทียมสำรอง แต่ในส่วนของระบบดาวเทียมสำรองนั้น ไม่ได้มีการระบุถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่าจะเป็นระบบเช่า หรือสร้างอยู่ที่พื้นโลก หรือส่งขึ้นบนอวกาศ ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 490- ร 492 ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาในขณะนั้น ที่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในฐานะประธานบริษัทชินคอร์ปในขณะนั้น ได้เข้าร่วมแข่งขันรับสัมปทานกับเอกชนรายอื่นๆ และเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด กระทรวงคมนาคมจึงเชิญเข้าร่วมเจรจาเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น รวมถึงประเด็นดาวเทียมสำรอง ซึ่งข้อเสนอเดิมในการยื่นแข่งขันเพื่อรับสัมปทานระยะเวลา 30 ปีนั้น บางช่วงจะเป็นระบบเช่า โดยเช่าจากดาวเทียมประเทศอื่นเพื่อเป็นระบบสำรอง บางช่วงจะมีการสร้างไว้ที่ภาคพื้นดิน และอีกบางช่วงจะสร้างและส่งขึ้นสู่อวกาศ แต่เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเข้าร่วมเจรจาด้วยตนเอง ในการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอครั้งที่ 9/2533 ในวันที่ 27 ธันวาคม 2533 ได้มีการเสนอเพิ่มเติมว่า จะลงทุนมากขึ้นโดยตลอดอายุสัญญา 30 ปี จะสร้างและส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่อวกาศ ตลอดระยะเวลา ห่างจากดาวเทียมหลักไม่เกิน 12 เดือน ปรากฏตามรายงานการประชุมเอกสาร หมาย ร 474 ซึ่งต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้ทำหนังสือที่ ชว 001/2534 ลงวันที่ 2 มกราคม 2534 และที่ ชว 439/2534 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 เอกสารหมาย ร 460 ยืนยันข้อเสนอเพิ่มเติมดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อเสนอดังกล่าวนั้นเป็นข้อเสนอที่ทำให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอคณะรัฐมนตรี จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติออุมัติให้บริษัทชินคอร์ปได้รับสัมปทาน และมีการลงนามในสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยระบุเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนงาน คุณสมบัติของดาวเทียม ระบบดาวเทียมสำรอง และการเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินงานนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากระทรวงคมนาคมก่อน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ของสัญญาสัมปทาน ส่วนการที่จะนำวงจรดาวเทียมที่เหลือใช้จากประเทศไปให้ต่างประเทศใช้บริการ ต้องอยู่ภทายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงคมนาคม ตามที่ระบุไว้ในข้อ 13 ของสัญญาสัมปทาน หรือเอกสารหลัก ซึ่งจะมีเอกสารต่างๆ แนบท้ายไว้ โดยเฉพาะแผนดำเนินการนั้นได้ระบุรายละเอียดไว้ว่า ตามสัญญาระยะเวลาสัญญา 30 ปี จะส่งดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง จำนวน 2 ชุด แต่ละชุดมีดาวเทียม 2 ดวง รวมดาวเทียมทั้งหมด 4 ดวง ซึ่งดาวเทียมสำรองจะส่งขึ้นสู่อวกาศ มีระยะเวลาห่างจากส่งดาวเทียมหลักไม่เกิน 12 เดือน สำหรับการที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์นั้น ก็ได้ร้องขอโดยให้เป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม ปรากฏตามหนังสือที่ ชช (ส) 010 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 แต่ดาวเทียมไอพีสตาร์มีรายละเอียดทางเทคนิคที่ไม่เหมือนกับดาวเทียมไทยคม 3 กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้กรมไปรษณีย์โทรเลข ศึกษาข้อมูลทางเทคนิคของดาวเทียมไอพีสตาร์ กรมไปรษณีย์โทรเลขเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ ซึ่งไม่ใช่ดาวเทียมสำรองที่จะจัดสร้างแทนดาวเทียมไทยคม 4 แต่อย่างใด ปรากฏตามหนังสือที่ กค 0704 (ปว/14221) ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 เอกสารหมาย ร 514 และเมื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวเข้าสู่ทีประชุมคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ที่แต่งตั้งขึ้นตามสัญญาสัมปทานในคราวพิจารณาโครงการดาวเทียม ไอพีสตาร์ครั้งที่ 1/2545 ลงวันที่ 29 สิงหาคม/2545 ปรากฏตามรายงานการประชุมเอกสารหมาย ร 513 ที่ประชุมได้มีมติว่าเป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่เช่นเดียวกับความเห็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการประสานงานครั้งที่ 