หน้าเว็บ
▼
วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
รูป Mona Lisa จากถ้วยกาแฟหลากสี
เพื่อนๆ ส่งอีเมลมาให้ เป็นความคิดที่ดีมาก เลยนำมาลงบล็อกแบ่งปันกัน ศิลปินผู้นี้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเลยทีเดียวครับ
Artist assistants stand next to 3,604 cups of coffee which have been made into a giant Mona Lisa in Sydney , Australia . The 3,604 cups of coffee were each filled with different amounts of milk to create the different shades!!
Artist assistants stand next to 3,604 cups of coffee which have been made into a giant Mona Lisa in Sydney , Australia . The 3,604 cups of coffee were each filled with different amounts of milk to create the different shades!!
วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ขอขอบคุณผู้ที่ให้ของขวัญและส่งความสุขปี 2553
บันทึกนี้จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกความจำของผู้เขียนเอง ซึ่งแต่เดิมไม่เคยจัดทำมาก่อนเลย มาในปี 2553 นี้จึงคิดจัดทำขึ้น เพื่อไม่ให้ผู้เขียนเองลืมเลือนน้ำใจไมตรี จากญาติสนิทมิตรสหาย คนรู้จัก บริษัท ห้างร้านและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้มอบของขวัญหรือส่ง ส.ค.ส.มาให้ ผู้เขียน ทั้งในนามส่วนตัว และในนามของบริษัท หัวช้างเอ็นเทอร์เทนเมนต์ จำกัด ไม่ได้มีเจตนาจัดทำขึ้นเพื่อจะโอ้อวด หรือก่อให้เกิดการเปรียบเทียบแต่อย่างใด
ส.ค.ส. (ไปรษณีย์) - ส.อ.ไพรินทร์ เรืองเดช รอง ผบ.หมู่ กองร้อยสารวัตรทหาร จ.ท.บ.ร.บ.
- สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
- อ.ประเดิม ดำรงเจริญ
- นายนรกิจ ศรัทธา ประชาสัมพันธ์ จ.ราชบุรี
- บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด
- บริษัท ไซน ไพรอท อิมปอร์ต เอ็กปอร์ต จำกัด
- นายสมจิตร์ ไวเรืองศิริพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายไปรษย์นีเขต 7
- นายชัยสงค์ ชูฤทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการ ททท.จ.เพชรบุรี
- คุณชื่นจิตต์ เจริญงาม กรรมการผู้จัดการ บจก.บ้านโป่งเอ็นจิเนียริ่ง
- พลตรีคณิต แจ่มจันทรา ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
- พันเอกอนุสรณ์ ปัญญะบูรณ์และครอบครัว
- พันเอกกรยุทธ วัฒนวรางกูร รองผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
- พลตรีปัฐมพงศ์-ปาลิดา ประถมภัฎ
- นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลยี่โถ
- พันเอกสุเทพ ปริยเอกสุต รองผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
- พลตรีชัยวัฒน์ ฐิตสาโร เสนาธิการกรมการทหารช่าง
- พลตรีขวัญโชค กระต่ายทอง หัวหน้าสำนักงานเจ้ากรมการทหารช่าง
- อ.ศรีศักดิ์-ปนัดดา พัฒนวศิน ม.ศิลปากร
- พันโทกิตติ เกิดสุขผล ผอ.รร.ทบอ.โยธินวิทยา
- นางอุไร เอี่ยมสอาด ผอ.รร.บรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
- พันเอกกุลพัชร จึงประวัติ ผู้บังคับกองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ
- นายศุภชัย ขันธะทิม หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ
- ผศ.ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
- พระครูวิทิตพัฒนโสภณ รองเจ้าคณะอำเภอโพธาราม เจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์
- GMM GRAMMY
- บริษัท เอ็ม วี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด MVTV
- สำนักบัญชีนายอาจ
- ข้าราชการ ช.1 รอ. ค่ายุบรฉัตร
- นางวลัยรัตน์ ทรัพย์คิรี
- พ.อ.นพพร-ดร.กรรณิกา เรือนจันทร์ เสธ.พล.ร.4 ค่ายสมเด็จพระนเรศวร จ.พิษณุโลก
- พ.ต.ฤทธี เย็นจิตโสมนัส
- พล.ต.ท.เฉลิมเกียรติ-ธารศรี ศรีวรขาน
- ครูประจวบ เรืองกูล
- อาจารย์วราภรณ์ ศกศวัตเมฆินทร์ (นุช ED#92)
- ปัทมาภรณ์ สรรพรชัยพงษ์ (เปิ้ล ED#90)
- Kultawat Chandarkaew (Bank)Best Thai Host, a division ofBest Internet Service Solution Co., Ltd.
- ครูกาญจนา จันทรดาสุข
- ศศิมา นันทิยเภรี (ครูส้ม ED#92)
- ธีรวัฒน์ ไล้เลิศ
- อาจารย์นุช
- patcha reerat
- ครูรัชนี ค่ายหนองสวง
- ณัฐนรัญจ์ (นก)
- เทพกร
- สุวิมล loveeee
- pich lertkulrat
- เปิ้ล ชัยบาดาล
- ครูจิรสุข เกิดปราโมทย์
- FUNz™ ฝันฝัน ศรัณยา
- Pued_ICT rattanarat
- ยุทธนา ร้าน Judo sport
- คุณอรรถพร
- คุณไชยยุทธ์
- คุณอานนท์
- คุณปวรินทร์
- 66818356xxx
- คุณบุษ เรือโชคศุลี1
- พ.อ.ญ.นงนุช ขาวดารา
- คุณมนตรี
- 66818240xxx
- ครูกาญจนาและครอบครัว
- 66813783xxx
- 66811945xxx
- ศศิมา นันทิยเภรี (ครูส้ม ED#92)
- นางสายสมร อัมระปาลและครอบครัว
- โรงเรียนารีวิทยา
- โรงไฟฟ้าราชบุรีเพาเวอร์
- วัฒนา-เอี้ยง อ่วมเนตร
- วิรัช ศิรินุกูลพงษ์ (พี่แบะ)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขา ราชบุรี
- ครูบุญสม-จริยา อะละมาลา
- ครูสัญชัย-มนัสนันท์ แตงสวัสดิ์
- บริษัท อาร์สยาม จำกัด
- ร้อยเอกปิติพงษ์ เดือนขึ้นและครอบครัว
- ครอบครัวน้าน้อย เดชฉกรรจ์
- ครอบครัวน้าแบน เดชฉกรรจ์
- จ่าสิบเอกชาตรี สนุกแสน
- นายเรืองชัย เนตรปฐมพร รองนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
- ดร.อุสิรา อโนมะศิริ โรงเรียนอนุบาลพุทธชาด
- ครูประจวบ เรืองกูล
- ครูอัญชสา สร้อยสนธิ
- ครูจงฤดี เบญจพลชัย
- ครูจันทร์เพ็ญ กิมตงเห
- ครอบครัว อ.ประโยชน์ มรภ.เพชรบุรี
- พลเอกอำนาจ มีกลิ่นหอม
- อ.มนูญ (AIA)
- ครอบครัวค่ายหนองสวง
- จ.ส.อ.ยุทธนา-พญ.ศุภดา ปภากรณ์
- ครอบครัวครูพิชญา-อาคม แก้วศิริ
- ครอบครัวครูกัญญาภัค-คมสัน คำสน
- ครอบครัวเอ-นา-แน็ท-นิว
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.หมู่บ้านจอมบึง
- ครูนันทพร วิเศษรจนา
- กองพลทหารช่าง 2553
- คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง รร.ทบอ.บูรณวิทยา
- รุ่ง พนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ราชบุรี
- วชิรา จิระวาณิชกุล ผู้จัดการบริหารงานขาย จ.ราชบุรี บจก.ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (มหาชน)
- มานิต นพอมรบดี รมช.กระทรวงสาธารณสุข
- ครูพรรัตน์ มินวงษ์
- ครูกาญจนา จันทรดาสุข และครอบครัว
- ผศ.ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
- แซ๊ก กรกำภู
- เพื่อนจุ่น เบญจมราชูทิศ 1820
- กองทุนพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด และ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด
- TESCO LOTUS สาขาราชบุรี
- กองทุนพัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด และบริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 5
- สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ในหลวง ทรงเตือนสติพวกเราให้รู้ตัวด้วยปัญญา (5 ธ.ค.2552)
“ขอขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปราถนาดีมุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีด้วยประการต่างๆ ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้ผิด และด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน หมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วทำตั้งจิต ตั้งใจ ให้เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือ ชาติ บ้านเมือง อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญ มั่นคง ยั่งยืนไป ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลให้สัมฤทธิผลขึ้นแก่ท่าน ทั่วหน้ากัน”
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เทศกาลส้ม
เทศกาลส้ม (ไม่รู้ประเทศไหน แต่ดูรูปที่เป็นกังหันแล้วน่าจะเป็นฮอลแลนด์)
มีเพื่อนๆ หลายคนมาก Forward มาให้นานแล้ว
เป็นความคิดสร้างสรรค์ดีมาก เลยเอามาเผยแพร่ไว้ในนี้
เผื่อประเทศไทยซึ่งมีผลไม้เยอะ จะได้นำแนวความคิดมาประยุกต์ใช้ได้
มีเพื่อนๆ หลายคนมาก Forward มาให้นานแล้ว
เป็นความคิดสร้างสรรค์ดีมาก เลยเอามาเผยแพร่ไว้ในนี้
เผื่อประเทศไทยซึ่งมีผลไม้เยอะ จะได้นำแนวความคิดมาประยุกต์ใช้ได้
ย่านยี่สกปลาดี คำขวัญราชบุรีที่กำลังถูกลบทิ้ง
“คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี” คำขวัญจังหวัดราชบุรีนี้เริ่มใช้เมื่อจังหวัดราชบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๕๓๒
ด้านความหมายของคำขวัญที่ว่า "ย่านยี่สกปลาดี" นั้น มีที่มาจากการที่ลำน้ำแม่กลองช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดราชบุรีเป็นที่อยู่อาศัยของปลายี่สกซึ่งเป็นปลาที่มีเนื้ออร่อยและหายาก ตลอดจนมีราคาแพงกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ของประเทศไทย
บทความจาก เกษตรแผ่นดินทอง ในรักบ้านเกิด.คอม กล่าวถึง ปลายี่สก ว่า "เป็นปลาที่วางไข่ในฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อดีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ระยะที่ปลาวางไข่มากที่สุด คือ ประมาณปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ในต้นฤดูจะวางไข่ ปลาจะว่ายขึ้นเหนือน้ำไปยังแหล่งวางไข่ในลักษณะคู่ใครคู่มัน เมื่อถึงแหล่งว่างไข่ จะรวมกันอยู่เป็นฝูงจับเป็นคู่ๆ พอพลบค่ำก็ว่ายออกไปวางไข่กลางแม่น้ำ ปลายี่สกมักจะวางไข่ในวันพระขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างกะทันหัน เช่น ฝนตกหนัก หรือระดับน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะเลื่อนการวางไข่ต่อไปอีก
ก่อนที่ปลาจะวางไข่ ชาวประมงมักจะจับปลาสร้อยได้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งปลาเทโพและปลากินเนื้อบางชนิด เข้าใจว่าปลาสร้อยจะคอยกินไข่ปลายี่สก และปลาเทโพจะกินปลาสร้อยอีกต่อหนึ่ง เข้าลักษณะสมดุลกันตามหลักธรรมชาติ
ไข่ปลายี่สกเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย จะฟักออกเป็นตัวในเวลาประมาณ 70 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 21.5-24.0 องศาเซลเซียส ไข่มีสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร เมื่อถูกน้ำจะพองออกเป็น 3 มิลลิเมตร ลูกปลาที่ฟักเป็นตัวใหม่ๆ มีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร
การหาพันธุ์ปลายี่สกเพื่อเลี้ยง อาจหาลูกปลาได้จาก 2 ทาง คือ
1.จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
2.ซื้อพันธุ์ปลาจากหน่วยราชการของกรมประมงซึ่งได้จากการผสมเทียมปีหนึ่งๆหลายล้านตัว
การผสมเทียมปลายี่สก
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย ประสบผลสำเร็จการผสมเทียมปลายี่สกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติที่รวบรวมจากแม่น้ำโขง และเมื่อเดือนมกราคม 2533 สถานีฯ สามารถใช้พ่อแม่พันธุ์ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงในบ่อดินมาทำการเพาะพันธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยแม่พันธุ์ขนาด 7.4 กิโลกรัม ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศและฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (motilium) บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนคือ ทางช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ขนาด 5.0 กิโลกรัม มีเชื้อดี ไม่ต้องฉีดฮอร์โมนการผสมไข่กับน้ำเชื้อ
1.จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
2.ซื้อพันธุ์ปลาจากหน่วยราชการของกรมประมงซึ่งได้จากการผสมเทียมปีหนึ่งๆหลายล้านตัว
การผสมเทียมปลายี่สก
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย ประสบผลสำเร็จการผสมเทียมปลายี่สกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติที่รวบรวมจากแม่น้ำโขง และเมื่อเดือนมกราคม 2533 สถานีฯ สามารถใช้พ่อแม่พันธุ์ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงในบ่อดินมาทำการเพาะพันธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยแม่พันธุ์ขนาด 7.4 กิโลกรัม ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศและฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (motilium) บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนคือ ทางช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ขนาด 5.0 กิโลกรัม มีเชื้อดี ไม่ต้องฉีดฮอร์โมนการผสมไข่กับน้ำเชื้อ
การผสมไข่กับน้ำเชื้อ
ใช้วิธีผสมแห้ง เนื่องจาก ไข่ปลายี่สกไทยเปลือกไข่มีสารเหนียวจะทำให้ไข่ติดกัน เป็นก้อน ต้องล้างไข่ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง"
ใช้วิธีผสมแห้ง เนื่องจาก ไข่ปลายี่สกไทยเปลือกไข่มีสารเหนียวจะทำให้ไข่ติดกัน เป็นก้อน ต้องล้างไข่ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง"
จากบทความที่กล่าวมาสอดคล้องกับคำบอกเล่าจาก พ่อแม่ปู่ย่าตายายของผู้เขียน ที่ว่า สมัยก่อน ปลายี่สกจะไปว่ายขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำแม่กลอง คือ ต้นแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เมื่อเริ่มเป็นตัวแล้ว ก็หากินล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง พอถึง จ.ราชบุรี ก็เติบโตเป็นวัยที่เจริญพันธ์พอดี เหมาะที่จะเป็นอาหาร เนื้อก็อร่อย ปลายี่สกที่จับได้จากแม่น้ำแม่กลองจึงมีชื่อเสียงมาก จนกระทั่งนำมาตั้งชื่อเป็นคำขวัญของจังหวัดว่า "ย่านยี่สกปลาดี"
แต่ปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนต่างๆ บริเวณต้นลำน้ำแม่กลองหลายเขื่อน จึงทำให้ระบบนิเวศน์ของปลายี่สกเปลี่ยนไป ไม่สามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ได้ แต่ก็ยังคงมีให้จับอยู่บ้างไม่มากนัก
ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีของศาสตร์การประมง สามารถจัดการผสมเทียมปลายี่สกได้แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธ์ หลังจากปล่อยสู่แหล่งน้ำแล้ว กลับพบกับธรรมชาติที่เปลี่ยนไป เมื่อโตขึ้นจับมาทำเป็นอาหาร ก็ไม่แน่ใจว่าจะอร่อย เหมือนกับปลายี่สกที่เกิดตามธรรมชาติหรือไม่
วันนี้ เด็กนักเรียนของพวกเรา ตั้งแต่อนุบาล ล้วนแล้วแต่ท่องคำขวัญจังหวัดราชบุรี ได้ทุกคน แต่พอถึงคำสุดท้ายว่า "ย่านยี่สกปลาดี" เด็กเด็กกลับไม่เคยเห็นปลายี่สกตัวจริงจริงเลย ว่า หน้าตามันเป็นอย่างไร รู้จักแต่ปลาช่อน ปลาดุก ที่วางขายอยู่ตามตลาด ยิ่งเขาเล่ากันว่า ปลายี่สกนำมาทำเป็นอาหารอร่อยมาก...ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะราคามันคงแพงมาก...
ดังนั้น เป็นไปได้ไหม ที่เราจะค้นหาวิธีการเลี้ยงปลายี่สกในฟาร์ม เพราะพันธ์จนเติบโตกลายเป็นปลาเศรษฐกิจ (เหมือนกับปลาช่อน ปลาดุก ฯลฯ ที่วางขายในตลาดทั่วไป) แล้วจำหน่ายให้ร้านอาหาร และภัตตาคาร นำไปประกอบอาหาร
หากทำอย่างนี้ได้ คนราชบุรีอย่างเรา รวมทั้งแขกบ้านแขกเมือง นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนราชบุรี ก็จะได้ลองลิ้มชิมรสของปลายี่สกในรูปแบบเมนูต่างๆ ได้ในราคาที่ไม่แพงนัก...สมกับคำว่า "ย่านยี่สกปลาดี" มาราชบุรีต้องเมนูปลายี่สกเท่านั้น (เหมือนหลายๆ จังหวัดที่เขามีเมนูปลาของเขาเอง)
แต่หากสถานการณ์เกี่ยวกับปลายี่สกยังคงเป็นอยู่เช่นปัจจุบัน วันหนึ่งคำว่า "ย่านยี่สกปลาดี" ก็คงต้องถูกลบทิ้งจากคำขวัญของ จ.ราชบุรี อย่างแน่นอน...
อ้างอิง
-เกษตรแผ่นดินทอง. (2552). ฤดูวางไข่และแหล่งวางไข่ของปลายี่สก. [ Online]. Available: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=313&s=tblanimal. [2552, ธันวาคม 6].
-เกษตรแผ่นดินทอง. (2552). ฤดูวางไข่และแหล่งวางไข่ของปลายี่สก. [ Online]. Available: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=313&s=tblanimal. [2552, ธันวาคม 6].
