วันนี้ เผอิญผมไปพบหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ "รวมแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ชุดที่ 1" ซึ่งรวบรวมโดย สำนักพิมพ์ บี.บี.บุคส์ จัดพิมพ์เมื่อปีใดไม่ทราบ ในบทความที่เขียนถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เขาได้ยกตัวอย่าง เรื่อง "1001 ทิวา" หรือที่เรามักรู้จักชื่อเรื่องว่า "อาหรับราตรี" มาประกอบ ผมจำได้ว่าครั้งหนึ่งผมเคยอ่านในโรงเรียน สมัยตอนเป็นเด็กๆ แต่ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ ในโรงเรียนเขามีให้อ่านหรือเปล่า ผมจึงอยากนำมาเขียนลงในนี้ เผื่อว่าเด็กๆ หลายคน อาจจะยังไม่เคยอ่าน เรื่องราวก็มีอยู่ว่า
พระเจ้าชาห์ริอาร์ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงเกลียดชังผู้หญิงอย่างมาก แบบเข้ากระดูกดำ พระองค์ได้แต่งตั้งมเหสีคนแล้วคนเล่าก็ฆ่าเสียให้ตายหลังจากแต่งตั้งเพียงคืนเดียว จนกระทั่งมีหญิงสาวสวยผู้หนึ่งชื่อ เชอเฮอราซาร์ด เป็นหญิงสาวผู้ซึ่งถูกนำมาบังคับให้รับตำแหน่งมเหสีองค์ต่อมา และแน่ละ นางจะต้องถูกฆ่าเหมือนคนอื่นๆ
แต่นางเป็นหญิงที่มีความคิดเฉลียวฉลาด ดังนั้นเพื่อจะยืดชีวิตของตัวเองออกไปในแต่ละคืน นางจึงต้องใช้ความคิดฝัน แต่งนิทานขึ้น แล้วเล่าถวายกษัตริย์ชาห์ริอาร์อยู่เป็นเวลาถึง 1001 คืน ปรากฏว่านิทานที่นางคิดขึ้นเล่าถวายนั้นเป็นที่พอพระทัยของกษัตริย์ชาห์ริอาร์มาก จึงทรงให้ยืดการประหารชีวิตนางไปเรื่อยๆ
จนในที่สุดนางก็สามารถเอาชนะพระทัยพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงรักใคร่นางขึ้นมาอย่างจริงจัง นางจึงได้รอดชีวิตมิได้ถูกประหารดังเช่นคนอื่น มิหนำซ้ำโอรสของนางทั้ง 3 องค์ ยังได้สืบสันติวงศ์ครองราชย์แทนกษัตริย์ชาห์ริอาร์สืบต่อมา
หลายคงอาจจะเคยได้ยินนิทานเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "อลาดินกับตะเกียงวิเศษ" นี่ก็คือนิทานเรื่องหนึ่ง ที่พระนางแต่งขึ้นมาเพื่อเล่าให้กษัตริย์ชาห์ริอาร์ฟัง
แม้ว่าเรื่องที่เขียนมานี้นี้อาจจะเป็นเพียงนิยายของชาวเปอร์เชียที่แต่งขึ้น แต่ก็แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ พลังแห่งการสร้างจินตนาการของพระนางเชอเฮอราซาร์ด ที่ต้องคิดอยู่เสมอทุกวันเป็นเวลาถึง 1001 ราตรี...
ตะเกียงวิเศษของอลาดิน ที่พระนางแต่งขึ้น ก็คือ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ในตัวของเรานั่นเอง หากเรารู้จักถูตะเกียงวิเศษที่อยู่ในตัวเราให้ถูกวิธี มันอาจจะนำพาชีวิตของเราไปสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม ตามที่ใฝ่ฝันก็ได้
ลองหาตะเกียงวิเศษในตัวเราให้เจอ แล้วถูมัน....
**********************************************
ชาติชาย คเชนชล : 25 มิ.ย.2554
ที่มาข้อมูล
พิทยา. (__________). รวมแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ชุดที่ 1 : ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บี.บี.บุ๊คส์
แต่นางเป็นหญิงที่มีความคิดเฉลียวฉลาด ดังนั้นเพื่อจะยืดชีวิตของตัวเองออกไปในแต่ละคืน นางจึงต้องใช้ความคิดฝัน แต่งนิทานขึ้น แล้วเล่าถวายกษัตริย์ชาห์ริอาร์อยู่เป็นเวลาถึง 1001 คืน ปรากฏว่านิทานที่นางคิดขึ้นเล่าถวายนั้นเป็นที่พอพระทัยของกษัตริย์ชาห์ริอาร์มาก จึงทรงให้ยืดการประหารชีวิตนางไปเรื่อยๆ
อาหรับราตรี ฉบับภาษาไทย ปกแข็ง ผู้แปล เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป |
หลายคงอาจจะเคยได้ยินนิทานเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "อลาดินกับตะเกียงวิเศษ" นี่ก็คือนิทานเรื่องหนึ่ง ที่พระนางแต่งขึ้นมาเพื่อเล่าให้กษัตริย์ชาห์ริอาร์ฟัง
แม้ว่าเรื่องที่เขียนมานี้นี้อาจจะเป็นเพียงนิยายของชาวเปอร์เชียที่แต่งขึ้น แต่ก็แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ พลังแห่งการสร้างจินตนาการของพระนางเชอเฮอราซาร์ด ที่ต้องคิดอยู่เสมอทุกวันเป็นเวลาถึง 1001 ราตรี...
ตะเกียงวิเศษของอลาดิน ที่พระนางแต่งขึ้น ก็คือ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ในตัวของเรานั่นเอง หากเรารู้จักถูตะเกียงวิเศษที่อยู่ในตัวเราให้ถูกวิธี มันอาจจะนำพาชีวิตของเราไปสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม ตามที่ใฝ่ฝันก็ได้
ลองหาตะเกียงวิเศษในตัวเราให้เจอ แล้วถูมัน....
**********************************************
ชาติชาย คเชนชล : 25 มิ.ย.2554
ที่มาข้อมูล
พิทยา. (__________). รวมแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ชุดที่ 1 : ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บี.บี.บุ๊คส์
พันหนึ่งทิวา กับ อาหรับราตรี (Thousand Night and a Night,Arabian Night) นี่คนละเรื่องกันนะครับ แต่เป็นชุดคู่กันเนื้อเรื่องไม่เกี่ยวกันแต่อย่างใด
ตอบลบ