2/2545 ลงวันที่ 10 กันยายน 2545 กลับปรากฏตามรายงานการประชุมว่า มีการขอแก้ไขมติครั้งที่ 1/2545 ข้างต้น เป็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมดวงหลักหรือสำรอง ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ต้องมีการทำแผนสำรอง และคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์นั้นต้องไม่ด้อยไปกว่าดาวเทียมดวงอื่น และเป็นไปตามสัญญาแล้ว ซึ่งเท่ากับมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองได้ตามที่บริษัทผู้รับสัมปทานร้องขอ และเสนอขออนุมัติโครงการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคม ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 515 ทั้งที่ยังไม่มีการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการประสานงานครั้งที่ 2/2545 ครั้นเมื่อมีการทำหนังสือเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือที่ คค 0208/สนผ.1863 ลงวันที่ 18 กันยายน 2545 ซึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้มีการอนุมัติปรากฏตามเอกสารหมาย ร509 ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมการประสานงานใช้วิธีทำหนังสือเวียนไปยังคณะกรรมการประสานงาน ปรากฏตามหนังสือที่ คค0208/ว.7386 ลงวันที่ 27 กันยายน 2545 เพื่อขอให้รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2/2545 โดยเป็นการรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2545 ด้วย และกำหนดไว้ว่า ขอให้แก้ไขภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โดยมิได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานเพื่อลงมติ พร้อมกันนี้ ในวันเดียวกันนั้น กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือแจ้งบริษัทไทยคมว่า ได้อนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว ปรากฏตามหนังสือที่ คค02084 ลงวันที่ 27 กันยายน 2545 เอกสารหมาย ร 510 เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้ตามที่ปรากฏถึงพฤติการณ์ในการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่เป็นการลัดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการในลักษณะที่รวบรัดและรีบเร่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดปกติวิสัย ยิ่งไปกว่านั้น ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2546 บริษัทผู้รับสัมปทานรายนี้ก็ยังได้นำโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่า 16,543 ล้านบาท ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นผู้พิจารณา โดยบริษัทผู้รับสัมปทานได้แนบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งระบุว่าได้มีการพัฒนาดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นครั้งแรกของโลก และได้มีการสร้างอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะเพื่อเชื่อมกับภาคพื้นดิน สำหรับระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศต่างๆ 18 แห่ง มากกว่า 14 ประเทศ โดยมีในประเทศไทย 1 แห่ง และมีแผนการตลาดที่จะจำหน่ายในประเทศไทยเพียงร้อยละ 6 แต่จะจำหน่ายในต่างประเทศ มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 94 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2547 บริษัทผู้รับสัมปทานได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ดังนั้นจากข้อเสนอของผู้ถูกกล่าวหาเอง ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนบริษัทชินคอร์ป ที่ยื่นแข่งขันเพื่อเข้ารับสัมปทาน รวมทั้งเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้รับสัมปทานด้วยวาจาและทำหนังสือยืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นตลอดอายุสัญญา และจะส่งดาวเทียมสำรองขึ้นสู่วงโคจร เพื่อเป็นการสำรองดาวเทียมดวงหลัก และมีระยะเวลาห่างจากดวงแรกไม่เกิน 12 เดือน อยู่คู่กันเพื่อให้ใช้งานได้โดยต่อเนื่อง จึงได้ระบุระบบดาวเทียมสำรองไว้ในสัญญาสัมปทาน ข้อที่ 5.1.4 ข้อ 6 และข้อ 7 ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณย่านความถี่ซีแบนด์ จำนวน 25 ทรานส์พอนเดอร์ และเคยูแบนด์ 14 ทรานส์พอนเดอร์ โดยเฉพาะข้อ 27 ได้ระบุให้กระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่กระทรวงเห็นชอบ ใช้วงจรดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองเฉพาะแต่ในย่านความถี่ซีแบนด์จำนวน 1 วงจรดาวเทียม ได้ตลอดอายุสัญญาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์มีคุณสมบัติทางเทคนิค พัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะครั้งแรกของโลก ตามที่จดสิทธิบัตรไว้ โดยใช้ย่านความถี่เคยูแบนด์ รับและส่งข้อมูลให้ลูกค้าในลักษณะสปอตบีม 84 บีม เชพบีม 3 บีม และบรอดคาสต์บีม 7 บีม และใช้ย่านความถี่เคเอแบนด์ในการสื่อสารรับส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน กับดาวเทียมบนอวกาศในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ ไม่มีย่านความถี่ซีแบนด์ที่จะให้กระทรวงคมนาคมใช้จำนวน 1 วงจรดาวเทียมได้ตลอดอายุสัญญา โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน และไม่มีข้อตกลงว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อทดแทน ทั้งที่ดาวเทียมไทยคม 3 ซึ่งเป็นดาวเทียมหลัก มีช่องสัญญาณย่านความถี่ซีแบนด์ และเคยูแบนด์ จึงเห็นว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ดวงต่อดวง ได้ด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ได้พิจารณาคุณสมบัติของดาวเทียมไอพีสตาร์แล้ว เห็นว่าดาวเทียมหลักดวงใหม่ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ตามหนังสือที่ คค0704 (ปว)/14221 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2545 หากดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ บริษัทไทยคมก็จะต้องจัดสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง ตามสัญญาสัมปทานข้อ 5.1.1 ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์อีก 1 ดวง ประกอบกับในคราวพิจารณาอนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ของคณะกรรมการประสานงาน ตามสัญญาสัมปทานครั้งที่ 1/2545 วันที่ 29 สิงหาคม 2545 มีการลงมติว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายงานการประชุม โดยอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองตามผลการประชุมของคณะกรรมการประสานงานตามสัญญาสัมปทานครั้งที่ 2/2545 วันที่ 10 กันยายน 2545 จึงขัดแย้งกัน ต่อมาได้มีการเสนอความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งที่ยังไม่ได้มีการรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ได้อนุมัติคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมสำรองตามที่เจ้าหน้าที่เสนอ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 โดยปรากฏว่าในภายหลังได้มีการจัดทำหนังสือเวียนให้คณะกรรมการประสานงานแต่ละท่านรับรองรายงานการประชุมทั้ง 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 เช่นนี้ เมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมหลัก คือดาวเทียมไทยคม 3 ได้ ทำให้ความมั่นคงในการสือสารดาวเทียมของชาติต้องเสียหายจากการที่ไม่มีดาวเทียมไทยคม 4 เพื่อเป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 ได้ทั้งดวง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทผู้รับสัมปทาน คือบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่มีภาระที่จะต้องใช้เงินทุน หรือระดมทุน โดยการกู้ยืมเงินเพื่อเพิ่มทุน เพื่อนำเงินมาลงทุนในการส่งดาวเทียมไทยคม 4 เป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าก่อสร้างดาวเทียมไทยคม 3 ตามเอกสารการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน และในทางกลับกัน ภาครัฐก็ต้องเสียหายจากการที่ไม่ได้รับมอบทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน คือดาวเทียมไทยคม 4 มูลค่า 4,000 ล้านบาท เช่นกัน นอกจากนี้ การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นโครงการที่ได้ให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังทื่ปรากฏจากคุณสมบัติดาวเทียมไอพีสตาร์ ที่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ยื่นประกอบการ ยื่นคำร้องขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 501 ที่ได้ระบุถึงแหล่งหารายได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งหวังทางการค้าและรับรองการใช้งานอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้งานในต่างประเทศ โดยได้มีการลงทุนสร้างอุปกรณ์เชื่อมต่อ (gateway) ในประเทศต่างๆ 18 แห่ง รวมกว่า 14 ประเทศ แต่สร้างไว้ในประเทศไทยเพียง 1 แห่งเท่านั้น