แบ่งปันภาพสวยที่เพื่อนส่งมา
ขอบคุณเพื่อนเพื่อนที่ส่งภาพสวยๆ มาให้ ไม่รู้จะเก็บไว้ที่ไหน เลยนำมาเผยแพร่ไว้ในนี้
และขอบคุณผู้ที่ถ่ายภาพและสร้างสรรค์ภาพทุกคน
และขอบคุณผู้ที่ถ่ายภาพและสร้างสรรค์ภาพทุกคน
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ครูเล่าให้ฟังเรื่องไทยเสียดินแดน
ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ส่งข้อมูลมาให้ทางอีเมล์ เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ในบล็อกนี้
ขอบคุณ คุณครูผู้จัดทำ ซึ่งไม่ทราบว่าใคร
ขอบคุณ คุณครูผู้จัดทำ ซึ่งไม่ทราบว่าใคร
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
คอนเสิร์ตรับลมหนาว นอนดูดาว ที่สวนผึ้ง ใครได้ใครเสีย
จังหวัดราชบุรี ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวของ จ.ราชบุรี โครงการ “ชมไอหนาว หมอกขาว ป่าเขียว เที่ยวราชบุรี” เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2552 ที่ผ่านมา ณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยมีนายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายพิชัย นันทชัยพร นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรี นายไกรสร กลับทวี ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี และนายชัยสงค์ ชูฤทธิ์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมแถลงข่าวในโครงการด้วย
กิจกรรมหนึ่งในโครงการฟังเผินๆ แล้ว รู้สึกดูดีมาก คือ คอนเสิร์ตรับลมหนาวนอนดูดาวที่สวนผึ้ง ซึ่งกำหนดจัดในวันเสาร์ที่ 19 ธ.ค.2552 ณ ร.ร.สินแร่สยาม ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จำหน่ายบัตรคนละ 1,000 บาท (แถม อาหาร 2 มื้อ และเต็นท์ 1 หลัง) จองบัตรได้ที่สำนักข่าวและร้านถ่ายเอกสารแห่งหนึ่ง งานนี้มีวงดนตรีเพื่อชีวิตคือ หงาคาราวาน และคีตาลชลี มาเล่นคอนเสิร์ตให้ฟัง ส่วนรายได้จากการจัดงานนี้ไม่ได้กล่าวถึงแต่อย่างใด
งานนี้ฟังชื่อแล้วหลายคนคงยากไป แต่ผู้เขียนกลับมาตรึกตรองดู ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแปลกที่ว่า ผู้บริหารของ จ.ราชบุรี เขาส่งเสริมการท่องเที่ยวกันเช่นนี้หรือ วิธีการอย่างนี้ ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าเหมาะสม การที่เอาเสน่ห์ของสวนผึ้งมาเป็นสถานที่ปิดวิก และขายบัตรคอนเสิร์ต และก็ไม่ใช่เป็นคอนเสิร์ตเพื่อการกุศลแต่อย่างใด แต่ จ.ราชบุรี ดันขันอาสาหยิบยกไปแถลงข่าวให้ ก็เท่ากับว่า จ.ราชบุรี เป็นนายหน้าไปช่วยขายบัตรชมคอนเสิร์ตให้กลุ่มผู้จัด
หากงานนี้ จ.ราชบุรี บอกว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สวนผึ้งจริง คอนเสิร์ตรับลมหนาวนอนดูดาวที่สวนผึ้งในครั้งนี้ต้องเข้าชมฟรี หรือหากจำเป็นต้องขายบัตร ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่า เงินรายได้จะนำไปใช้ในการกุศลเรื่องใด เช่น เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจนของ อ.สวนผึ้ง จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนใน อ.สวนผึ้ง เป็นต้น อย่างนี้ได้ประโยชน์ทั้งการท่องเที่ยวและคนในพื้นที่
ท่านลองมองย้อนกลับไป ตอนที่เคยมีคนเอาวงดนตรีเพื่อชีวิตไปเล่นคอนเสิร์ตในเขาใหญ่ มาเทียบเคียงดูก็จะเห็นภาพได้ชัดเจน ...ชาวเขาใหญ่เขาไม่ได้ต้องการเลย....ธรรมชาติของเขาใหญ่บอบช้ำจากการเหยียบย่ำทำลายของคนที่มาดูคอนเสริ์ต และเมื่อคอนเสิร์ตจบแล้วยังคงเหลือกองซากเศษอาหาร และขยะมูลฝอย ทิ้งไว้อีกจำนวนมาก สรุปแล้วชาวเขาใหญ่ ได้หรือเสียอะไร มีแต่นักดนตรีและคนจัด ที่แบ่งสรรปันส่วนเงินกำไรกันถ้วนหน้า
กิจกรรมหนึ่งในโครงการฟังเผินๆ แล้ว รู้สึกดูดีมาก คือ คอนเสิร์ตรับลมหนาวนอนดูดาวที่สวนผึ้ง ซึ่งกำหนดจัดในวันเสาร์ที่ 19 ธ.ค.2552 ณ ร.ร.สินแร่สยาม ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จำหน่ายบัตรคนละ 1,000 บาท (แถม อาหาร 2 มื้อ และเต็นท์ 1 หลัง) จองบัตรได้ที่สำนักข่าวและร้านถ่ายเอกสารแห่งหนึ่ง งานนี้มีวงดนตรีเพื่อชีวิตคือ หงาคาราวาน และคีตาลชลี มาเล่นคอนเสิร์ตให้ฟัง ส่วนรายได้จากการจัดงานนี้ไม่ได้กล่าวถึงแต่อย่างใด
งานนี้ฟังชื่อแล้วหลายคนคงยากไป แต่ผู้เขียนกลับมาตรึกตรองดู ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแปลกที่ว่า ผู้บริหารของ จ.ราชบุรี เขาส่งเสริมการท่องเที่ยวกันเช่นนี้หรือ วิธีการอย่างนี้ ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าเหมาะสม การที่เอาเสน่ห์ของสวนผึ้งมาเป็นสถานที่ปิดวิก และขายบัตรคอนเสิร์ต และก็ไม่ใช่เป็นคอนเสิร์ตเพื่อการกุศลแต่อย่างใด แต่ จ.ราชบุรี ดันขันอาสาหยิบยกไปแถลงข่าวให้ ก็เท่ากับว่า จ.ราชบุรี เป็นนายหน้าไปช่วยขายบัตรชมคอนเสิร์ตให้กลุ่มผู้จัด
หากงานนี้ จ.ราชบุรี บอกว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สวนผึ้งจริง คอนเสิร์ตรับลมหนาวนอนดูดาวที่สวนผึ้งในครั้งนี้ต้องเข้าชมฟรี หรือหากจำเป็นต้องขายบัตร ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่า เงินรายได้จะนำไปใช้ในการกุศลเรื่องใด เช่น เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจนของ อ.สวนผึ้ง จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนใน อ.สวนผึ้ง เป็นต้น อย่างนี้ได้ประโยชน์ทั้งการท่องเที่ยวและคนในพื้นที่
ท่านลองมองย้อนกลับไป ตอนที่เคยมีคนเอาวงดนตรีเพื่อชีวิตไปเล่นคอนเสิร์ตในเขาใหญ่ มาเทียบเคียงดูก็จะเห็นภาพได้ชัดเจน ...ชาวเขาใหญ่เขาไม่ได้ต้องการเลย....ธรรมชาติของเขาใหญ่บอบช้ำจากการเหยียบย่ำทำลายของคนที่มาดูคอนเสริ์ต และเมื่อคอนเสิร์ตจบแล้วยังคงเหลือกองซากเศษอาหาร และขยะมูลฝอย ทิ้งไว้อีกจำนวนมาก สรุปแล้วชาวเขาใหญ่ ได้หรือเสียอะไร มีแต่นักดนตรีและคนจัด ที่แบ่งสรรปันส่วนเงินกำไรกันถ้วนหน้า
หากคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นไปตามที่แถลงข่าว ผู้คนคงหลั่งไหลเข้าสวนผึ้งเพื่อไปชมคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมาก อาจถึงพันคน...แล้วธรรมชาติที่แสนบริสุทธิ์ของสวนผึ้งจะรองรับไว้หรือ ไหนจะห้องน้ำ ห้องส้วม สถานที่จัดเวที เครื่องไฟ ร้านอาหาร ร้านขายของ ที่จอดรถ ถังขยะ สาธารณูปโภคต่างๆ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวระหว่างพักค้างอ้างแรม ฯลฯ งานนี้ ไม่ทราบว่า...โรงเรียนสินแร่สยาม จะได้เศษเงินจากค่าเช่าสถานที่ ค่าจัดกิจกรรมต่างต่าง จากกลุ่มผู้จัดสักเท่าใด ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ไม่น่ายอมแลกธรรมชาติและชื่อเสียงอันงดงามของตนเองกับงานนี้เลย และที่สำคัญชาวชุมชนคนรักสวนผึ้งทั้งหลาย รู้หรือยังว่าเขากำลังจะไปจัดคอนเสิร์ตที่บ้านของท่าน
จังหวัดราชบุรีและผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ ต้องช่วยกันคิดให้หนักขึ้น การพาคนจำนวนมากเข้าไปในธรรมชาติที่เปราะบางเหล่านี้ ท่านจะมีวิธีการควบคุมเขาได้อย่างไร (จริงจริงแล้วการจัดคอนเสิร์ตในผืนป่าธรรมชาติ ไม่ควรคิดที่จะกระทำด้วยซ้ำไป) ...หลังจากงานนี้แล้ว...คงต้องตั้งคำถามเหมือนกับการชมคอนเสิร์ตที่เขาใหญ่ว่า ชาวสวนผึ้งได้หรือเสียอะไร...และจังหวัดราชบุรีได้หรือเสียอะไร เช่นกัน
ท้ายสุดฝากถึงชุมชนคนรักธรรมชาติทั้งหลาย ชุมชนคนรักสวนผึ้ง ผู้ประกอบการรีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสวนผึ้ง ทั้งหลายทั้งปวงด้วยว่า หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสวนผึ้ง ไม่มีการควบคุมจำนวนและคุณภาพนักท่องเที่ยว ขาดทิศทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว และปล่อยให้นักลงทุนลงมาแสวงประโยชน์ในพื้นที่โดยคำนึงถึงแต่เงินกำไรอย่างเดียว วันหนึ่ง สวนผึ้ง อาจจะเหมือน ปาย ที่แม่ฮ่องสอนก็ได้ ที่วันนี้ ปาย ไม่ได้เหลือเสน่ห์อันใดเลย.... เขียนโดย ชาติชาย คเชนชล 30 พ.ย.2552
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : การแถลงข่าวโครงการ “ชมไอหนาว หมอกขาว ป่าเขียว เที่ยวราชบุรี”
วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
คำสอนของพ่อ
1. ความเพียร
"การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุด คือความอดทน คือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง"
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่27 ตุลาคม 2516
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่27 ตุลาคม 2516
2. ความพอดี
"ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้น จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน"
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
3. ความรู้ตน
"เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอ จะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จ และความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคต ได้อย่างแน่นอน"
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
"คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่า ต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วย เมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้ โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะ และในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลาย มีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ "
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521
5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
"ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อส่วนรวม "
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496
6. พูดจริง ทำจริง
"ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม"
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540
7. หนังสือเป็นออมสิน
"หนังสือ เป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้ โดยแท้"
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514
8. ความซื่อสัตย์
"ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง"
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531
9. การเอาชนะใจตน
"ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจ ไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่ว ว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิด และความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำ สิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้ มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้ เป็นลำดับ"
พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุม
สิ่งดี ๆ คงไม่เกิดขึ้น หากเราไม่ลงมือทำอะไรดี ๆ หรือเพียงรอรับแต่สิ่งดี ๆ จากผู้คนรอบข้าง... สังคมดีได้ เพราะคนไทยรู้รักสามัคคี
บันทึก : พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ มีเพื่อนๆ Forward Mail มาให้ ไม่รู้ผู้ใดเป็นคนรวบรวม เลยขอนุญาตนำมาลงไว้ในบล็อกนี้ เพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่อีกช่องทางหนึ่ง
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ทำไม เด็กเด็กของเราต้องกวดวิชา
วันเสาร์ที่ 26 ก.ย.2552 หลังจากที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนชื่อดังของ จ.ราชบุรี หยุดเทอมวันแรก ลูกสาวผมซึ่งเรียนอยู่ชั้น ม.5 รีบเดินทางเข้าไปเรียนกวดวิชาในกรุงเทพฯ ทันที โดยมีการลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าแล้ว ผมได้เดินทางไปส่งลูกสาวที่ อาคารวรรณสรณ์ สี่แยกพญาไท ถ้าจำไม่ผิดสูงเกือบ 17 ชั้น แต่ละชั้นมีโรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์ชื่อดังต่างๆ มาเปิดสอนอยู่ที่นี่จำนวนมาก รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม อีกหลายหลายสไตล์เปิดให้บริการ ในวันนั้น ทั้งเด็กและผู้ปกครองต่างพากันเดินควักไขว่ บ้างก็กำลังขึ้นลงลิฟต์ บ้างก็กำลังขึ้นลงบันไดเลื่อน หาที่ลงทะเบียน เพื่อเข้าเรียนกวดวิชากับอาจารย์ชื่อดัง ตามที่ได้สมัครเรียนไว้ล่วงหน้า
เกิดคำถามในใจผมขึ้นว่า “ทำไม เด็กเด็กของเราต้องกวดวิชา”
เกิดคำถามในใจผมขึ้นว่า “ทำไม เด็กเด็กของเราต้องกวดวิชา”
ก่อนอื่นต้องนิยามคำว่า “กวดวิชา” กับ “เรียนพิเศษ” ก่อนว่ามีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ในความเห็นของส่วนตัวของผมแล้ว
คำว่า กวดวิชา หมายถึง เด็กนักเรียนได้เรียนรู้วิชาจากห้องเรียนเป็นอย่างดี แล้วไปสมัครกวดวิชานั้นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น หาวิธีการจำใหม่ๆ หาวิธีการคิดที่เป็นทางลัดและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งฝึกฝน หาประสบการณ์ในการทำข้อสอบ ของสถาบันต่างๆ ตามที่ตนเองมุ่งหวังไว้
ส่วนคำว่า เรียนพิเศษ หมายถึง เด็กเรียนวิชาที่ครูสอนในห้องเรียน แล้วไม่เข้าใจ เพราะสติปัญญาอาจรับได้ช้ากว่าเพื่อนๆ คุณครูเลยต้องจัดให้มีการเรียนพิเศษเพิ่มเติมนอกเวลา โดยเป็นไปตามจิตสำนึกของครู
หากคำนิยามเป็นไปตามความคิดของผม แสดงว่าทุกวันนี้ ยังมีความสับสนกันอยู่
กวดวิชา -> ควรจะเสียเงิน (ใช่หรือไม่?)
เรียนพิเศษ -> ควรเป็นการเรียนที่ไม่เสียเงิน ควรเป็นน้ำใจของครูที่มีต่อศิษย์ (ใช่หรือไม่?)
ตอนนี้ลูกสาวผม ต้องเรียนทั้งสองอย่างเลย คือ ทั้งกวดวิชา และเรียนพิเศษ เดือนหนึ่งหนึ่ง ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมในเรื่องเหล่านี้ จำนวนกว่า 3,000 บาท ยิ่งตอนปิดเทอมที่ต้องไปกวดวิชาที่กรุงเทพฯ ด้วยแล้ว ต้องมีอย่างต่ำไม่น้อยกว่าเดือนละ 8,000 บาท (แล้วเรียนฟรี 15 ปี หมายความถึงอะไร ทำไม? ต้องเสียเงิน เพื่อให้ เรียนดี แสดงว่า เรียนฟรี ไม่ได้หมายความถึง นักเรียนจะเรียนดี)
คณะเด่น มหาวิทยาลัยดี ชื่อเสียงดัง คือ จุดมุ่งหมายของลูกสาวผม
คงไม่ต้องตอบคำถามแล้วว่า เด็กต้องกวดวิชาเพราะอะไร
นักการเมือง นักวิชาการ และผู้บริหารการศึกษา มักชอบพูดเสมอว่า· ทุกคนต้องมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันโดยเสมอภาค
· ผู้เรียนทุกคนต้องมีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน
· ทุกคนจะได้เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ และในอนาคตจะขยายเรียนฟรีต่อถึงระดับปริญญาตรี (การเรียนฟรีในโรงเรียนที่ดี กับการเรียนฟรีในโรงเรียนที่ไม่ได้เรื่อง มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน )· เราจะมีโรงเรียนในฝัน (นายฝัน มากกว่า) ในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
· เรากำลังจะเปิด Tutor Channel ทาง NBT และ ETV (ท่านกำลังสร้างวัฒนธรรมและธุรกิจกวดวิชา รวมทั้ง ท่านกำลังดูถูกครูทั่วประเทศ ที่สอนตามปกติ)· เรากำลังจะพัฒนาครูให้มีคุณภาพ และกำลังจะสร้างครูพันธ์ใหม่ ซึ่งมาจากคนเก่งของประเทศ (แล้วครูที่ร่ำรวยจากการกวดวิชา ในตอนนี้ จะเอาไปไว้ไหน อีกทั้งครูที่สอนในชั่วโมงไม่เต็มที่ หากเด็กอยากรู้เพิ่มเติม ต้องเสียเงินมาเรียนพิเศษนอกเวลากับครูเอาเอง ครูจำพวกนี้จะทำอย่างไร)· ฯลฯ
ผมก็ไม่รู้ว่า ลูกสาวของผม หลังจากจบ ม.6 จะได้เข้าเรียนต่อใน คณะเด่น มหาวิทยาลัยดี ชื่อเสียงดัง ตามที่มุ่งหวัง ไว้หรือไม่ เพราะการศึกษาระบบ “แพ้คัดออก” ยังมีให้เห็นอยู่ในวงการการศึกษาของไทย แต่ละสถาบันยังมีอัตราของตัวเอง รวมทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียงและศักดิ์ศรี ที่จักต้องจรรโลงไว้
ตรงกันข้าม ยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งกำลังจะแย่ เพราะไม่มีนักศึกษาจะเรียน คณะก็ไม่เด่น มหาวิทยาลัยก็ไม่ดี ชื่อเสียงก็ไม่เป็นที่ยอมรับ มหาวิทยาลัยเหล่านี้ นักเรียนไม่ต้องกวดวิชาก็เข้าเรียนได้
วันนี้ ธุรกิจการกวดวิชาและการเรียนพิเศษ กำลังแพร่ขยายเป็นวงกว้างไปเกือบทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะเจาะกลุ่มเป้าหมายในหมู่ผู้ปกครองที่มีอันจะกิน อาจารย์กวดวิชาชื่อดังหลายคน ขยายสาขาไปตามหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ โดยเด็กเด็ก ต้องเสียเงิน เสียเวลา เพียงแค่มานั่งดู CD การสอนเท่านั้น แล้วครูในพื้นที่ที่มีหน้าที่สอนตามปกติ...กำลังทำอะไรกันอยู่...
