หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

การใช้ "หลักกาลามสูตร" รับมือกับการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ด้านการเมือง


ต่อจาก การปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) แท้จริง คือการโกหก ใช่หรือไม่


ปัจจุบัน การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างระบอบทักษิณ รัฐบาลรักษาการณ์ และพรรคเพื่อไทย กับมวลมหาประชาชน (กปปส.) และกลุ่มเครือข่ายต่างๆ กำลังเข้มข้นด้วยการฏิบัติการข่าวสาร (IOs) เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มของตนเอง


ที่มาของภาพ
ASTVผู้จัดการ
ข่าวสารที่เข้ามาสู่ประชาชนมีมากมาย ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นต้องมีวิธีการที่จะตัดสินใจว่าข่าวสารที่ได้รับมานั้นเป็นเท็จ เป็นจริง แค่ไหน ก่อนที่จะเชื่อในข่าวสารนั้นๆ แล้วตัดสินใจทำอย่างหนึ่งอย่างใดลงไป ผมเห็นว่าหลักกาลามสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ สามารถนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี


กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล       กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณหรือโทษ ดีหรือไม่ดี ก่อนที่จะเชื่อ ซึ่งมีหลักอยู่ 10 ประการ ได้แก่ (ขออนุญาตปรับปรุงคำพูดให้เข้าใจง่ายๆ ครับ)

  1. อย่าเชื่อ ด้วยการฟังหรือการบอกเล่าต่อๆ กันมา
  2. อย่าเชื่อ เพราะว่าเป็นสิ่งที่เขาทำตามๆ กันมา  
  3. อย่าเชื่อ เพราะว่าเขาเล่าลือกันกระฉ่อนไปหมดว่ามันเป็นความจริง
  4. อย่าเชื่อ เพราะว่ามันมีอ้างอยู่ในตำรา หนังสือ หรือทฤษฎี
  5. อย่าเชื่อ เพราะว่ามันเป็นตรรก หรือจากการคำนวณ
  6. อย่าเชื่อ โดยการอนุมานเทียบเคียง หรือการคาดคะเนเอาเอง
  7. อย่าเชื่อ โดยการตรึกตรองเอาตามอาการ
  8. อย่าเชื่อ เพราะมันตรงกับความเชื่อหรือทฤษฎีของตัวเอง 
  9. อย่าเชื่อ เพราะมองเห็นรูปร่างลักษณะที่น่าเชื่อถือได้
  10. อย่าเชื่อ เพราะผู้ที่บอกเป็นครู อาจารย์ของเรา

ข่าวสารที่เราได้รับตอนนี้ มันมีทั้งความจริง ความเท็จ และทั้งความจริงบวกกับความเท็จ  ดังนั้นหลักกาลามสูตรจึงสามารถนำมาใช้ตัดสินใจขั้นต้นได้ว่า "เราจะเชื่อในข่าวสารนั้นหรือไม่อย่างไร"  หลังจากนั้นนำข่าวสารที่คิดว่าน่าเชื่อหรือเชื่อถือได้มาประมวลผลกับข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบกัน ก็จะทำให้เราเกิดปัญญาสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง




ความคาดหวังที่ "ผู้สร้างข่าว" ต้องการให้ "ผู้ที่รับข่าว" แล้ว เกิดการกระทำตามที่ตนเองต้องการได้ ถือว่าการสร้างข่าวนั้นประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้สร้างข่าวเอง กับข้อเท็จจริงของผู้รับข่าว ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น 

ผู้สร้างข่าว บอกว่ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของไป 3 บาท จะได้เงินทอน 7 บาท 
ผู้รับข่าวท่านที่ 1 บอกว่าไม่จริง จะได้เงินทอนแค่ 2 บาท
ผู้รับข่าวท่านที่ 2 บอกว่าไม่จริง จะได้เงินทอนแค่ 1 บาท
ผู้รับข่าวท่านที่ 3 บอกว่าจริง
ผู้รับข่าวท่านที่ 4 บอกว่าไม่จริง เพราะไม่ต้องทอน 

(ปรังปรุงจาก FB : CreativeGuru)  



ที่มาของภาพ : I Like The Cut Of His Jib !!
จินตนาการและข้อเท็จริงที่แตกต่างกัน
ผู้สร้างข่าว มีเหรียญ 10 บาท จึงได้เงินทอน 7 บาท
ผู้รับข่าวท่านที่ 1 มีเหรียญ 5 บาท 2 เหรียญ จ่ายเหรียญ 5 บาทไป จึงได้เงินทอนแค่ 2 บาท
ผู้รับข่าวท่านที่ 2 มีเหรียญ 5 บาท 1 เหรียญ เหรียญ 2 บาท 2 เหรียญ และเหรียญ 1 บาท 1 เหรียญ จ่ายเหรียญ 2 บาท ไป 2 เหรียญเพื่อซื้อของ จึงได้เงินทอนแค่ 1 บาท
ผู้รับข่าวท่านที่ 3 บอกว่าจริง เพราะเขามีเงินเหมือนผู้สร้างข่าว
ผู้รับข่าวท่านที่ 4  มีเหรียญ 5 บาท 1 เหรียญ และเหรียญบาท 5 เหรียญ เขาจ่ายเหรียญบาทซื้อของไป 3 เหรียญ จึงไม่ต้องทอน

ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ หลักกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ได้ทรงให้ไว้ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราสามารถแยกแยะได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เราควรเชื่อและตัดสินใจทำตาม คนไทยทุกคนต้องตัดสินใจ แต่หากเรานิ่งเฉย ปล่อยวางเสีย ไม่สนใจใยดีเหตุบ้านการเมือง วันหนึ่งประเทศไทยอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เป็นได้     


ข่าวสาร--->หลักกาลามสูตร--->เชื่อถือได้--->ประมวลผล--->สารสนเทศ--->ปัญญา--->การตัดสินใจ


*************************************
ชาติชาย  คเชนชล : 6 มี.ค.2557 

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น