ส่วนแผนการจำหน่ายระบุไว้ในการจำหน่ายในต่างประเทศถึงร้อยละ 94 แต่จำหน่ายในประเทศเพียงอัตราร้อยละ 6 จึงเห็นได้ว่าส่วนที่จำหน่ายในต่างประเทศถึงร้อยละ 94 ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ส่วนที่เหลือใช้จากอัตราร้อยละ 6 ที่ใช้ในประเทศตามข้อสัญญาสัมปทาน โดยส่วนที่ใช้ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่นั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากส่วนที่ใช้ในประเทศ ดังนั้นดาวเทียมไอพีสตาร์จึงเป็นดาวเทียมหลักที่จัดสร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศเป็นหลัก ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน และเป็นเรื่องที่อยู่นอกกรอบแห่งสัญญาที่ว่า จะใช้เพื่อเป็นดาวเทียมสำหรับสื่อสารภายในประเทศ และหากเหลือใช้จึงจะให้ต่างประเทศใช้บริการได้ ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขข้อกำหนดการเข้ารับสัมปทาน ซึ่งได้ระบุไว้ในบทนำและข้อ 13 ของสัญญาสัมปทาน ทั้งพ้นระยะเวลาคุ้มครองสิทธิ์ผูกขาดที่กระทรวงคมนาคม ผู้ให้สัมปทานจะไม่ให้ภาคเอกชนรายอื่นเข้ามาดำเนินกิจการแข่งขันกับบริษัทผู้รับสัมปทาน มีกำหนดระยะเวลา 8 ปี ตามสัญญาข้อ 2 จึงต้องถือว่าเป็นโครงการใหม่ที่อยู่นอกกรอบสัญญาสัมปทาน และจะต้องเปิดให้มีการประมูลแข่งขันโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเสนอโครงการใหม่อย่างเสรีและเป็นธรรม ทั้งในด้านการบริหารงาน และอัตราการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่รัฐ ตามกระบวนการของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ด้วยเหตุผลดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น การที่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ได้ร้องขอและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลควบคุม ตรวจสอบ ของผู้ถูกกล่าวหา ได้พิจารณาอนุมัติดาวเทียมไอพีสตาร์ว่า อยู่นอกกรอบสัญญาสัมปทาน จึงเป็นการอนุมัติให้บริษัทไทยคมของผู้ถูกกล่าวหาได้สัมปทานดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศไปโดยไม่ต้องมีการประมูลแข่งขันกัน ซึ่งหากมีการขอรับสัมปทานโดยเปิดให้มีการประมูลแข่งขันกันใหม่อย่างเสรีและเป็นธรรม โดยให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้มีโอกาสยื่นข้อเสนอเพื่อแข่งขันกัน ก็จะมีมูลค่าโครงการเป็นเงินถึง 16,543,800,000 บาท เป็นรายได้เข้ารัฐ ดังนั้นการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นประธานคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 6 ได้อนุมัติคำขอส่งเสริมการลงทุนโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 498 การอนุมัติให้แก้ไขข้อกำหนดทางด้านเทคนิคของดาวเทียมสำรอง คือดาวเทียมไทยคม 4 โดยอนุมัติให้เปลี่ยนคุณสมบัติเป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเป็นดาวเทียมหลักดวงใหม่ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ในส่วนการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 โดยมีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากที่บริษัมชินคอร์ปต้องมีสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทไทยคมเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 นั้น ในเบื้องต้นเห็นว่าตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 1 ข้อ 1 ระบุว่า บริษัทชินคอร์ป ตกลงที่จะดำเนินการให้บริษัทใหม่ (บริษัทไทยคม) ลงทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และบริษัทจะต้องถือหุ้นในบริษัทใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตลอดอายุสัญญาของสัญญาหลัก การขออนุมัติแก้ไขสัญญาเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จึงเป็นกรณีที่บริษัทชินคอร์ปต้องดำเนินการขออนุมัติเอง การที่บริษัทไทยคมยื่นหนังสือต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ในบริษัทไทยคม และนำส่งข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทชิคอร์ป ประสงค์จะลดสัดส่วนการถือหุ้น จนต่อมารัฐมนตรีว่การกระทรวงเทคโนโบยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก้ไขสัญญาแล้ว บริษัทชินคอร์ปซึ่งได้รับประโยชน์จากการอนุมัติให้แก้ไขสัญญา ได้เข้าทำการสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ครั้งที่ 5 