......คำถามสุดท้าย มีอยู่ว่า แล้วเด็กและผู้ปกครองอีกหลายคนที่ไม่มีอันจะกิน จะทำอย่างไร เพราะใครๆ ก็อยากให้ลูกได้เรียนดีดีทั้งนั้น.... คำว่า “โง่ จน เจ็บ” ....ในภาพยนตร์โฆษณาไม่ใช่คำตอบ แต่วันนี้ เขาไม่โง่ เพียงแต่เขาจน และเขาต้องยอมเจ็บ เพราะนโยบายการศึกษาของบรรดา นักการเมือง นักวิชาการ และนักบริหารการศึกษา ที่คิดว่าดีเลิศแล้ว...เท่านั้นเอง...
ชาติชาย คเชนชล : 6 ต.ค.2552
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552
การศึกษาที่ผ่านมา เราวัดคุณภาพนักเรียนจากอะไร?
ในข้อเสนอ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) (สำนักงานเลขาธิการสภากาศึกษา.2552 : 5-9) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อคราวประชุมวันที่ 18 ส.ค.2552 ได้สรุปผลการปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมาในด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา พบว่า
1.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเมินของ สมศ. รอบแรก ถึงร้อยละ 65 (จากสถานศึกษาสามหมื่นแห่งทั่วประเทศ) และต่อมาในการประเมินรอบสองก็ยังมีสถานศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนาอีก ร้อยละ 20.3
2. สัมฤทธิผลการเรียนของนักเรียนในวิชาหลัก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50
3. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีความสามารถและสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
1.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเมินของ สมศ. รอบแรก ถึงร้อยละ 65 (จากสถานศึกษาสามหมื่นแห่งทั่วประเทศ) และต่อมาในการประเมินรอบสองก็ยังมีสถานศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนาอีก ร้อยละ 20.3
2. สัมฤทธิผลการเรียนของนักเรียนในวิชาหลัก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50
3. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีความสามารถและสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
จากข้อค้นพบที่ว่า สัมฤทธิผลของนักเรียนในวิชาหลัก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 หมายความถึงนักเรียนไม่มีคุณภาพ นั้น ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า หากเราใช้ทฤษฎีระบบง่ายง่าย คือ Input -> Process -> Output ก็คงจะพอมองเห็นได้ว่า ไม่ว่า Process จะดีมีมาตรฐานขนาดไหน หาก Input มีความแตกต่างกัน Output ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย
ยกเว้นว่า หากเราไม่สนใจว่า Input จะแตกต่างกันอย่างไร แต่เราสนใจเพียงต้องการให้ คุณภาพของ Output ได้มาตรฐานและคุณภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น เราจึงต้องหา Process ที่มีความเป็นอัจฉริยะสามารถจัดการ Input ได้หลากหลายรูปแบบ ถึงจะทำให้ Output เป็นไปตามที่เราต้องการ
ยกเว้นว่า หากเราไม่สนใจว่า Input จะแตกต่างกันอย่างไร แต่เราสนใจเพียงต้องการให้ คุณภาพของ Output ได้มาตรฐานและคุณภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น เราจึงต้องหา Process ที่มีความเป็นอัจฉริยะสามารถจัดการ Input ได้หลากหลายรูปแบบ ถึงจะทำให้ Output เป็นไปตามที่เราต้องการ
Input ก็คือ นักเรียน นักเรียน ก็คือมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงมีความแตกต่างกัน เมื่อ Input มีความแตกต่างกัน -> Process (กระบวนการจัดการเรียนการสอน) ก็ต้องย่อมแตกต่างกันไปด้วย -> ถึงจะได้ Output ตามที่ต้องการ นี่คือตรรกะง่ายๆ ที่ไม่ต้องคิดมาก
คำถามมีอยู่ว่า เราจะใช้เครื่องมืออะไรวัดว่า Output (ผู้เรียน) มีคุณภาพ หรือสถานศึกษามีคุณภาพ?
ลองทบทวนเครื่องมือที่ใช้วัดในปัจจุบัน น่าเชื่อถือหรือไม่ มีความเที่ยงตรงแค่ไหน และผลที่วัดได้มีความเชื่อมั่นระดับใด....หากเราใช้เครื่องมือวัดผิด ทุกอย่างก็ผิดหมด
เช่น บอกว่าวัดจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับท้องถิ่น และผลการประเมินจาก สมศ. เป็นต้น เมื่อผลออกมาต่ำกว่าเกณฑ์ แล้วสรุปว่าผู้เรียนและสถานศึกษาไม่มีคุณภาพ อย่างนี้ ผมคิดว่าไม่น่าถูกต้อง
ทำไมเราไม่เลือกวัดจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มากกว่าคะแนนสอบ ยกตัวอย่าง
เช่น ในอนาคต เราจะวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 8 คุณลักษณะ คือ 1.ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.ความซื่อสัตย์สุจริต 3.ความมีวินัย 4.ความใฝ่เรียนรู้ 5.ความเป็นอยู่อย่างพอเพียง 6.ความมุ่งมั่นในการทำงาน 7.รักความเป็นไทย 8.ความมีจิตสาธารณะ ทั้ง 8 ข้อนี้ จะวัดได้อย่างไร
นักวิชาการด้านการวัดและประเมินผล ต้องคิดหนักว่า จะใช้เครื่องมืออะไร ที่จะวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้ง 8 ข้อ ให้ได้ผลอย่างเที่ยงตรง เชื่อถือได้ มากกว่าที่จะวัดความสำเร็จจากคะแนนสอบ O-NET หรือ LT แล้วที่สำคัญจะวัดตอนไหน เพราะการจัดการเรียนการสอนของเราเป็นลักษณะของสายพาน ที่ครูทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตนักเรียนทั้งสิ้น ตั้งแต่
อนุบาล -> ประถมต้น -> ประถมปลาย -> มัธยมต้น -> มัธยมปลาย -> อุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา -> จบออกมาทำงานตามความต้องการของสังคม (หรือของผู้เรียนเอง)
มีเสียงบ่นมากมาย ที่พวกเราได้ยินเสมอในแวดวงการศึกษาปัจจุบัน เช่น เด็กเดี๋ยวนี้ ขึ้นชั้น ม.1 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออกเลย เด็กเดี๋ยวนี้มันขี้เกียจเรียน เอาแต่เล่นเกม ขี่มอเตอร์ไซด์ ซิ่งไปวันๆ เด็กเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันยังทำอะไรไม่เป็นเลย ถามว่า แล้วพวกเราจะโทษใคร? ดี ที่เด็กๆ เป็นอย่างนี้
เราจะโทษครูอนุบาลดีไหม? ที่ไม่เตรียมความพร้อมของเด็กให้ดี
เราจะโทษครูประถมดีไหม? ที่ไม่ยอมสอนให้เด็กอ่านหนังสือได้
เราจะโทษครูมัธยมดีไหม? ที่ไม่สามารถสอนเด็ก ให้เก่งกว่าเดิมได้
เราควรจะโทษอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือในอาชีวศึกษาดีกว่า ที่ไม่สามารถสอนให้เด็กมีความสามารถและพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการได้
หรือเราจะโทษพ่อแม่ผู้ปกครองดี? ที่ไม่เอาใจใส่ดูแลลูกตัวเอง
ผมคิดว่า เราไม่ควรจะโทษใครเลย...เพียงแต่เราต้องเข้าใจอยู่เสมอว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ หากเปรียบการศึกษาเหมือนกับการสร้างบ้าน เราควรจะคิดใหม่ อย่างนี้
ครูอนุบาล กำลังขุดหลุม ตอกเสาเข็ม
ครูประถม กำลังตั้งเสา เทพื้น
ครูมัธยม กำลังก่อผนัง ตั้งโครงหลังคา
ครูอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา กำลังมุงหลังคาและตกแต่ง
หากคิดได้อย่างนี้แล้ว พวกเราจะไม่เห็นว่า ใครต้องดีกว่าใคร และใครต้องเก่งกว่าใคร เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในสายพานการผลิตทั้งหมด
ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้ ข้อเสนอในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา พวกเราจึงควรนิยามปัญหาให้ชัดเจน และยืนยันว่านั้นคือปัญหาจริงๆ นำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง แล้วคิดหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ต่อจากนั้นควบคุมการแก้ปัญหาให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยต้องมีวิธีวัดที่เหมาะสมในปัญหานั้นๆ ด้วย
ยกตัวอย่างเช่น เราบอกว่า “ผลการสอบ O-NET ของนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 ในวิชาหลัก ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่าร้อยละ 50” หมายถึง นักเรียนไม่มีคุณภาพ อย่างนี้ ผมคิดว่าอาจไม่ถูกต้องนัก เพราะเหตุปัจจัยหนึ่งที่นักเรียนสอบคะแนน O-NET ได้ต่ำ อาจเป็นเพราะ
1. การสอบ O-NET ไม่มีผลใดๆ กับตัวเองในการจบการศึกษา ดังนั้น นักเรียนจึงขาดความตั้งใจในการสอบ คะแนนสอบ O-NET เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ใช้วัดผลงานในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษาของตนเองเท่านั้น บางโรงเรียน ถึงขั้นไม่สอนตามปกติ เอาข้อสอบ O-NET มาติวเข้มกันเลย เพราะหากนักเรียนสอบได้คะแนน O-NET สูงๆ ก็จะทำให้โรงเรียนตัวเอง ดี เด่น ดัง มีผู้ปกครองไว้วางใจส่งเด็กเข้ามาเรียนมากขึ้น ลาภยศสรรเสริญก็จะตามมา
2. ข้อสอบที่นำมาใช้ เป็นข้อสอบที่มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือได้หรือไม่ มีความยากง่ายแค่ไหน แน่นอน! หากเราถามนักวิชาการที่จัดสร้างขึ้น ก็ต้องบอกว่า “เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการสร้างอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ” แต่สิ่งสำคัญที่ผมคิดว่าควรตั้งเป็นสมมติฐาน คือ ภายใต้ Input ที่แตกต่าง Process ที่หลากหลาย Output คือ ผลคะแนนสอบที่ออกมา ควรระบุไว้ก่อนว่า นักเรียนไทยควรได้คะแนนสอบอยู่ในระดับใด มีเกณฑ์ที่เชื่อถือได้โดยมาจากขั้นตอนและกระบวนการที่มีเหตุมีผล เมื่อผ่านเกณฑ์นั้นจึงจะเรียกว่า ได้คุณภาพ เช่น หากบอกว่า ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศนักเรียนไทยต้องสอบ O-NET ได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ทุกวิชา หาดคิดอย่างนี้แล้ว นักเรียนไทยปัจจุบันก็ไม่มีคุณภาพ แต่หากบอกว่า ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศนักเรียนไทยต้องสอบ O-NET ได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 30 ทุกวิชา หากคิดอย่างนี้แล้ว ก็ถือว่า ปัจจุบันนักเรียนไทยมีคุณภาพ แล้ว
3. ค่าเฉลี่ยที่แตกต่าง เพราะ Input ที่ไม่เหมือนกัน วัตถุดิบที่มีคุณภาพได้รับการคัดสรรแล้ว กับ วัตถุดิบที่ยังไม่ได้รับการคัดสรร เมื่อเข้าสู่กระบวนการเดียวกัน Output ย่อมไม่เหมือนกัน หากเราแบ่ง Input คือ นักเรียนในระดับ IQ ที่แตกต่างกัน เป็น เกรด A,B,C และ D แน่นอน โรงเรียนที่มีนักเรียน เกรด A ย่อมได้คะแนนเฉลี่ย O-NET สูง ตรงกันข้าม โรงเรียนที่มีนักเรียน เกรด D ย่อมมีคะแนนเฉลี่ย O-NET ที่ต่ำแล้วอย่างนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET จะใช้วัดสิ่งใดในตัวคุณภาพของนักเรียน และมันสามารถวัดผลงานของครูผู้สอนหรือผู้บริหาร ได้จริงหรือไม่
4. ค่าเฉลี่ยในการสอบ O-NET แต่ละปีไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หากเราพูดว่าค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET ของนักเรียน ป.6 ปีนี้ เฉลี่ยแล้วต่ำลง แต่ในเรื่องความเป็นจริงแล้ว นักเรียน ป.6 ที่สอบปีที่แล้ว กับนักเรียน ป.6 ที่สอบปีนี้ เป็นคนละคนกัน ดังนั้นการแปลความหมายค่าเฉลี่ยดังกล่าว จึงไม่ได้มุ่งไปที่ตัวผู้เรียนจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการวัดคุณภาพ แต่กลับมุ่งไปที่ผลของการสอบจากข้อสอบในแต่ละปี
สรุปได้ว่า การวัดคุณภาพของผู้เรียน เราต้องหาเครื่องมือวัดที่เหมาะสม และต้องตอบให้ได้ว่า เราจะวัดเรื่องอะไร ถึงจะเรียกว่า ผู้เรียนมีคุณภาพ เพราะผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ผู้เรียนไม่ใช่สินค้าที่ได้จากกระบวนการผลิตแบบโรงงาน ที่เมื่อผลิตแล้วต้องมีคุณสมบัติ ขนาด น้ำหนัก รูปร่างเหมือนกับที่ออกแบบไว้
เช่น บอกว่าวัดจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับท้องถิ่น และผลการประเมินจาก สมศ. เป็นต้น เมื่อผลออกมาต่ำกว่าเกณฑ์ แล้วสรุปว่าผู้เรียนและสถานศึกษาไม่มีคุณภาพ อย่างนี้ ผมคิดว่าไม่น่าถูกต้อง
ทำไมเราไม่เลือกวัดจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มากกว่าคะแนนสอบ ยกตัวอย่าง
เช่น ในอนาคต เราจะวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 8 คุณลักษณะ คือ 1.ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.ความซื่อสัตย์สุจริต 3.ความมีวินัย 4.ความใฝ่เรียนรู้ 5.ความเป็นอยู่อย่างพอเพียง 6.ความมุ่งมั่นในการทำงาน 7.รักความเป็นไทย 8.ความมีจิตสาธารณะ ทั้ง 8 ข้อนี้ จะวัดได้อย่างไร
นักวิชาการด้านการวัดและประเมินผล ต้องคิดหนักว่า จะใช้เครื่องมืออะไร ที่จะวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้ง 8 ข้อ ให้ได้ผลอย่างเที่ยงตรง เชื่อถือได้ มากกว่าที่จะวัดความสำเร็จจากคะแนนสอบ O-NET หรือ LT แล้วที่สำคัญจะวัดตอนไหน เพราะการจัดการเรียนการสอนของเราเป็นลักษณะของสายพาน ที่ครูทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตนักเรียนทั้งสิ้น ตั้งแต่
อนุบาล -> ประถมต้น -> ประถมปลาย -> มัธยมต้น -> มัธยมปลาย -> อุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา -> จบออกมาทำงานตามความต้องการของสังคม (หรือของผู้เรียนเอง)
มีเสียงบ่นมากมาย ที่พวกเราได้ยินเสมอในแวดวงการศึกษาปัจจุบัน เช่น เด็กเดี๋ยวนี้ ขึ้นชั้น ม.1 แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออกเลย เด็กเดี๋ยวนี้มันขี้เกียจเรียน เอาแต่เล่นเกม ขี่มอเตอร์ไซด์ ซิ่งไปวันๆ เด็กเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันยังทำอะไรไม่เป็นเลย ถามว่า แล้วพวกเราจะโทษใคร? ดี ที่เด็กๆ เป็นอย่างนี้
เราจะโทษครูอนุบาลดีไหม? ที่ไม่เตรียมความพร้อมของเด็กให้ดี
เราจะโทษครูประถมดีไหม? ที่ไม่ยอมสอนให้เด็กอ่านหนังสือได้
เราจะโทษครูมัธยมดีไหม? ที่ไม่สามารถสอนเด็ก ให้เก่งกว่าเดิมได้
เราควรจะโทษอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือในอาชีวศึกษาดีกว่า ที่ไม่สามารถสอนให้เด็กมีความสามารถและพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการได้
หรือเราจะโทษพ่อแม่ผู้ปกครองดี? ที่ไม่เอาใจใส่ดูแลลูกตัวเอง
ผมคิดว่า เราไม่ควรจะโทษใครเลย...เพียงแต่เราต้องเข้าใจอยู่เสมอว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ หากเปรียบการศึกษาเหมือนกับการสร้างบ้าน เราควรจะคิดใหม่ อย่างนี้
ครูอนุบาล กำลังขุดหลุม ตอกเสาเข็ม
ครูประถม กำลังตั้งเสา เทพื้น
ครูมัธยม กำลังก่อผนัง ตั้งโครงหลังคา
ครูอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา กำลังมุงหลังคาและตกแต่ง
หากคิดได้อย่างนี้แล้ว พวกเราจะไม่เห็นว่า ใครต้องดีกว่าใคร และใครต้องเก่งกว่าใคร เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในสายพานการผลิตทั้งหมด
ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้ ข้อเสนอในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา พวกเราจึงควรนิยามปัญหาให้ชัดเจน และยืนยันว่านั้นคือปัญหาจริงๆ นำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง แล้วคิดหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ต่อจากนั้นควบคุมการแก้ปัญหาให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยต้องมีวิธีวัดที่เหมาะสมในปัญหานั้นๆ ด้วย
ยกตัวอย่างเช่น เราบอกว่า “ผลการสอบ O-NET ของนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 ในวิชาหลัก ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่าร้อยละ 50” หมายถึง นักเรียนไม่มีคุณภาพ อย่างนี้ ผมคิดว่าอาจไม่ถูกต้องนัก เพราะเหตุปัจจัยหนึ่งที่นักเรียนสอบคะแนน O-NET ได้ต่ำ อาจเป็นเพราะ
1. การสอบ O-NET ไม่มีผลใดๆ กับตัวเองในการจบการศึกษา ดังนั้น นักเรียนจึงขาดความตั้งใจในการสอบ คะแนนสอบ O-NET เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ใช้วัดผลงานในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษาของตนเองเท่านั้น บางโรงเรียน ถึงขั้นไม่สอนตามปกติ เอาข้อสอบ O-NET มาติวเข้มกันเลย เพราะหากนักเรียนสอบได้คะแนน O-NET สูงๆ ก็จะทำให้โรงเรียนตัวเอง ดี เด่น ดัง มีผู้ปกครองไว้วางใจส่งเด็กเข้ามาเรียนมากขึ้น ลาภยศสรรเสริญก็จะตามมา
2. ข้อสอบที่นำมาใช้ เป็นข้อสอบที่มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือได้หรือไม่ มีความยากง่ายแค่ไหน แน่นอน! หากเราถามนักวิชาการที่จัดสร้างขึ้น ก็ต้องบอกว่า “เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการสร้างอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ” แต่สิ่งสำคัญที่ผมคิดว่าควรตั้งเป็นสมมติฐาน คือ ภายใต้ Input ที่แตกต่าง Process ที่หลากหลาย Output คือ ผลคะแนนสอบที่ออกมา ควรระบุไว้ก่อนว่า นักเรียนไทยควรได้คะแนนสอบอยู่ในระดับใด มีเกณฑ์ที่เชื่อถือได้โดยมาจากขั้นตอนและกระบวนการที่มีเหตุมีผล เมื่อผ่านเกณฑ์นั้นจึงจะเรียกว่า ได้คุณภาพ เช่น หากบอกว่า ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศนักเรียนไทยต้องสอบ O-NET ได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ทุกวิชา หาดคิดอย่างนี้แล้ว นักเรียนไทยปัจจุบันก็ไม่มีคุณภาพ แต่หากบอกว่า ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศนักเรียนไทยต้องสอบ O-NET ได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 30 ทุกวิชา หากคิดอย่างนี้แล้ว ก็ถือว่า ปัจจุบันนักเรียนไทยมีคุณภาพ แล้ว
3. ค่าเฉลี่ยที่แตกต่าง เพราะ Input ที่ไม่เหมือนกัน วัตถุดิบที่มีคุณภาพได้รับการคัดสรรแล้ว กับ วัตถุดิบที่ยังไม่ได้รับการคัดสรร เมื่อเข้าสู่กระบวนการเดียวกัน Output ย่อมไม่เหมือนกัน หากเราแบ่ง Input คือ นักเรียนในระดับ IQ ที่แตกต่างกัน เป็น เกรด A,B,C และ D แน่นอน โรงเรียนที่มีนักเรียน เกรด A ย่อมได้คะแนนเฉลี่ย O-NET สูง ตรงกันข้าม โรงเรียนที่มีนักเรียน เกรด D ย่อมมีคะแนนเฉลี่ย O-NET ที่ต่ำแล้วอย่างนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET จะใช้วัดสิ่งใดในตัวคุณภาพของนักเรียน และมันสามารถวัดผลงานของครูผู้สอนหรือผู้บริหาร ได้จริงหรือไม่
