หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับตำรวจไทย

กลุ่มมวลชนเสื้อแดงของรัฐบาล ได้ก่อเหตุปะทะ กับกลุ่มพันธมิตร (เสื้อเหลือง) เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2555  บริเวณหน้ากองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถ.พหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ   ก่อนจะเข้าเรื่องเกี่ยวกับตำรวจ ขอวิจารณ์นักการเมือง (อดีตนักการทหาร) สักท่านหนึ่งก่อน ที่คนอื่นๆ ให้ความยกย่องว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง คือ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณวัต รมว.กลาโหม  ท่านกล่าวให้สัมภาษณ์เรื่องการปะทะกันนี้ว่า "ไม่ใช่เรื่องใหญ่"

พล.อ.อ.สุกำพลฯ "อย่ามองในแง่ร้าย เป็นการปะทะกันเพียงนิดเดียว แต่กลับมองเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกันเลย ในส่วนของเสื้อแดงเราไม่ได้ส่งคนไป แต่เขาไปกันเอง และปะทะกันเล็กน้อย แล้วเลิกกันไป อย่ามองเป็นเรื่องใหญ่ ถ้ามองอย่างนี้ประเทศไทยไม่เจริญอย่างนี้หรอก  ขอให้มองดีกว่านี้ อย่ามองว่าจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว เพราะตีกันจบไปแล้ว ขอให้มองในแง่ดีบ้าง ถ้ามองในไม่ดี ก็จะเป็นอย่างนี้ ถ้ามองในแง่ดีอย่างตนก็สบายใจ"

จากคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดเสียงวิพากย์วิจารณ์จากนักเขียนและนักวิชาการหลายท่าน สรุปที่สำคัญ เช่น 
  1. พล.อ.อ.สุกำพลฯ ขาดความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง สะท้อนถึงความจำกัดทางปัญญา การปะทะกันครั้งนี้เกิดจากความขัดแย้งที่ฝังรากลึก ระหว่างกลุ่มเสื้อแดงที่ต้องการล้มล้างสถาบัน กับกลุ่มประชาชนที่เห็นคุณค่าและเคารพในสถาบัน 
  2. พล.อ.อ.สุกำพลฯ ยอมรับว่าเสื้อแดงเป็นคนของพวกตนเอง  จึงรู้สึกเฉยๆ เมื่อพวกตนเองทำร้ายผู้อื่น 
  3. การสัมภาษณ์นี้เป็นการให้ท้ายคนเสื้อแดง ไม่ต่างกับการสนับสนุนให้คนใช้ความรุนแรงและละเมิดกฏหมายขื่อแปของบ้านเมือง 
คราวนี้มาดูสถานที่เกิดเหตุว่า เกิดหน้ากองบังคับการปราบปรามฯ แต่ตำรวจ กลับไม่สนใจที่จะจับผู้ก่อเหตุ ทั้งๆ ที่มีคลิปวีดีโอและภาพถ่ายให้ดูมากมาย  "ฤา ตำรวจก็จะให้ท้ายคนเสื้อแดง" ด้วย ผมเข้าไปสืบค้นเว็บไซต์ของกองบังคับการปราบปรามฯ เพื่อค้นหาว่าหน่วยงานนี้มีโครงสร้างอย่างไร และมีผลงานโดดเด่นอะไรบ้าง เผอิญไปพบ "มุมมองใหม่ การจัดการตำรวจในศตวรรษที่ 21"  มีบทความชิ้นหนึ่ง ได้กล่าวไว้น่าสนใจ ดังนี้

แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับตำรวจไทย
ตำรวจเป็นใคร
  • แนวความคิดเดิม  ตำรวจเป็นบุคลากรในองค์การของรัฐบาล ที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฏหมายเป็นส่วนใหญ่
  • แนวความคิดใหม่ ตำรวจคือประชาชน ประชาชนก็คือตำรวจ ตำรวจเป็นผู้ที่ได้รับเงินเดือน ทำหน้าที่เต็มเวลา และรับใช้ประชาชนทุกคน
ความสัมพันธ์ขององค์กรตำรวจกับองค์กรอื่นๆ ที่ให้บริการประชาชนเช่นกัน
  • แนวความคิดเดิม มักจะทำให้เกิดความขัดแย้ง
  • แนวความคิดใหม่ ตำรวจเป็นองค์กรหนึ่งในหลายๆ องค์กรที่รับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
จะวัดประสิทธิภาพของตำรวจได้อย่างไร
  • แนวความคิดเดิม วัดได้ด้วยการสืบสวนและสถิติการจับกุม
  • แนวความคิดใหม่ วัดได้โดยการไม่มีอาชญากรรมและความไร้ระเบียบ
ลำดับความสำคัญสูงสุดในการแก้ปัญหาคืออะไร
  • แนวความคิดเดิม จะพิจารณาจากปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมที่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงสุด (เช่น ปล้นธนาคาร) และอาชญากรรมที่มีความรุนแรง
  • แนวความคิดใหม่ จะพิจารณาจากปัญหาใดก็ตาม ที่รบกวนชุมชนมากที่สุด
ตำรวจจะจัดการโดยเฉพาะเจาะจงในเรื่องใด
  • แนวความคิดเดิม ตำรวจจะจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่ตำรวจจะเห็นสมควร
  • แนวความคิดใหม่ จะจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่ประชาชนกังวล
บทบาทกับสื่อมวลชน (เรียบเรียงใหม่โดยผู้เขียน)
  • แนวความคิดเดิม ขจัดสื่อมวลชนออกไปจากการปฏิบัติงานของตำรวจเพื่อไม่ไห้เกิดความยุ่งยาก เพื่อตำรวจจะได้ทำงานต่อไปโดยสะดวก
  • แนวความคิดใหม่ เปิดรับสื่อมวลชน พร้อมทั้งประสานงานเพื่อเป็นช่องทางติดต่อที่สำคัญกับชุมชน
ตำรวจคำนึงถึงการดำเนินการตามกฏหมายอย่างไร
  • แนวความคิดเดิม ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ
  • แนวความคิดใหม่ ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างของตำรวจ
บทความ "แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับตำรวจไทย" นี้ ตำรวจเป็นผู้เขียนเองครับ ถ้าทำได้ผมขอยกนิ้วให้เลยครับ  แต่ไม่รู้ว่าปัจจุบันองค์กรตำรวจได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่หรือยัง  แต่ที่ผมเห็นเหตุปะทะที่หน้ากองบังคับการปราบปรามฯ เมื่อวานนี้ และอีกหลายๆ เหตุการณ์ เช่น พี่มีแต่ให้  ตำรวจก่อม็อบหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ผลการสอบสวนของดีเอสไอ เรื่องไร้คนชุดดำ นายตำรวจใหญ่บินไปคารวะนักโทษหนีคดีที่ต่างประเทศ เป็นต้น ผมกลับมีแนวความเกี่ยวกับตำรวจไทยในปัจจุบันว่า.....

แนวความคิดปัจจุบัน : องค์กรตำรวจเป็นองค์กรของพรรคเพื่อไทย 
แนวความคิดใหม่ : องค์กรตำรวจเป็น ???????????


พล.อ.อ.สุกำพล สุวรณทัต
รมว.กลาโหม











**************************************
จุฑาคเชน 26 ก.ย.2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น