ที่ยอมให้บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นในบริษัทไทยคมไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เท่ากับบริษัทชินคอร์ปเปิดโอกาสให้บริษัทไทยคมเป็นตัวแทนการที่บริษัทไทยคมขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นตัวการ โดยที่ปรากฏว่า ตามที่ได้มีข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 449 ข้อ 4 การจัดตั้งบริษัทใหม่เข้าดำเนินการ บริษัทต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นเพื่อดำเนินงานตามสัญญานี้ โดยบริษัทต้องดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน นับจากวันเริ่มให้บริการวงจรดาวเทียมตามสัญญานี้ และให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ ตลอดอายุสัญญาด้วย คือ 4.1 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท 4.2 บริษัทจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขั้นใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 4.3 บริษัทต้องดำเนินการให้บริษัทที่จัดตั้งใหม่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้ ต่อกระทรวง ร่วมกัน และแทนกันกับบริษัท ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้ความว่า บริษัทที่บริษัทชินคอร์ป ผู้รับสัมปทานได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามสัญญาสัมปทานก็คือบริษัทไทยคม เพื่อบริหารโครงการ และได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 1 เพื่อให้บริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม รับผิดร่วมกันและแทนกัน โดยทำเป็นสัญญา 3 ฝ่าย โดยฝ่ายผู้รับสัมปทาน มีบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ได้ลงนามร่วมกัน ต่อมาบริษัทไทยคมได้ร้องขออนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน ให้เหตุผลว่า ต้องใช้เงินลงทุนในโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นจำนวนสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องหาพันธมิตรเข้าร่วมเพื่อร่วมลงทุน จึงทำให้จะต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นปรากฏตามหน้งสือที่ ชช.(ส) 133/2546 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 534 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งรับโอนงานจากกระทรวงคมนาคมตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ได้ทำหนังสือหารือกรณีการขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ที่จะต้องถือหุ้นในบริษัทไทยคม ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา โดยมีข้อสังเกตว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา อันเป็นที่มาขอการอนุมัติสัมปทานโครงการนี้ โดยคณะรัฐมนตรีจึงควรที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาก่อนลงนามในการแก้ไขสัญญา ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 531 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเรื่อดังกล่าว แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องคืน โดยแจ้งว่า ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของเรื่องที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 530 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดเรื่องที่จะเสนอ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีหนังสือหารือกรณีการส่งเรื่องคืนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบหนังสือหารือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าเมือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีดังข้อเสนอแนะของสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมีดุลพินิจที่จะแก้ไขสัญญาได้ ปรากฏตามหนังสือที่ อส 0017/16522 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2547 ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ความจากบันทึกถ้อยคำของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ที่ให้ไว้ต่อคณะออนุกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ว่า ได้เกี่ยวข้องกับกรณีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยจำได้ว่า ได้มีการทำบันทึกเสนอจากเจ้าหน้าที่ แต่ตนเองเห็นว่าไม่สมควร เนื่องจากสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศที่ทำกันขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 