4. ค่าเฉลี่ยในการสอบ O-NET แต่ละปีไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หากเราพูดว่าค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET ของนักเรียน ป.6 ปีนี้ เฉลี่ยแล้วต่ำลง แต่ในเรื่องความเป็นจริงแล้ว นักเรียน ป.6 ที่สอบปีที่แล้ว กับนักเรียน ป.6 ที่สอบปีนี้ เป็นคนละคนกัน ดังนั้นการแปลความหมายค่าเฉลี่ยดังกล่าว จึงไม่ได้มุ่งไปที่ตัวผู้เรียนจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการวัดคุณภาพ แต่กลับมุ่งไปที่ผลของการสอบจากข้อสอบในแต่ละปี
สรุปได้ว่า การวัดคุณภาพของผู้เรียน เราต้องหาเครื่องมือวัดที่เหมาะสม และต้องตอบให้ได้ว่า เราจะวัดเรื่องอะไร ถึงจะเรียกว่า ผู้เรียนมีคุณภาพ เพราะผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ผู้เรียนไม่ใช่สินค้าที่ได้จากกระบวนการผลิตแบบโรงงาน ที่เมื่อผลิตแล้วต้องมีคุณสมบัติ ขนาด น้ำหนัก รูปร่างเหมือนกับที่ออกแบบไว้
ชาติชาย คเขนชล : 28 ก.ย.2552
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง
(พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง
(พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
เราย่ำเท้า ขณะที่คนอื่นเขาก้าวเดิน การปฏิรูปการศึกษารอบ 2 จะสำเร็จหรือไม่
“เราย่ำเท้า ขณะที่คนอื่นเขาก้าวเดิน” เป็นคำบรรยายตอนหนึ่งของ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2552 ในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา" ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกสะท้อนถึงการปฏิรูปการศึกษาของไทยเมื่อปี พ.ศ.2542 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 9 ปี แล้ว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ไม่ประสบความสำเร็จ พวกเราเหมือนย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เขาเดินแซงหน้าไปหมดแล้ว ท่าน อ.วิจิตรฯ กล่าวว่า บทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ก็คือ “พวกเราไม่สามารถจัดการให้โรงเรียนในประเทศไทยมีคุณภาพใกล้เคียงกันได้” (ท่านใช้คำว่า ใกล้เคียง ไม่ใช่ เท่ากัน ซึ่งท่านบอกว่าคำว่า เท่ากัน นั้นเป็นไปไม่ได้) ผู้ปกครองและนักเรียนยังมีค่านิยม “โรงเรียนดี โรงเรียนเด่น โรงเรียนดัง” อยู่ การเรียนฟรีในโรงเรียนที่ดี กับการเรียนฟรีในโรงเรียนที่ไม่ได้เรื่อง มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
ในข้อเสนอ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) (สำนักงานเลขาธิการสภากาศึกษา.2552 : 5-9) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อคราวประชุมวันที่ 18 ส.ค.2552 ได้สรุปผลการปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมาไว้น่าสนใจ โดยแยกปัญหาไว้ 9 ด้าน ซึ่งพอที่สรุปประเด็นสำคัญให้อ่านได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา พบว่า
1.1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเมินของ สมศ. รอบแรก ถึงร้อยละ 65 (จากสถานศึกษาสามหมื่นแห่งทั่วประเทศ) และต่อมามีการประเมินรอบสองอีก ก็ยังมีสถานศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนาอีก ถึงร้อยละ 20.3
1.2. สัมฤทธิผลการเรียนของนักเรียนในวิชาหลัก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50
1.3. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีความสามารถและสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
2. ด้านการผลิตและพัฒนาครูอาจารย์ พบว่า
2.1. นโยบายจำกัดอัตราคนภาครัฐ และมาตรการจูงใจให้ครูออกก่อนเกษียณ (ปี 2543-2549) มีผลให้วงการการศึกษาต้องสูญเสียอัตราครูไปถึง 53,948 อัตรา
2.2. บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางส่วนจบแล้วไม่เป็นครู อาจารย์
2.3. ครูสอนไม่ตรงวุฒิ
2.4. ขาดแคลนครูในบางพื้นที่
2.5. ในอนาคตอีกประมาณ 5-10 ปี จะมีครูประจำการเกษียณมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนผลิตครูรองรับ
2.6.การคัดเลือกบุคคลมาเป็นครู พบว่าผู้เข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แม้จะมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนไว้เป็นอันดับท้ายๆ เป็นความจำเป็นต้องเรียน ดังนั้น จึงไม่ได้คนเก่ง และมีใจรักมาเป็นครู
2.7. ด้านการพัฒนาครู ขาดระบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ขาดการดูแลเอาใจใส่
2.1. นโยบายจำกัดอัตราคนภาครัฐ และมาตรการจูงใจให้ครูออกก่อนเกษียณ (ปี 2543-2549) มีผลให้วงการการศึกษาต้องสูญเสียอัตราครูไปถึง 53,948 อัตรา
2.2. บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางส่วนจบแล้วไม่เป็นครู อาจารย์
2.3. ครูสอนไม่ตรงวุฒิ
2.4. ขาดแคลนครูในบางพื้นที่
2.5. ในอนาคตอีกประมาณ 5-10 ปี จะมีครูประจำการเกษียณมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนผลิตครูรองรับ
2.6.การคัดเลือกบุคคลมาเป็นครู พบว่าผู้เข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แม้จะมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนไว้เป็นอันดับท้ายๆ เป็นความจำเป็นต้องเรียน ดังนั้น จึงไม่ได้คนเก่ง และมีใจรักมาเป็นครู
2.7. ด้านการพัฒนาครู ขาดระบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ขาดการดูแลเอาใจใส่
3. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมรวมทั้งการกระจายอำนาจ พบว่า
3.1. แม้จะมีกฎกระทรวง และหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจ แต่หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานและจัดการศึกษาเท่าที่ควร
3.2. การจัดการศึกษาของเอกชนยังไม่การขยายตัวเท่าที่ควร
3.3. สถานประกอบการและสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนน้อยมาก
3.1. แม้จะมีกฎกระทรวง และหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจ แต่หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานและจัดการศึกษาเท่าที่ควร
3.2. การจัดการศึกษาของเอกชนยังไม่การขยายตัวเท่าที่ควร
3.3. สถานประกอบการและสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนน้อยมาก
4. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา พบว่า
4.1. ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
4.2. เด็กที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับออกกลางคันมาก
4.3. เด็กไม่นิยมเรียนอาชีวศึกษา
4.4. การให้บริการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง
4.5. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน ขาดองค์ความรู้เครื่องมือในการจัดการ
4.1. ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
4.2. เด็กที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับออกกลางคันมาก
4.3. เด็กไม่นิยมเรียนอาชีวศึกษา
4.4. การให้บริการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง
4.5. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน ขาดองค์ความรู้เครื่องมือในการจัดการ
5. การผลิตและพัฒนากำลังคน พบว่า
5.1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษากว่าร้อยละ 70 ศึกษาต่อปริญญาตรี ทำให้ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางอย่างต่อเนื่อง
5.2. ผู้สำเร็จขาดความรู้และทักษะที่จำเป็น
5.3. การผลิตคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เกินความต้องการ ทำให้บัณฑิตจบใหม่ตกงาน
5.1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษากว่าร้อยละ 70 ศึกษาต่อปริญญาตรี ทำให้ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางอย่างต่อเนื่อง
5.2. ผู้สำเร็จขาดความรู้และทักษะที่จำเป็น
5.3. การผลิตคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เกินความต้องการ ทำให้บัณฑิตจบใหม่ตกงาน
6. ด้านการเงินเพื่อการศึกษา พบว่า
6.1. ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
6.2. กลไกของรัฐไม่เอื้อให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3. การจัดสรรงบประมาณตามความต้องการปัจจัยการผลิตไม่สัมพันธ์กับผลผลิต
6.4. การบริหารภายใต้กฎระเบียบทางราชการที่มีความตึงตัวสูง ทำให้สถานศึกษาขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อการแข่งขัน
6.1. ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
6.2. กลไกของรัฐไม่เอื้อให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3. การจัดสรรงบประมาณตามความต้องการปัจจัยการผลิตไม่สัมพันธ์กับผลผลิต
6.4. การบริหารภายใต้กฎระเบียบทางราชการที่มีความตึงตัวสูง ทำให้สถานศึกษาขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อการแข่งขัน
7. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่า
7.1. มีปัญหาการดำเนินการเนื่องมาจากขาดการพัฒนาเนื้อหาผ่านสื่อที่มีคุณภาพ
7.2. ขาดการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้สอน
7.3. ครูและนักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย
7.4. สถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
7.1. มีปัญหาการดำเนินการเนื่องมาจากขาดการพัฒนาเนื้อหาผ่านสื่อที่มีคุณภาพ
7.2. ขาดการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้สอน
7.3. ครูและนักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย
7.4. สถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
8. ด้านกฎหมายการศึกษา พบว่า
8.1. กฎหมายการศึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการหลายฉบับ
8.2. กฎหมายการศึกษาที่มีผลใช้บังคับแล้ว ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.3. การบริหารจัดการศึกษาบางเรื่องยังขาดกฎหมายรองรับ
8.4. หน่วยงานส่วนกลางบังคับใช้กฎหมายการศึกษา โดยเน้นโครงสร้างองค์กรมากกว่าการปฏิรูปคุณภาพการเรียนการสอน
8.1. กฎหมายการศึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการหลายฉบับ
8.2. กฎหมายการศึกษาที่มีผลใช้บังคับแล้ว ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.3. การบริหารจัดการศึกษาบางเรื่องยังขาดกฎหมายรองรับ
8.4. หน่วยงานส่วนกลางบังคับใช้กฎหมายการศึกษา โดยเน้นโครงสร้างองค์กรมากกว่าการปฏิรูปคุณภาพการเรียนการสอน
9. ด้านการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า
9.1. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยังขาดเนื้อหาและวิธีการที่เหมาะสม
9.2. ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.3. การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ปัญหาที่พบจากศึกษา การปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 9 ด้าน จำเป็นต้องนำมาเขียนเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อน ศัพท์ทางวิชาการบางคำ อาจจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่จำเป็นต้องเขียนเพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนจากเจ้าของบทความ
9.1. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยังขาดเนื้อหาและวิธีการที่เหมาะสม
9.2. ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.3. การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ปัญหาที่พบจากศึกษา การปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 9 ด้าน จำเป็นต้องนำมาเขียนเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อน ศัพท์ทางวิชาการบางคำ อาจจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่จำเป็นต้องเขียนเพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนจากเจ้าของบทความ
ปัญหาการจัดการศึกษาที่พบดังกล่าว ส่งผลให้เกิด การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) โดยมี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นเจ้าภาพหลัก รวมกับหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ได้สรุปเป็นข้อเสนอต่างๆ มีสาระสำคัญ พอสรุปได้ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
2. เป้าหมาย เน้นประเด็นหลักสามประการ
2.1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2.2. โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
2.3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา
3. คนไทยยุคใหม่ จากเป้าหมายการเน้นประเด็นหลักสามประการ จะส่งผลให้คนไทยยุคใหม่มีลักษณะดังนี้
3.1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3. มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
3.4. มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก
4. ประเด็นสำคัญ ของระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน สี่ประการหลัก (สี่ใหม่) คือ
4.1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
4.2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่4.3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่4.4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ จากข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองฯ ที่กล่าวมาจะเห็นว่า ช่างเลิศหรู อลังการ ประดิษฐ์ถ้อยคำที่สุดแสนจะไพเราะสวยงาม คราวนี้ จึงมีคำถามว่า จะทำอย่างไร (Know how) ผมได้มีโอกาสฟัง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ในการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2552 ในการมอบนโยบายการศึกษาให้กับหัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา จ.ราชบุรี ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ พอที่จะสรุปและจับประเด็นได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะทำอย่างไรบ้าง ซึ่งผมจะได้เขียนเป็นเรื่องๆ ตอนๆ ตามความคิดเห็นส่วนตัว และความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในวงสนทนาโอกาสต่างๆ เป็นลำดับต่อไป
1. วิสัยทัศน์ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
2. เป้าหมาย เน้นประเด็นหลักสามประการ
2.1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2.2. โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
2.3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา
3. คนไทยยุคใหม่ จากเป้าหมายการเน้นประเด็นหลักสามประการ จะส่งผลให้คนไทยยุคใหม่มีลักษณะดังนี้
3.1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3. มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
3.4. มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก
4. ประเด็นสำคัญ ของระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน สี่ประการหลัก (สี่ใหม่) คือ
4.1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
4.2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่4.3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่4.4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ จากข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองฯ ที่กล่าวมาจะเห็นว่า ช่างเลิศหรู อลังการ ประดิษฐ์ถ้อยคำที่สุดแสนจะไพเราะสวยงาม คราวนี้ จึงมีคำถามว่า จะทำอย่างไร (Know how) ผมได้มีโอกาสฟัง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ในการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2552 ในการมอบนโยบายการศึกษาให้กับหัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา จ.ราชบุรี ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ พอที่จะสรุปและจับประเด็นได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะทำอย่างไรบ้าง ซึ่งผมจะได้เขียนเป็นเรื่องๆ ตอนๆ ตามความคิดเห็นส่วนตัว และความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในวงสนทนาโอกาสต่างๆ เป็นลำดับต่อไป
ชาติชาย คเขนชล : 19 ก.ย.2552
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2552). บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา"
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2552). บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา"
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ (18 มิ.ย.2552)
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
งานวิจัย กับ การพัฒนาครู คณาจารย์เพื่อคุณภาพการศึกษา
เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ประเด็นหลักคือ “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา”
ในวันเปิดการประชุมช่วงเช้า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประธานเปิดการประชุม และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ต่อจากนั้น รศ.ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “การวิจัยกับการพัฒนาครู คณาจารย์ เพื่อคุณภาพการศึกษา” ซึ่งเป็นการบรรยายที่น่าสนใจมาก ผมจึงนำเอาสาระตามที่จำได้ และบางส่วนที่จดบันทึกไว้มาเขียนตามความเข้าใจของผม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งสาระบางส่วนอาจขาดหายเพราะจดไม่ทัน จำไม่ได้ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ความหมายของการวิจัยการวิจัย ซึ่งภาษาอังกฤษ เขียนว่า “research” นั้น อ.วราภรณ์ฯ ได้แยกคำออกจากกัน โดยคำว่า re เมื่อไปเติมนำหน้าคำใด จะหมายถึง นำกลับมาใหม่ ทำซ้ำอีกครั้ง ทบทวน หรือย้อนกลับ ส่วน search หมายถึงการค้นหา ดังนั้น research จึงน่าจะหมายความถึง การค้นหาใหม่ การค้นหาความจริง จนพบความจริง (Truth) แต่นักวิจัยต้องพึงระลึกเสมอว่า ความจริง(Truth) กับข้อเท็จจริง (Fact) นั้น มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้น นักวิจัยต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัดเจน
ความหมายของการวิจัยการวิจัย ซึ่งภาษาอังกฤษ เขียนว่า “research” นั้น อ.วราภรณ์ฯ ได้แยกคำออกจากกัน โดยคำว่า re เมื่อไปเติมนำหน้าคำใด จะหมายถึง นำกลับมาใหม่ ทำซ้ำอีกครั้ง ทบทวน หรือย้อนกลับ ส่วน search หมายถึงการค้นหา ดังนั้น research จึงน่าจะหมายความถึง การค้นหาใหม่ การค้นหาความจริง จนพบความจริง (Truth) แต่นักวิจัยต้องพึงระลึกเสมอว่า ความจริง(Truth) กับข้อเท็จจริง (Fact) นั้น มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้น นักวิจัยต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัดเจน
การวิจัย คือการนำข้อมูล (Data) ที่มีอยู่มาจัดทำเป็นสารสนเทศ (Information) เพื่อให้ได้ความรู้ (Knowledge) หลังจากได้ความรู้แล้วก็จะก่อให้เกิด ปัญญา (Wisdom) แก่ผู้วิจัย นอกจากนั้น การวิจัย อาจหมายถึง การค้นหาข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ในโลกใบนี้ มาตอบคำถามในสิ่งที่นักวิจัยกำลังค้นหา อาจเทียบได้กับการทำเหมืองข้อมูล (Data mining) นั่นเอง
งานวิจัยเกี่ยวพันกับอะไรบ้างงานวิจัยเกี่ยวพันกับกระบวนการค้นหาความจริง (Truth) เป็นการกระทำให้ความจริงปรากฏแจ่มชัดขึ้น หรืออาจเป็นการคาดการหรือพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น หรืออาจจะเกี่ยวพันกับเรื่องราวรอบตัวเรา งานวิจัยมีทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) งานวิจัยเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
งานวิจัยเกี่ยวพันกับอะไรบ้างงานวิจัยเกี่ยวพันกับกระบวนการค้นหาความจริง (Truth) เป็นการกระทำให้ความจริงปรากฏแจ่มชัดขึ้น หรืออาจเป็นการคาดการหรือพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น หรืออาจจะเกี่ยวพันกับเรื่องราวรอบตัวเรา งานวิจัยมีทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) งานวิจัยเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
มีงานวิจัยที่ดีมากมายเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของไทย แต่มักไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ในการร่างนโยบาย แผน หรือยุทธศาสตร์ รวมถึงนำสู่การปฏิบัติ การปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ผ่านมา เริ่มต้นค่อนข้างจะดูดี แต่พอทำไปเรื่อยๆ กลับลงเอยเหมือนเดิม ดังคำพังเพยที่กล่าวว่า “ขึ้นต้นเป็นลำไม่ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา”
คนกลัวงานวิจัยเพราะมีมายาคติที่ผิดพอกล่าวถึงงานวิจัย คนทั่วไปส่วนใหญ่มักมีมายาคติ เช่น
1. งานวิจัยต้องยาก ซับซ้อน และใหญ่โต
2. งานวิจัยต้องใช้ตัวเลขและมีโมเดล
3. เฉพาะ “คนที่เหาะได้” เท่านั้น จึงจะทำงานวิจัยได้
4. งานวิจัยต้องใช้ทรัพยากรมาก
5. งานวิจัยต้องตอบคำถามสำคัญเท่านั้น
คนกลัวงานวิจัยเพราะมีมายาคติที่ผิดพอกล่าวถึงงานวิจัย คนทั่วไปส่วนใหญ่มักมีมายาคติ เช่น
1. งานวิจัยต้องยาก ซับซ้อน และใหญ่โต
2. งานวิจัยต้องใช้ตัวเลขและมีโมเดล
3. เฉพาะ “คนที่เหาะได้” เท่านั้น จึงจะทำงานวิจัยได้
4. งานวิจัยต้องใช้ทรัพยากรมาก
5. งานวิจัยต้องตอบคำถามสำคัญเท่านั้น
เหล่านี้เป็นมายาคติที่ผิดเพี้ยนทั้งสิ้น จึงทำให้คนไม่ชอบการวิจัย โดยเฉพาะคุณครูของพวกเรา จริงจริงแล้ว งานวิจัยไม่จำเป็นต้องยุ่งยาก ซับซ้อน งานวิจัยบางเรื่องแค่ชื่อเรื่องก็อ่านไม่เข้าใจแล้ว อย่างนี้ไม่ใช่ งานวิจัยต้องเขียนให้คนทั่วไปอ่านและเข้าใจได้ อาจไม่จำเป็นต้องมีตัวเลขหรือมีโมเดลที่ซับซ้อน เพียงแต่ให้เป็นกระบวนการค้นหาความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผลมีขั้นตอน และมีตรรกะรองรับ ใครๆ ก็ทำงานวิจัยได้ เพราะเป็นการค้นหาความจริงเพื่อตอบคำถามที่อยากรู้ คำถามไม่จำเป็นต้องเป็นคำถามที่สำคัญ แต่ขอให้เป็นคำถามที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานของตนเอง เช่น (ผมยกตัวอย่างเอง) คุณครูอนุบาลท่านหนึ่งอยากจะทราบว่า ทำไม? เด็กนักเรียนในห้องถึงไม่ชอบรับประทานผักคะน้า เมื่อทำการวิจัยหาคำตอบได้แล้วก็สามารถนำไปแก้ไขหรือหาวิธีให้เด็กนักเรียนรับประทานผักคะน้าได้ ประโยชน์ที่ได้รับก็คือ นักเรียนจะได้รับประทานอาหารครบหมู่ งานวิจัยของคุณครูอนุบาลชิ้นนี้ ไม่ได้ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือใช้ทฤษฎีอะไรมากมายเลย เงินทองหรือทรัพยากรก็แทบไม่ได้ใช้
บางครั้ง คนเราพอตั้งท่าจะทำงานอะไรสักที ก็มักบอกว่าต้องมีเงิน แต่ อ.วราภรณ์ฯ บอกว่า อย่ามาอ้างเรื่อง ไม่มีเงิน ต้องบอกว่า ไม่มีสติปัญญามากกว่า เพราะหากมีสติปัญญาก็สามารถหาเงินและทรัพยากรได้
ผมคิดว่าจริงอย่างอาจารย์ว่า ผู้อ่านคงรู้จัก “ง งู” แต่อย่าสะกด “ง=เงิน” ก่อน แล้วจึง “ง=งาน” ควรสะกด “ง=งาน” ก่อน แล้วค่อย “ง=เงิน” หมายความถึง “จงคิดถึงงานก่อน แล้วเงินจะตามมาเอง”
ทำไม ครู อาจารย์ ควรทำวิจัยการทำวิจัยมีประโยชน์ต่อคุณครู อาจารย์ ดังนี้
1. คุณครูจะได้ความจริง (Truth) ที่ต้องการเพื่อตอบคำถามของตนเอง ยกเว้น ว่าคุณครูจะไม่เคยตั้งคำถามอะไรเลย คำถามที่ดี ควรจะถามว่า ทำไม (Why) อย่างไร (How) มากกว่า อะไร (What) หากตั้งคำถามที่มีประโยชน์ ก็จะได้รับคำตอบที่มีประโยชน์เช่นกัน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน คุณครูควรสอนให้เขารู้จักตั้งคำถามที่ดี เช่น (ผมยกตัวอย่างเอง) การพาไปทัศศึกษาที่อนุสาวรีย์แห่งหนึ่งแล้วให้เด็กจดบันทึกมาส่งครู ครูควรสั่งให้เด็กนักเรียน ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องมีอนุสาวรีย์? และทำไมต้องมาอยู่ ณ ที่ตรงนี้? แล้วทำการค้นหา เป็นต้น หากคุณครูยังใส่แว่นตาอันเดิม แล้วมองอย่างเดิม ก็เป็นอย่างเดิม คนที่ประสบความล้มเหลว มักจะตั้งคำถามว่า “จะโทษใครดี” คนที่ประสบความสำเร็จ มักจะตั้งคำถามว่า “จะแก้ไขอย่างไรดี”
2. ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำวิจัย เช่น หากเป็นครูอาจารย์ ก็สามารถใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ผู้สอนมีความมั่นใจในเนื้อหาการสอนมากขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อถือของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนสนุกมากขึ้น เข้าใจเนื้อหาของวิชาลึกซึ้งขึ้น ผู้สอนมีตัวอย่างของจริง และมีความคิดที่ใกล้โลกความเป็นจริงมากขึ้น
3. มีผลทางบวกต่อความเชื่อมั่นในความสำคัญของตนเอง (Self-Esteem) ของตัวผู้วิจัย มีกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นและคิดได้ชัดเจนมากขึ้น
4.การทำวิจัยจะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในศาสตร์หรืออนุศาสตร์นั้นๆ ผลการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ และธุรกิจ สามารถแปรเปลี่ยนความจริงที่พบเป็นนโยบายและการปฏิบัติต่อไป
การวิจัยก่อให้เกิดการพัฒนาครูและคุณภาพการศึกษาการวิจัยทำให้
1. ผู้สอน “องอาจ” ยิ่งขึ้น
2. ผู้สอนมีเนื้อหาการสอนแน่น และครบถ้วนยิ่งขึ้น
3. ผู้สอนได้มีโอกาสเป็นนักเรียน
4. ผู้สอนสนุกมากยิ่งขึ้นกับกระบวนการเรียนการสอน
5. ผู้สอนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ยิ่งขึ้น
6. ผู้สอนเข้าไปอยู่ในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
รศ.ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ ได้สรุปไว้ตอนท้ายการบรรยายว่า การวิจัย คือ “การเขย่าไว้ ไม่ให้นอนก้น” การคิดอะไรเหมือนเดิมเดิม จะไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งใดเลย ดังนั้น ต้องเขย่าไว้เรื่อยเรื่อย อย่าให้วิชาความรู้ที่มีอยู่เดิมตกตะกอนนอนก้นลงไปข้างล่าง หมั่นเติมองค์ความรู้ใหม่และเขย่าองค์ความรู้เดิมอยู่เสมอ ผสมคละเคล้าให้เข้ากันจนได้ที่ เพื่อจะได้เกิดนวัตกรรมใหม่ใหม่ นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่ลูกศิษย์ของพวกเราต่อไป
ทำไม ครู อาจารย์ ควรทำวิจัยการทำวิจัยมีประโยชน์ต่อคุณครู อาจารย์ ดังนี้
1. คุณครูจะได้ความจริง (Truth) ที่ต้องการเพื่อตอบคำถามของตนเอง ยกเว้น ว่าคุณครูจะไม่เคยตั้งคำถามอะไรเลย คำถามที่ดี ควรจะถามว่า ทำไม (Why) อย่างไร (How) มากกว่า อะไร (What) หากตั้งคำถามที่มีประโยชน์ ก็จะได้รับคำตอบที่มีประโยชน์เช่นกัน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน คุณครูควรสอนให้เขารู้จักตั้งคำถามที่ดี เช่น (ผมยกตัวอย่างเอง) การพาไปทัศศึกษาที่อนุสาวรีย์แห่งหนึ่งแล้วให้เด็กจดบันทึกมาส่งครู ครูควรสั่งให้เด็กนักเรียน ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องมีอนุสาวรีย์? และทำไมต้องมาอยู่ ณ ที่ตรงนี้? แล้วทำการค้นหา เป็นต้น หากคุณครูยังใส่แว่นตาอันเดิม แล้วมองอย่างเดิม ก็เป็นอย่างเดิม คนที่ประสบความล้มเหลว มักจะตั้งคำถามว่า “จะโทษใครดี” คนที่ประสบความสำเร็จ มักจะตั้งคำถามว่า “จะแก้ไขอย่างไรดี”
2. ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำวิจัย เช่น หากเป็นครูอาจารย์ ก็สามารถใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ผู้สอนมีความมั่นใจในเนื้อหาการสอนมากขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อถือของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนสนุกมากขึ้น เข้าใจเนื้อหาของวิชาลึกซึ้งขึ้น ผู้สอนมีตัวอย่างของจริง และมีความคิดที่ใกล้โลกความเป็นจริงมากขึ้น
3. มีผลทางบวกต่อความเชื่อมั่นในความสำคัญของตนเอง (Self-Esteem) ของตัวผู้วิจัย มีกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นและคิดได้ชัดเจนมากขึ้น
4.การทำวิจัยจะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในศาสตร์หรืออนุศาสตร์นั้นๆ ผลการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ และธุรกิจ สามารถแปรเปลี่ยนความจริงที่พบเป็นนโยบายและการปฏิบัติต่อไป
การวิจัยก่อให้เกิดการพัฒนาครูและคุณภาพการศึกษาการวิจัยทำให้
1. ผู้สอน “องอาจ” ยิ่งขึ้น
2. ผู้สอนมีเนื้อหาการสอนแน่น และครบถ้วนยิ่งขึ้น
3. ผู้สอนได้มีโอกาสเป็นนักเรียน
4. ผู้สอนสนุกมากยิ่งขึ้นกับกระบวนการเรียนการสอน
5. ผู้สอนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ยิ่งขึ้น
6. ผู้สอนเข้าไปอยู่ในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
รศ.ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ ได้สรุปไว้ตอนท้ายการบรรยายว่า การวิจัย คือ “การเขย่าไว้ ไม่ให้นอนก้น” การคิดอะไรเหมือนเดิมเดิม จะไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสิ่งใดเลย ดังนั้น ต้องเขย่าไว้เรื่อยเรื่อย อย่าให้วิชาความรู้ที่มีอยู่เดิมตกตะกอนนอนก้นลงไปข้างล่าง หมั่นเติมองค์ความรู้ใหม่และเขย่าองค์ความรู้เดิมอยู่เสมอ ผสมคละเคล้าให้เข้ากันจนได้ที่ เพื่อจะได้เกิดนวัตกรรมใหม่ใหม่ นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแก่ลูกศิษย์ของพวกเราต่อไป
จุฑาคเชน : 13 ก.ย.2552
วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552
จ.ราชบุรี จะสร้างกีฬานักเรียนอย่างไร? ให้เหมือนพัทลุง
เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.2552 ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมเดินทางไป จ.พัทลุง ในนามสมาคมสื่อมวลชนราชบุรี ตามโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ประจำปี 2552 ของจังหวัดพัทลุง ซึ่งประเด็นหลัง เรื่องกีฬาฯ นี้ เป็นภารกิจที่สำคัญ เนื่องจาก จ.ราชบุรี มีนโยบายที่จะจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ให้เหมือน จ.พัทลุง
ก่อนอื่น ต้องขออธิบาย การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ให้ทราบพอสังเขปก่อน ดังนี้
การแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง เริ่มการแข่งขัน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493 ซึ่งเริ่มจากการแข่งขันที่สนามเล็กๆ ในโรงเรียนพัทลุง การแข่งขันดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 กรมพลศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ให้ได้มาตรฐาน และในปี พ.ศ.2552 นี้ จะเป็นการจัดการแข่งขันปีที่ 60 การจัดมหกรรมกรีฑา ในครั้งนี้ จึงใช้ชื่อเกมว่า “60 ปี กรีฑาพัทลุง”
การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง จะจัดขึ้นในวันที่ 5-7 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งชาวพัทลุงทุกคนจะจำได้ว่า ในวันที่ 5 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันพิธีเปิด พี่น้องชาวพัทลุงไม่ว่าจะอยู่แห่งหน ตำบลใดก็ตาม จะต้องมาพบกันให้ได้ เพราะวันนี้เป็นวันชุมนุมใหญ่ในการแข่งขันกีฬา-กรีฑา ของบุตรหลานชาวพัทลุง ภาพของผู้คนจำนวนมากที่ยืนเบียดเสียดกัน ริมสองข้างถนน ตั้งแต่หน้าโรงเรียนพัทลุง จนถึงสนามกีฬากลาง เพื่อคอยเป็นกำลังใจและคอยชมขบวนพาเหรดของบุตรหลานตนเองนั้น เป็นภาพที่เชื่อว่าทุกคนเห็นแล้วจะรู้สึกปิติยินดี ในความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวพัทลุงทุกคน ขบวนพาเหรดของแต่ละโรงเรียน ถูกออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามวิจิตร นำหน้าขบวนด้วยวงโยธวาทิตที่สง่างาม ขบวนพาเหรดทั้งหมดมีความยาวกว่า 5 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินเข้าสู่สนามกีฬากลาง ตั้งแต่ประมาณ 14.00 นาฬิกา จนกระทั่งถึง 18.00 นาฬิกาใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง และในปีนี้ทางจังหวัดพัทลุง ยังได้จัดให้มีงานคู่ขนานกับงานมหกรรมกีฬา-กรีฑา นักเรียนฯ ในครั้งนี้ด้วย คือ งานเปิดโลกการศึกษา สร้างปัญญาเด็กพัทลุง ณ ศูนย์ประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนชาวพัทลุง ได้แสดงออกถึงความสามารถในด้านต่างๆ อีกด้วย
จากการที่ได้ฟังการบรรยายสรุปจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน จากการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง และผู้ที่ร่วมคณะเดินทางฯ พบว่า การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง ที่กลายมาเป็นประเพณีของชาวพัทลุง สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ใช้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ พยายามผลักดันให้มีการจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี กระบวนการถ่ายทอดเจตนารมณ์จากคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. พยายามกำหนดวันในการจัดการแข่งขัน อย่างชัดเจน คือ วันที่ 5-7 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อให้ชาวพัทลุงทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจดจำได้
3. นโยบายของผู้ปกครอง ผู้บริหารแต่ละยุคสมัย ล้วนสนองตอบต่อการจัดการแข่งขัน อาจจะมีบ้างในบ้างสมัย (ที่ผู้ปกครองหรือผู้บริหาร ไม่ใช่ชาวพัทลุง) อาจจะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง แต่คณะผู้จัดการแข่งขัน (ซึ่งเป็นชาวพัทลุง) ก็พยายามใช้ความอดทน และแก้ไขปัญหา
4. ใช้ความเป็นเลิศของนักกีฬา-กรีฑาชาวพัทลุงที่ประสบผลสำเร็จในระดับชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ
5. ทุกภาคส่วนในจังหวัดพัทลุง ล้วนให้การสนับสนุน ทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ที่มี
6. เป็นกิจกรรมที่ใครก็ตามที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ใน จ.พัทลุง ต้องมีโอกาสได้เข้าร่วมอย่างน้อย 1 ครั้ง ถึงจะเรียกว่าเป็นชาว จ.พัทลุง โดยสมบูรณ์
7. เป็นกิจกรรมที่ชาวพัทลุงทุกคน รู้สึกมีความภาคภูมิใจร่วมกัน
หากจังหวัดราชบุรี จะพยายามสร้างกีฬา นักเรียน นักศึกษา ของจังหวัดให้ประสบผลสำเร็จอย่าง จ.พัทลุง แล้ว คงจะต้องคำนึงถึงประเด็นน่าสนใจทั้งหมดที่กล่าวมา ว่าเราจะสามารถกระทำได้หรือไม่
ไม่ใช่ว่า ที่พัทลุงไม่มีปัญหา จริงๆ แล้วก็มีเหมือนกัน ก็คือ 1. งบประมาณ 2.ความขัดแย้งของผู้บริหาร 3 .ความไม่ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(โดยเฉพาะด้านตัวบุคคล) แต่ปัญหาทั้งหมด คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ก็พยายามที่จะใช้ทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งแบบ win – win โดยมุ่งให้ทุกคน ทุกฝ่าย คำนึงถึงประโยชน์ของเด็กนักเรียนนักศึกษาเป็นสำคัญ มากกว่าความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ของผู้บริหาร กลยุทธ์โดยสังเขปของจังหวัดพัทลุง ที่พอจะคาดเดาหรือเรียบเรียงได้ มีดังนี้
1. กลยุทธ์จับเข่าคุยกัน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมหารือกันล่วงหน้า เพื่อหาข้อสรุปรวมเป็นนโยบายการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา ในแต่ละปีให้เกิดความชัดเจนจนเป็นมติที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมจัดสรรงบประมาณประจำปีไว้ล่วงหน้า โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