นายกรัฐมนตรี เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ประกอบกับบันทึกเสนอเรื่องไม่ชัดเจนว่าขออนุมัติอะไร จึงไม่มีการลงนามในบันทึกที่เจ้าหน้าที่เตรียมมาให้ และให้ถอนเรื่องคืนไป และว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่เคยมาชี้แจงด้วยวาจา และตนเห็นว่าสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ จึงไม่เหมาะสมที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และเมื่อรัฐมนตรีโทรศัพท์มาตามเรื่อง ก็ได้อธิบายเหตุผลให้ฟัง รายละเอียดปรากฏตามบันทึกคำให้การของพยาน เอกสารหมาย ร 403 ต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม 2547 นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานในเรื่องดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือที่ ทก0204.3/816 ลงวันที่ 14 ตุลคม 2547 โดยมีการลงนามแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ปรากฏตามเอกสารหมาย ร 529 โดยที่การแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปที่ต้องถือในบริษัทไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 นั้น ไม่มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแต่อย่างใด เห็นว่า การที่มีการกำหนดเรื่องการถือครองหุ้นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ไว้ในข้อที่ 4 ของสัญญาสัมปทานนั้น เป็นนัยสำคัญประการหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหาได้รับสัมปทาน การอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนข้างต้น โดยนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ โดยที่ไมได้นำเสนอต่อคณะรัฐมตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จึงเป็นการอนุมัติโดยมิชอบ และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป ผู้รับสัมปทาน เนื่องจากในกรณีที่บริษัทไทยคมทำการเพิ่มทุน เพื่อดำเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงจำนวน 16,543,800,000 บาทนั้น บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหา ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยคม จึงไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อหุ้น เพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเอง ดังจะเห็นได้ว่า ในวันที่ 7 มกราคม 2547 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 บริษัทไทยคมได้ทำการเพิ่มทุน แต่บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น 84,706,801 หุ้น เป็นเงิน 1,296,014,055 บาท แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ 11 ดังกล่าว ย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินลงทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปจำนวนดังกล่าวออกไป ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย ทั้งการลดสัดส่วนดังกล่าวมีผลเป็นการลดทอนความเชื่อมั่น และความมั่นใจในการดำเนินการโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอำนาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียม ตามสัญญาสัมปทาน แม้ว่าบริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม จะยังต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาสัมปทานอยู่ แต่การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าวก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และความมั่นคงในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การอนุมัติให้ลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทชินคอร์ปในบริษัทไทยคม จึงเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม ผู้รับสัมปทานจากรัฐ โดยไม่สมควร สำหรับกรณีการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่างประเทศ เมื่อดาวเทียมไทยคม 3 เกิดเสียหายนั้น ปรากฏตามสัญญาสัมปทานเอกสารหมาย ร 449 ข้อ 25 การประกันภัยทรัพย์สินตลอดระยะเวลาที่สัญญายังมีผลบังคับอยู่ ข้อ 25.1 บริษัทต้องเอาประกันภัยประเภทคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดต่อทรัพย์สินในข้อ 5 และทรัพย์สินที่เพิ่ม ตามข้อ 15 ที่บริษัทโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงแล้วเต็มมูลค่าของทรัพย์นั้นๆ โดยเอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยและเงื่อนไขการประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจดาวเทียมในลักษณะเดียวกันใช้อยู่ โดยให้กระทรวงผู้รับประโยชน์ร่วม และบริษัทเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ข้อ 25.2 การส่งมอบกรมการประกันภัยตามวรรแรก หรือที่เพิ่มเติม ให้กระทรวงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทเอาประกันภัยในแต่ละปี หรือวันที่เอาประกันภัยเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้กระทรวงยินยอมให้บริษัทเป็นผู้เจรจาต่อรองค่าเสียหาย และความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมการประกันภัยดังกล่าว โดยความเห็นชอบของกระทรวง และบริษัทจะต้องแจ้งผลการเจรจาให้กระทรวงทราบเป็นระยะโดยทันที และข้อ 37 การจัดการทรัพย์สินที่สูญหาย และเสียหายหรือสูญหาย เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินตามข้อ 5 หรือข้อ 15 หรือทรัพย์สินดังกล่าวสูญหายไป บริษัทจะต้องเร่งซ่อมแซงทรัพย์สินที่เสียหาย หรือจัดการหาทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่สูญหายโดยทันที เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกระทรวงจะมอบเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ตามข้อ 25 ให้บริษัท และถ้าค่าซ่อมแซมหรือราคาทรัพย์สินที่จัดการมีค่าราคาสูงกว่าเงินค่าสินไหมทดแทน บริษัทตกลงเป็นผู้รับผิดชอบเงินจำนวนที่เพิ่มขึ้นและทั้งหมด วรรค 2 ในกรณีจัดหาทรัพย์สินทดแทนให้นำความในข้อ 15 ในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ และการส่งมอบ รับมอบทรัพย์สินมาใช้บังคับในกรณีนี้ด้วย และวรรค 3 การจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าวในวรรคแรก บริษัทต้องจัดหาทดแทนให้สามารถดำเนินการตามสัญญาได้โดยต่อเนื่อง แม้บริษัทจะพิจารณาเห็นว่าการลงทุนจัดหาทรัพย์สินทดแทนดังกล่าว ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามสัญญาที่เหลืออยู่ จะไม่คุ้มกับการลงทุนก็ตาม ซึ่งบริษัทอาจเสนอขอให้กระทรวงพิจารณาขยายเวลาสัญญาออกไป นอกจากข้อกฎหมายที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ในส่วนข้อเท็จจริงนั้นก็ปรากฏว่า ในคราวที่บริษัทไทยคมได้ร้องขอเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยร้องขอเป็นดาวเทียมสำรองเช่นเดิม และได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศปี 2547 นั้น ได้มีการอนุมีติแผนสำรองของดาวเทียมไทยคม 3ด้วย หากเกิดกรณีเสียหาย ครั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ได้เกิดเหตุดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายขัดข้อง เกี่ยวกับระบบพลังงานบางส่วน ต่อมาบริษัทไทยคมได้เจรจากับบริษัทประกันภัย ปรากฏว่า ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหายเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีบางส่วนใช้งานได้ และได้มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 33,028,960 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยบริษัทไทยคมได้ขออนุมัติสร้างดาวเทียมดวงใหม่ทดแทน ปรากฏตามหนังสือที่ ชช(ส) 065/2546 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และต่อมาได้ร้องขออนุมัตินำเงินประมาณ 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม จากต่างประเทศ เพื่อใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 พร้อมทั้งใช้เป็นช่องสัญญาณสำรอง ปรากฏตามหนังสือที่ ชช(ส) 71/2546 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2546 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติให้บริษัทไทยคมนำเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 6,765,299 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศเพื่อทดแทนและสำรอง และอีกส่วนหนึ่งจำนวน 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปสร้างดาวเทียมวงใหม่ทดแทน ชื่อว่าดาวเทียมไทยคม 5 หรือ 3 อาร์ โดยหากค่าสูงกว่า ให้บริษัทไทยคมรับผิดชอบในส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อนุมัติในเรื่องดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือที่ อช 409/2546 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546

ที่มา : โดยทีมงาน “Breaking News” ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000028195