2. กลยุทธ์ Put the right man on the light job. พยายามแต่งตั้งคณะทำงานต่างๆ ให้ตรงตามอำนาจและบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถอำนวยการให้การจัดการแข่งขันเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่สับสน ทุกคนมีเอกภาพในการทำงาน ผู้มีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ขับเคลื่อนและผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3. กลยุทธ์โครงสร้างหน่วยกิจกรรม คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดโครงสร้างหน่วยกิจกรรมเป็น 3 หน่วยหลัก คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด โดยแต่ละสถานศึกษาหรือหน่วยงานจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามจำนวนหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้ง ในสัดส่วนที่เหมาะสมชัดเจน ตัวอย่าง เช่น
3.1. ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อาจจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ครบทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้ง 3 หน่วยกิจกรรม
3.2. ในโรงเรียนขนาดกลาง อาจจะจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้เพียง 2 หน่วย คือ หน่วยกีฬา และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียง 2 หน่วยกิจกรรม
3.3. ในโรงเรียนขนาดเล็ก หากไม่สามารถจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ ให้ไปรวมกันจัดหน่วยกิจกรรมในระดับ เทศบาล หรือ อบต. ของตนเอง
3.4. สำหรับประชาชนทั่วไป ก็สามารถรวมกลุ่มกันจัดตั้งหน่วยกิจกรรมทั้ง 3 หน่วยได้ในนามชุมชน หรือ อบต. หรือ เทศบาล เป็นต้น
4. กลยุทธ์การจัดสรรงบประมาณและความรับผิดชอบผ่านไปทางอำเภอ ทุกโรงเรียน ชุมชน อบต. หรือเทศบาล เมื่อจัดตั้งหน่วยกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ส่งไปยังอำเภอของตนเอง เพื่อรวบรวมเป็นหน่วยกิจกรรมของอำเภอ หลังจากนั้น จังหวัดก็จะจัดสรรงบประมาณ (ตามที่ประชุมกันไว้ ) ตามหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้งมายังอำเภอ อำเภอก็จะรับงบประมาณเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่หน่วยกิจกรรมต่างๆ ภายในอำเภอของตนเอง ตรงนี้แหละที่เป็นกลยุทธ์ เป็นที่แน่นอนได้เลยว่างบประมาณที่ได้จากจังหวัดย่อมไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดหน่วยกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอตัวเองให้สวยงาม และยิ่งใหญ่อลังการได้ (อย่างที่พวกเราเห็นกัน) ดังนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอ จึงต้องเร่งระดมทรัพยากรในอำเภอของตนเอง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหลานของเขา (เพื่อให้ไม่น้อยหน้าอำเภออื่นๆ )
2. กลยุทธ์ Put the right man on the light job. พยายามแต่งตั้งคณะทำงานต่างๆ ให้ตรงตามอำนาจและบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถอำนวยการให้การจัดการแข่งขันเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่สับสน ทุกคนมีเอกภาพในการทำงาน ผู้มีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ขับเคลื่อนและผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3. กลยุทธ์โครงสร้างหน่วยกิจกรรม คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดโครงสร้างหน่วยกิจกรรมเป็น 3 หน่วยหลัก คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด โดยแต่ละสถานศึกษาหรือหน่วยงานจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามจำนวนหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้ง ในสัดส่วนที่เหมาะสมชัดเจน ตัวอย่าง เช่น
3.1. ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อาจจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ครบทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้ง 3 หน่วยกิจกรรม
3.2. ในโรงเรียนขนาดกลาง อาจจะจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้เพียง 2 หน่วย คือ หน่วยกีฬา และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียง 2 หน่วยกิจกรรม
3.3. ในโรงเรียนขนาดเล็ก หากไม่สามารถจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ ให้ไปรวมกันจัดหน่วยกิจกรรมในระดับ เทศบาล หรือ อบต. ของตนเอง
3.4. สำหรับประชาชนทั่วไป ก็สามารถรวมกลุ่มกันจัดตั้งหน่วยกิจกรรมทั้ง 3 หน่วยได้ในนามชุมชน หรือ อบต. หรือ เทศบาล เป็นต้น
4. กลยุทธ์การจัดสรรงบประมาณและความรับผิดชอบผ่านไปทางอำเภอ ทุกโรงเรียน ชุมชน อบต. หรือเทศบาล เมื่อจัดตั้งหน่วยกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ส่งไปยังอำเภอของตนเอง เพื่อรวบรวมเป็นหน่วยกิจกรรมของอำเภอ หลังจากนั้น จังหวัดก็จะจัดสรรงบประมาณ (ตามที่ประชุมกันไว้ ) ตามหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้งมายังอำเภอ อำเภอก็จะรับงบประมาณเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่หน่วยกิจกรรมต่างๆ ภายในอำเภอของตนเอง ตรงนี้แหละที่เป็นกลยุทธ์ เป็นที่แน่นอนได้เลยว่างบประมาณที่ได้จากจังหวัดย่อมไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดหน่วยกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอตัวเองให้สวยงาม และยิ่งใหญ่อลังการได้ (อย่างที่พวกเราเห็นกัน) ดังนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอ จึงต้องเร่งระดมทรัพยากรในอำเภอของตนเอง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหลานของเขา (เพื่อให้ไม่น้อยหน้าอำเภออื่นๆ )
จากการสอบถามทางลึกส่วนใหญ่ อำเภอจะหาเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานแข่งขันกีฬาทุกครั้ง อย่างน้อย 4 เท่าเป็นขั้นต่ำ เช่น ได้รับงบประมาณค่าหน่วยกิจกรรมของอำเภอจากจังหวัดมาทั้งหมด 100,000 บาท แต่ทางปฏิบัติแล้วต้องใช้ถึง 400,000 บาท เป็นต้น ดังนั้น นายอำเภอ ต้องระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพิ่มเติมให้อีกประมาณ 300,000 บาท นี่แหละเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ กรีฑาพัทลุงถึงยิ่งใหญ่อลังการ
ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ประจำปี เม็ดเงินถูกหมุนสะพัดหมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของพัทลุงไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ตั้งแต่ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างแต่งหน้าทำผม ร้านเช่าเครื่องแต่งกาย ร้านดอกไม้ ร้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ร้านขายเสื้อผ้า มอเตอร์ไซด์รับจ้าง รถรับจ้าง รถบัส รถโดยสาร ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ ร้านขายของชำ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
ผมต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเขียนในสิ่งที่ได้ไปดูงานมา ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเจาะลึกในรายละเอียดย่อยๆ ได้ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หากท่านใดต้องการแก้ไขหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขอให้แสดงความเห็นไว้ท้ายบทความนี้ได้ครับ เราจะได้ช่วยกันหาวิธีที่จะทำให้ จ.ราชบุรี ของเราสามารถจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ได้ยิ่งใหญ่เหมือนอย่าง จ.พัทลุง ยิ่งทราบข่าวว่าในการจัดกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ในปีต่อไป อบจ. จัดสรรงบประมาณมาให้ ตั้ง 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ผมคิดว่าไม่น่าจะทำยาก ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกัน
ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ประจำปี เม็ดเงินถูกหมุนสะพัดหมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของพัทลุงไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ตั้งแต่ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างแต่งหน้าทำผม ร้านเช่าเครื่องแต่งกาย ร้านดอกไม้ ร้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ร้านขายเสื้อผ้า มอเตอร์ไซด์รับจ้าง รถรับจ้าง รถบัส รถโดยสาร ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ ร้านขายของชำ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
ผมต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเขียนในสิ่งที่ได้ไปดูงานมา ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเจาะลึกในรายละเอียดย่อยๆ ได้ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หากท่านใดต้องการแก้ไขหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขอให้แสดงความเห็นไว้ท้ายบทความนี้ได้ครับ เราจะได้ช่วยกันหาวิธีที่จะทำให้ จ.ราชบุรี ของเราสามารถจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ได้ยิ่งใหญ่เหมือนอย่าง จ.พัทลุง ยิ่งทราบข่าวว่าในการจัดกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ในปีต่อไป อบจ. จัดสรรงบประมาณมาให้ ตั้ง 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ผมคิดว่าไม่น่าจะทำยาก ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกัน
ชาติชาย คเชนชล : 25 ส.ค.2552
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ฤา..กีฬาราชบุรีถึงคราวจะถดถอย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ส.ค.2552 ผมได้ไปดูการแข่งขันกรีฑานักเรียน นักศึกษา จ.ราชบุรี ประจำปี 2552 ที่สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นสนามที่สวยงามมากอันเป็นผลพวงมาจากการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 34 ที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เห็นและรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนัก คือ ในปีนี้ สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ยกทีมงานมาทำหน้าที่จัดการแข่งขันกรีฑา ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ใน จ.ราชบุรี ของเรา ซึ่งแต่เดิม ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี เป็นผู้จัดการแข่งขันให้มาโดยตลอด โดยระดมบุคลากรจากแวดวงการศึกษา ครูบาอาจารย์ และคนกีฬาต่างๆ ของ จ.ราชบุรี มาร่วมด้วยช่วยกัน
เหตุการณ์อย่างนี้...ถือว่า...ราชบุรี หน้าแตก...มองโดยผิวเผินทั่วไปเหมือนกับว่า จ.ราชบุรี ไม่มีน้ำยาแม้แต่จะจัดกรีฑาให้นักเรียนนักศึกษาของตัวเอง ทั้งๆ ที่คนกีฬา ครูบาอาจารย์ ของราชบุรี ก็มีฝีมือเคยผ่านการจัดการแข่งขันระดับชาติมาจำนวนมากมาย.. มีทั้งคณะกรรมการผู้ตัดสินที่สังกัดสมาคมกีฬาต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน... สอบถามลึกๆ ไปถึงสาเหตุ...ก็ได้รับคำตอบเช่นเดิม...คือ งบประมาณที่ให้มาใช้ในการจัดการแข่งขันไม่เพียงพอ ..ในปีนี้ ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี จึงขอไม่จัดการแข่งขันให้ เนื่องจากต้องควักเงินจ่ายเพิ่มเติมเองมาหลายปีแล้ว เรื่องสาเหตุงบประมาณไม่เพียงพอนี้ ไม่ใช่แต่กรีฑาอย่างเดียว..กีฬาชนิดอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน....แต่หลายชนิดกีฬาก็ยังพอกระท่อนกระแท่นจัดกันไปได้ คำถามมีอยู่ว่า ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี บอกว่างบประมาณไม่พอจัด แต่ทำไม สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ถึงจัดได้ ทั้งๆ ที่มาตั้งไกล คำถามเช่นนี้...ไม่รู้ใครจะเป็นผู้ตอบ หากพูดกันเรื่องที่มาของงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดแล้ว น่าจะมาจาก 2 แหล่ง คือ จากงบประมาณประจำปีของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จัดสรรผ่านมาทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาแต่ละจังหวัด (ศูนย์พลศึกษาเดิม) และงบประมาณประจำปีขององค์การส่วนบริหารจังหวัดที่จัดสรรไว้ให้ ซึ่งงบประมาณทั้งสองแหล่งนี้ ทุกคนก็รู้ว่าทุกๆ ปี มันไม่เพียงพออยู่แล้ว... ในจังหวัดที่ให้ความสำคัญด้านกีฬา ไม่ว่าจะกีฬานักเรียนนักศึกษา กีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬาแห่งชาติ เขาไม่มัวรอแต่งบประมาณประจำปีที่จัดสรรให้ เขาพยายามระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน มาช่วยกันสนับสนุนเสริมเติมในส่วนที่ขาด โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ของจังหวัดเป็นแกนนำชักจูง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกสมาคมกีฬาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของจังหวัด เป็นต้น แต่จังหวัดราชบุรี ในช่วง 10 กว่าปีหลังนี้ มีการจัดการแข่งขันกันแบบขอไปที จัดตามหน้าที่ ให้เสร็จๆ หากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี ทั้งเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งของรัฐ เอกชน และท้องถิ่น ลองนั่งทบทวนกันดูให้ดี อย่าเที่ยวไปโยนบาปให้กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา แต่เพียงฝ่ายเดียว ลองมองว่าเขาอุตส่าห์หาเงินมาจัดการแข่งขันให้กับนักเรียนนักศึกษาของเรา และ อบจ.ก็พยายามจัดสรรงบประมาณให้ แต่พวกเราก็ยังรู้สึกหงุดหงิด และไม่พอใจ อ้างเสมอว่างบประมาณไม่พอในการจัดการแข่งขัน ต้องควักเงินตัวเองมาจ่ายทุกครั้ง อย่างนี้ไม่จัดเสียดีกว่า ผมอยากทุกคนมองไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันมากกว่าเอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ควรคิดถึง “งาน” ก่อน “เงิน” ถ้าคิดเรื่อง “เงิน” ก่อนก็ไม่ต้องทำอะไร ก็รู้ๆ อยู่แล้วว่าประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยพอที่จะจัดสรรงบประมาณทุกอย่างให้เพียงพอแก่ทุกคนตามที่ต้องการได้ หากพวกเราทุกคนและทุกภาคส่วน มีความจริงใจที่ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาของจังหวัดเราได้มีทักษะและประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬาจริงๆ แล้ว เราก็ต้องช่วยกันเสียสละบ้าง อย่าอ้างเรื่องงบประมาณน้อยแล้วไม่ทำงาน ดั่งพระบรมราโชวาทของในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลน มาเป็นข้ออ้างในการทำงาน จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ลองมองจังหวัดอื่นที่เขาสามารถจัดการแข่งขันได้ดี เขาก็ได้รับงบประมาณเช่นเดียวกับเราหรือบางจังหวัดอาจได้น้อยกว่าเราเสียอีก สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานก็ไม่มี บุคคลการด้านกีฬาก็สู้ของ จ.ราชบุรี เราไม่ได้ แต่เขาก็สามารถจัดการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่พยายามหาวิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปได้มาใช้ในราชบุรีบ้าง อาทิ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยจิตอาสา บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดการแข่งขันก็เป็นครูบาอาจารย์ในแวดวงทางการศึกษาและคนกีฬาด้วยกันทั้งนั้น ควรเสียสละเพื่อเด็กนักเรียนบ้าง ลดค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ลดค่าตอบแทนคณะกรรรมการ งดตัดเสื้อกรรมการ โรงเรียนใดมีสนามและอุปกรณ์การแข่งขันที่ดีได้มาตรฐาน ก็รับอาสาจัดการแข่งขันให้ จัดบุคลากรให้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันจัดการแข่งขันแบบพอเพียงแต่มีคุณภาพ ลดการจัดการแข่งขันแบบแยกส่วนลักษณะเบี้ยหัวแตก อะไรที่ควรลดได้ด้วยจิตที่เสียสละก็ควรสละ ผู้อำนวยการทุกโรงเรียนควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างจริงใจ เพราะเป็นเกมของลูกศิษย์ตัวเอง นอกเหนือจากการลดรายจ่ายแล้ว การหาวิธีเพิ่มงบประมาณในการจัดการแข่งขันก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดราชบุรีทุกคนที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นแกนนำชักชวนให้ทุกภาคส่วนหันมาช่วยกันสร้างกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดราชบุรีให้เป็นวาระของจังหวัด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนหันมาให้การสนับสนุน แทนที่จะคุยโม้โอ้อวดอย่างเดียวว่า เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ไม่ช่วยพัฒนาอะไรเลย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ทุกวันนี้ เป็นไปแบบแกนๆ มีแต่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนดูกันเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาไม่เคยมานั่งชมเลย แม้แต่การมอบเหรียญรางวัล บางชนิดกีฬายังหาผู้มอบเหรียญไม่ได้เลยก็มี ต้องมอบเหรียญรางวัลกันแบบขอไปที จริงๆ แล้ว เจ้าของเกม หรือเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา จ.ราชบุรี ที่แท้จริง ควรจะเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 และเขต 2 สมาคมการศึกษาเอกชน จ.ราชบุรี เทศบาล และ อบต.ต่างๆ ที่มีการจัดการศึกษาท้องถิ่นเป็นของตนเอง เพราะประโยชน์ที่ได้รับในการจัดการแข่งขัน ก็คือ นักเรียนนักศึกษาในสังกัดของแต่ละสถานศึกษานั่นเอง แต่ในวันนี้ หน่วยงานเหล่านี้แทบไม่ได้มีบทบาทหรือตระหนักในบริบทดังกล่าวเลย ควรพึงเข้าใจว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี เป็นเพียงตัวกลางที่นำงบประมาณในการจัดการแข่งขันมาให้ ช่วยประสานงานไปยังชมรมกีฬาหรือโรงเรียนต่างๆ ให้ช่วยจัดการแข่งขันให้ ทำดีก็เสมอตัว ทำชั่วก็ถูกต่อต้าน ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือร่วมใจ หันมาตั้งต้นกันใหม่ คิดกันใหม่ ทบทวนบทบาทและหน้าที่กันใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ นักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ของพวกเราทุกคน...
ชาติชาย คเชนชล
เหตุการณ์อย่างนี้...ถือว่า...ราชบุรี หน้าแตก...มองโดยผิวเผินทั่วไปเหมือนกับว่า จ.ราชบุรี ไม่มีน้ำยาแม้แต่จะจัดกรีฑาให้นักเรียนนักศึกษาของตัวเอง ทั้งๆ ที่คนกีฬา ครูบาอาจารย์ ของราชบุรี ก็มีฝีมือเคยผ่านการจัดการแข่งขันระดับชาติมาจำนวนมากมาย.. มีทั้งคณะกรรมการผู้ตัดสินที่สังกัดสมาคมกีฬาต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน... สอบถามลึกๆ ไปถึงสาเหตุ...ก็ได้รับคำตอบเช่นเดิม...คือ งบประมาณที่ให้มาใช้ในการจัดการแข่งขันไม่เพียงพอ ..ในปีนี้ ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี จึงขอไม่จัดการแข่งขันให้ เนื่องจากต้องควักเงินจ่ายเพิ่มเติมเองมาหลายปีแล้ว เรื่องสาเหตุงบประมาณไม่เพียงพอนี้ ไม่ใช่แต่กรีฑาอย่างเดียว..กีฬาชนิดอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน....แต่หลายชนิดกีฬาก็ยังพอกระท่อนกระแท่นจัดกันไปได้ คำถามมีอยู่ว่า ชมรมกรีฑา จ.ราชบุรี บอกว่างบประมาณไม่พอจัด แต่ทำไม สถาบันพลศึกษาสุพรรณบุรี ถึงจัดได้ ทั้งๆ ที่มาตั้งไกล คำถามเช่นนี้...ไม่รู้ใครจะเป็นผู้ตอบ หากพูดกันเรื่องที่มาของงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดแล้ว น่าจะมาจาก 2 แหล่ง คือ จากงบประมาณประจำปีของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จัดสรรผ่านมาทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาแต่ละจังหวัด (ศูนย์พลศึกษาเดิม) และงบประมาณประจำปีขององค์การส่วนบริหารจังหวัดที่จัดสรรไว้ให้ ซึ่งงบประมาณทั้งสองแหล่งนี้ ทุกคนก็รู้ว่าทุกๆ ปี มันไม่เพียงพออยู่แล้ว... ในจังหวัดที่ให้ความสำคัญด้านกีฬา ไม่ว่าจะกีฬานักเรียนนักศึกษา กีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือกีฬาแห่งชาติ เขาไม่มัวรอแต่งบประมาณประจำปีที่จัดสรรให้ เขาพยายามระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน มาช่วยกันสนับสนุนเสริมเติมในส่วนที่ขาด โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ของจังหวัดเป็นแกนนำชักจูง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกสมาคมกีฬาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของจังหวัด เป็นต้น แต่จังหวัดราชบุรี ในช่วง 10 กว่าปีหลังนี้ มีการจัดการแข่งขันกันแบบขอไปที จัดตามหน้าที่ ให้เสร็จๆ หากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี ทั้งเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งของรัฐ เอกชน และท้องถิ่น ลองนั่งทบทวนกันดูให้ดี อย่าเที่ยวไปโยนบาปให้กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา แต่เพียงฝ่ายเดียว ลองมองว่าเขาอุตส่าห์หาเงินมาจัดการแข่งขันให้กับนักเรียนนักศึกษาของเรา และ อบจ.ก็พยายามจัดสรรงบประมาณให้ แต่พวกเราก็ยังรู้สึกหงุดหงิด และไม่พอใจ อ้างเสมอว่างบประมาณไม่พอในการจัดการแข่งขัน ต้องควักเงินตัวเองมาจ่ายทุกครั้ง อย่างนี้ไม่จัดเสียดีกว่า ผมอยากทุกคนมองไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันมากกว่าเอางบประมาณมาเป็นตัวตั้ง ควรคิดถึง “งาน” ก่อน “เงิน” ถ้าคิดเรื่อง “เงิน” ก่อนก็ไม่ต้องทำอะไร ก็รู้ๆ อยู่แล้วว่าประเทศไทยไม่ได้ร่ำรวยพอที่จะจัดสรรงบประมาณทุกอย่างให้เพียงพอแก่ทุกคนตามที่ต้องการได้ หากพวกเราทุกคนและทุกภาคส่วน มีความจริงใจที่ต้องการให้นักเรียนนักศึกษาของจังหวัดเราได้มีทักษะและประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬาจริงๆ แล้ว เราก็ต้องช่วยกันเสียสละบ้าง อย่าอ้างเรื่องงบประมาณน้อยแล้วไม่ทำงาน ดั่งพระบรมราโชวาทของในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลน มาเป็นข้ออ้างในการทำงาน จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” ลองมองจังหวัดอื่นที่เขาสามารถจัดการแข่งขันได้ดี เขาก็ได้รับงบประมาณเช่นเดียวกับเราหรือบางจังหวัดอาจได้น้อยกว่าเราเสียอีก สนามกีฬาที่ได้มาตรฐานก็ไม่มี บุคคลการด้านกีฬาก็สู้ของ จ.ราชบุรี เราไม่ได้ แต่เขาก็สามารถจัดการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่พยายามหาวิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปได้มาใช้ในราชบุรีบ้าง อาทิ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยจิตอาสา บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดการแข่งขันก็เป็นครูบาอาจารย์ในแวดวงทางการศึกษาและคนกีฬาด้วยกันทั้งนั้น ควรเสียสละเพื่อเด็กนักเรียนบ้าง ลดค่าตอบแทนผู้ตัดสิน ลดค่าตอบแทนคณะกรรรมการ งดตัดเสื้อกรรมการ โรงเรียนใดมีสนามและอุปกรณ์การแข่งขันที่ดีได้มาตรฐาน ก็รับอาสาจัดการแข่งขันให้ จัดบุคลากรให้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันจัดการแข่งขันแบบพอเพียงแต่มีคุณภาพ ลดการจัดการแข่งขันแบบแยกส่วนลักษณะเบี้ยหัวแตก อะไรที่ควรลดได้ด้วยจิตที่เสียสละก็ควรสละ ผู้อำนวยการทุกโรงเรียนควรมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างจริงใจ เพราะเป็นเกมของลูกศิษย์ตัวเอง นอกเหนือจากการลดรายจ่ายแล้ว การหาวิธีเพิ่มงบประมาณในการจัดการแข่งขันก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดราชบุรีทุกคนที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นแกนนำชักชวนให้ทุกภาคส่วนหันมาช่วยกันสร้างกีฬานักเรียนนักศึกษาของจังหวัดราชบุรีให้เป็นวาระของจังหวัด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนหันมาให้การสนับสนุน แทนที่จะคุยโม้โอ้อวดอย่างเดียวว่า เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา แต่ไม่ช่วยพัฒนาอะไรเลย การแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ทุกวันนี้ เป็นไปแบบแกนๆ มีแต่นักกีฬาและผู้ฝึกสอนดูกันเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาไม่เคยมานั่งชมเลย แม้แต่การมอบเหรียญรางวัล บางชนิดกีฬายังหาผู้มอบเหรียญไม่ได้เลยก็มี ต้องมอบเหรียญรางวัลกันแบบขอไปที จริงๆ แล้ว เจ้าของเกม หรือเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา จ.ราชบุรี ที่แท้จริง ควรจะเป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 และเขต 2 สมาคมการศึกษาเอกชน จ.ราชบุรี เทศบาล และ อบต.ต่างๆ ที่มีการจัดการศึกษาท้องถิ่นเป็นของตนเอง เพราะประโยชน์ที่ได้รับในการจัดการแข่งขัน ก็คือ นักเรียนนักศึกษาในสังกัดของแต่ละสถานศึกษานั่นเอง แต่ในวันนี้ หน่วยงานเหล่านี้แทบไม่ได้มีบทบาทหรือตระหนักในบริบทดังกล่าวเลย ควรพึงเข้าใจว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี เป็นเพียงตัวกลางที่นำงบประมาณในการจัดการแข่งขันมาให้ ช่วยประสานงานไปยังชมรมกีฬาหรือโรงเรียนต่างๆ ให้ช่วยจัดการแข่งขันให้ ทำดีก็เสมอตัว ทำชั่วก็ถูกต่อต้าน ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือร่วมใจ หันมาตั้งต้นกันใหม่ คิดกันใหม่ ทบทวนบทบาทและหน้าที่กันใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันก็คือ นักเรียนนักศึกษาของ จ.ราชบุรี ของพวกเราทุกคน...
ชาติชาย คเชนชล
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การจัดดอกไม้เทรนใหม่จากญี่ปุ่น
วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552
พระราชดำรัส “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” 11 สิงหาคม 2552
พระราชดำรัส “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”
เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 11 ส.ค.52 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิติคุณ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 11 ส.ค.52 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตยาทรกิติคุณ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในนามผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
“ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม เนื่องในอภิลักขิตมหามงคลสมัย คล้ายวันพระราชสมภพของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งในวันที่ 12 สิงหาคม ศกนี้
ข้าพระพุทธเจ้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในนามของคณะรัฐมนตรี คู่สมรส และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า มีความชื่นชมโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอพระราชทานพระราชวโรกาส น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้
นับแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถของชาติไทย ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ตามหลักราชธรรมโดยสมบูรณ์ อันนำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขแก่พสกนิกร ทรงเป็นคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเวลานานกว่า 59 ปี ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พระราชทานหลักธรรมต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอาณาประชาราษฎรให้ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรม และสัมมาปฏิบัติธรรม ค้นคิดและพัฒนาโครงการต่างๆ เป็นเอนกประการ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ตลอดจนพัฒนาผืนแผ่นดินไทย ให้คงความอุดมสมบูรณ์ อาทิ โครงการศิลปาชีพโครงการป่ารักน้ำ โครงการฟาร์มตัวอย่าง โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ และอื่นๆ อีกมาก ล้วนก่อเกิดจากพระปรีชาสามารถ และสายพระเนตรอันกว้างไกล เกิดผลดีในด้านส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น พร้อมกับธำรงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ แหล่งต้นนำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎรทุกภูมิภาคของประเทศ
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงสนพระราชหฤทัยในความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎร ทั้งผู้ป่วยเจ็บ ทุพพลภาพ ยากไร้ ขาดที่พึ่ง ผู้พิการ ผู้เคราะห์ร้ายจากภัยสังคม ได้ทรงพระเมตตารับไว้ในพระราชานุเคราะห์ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ยากลำเค็ญ พระมหากรุณาธิคุณล้วนเป็นที่ประจักษ์แจ้ง และก่อให้เกิดความสำนึก ซาบซึ้ง ทั้งในหมู่ผู้ทุกข์ยาก และมวลพสกนิกรทั้งหลายโดยถ้วนหน้า
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงตรากตรำพระวรกาย เสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกล ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และด้วยน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยความรัก เอื้ออาทรต่อพสกนิกร โดยมิทรงย่อท้อต่อความยากลำบาก หรืออุปสรรคใดๆ ทรงอุทิศกำลังพระวรกาย กำลังพระปัญญา และกำลังพระราชทรัพย์ เพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ และเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ ตลอดมา
อาณาประชาราษฎรต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม และล้วนมีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเป็นที่เคารพรักเทิดทูนอย่างยิ่งของปวงชนชาวไทย และเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญพระเกียรติคุณ ทั้งในมวลหมู่พสกนิกรชาวไทย และชาวต่างประเทศ
เนื่องในศุภมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2552 นี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระราชทานพระราชวโรกาสน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ และพระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า อีกทั้งพระราชกุศลผลบุญที่ได้ทรงบำเพ็ญอยู่เสมอมา โปรดอภิบาลประทานชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงพระเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลทั่วทุกทิศานุทิศ มีพระราชประสงค์จำนงหมายสิ่งใด ขอจงสัมฤทธิ์ สถิตเป็นพระมิ่งขวัญร่มเกล้าของปวงข้าพระพุทธเจ้าและพสกนิกรชาวไทยตลอดจิรัฐิติกาล เทอญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า
“ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล และท่านทั้งหลาย ซึ่งมีผู้แทนของข้าราชการ ทุกหมู่เหล่า ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร รัฐวิสาหกิจ ผู้แทนขององค์กรทั้งหลายทั้งปวง เฝ้าทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมไทยให้กิจกรรมต่างๆ ไปได้ด้วยดี ผู้แทนสถาบันการศึกษา ประชาชนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 160,000 คน ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ บริเวณศาลาดุสิดาลัยแห่งนี้ เพื่อร่วมอวยพรแก่ข้าพเจ้าเนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิดปีที่ 77 โดยที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย กล่าวอวยพรด้วยใจความที่ทำให้ข้าพเจ้าอายุ 77 นี้เกิดกำลังวังชา เกิดกำลังใจที่จะทำงานช่วยเหลือประชาชนต่อไป หลายปีมานี้มีผู้มาอวยพรให้ข้าพเจ้ามากขึ้นเป็นลำดับ มีหลายคณะเหมือนกันที่นำอาหารมาช่วยข้าพเจ้า สำหรับเลี้ยงแขกข้าพเจ้าขอขอบใจทุกท่าน และขอให้กุศลในการเลี้ยงอาหารประชาชนในครั้งนี้ ส่งให้ผู้ที่เป็นเจ้าภาพอาหารและน้ำดื่มทุกราย มีกินมีใช้มีเหลือแจกผู้อื่นตลอดไป
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าต้องขอบใจทุกท่านที่ลงทุนสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์เพื่อให้เป็นกุศลแก่ข้าพเจ้า ซึ่งคณะแพทย์ที่จัดทำโครงการผ่าตัดหัวใจที่ช่วยเหลือประชาชนจำนวน 500 ราย และโครงการผ่าตัดหัวใจเด็กที่ช่วยเหลือเด็กตามตะเข็บชายแดนจำนวน 800 ราย ซึ่งทั้งสองโครงการนี้ จะเป็นโครงการต่อเนื่องไปจนถึงเมื่อข้าพเจ้าอายุ 80 ปี ขอบใจสภาสังคมสงเคราะห์ฯ ดำเนินโครงการน้ำพระทัยพระราชทาน จัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้า ขอบใจผู้ที่ส่งบัตรอวยพรวันเกิดแก่ข้าพเจ้า ซึ่งก็มีเด็กนักเรียนรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ตลอดจนผู้ที่อวยพรข้าพเจ้าผ่านทางสื่อมวลชนทุกแขนง บ้างก็ประพันธ์บทร้อยแก้วร้อยกรองอย่างไพเราะ บ้างก็รำอวยพร ข้าพเจ้าได้ชมแล้วรู้สึกทราบซึ่งในน้ำใจไมตรีของทุกคนเป็นอย่างยิ่ง
ขณะนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่วังไกลกังวล หัวหิน ที่โน่นอากาศดี เหมาะสำหรับพระสุขภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านสบายดีขึ้น ทรงพยายามออกพระกำลัง ทรงพระดำเนินที่ชายเฉลียงทุกๆ วัน ทำให้ทรงแข็งแรงขึ้น เพราะปีนี้พระชนมายุจะ 82 แล้ว ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้โดยที่ประชาชนเห็นในข่าวโทรทัศน์ เช่น ทรงเสด็จออกรับแขกบ้านแขกเมือง หรือมีคณะบุคคลต่างๆ มาเฝ้าฯ บางครั้งก็เสด็จฯ ออกไปทอดพระเนตรโครงการอะไรใกล้ๆ หัวหินบ้าง จะให้ทรงตรากตรำทรงเดินทางไกล หรือตากแดดตากฝนทั้งวันเหมือนสมัยที่ทรงงานมาแล้วหลายสิบปีก่อนนั้นๆ คงไม่ไหว หลายสิบปีก่อนเคยเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมประชาชนทุกภาคของประเทศ ทรงขับรถเอง หนทางก็เรียกว่ากันดารมิใช่น้อย บางครั้งก็ทรงขับรถข้ามแม่น้ำ นั่นเป็นจังหวัดนราธิวาสทรงขับรถไปดูให้เห็นจริงจังของการอยู่กินของราษฎรตามเขตชายแดนต่างๆ แต่พระองค์ก็ทรงติดตามงานต่างๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องฝน เรื่องปริมาณน้ำในเขื่อน ทรงห่วงประชาชนมาก เกรงว่าจะมีน้ำท่วมอีก ที่พอจะหาแนวทางอะไรช่วยป้องกันได้ ก็จะมีพระราชดำริให้เตรียมการกันไว้ก่อน
ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกของชาวนาชาวไร่ ที่ไม่ได้อยู่ในเขตชลประทานต้องอาศัยฝนฟ้าจากธรรมชาติเป็นหลัก ปีใดฝนดีผลผลิตก็ดี ปีใดฝนแล้งพืชก็แห้งตาย ฝนมากไปน้ำก็ท่วม ปัญหาของแต่ละภาคไม่เหมือนกัน
ภาคเหนือมีดอยเขาสลับซับซ้อน มีชาวเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่ บ้านเดิมเขาก็ปลูกฝิ่น เพราะว่าเขาบอกว่าเขาไม่รู้จะทำมาหากินอะไร หรือบางครั้งเขาก็ทำไร่เลื่อนลอย ทำให้เกิดปัญหายาเสพติด และป่าไม้ถูกทำลาย บางครั้งชาวเขาเค้าก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองว่า เมื่อพ่อบอกว่าปลูกฝิ่นไม่ดี เขาก็จะทำตาม เขาจะเลิกปลูกฝิ่น จะทำตาม เพราะส่วนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอนเขา แต่เขาก็พูดว่าขออนุญาตพ่อได้ไหม ให้มีที่ปลูกฝิ่นสักนิดหนึ่ง มิใช่อะไรหรอก เขาบอกว่าเวลาปวดฟันปวดท้องมานานกว่าที่จะไปหาหมอที่ข้างล่าง ที่นี้ถ้าเขามีฝิ่นเวลาที่เขาปวดฟันนอนไม่หลับสูบฝิ่นหน่อยหนึ่งก็ค่อยยังชั่ว พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกว่า อนุญาต อนุญาตให้ปลูกฝิ่นได้เล็กน้อยแก้เจ็บปวด
ส่วนภาคอีสานก็เป็นที่ราบสูง ปัญหาใหญ่คือการขาดแคลนน้ำที่จะใช้เพาะปลูก และดินเป็นดินทราย ภาคใต้มีฝนตกชุกแทบทั้งปี เนื่องจากภูมิประเทศมีลักษณะแคบยาว ด้านหนึ่งเป็นภูเขา ด้านหนึ่งเป็นทะเล ที่ราบตรงกลางบางส่วนเป็นพรุไปเสียหลายแสนไร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจอะไรก็ไม่ค่อยได้ ใต้พรุมีน้ำเปรี้ยวขังอยู่ ถ้าฝนตกมากน้ำเปรี้ยวใต้พรุจะไหลออกมาทำให้ดินข้างนอกเปรี้ยวตาม ถ้าฝนน้อยไปน้ำเค็มจากทะเลจะซึมเข้ามากลายเป็นมีน้ำ 3 รสด้วยกัน คือ ทั้งจืด ทั้งเปรี้ยว ทั้งเค็ม
ส่วนภาคกลางของเราโชคดีที่มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นทางผ่านของน้ำภาคเหนือไหลลงสู่ทะเล เวลาฝนตกชุกมาก ภาคกลางก็จะมีน้ำท่วม ท่วมแล้วก็จะไม่ลดลงเร็วเหมือนภาคอื่น เพราะมีน้ำทะเลหนุนกลายเป็นน้ำท่วมขัง บางพื้นที่ก็จมน้ำอยู่หลายเดือน เช่น บ้านเดิมของข้าพเจ้าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เทเวศน์ก็เห็นเป็นประจำที่น้ำท่วมตลอด บางทีรุกเข้ามาท่วมถึงในบ้านด้วยซ้ำไป พื้นเสียหมดเลย น้ำขึ้นมีปลามีงูมาว่ายอยู่ในบ้าน ย่ำน้ำกันในบ้านเป็นของธรรมดา บัดนี้ก็สมัยใหม่ขึ้นก็ค่อยยังชั่ว ข้าพเจ้าเป็นพระราชินีมา 59 ปี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทำให้ได้เห็นว่าทรงทำงานอย่างไรอะไรที่ไหนบ้าง และได้เห็นว่าทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎรจะทรงขับรถเอง และก็มีแผนที่อยู่ใกล้พระองค์เสมอ ทรงจะไปทุกหนทุกแห่ง พระองค์ชอบทำงานเกี่ยวกับเรื่องดินและเรื่องน้ำมาตลอดหลายสิบปี ทรงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ในปีพ.ศ.2512 ระหว่างประทับที่ชาวเขา ก็ทรงงานช่วยเหลือชาวเขาที่เขาปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ให้เปลี่ยนมาปลูกพืชผักผลไม้และไม้ดอกเมืองหนาวแทน ทรงดูแลเรื่องการตลาดให้ด้วย โดยมี ม.จ.ภีศเดช รัชนี รับทรงงานเป็นผู้ช่วยจนเกิดเป็นโครงการหลวงถึงทุกวันนี้ ม.จ.ภีศเดชทรงมีลูกเป็นนักเรียนอังกฤษเก่า เพราะฉะนั้นการปีนเขาขึ้นไปดูบนยอดเขาต่างๆ จึงเป็นเรื่องเล็ก และเป็นผู้ที่ทรหดอดทน ไปเยี่ยมชาวเขาเผ่าต่างๆ จนเขาไว้วางใจว่าท่านต้องช่วยเขาได้แน่นอน แล้วเขาก็เริ่มลดการปลูกฝิ่นมาปลูกผลไม้ ผัก ดอกไม้ ตามโครงการหลวงถึงทุกวันนี้
ท่านภีศเดช ท่านเสด็จไปตามดอยต่างๆ ไม่ทราบว่ากี่ร้อยครั้ง และเมื่อมาเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงตามเสด็จขึ้นไปบนดอยโดยรถพระที่นั่ง หรือเฮลิคอปเตอร์ และก็ทรงพระดำเนินต่อไปอีกหลายกิโลเมตร ตอนนั้นข้าพเจ้าก็อายุยังน้อยอยู่ ก็ยังเดินตามไปได้ ถึงจะเหนื่อยอย่างไร ก็พอทนไหว ถ้าเป็นตอนนี้ละก็ ไม่ไหวแล้ว ที่ภาคอีสานภูพานราชนิเวศน์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2519 ก็ทรงใช้เป็นศูนย์กลางในการเสด็จออกไปทอดพระเนตรว่าพื้นที่ตรงไหนเหมาะจะสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือคลองส่งน้ำบาง ซึ่งส่วนใหญ่จะทรงศึกษาจากแผนที่มาก่อน
ที่เหนื่อยมากคือภาคใต้ ทักษิณราชนิเวศน์ สร้างเสร็จใน พ.ศ.2516 เมื่อแรกเสด็จฯ เสด็จฯโดยรถไฟผ่านสถานีต่างๆ มีประชาชนมาค่อยรับเต็มไปหมด ถึงแม้จะดึกดื่น ตี 2 ตี 3 ข้าพเจ้าแอบดูที่ในห้องที่ดูอยู่ เปิดม่านดูเห็นประชาชนมาแน่นขนัด แต่ไม่มีเสียงอะไรเลย เงียบกริบ ต่างคนต่างยืนระวัง ที่จะไม่ให้รบกวน ไม่ให้ปลุกพระบรรทม ก็ทราบซึ้งในความหวังดีของประชาชนเหลือเกิน แต่ก็อุตส่าห์มากันแน่น โดยที่ไม่ได้เห็นพระองค์ เพียงแต่ได้เห็นรถไฟที่ประทับหลับอยู่ในรถไฟ แต่ที่แท้ก็ไม่ได้ทรงหลับอะไรจริงๆ ซักเท่าไหร่ ทรงแอบมองเขาอยู่
ที่ภาคใต้ต้องใช้คำว่าทรงลุยงานมาโดยตลอด อย่างท่านทั้งหลายคงจะเคยเห็น ภาพที่พระองค์ท่านทรงประทับเรือไปในเขตพรุ น้ำในพรุนั้นใสเแจ๋ว มองด้วยตาก็จะนึกว่า น้ำสะอาดใสและมีน้ำมากดี แม้แต่วัวที่ชาวบ้านเลี้ยง ก็ยังหลงลงไปกินน้ำ แต่กินแล้วปากเปื่อย เป็นแผลนานเชอะ เพราะน้ำนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดกำมะถัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะเสด็จฯไปกับผู้เชี่ยวชาญของกรมชลประทาน และข้าราชการอีกหลายคน พยายามคร่ำเคร่งหาวิธีแก้ไขน้ำเปรี้ยวและดินเปรี้ยว ทรงหาวิธีระบายน้ำเปรี้ยวออกทะเลไป แรกๆ ก็ระบายลงคลองธรรมชาติ ก็เกิดปัญหาปลา ที่ชาวบ้านเลี้ยงในคลองตายไป ก็เลยมีคำว่าปลาร้องไห้ เพราะว่าเลี้ยงๆ ไว้ไม่เท่าไหร่ ปลาก็ตายหมด เพราะน้ำเปรี้ยวมันลงมา ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทุกข์พระทัย และทรงสงสารหมู่ประชาชน ผู้มีอาชีพเลี้ยงปลา แต่เดี๋ยวนี้น้ำหายเปรี้ยวแล้ว
ทรงขับรถเองตลอด ไม่ว่าจะเสด็จฯไปเยี่ยมราษฎรที่ไหน พร้อมกับแผนที่ประจำพระหัตย์ตลอดเวลา ตอนหลังก็ขุดคลองระบายน้ำเปรี้ยว แถมมีประตูระบายน้ำ เอาไว้จัดการกับน้ำสามรส ข้าพเจ้าเองก็อ่านไปอย่างนั้น ก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่ กักน้ำจืดไว้บ้าง กักน้ำเปรี้ยว น้ำเค็มไว้บ้าง เปิดปิดตามวิธีการของพระองค์ จนเดี๋ยวนี้น้ำเปรี้ยวในพรุลดลงไปมากแล้ว ดินเปรี้ยวจัด พระองค์ก็ทรงใช้วิธีของท่านที่เรียกว่า แกล้งดินมัน จนดินคลายความเปรี้ยวลง ที่ดินเปรี้ยวเพราะดินในแถบชายทะเลภาคใต้เป็นดินตะกอนน้ำทะเล มีสารประกอบกัมมะถันอยู่ในตัวตามธรรมชาติ ถ้าดินแห้งจะมีฤทธิ์เป็นกรดกัมมะถัน ถ้ามีน้ำแช่ขังอยู่ เช่น ได้ทดลองตามโครงการการแกล้งดิน ได้นำไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในภาคใต้ได้ จนสามารถปรับปรุงที่นาที่ถูกทิ้งร้างมา 20-30 ปี ได้นำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแสนไร่ เช่น นราธิวาส ปรับไป 2 หมื่นกว่าไร่ นครศรีธรรมราช 2 หมื่นกว่าไร่ ปัตตานี 1 หมื่นกว่าไร่ เป็นต้น พื้นที่นอกเขตพรุ และในเขตพรุบางส่วน ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้มาก เมื่อก่อนปลูกข้าวได้ไร่ละ 4-5 ถัง เดี๋ยวนี้เพิ่มเป็นไร่ละ 50 ถังแล้ว ยังปลูกพืชผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์อะไรต่อมิอะไรได้หลายชนิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชาวบ้านมีความสุข ก็รับสั่งว่าชื่นใจ แต่กว่าชาวบ้านจะแจ่มใสอย่างนี้ ทรงเหนื่อยอยู่หลายปี มีผู้สนใจวิธีการของท่านก็ไปศึกษา ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส ซึ่งทรงตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2525
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดแผนที่มากที่สุด เวลาเสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร ทรงขับรถเองแล้วก็มีแผนที่ติดพระองค์เสมอ ทรงใช้ประโยชน์จากแผนที่อย่างเต็มที่ อย่างเสด็จฯ ไปคุยกับราษฎรก็จะทรงรับสั่งถามว่า มาจากที่ไหน บ้านช่องอยู่ที่ไหน เขาก็จะบอกว่า เขาอยู่ที่นั้นที่นี่ เดี๋ยวนี้มีหมู่บ้านใหม่เพิ่มขึ้นแล้ว คนก็อยู่เย็นเป็นสุขขึ้น ก็จะทรงทำแผนที่เทียบกับแผนที่ปัจจุบัน และทำเครื่องหมายเวลาขับรถไปตามพื้นที่ไหน ทรงซักถามชาวบ้าน ชื่อหมู่บ้าน ชื่อถนน แม่น้ำ ลำคลอง ว่าถูกต้องตรงตามแผนที่หรือไม่ มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมาใหม่ไหม แหล่งน้ำอยู่ตรงไหนบ้าง ไกลไหมจะทรงพระดำเนินไปทอดพระเนตร เวลาประทับลงเรือที่ภาคใต้ก็ทรงมีขวดน้ำไว้ พอประทับเรือวิ่งท่านก็เอาขวดน้ำช้อนน้ำขึ้นใส่ขวด เอาไปทดสอบความเปรี้ยวของแต่ละแห่งทุกครั้ง
ทุกโครงการพระราชดำรินั้น จะทรงสั่งการติดตามผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อย่างโครงการมูโนะเนี้ย ทรงได้รับคำร้องจากประชาชนทั้ง ไทยอิสลาม ทั้งไทยพุทธ เป็นจำนวนไม่น้อยว่า เขาไม่มีที่ดินทำกิน ยากจนยังไง ลำบากยังไง ก็ทรงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ทรงรู้จักหลายคน ทรงตั้งขึ้นว่าเป็นโครงการมูโนะเป็นโครงการชลประทานบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน ปัญหาน้ำเปรี้ยวจากพรุโต๊ะแดง และป้องกันน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่เพาะปลูก ครอบคลุมพื้นที่สุไหงโกลก และตากใบ เป็นพื้นที่ประมาณ 1 แสน 1 หมื่นไร่ เพื่อให้ประชาชนมีทางทำมาหากิน โครงการมูโนะเนี้ย ทรงทดลองจาก 9 หมู่บ้าน ปศุสัตว์ แล้วก็เกษตรมูโนะขึ้น เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านทั้งไทยพุทธ และมุสลิม ที่ไม่มีที่ทำกิน ได้มาขอความช่วยเหลือ ก็ทรงส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงโค เป็ด ไก่ ทำไร่ นา สวนประสม ข้าพเจ้าก็ให้ทำงานศิลปาชีพด้วย ขณะนี้มีสมาชิกโครงการอยู่ 36 ครอบครัว
สมัยเมื่อ 36 ปีที่ผ่านมา ที่จะเข้าไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องลุยฝน ลุยโคลน และแม้แต่ลุยทากเป็นประจำ แต่พระองค์ท่านก็ทำอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย บางครั้งก็ทรงขับรถข้ามแม่น้ำ เพื่อจะไปอีกฝั่ง ไปเยี่ยมราษฎรอีกฝั่ง
ภาคกลางที่ทรงห่วงมาก ก็ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ปัจจุบันนี้ประชาชนก็คงคุ้นเคยกับสัตว์ คำหนึ่งที่ทรงใช้เกี่ยวกับการกักเก็บน้ำแล้วก็คือ คำว่าแก้มลิง โครงการแก้มลิงนี้มีอยู่ทั่วไปในภาคกลาง โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้ๆ ทะเล ได้ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ในฤดูน้ำหลาก และบางที่ก็ช่วยให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้งด้วย ผลงานสำคัญตามพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในภาคกลาง ก็เช่นเขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์ และเขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นต้น
ข้าพเจ้าเองได้ยินมาว่า ตั้งแต่สร้างเขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์ เสร็จฯ มากรุงเทพฯยังไม่เคยมีน้ำท่วมใหญ่เลย และนับว่าประหยัดเงินของชาติ ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯไปได้มาก ซึ่งนับรวมๆ หลายปีก็น่าจะคุ้มค่า ก่อสร้างเขื่อนแล้ว จากนี้ไปก็เป็นกำไรของประเทศชาติเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการทั่วประเทศ ทรงมุ่งให้ราษฎรให้กินดีอยู่ดีขึ้นทุกภาค งานที่ทรงทำ ทำโดยไม่มีวันหยุดมาเกือบ 60 ปีแล้ว ทรงทำโดยไม่เบื่อหน่าย เพราะเป็นงานที่ทรงทำด้วยความรัก ที่มีต่อประชาชน ในห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีแต่แผนที่ประเทศไทยทุกภาคเต็มไปหมด เพราะว่าโปรดเรื่องแผนที่มาก โดยที่ทรงสนพระทัยแผนที่ ก็ทรงสามารถติดต่อกับประชาชนที่มาเฝ้าฯ กันเป็นหมื่นๆ คนได้ จะทรงถามว่าเขาอยู่ที่ไหน หมู่บ้านชื่ออะไร เป็นหมู่บ้านกี่หลังคาเรือน แล้วเวลานี้มีหมู่บ้านที่ติดกัน เพิ่มขึ้นใหม่หรือไม่ ทรงได้ข้อมูลใหม่แล้วก็ทรงดูแลความเจ็บป่วยของประชาชน พวกที่ลูกมากยากจน ขาดการศึกษา อันนี้ข้าพเจ้าก็เลยโชคดี พวกที่ลูกมากแล้วก็ยากจนนี้ ข้าพเจ้าก็ชวนเขามาที่ภาคกลาง มาอยู่ที่ในวังหลวง แล้วก็มาฝึกศิลปาชีพ การฝีมือต่างๆ การทำโลหะ อะไรต่างๆ ซึ่งได้ผลดีมาก แล้วก็ขณะนี้แสดงอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมก็มี ข้าพเจ้าปลื้มใจมาก ก็มีเพื่อนต่างชาติไปดู แล้วเขาก็ชม ข้าพเจ้าก็คิดว่าเขาคงชมด้วยใจจริง เห็นฝีมือของชาวบ้านที่ทำศิลปาชีพเนี้ย สวยงามมาก เขาบอกว่าเนี้ยเป็นฝีมือของมือหนึ่งของโลก จากเดิมที่ยากจน พ่อแม่มีลูก 8-9 คน ข้าพเจ้าก็จะเอามาครอบครัวละ 2 คน แล้วก็มาอยู่ที่ในวังหลวง
พอเช้าขึ้นมาก็เอารถมารับมาที่โรงงานที่สวนจิตรลดา ฝึกงานต่างๆ สอนเขา และก็ให้เงินเขาทุกวันที่เขามาทำงาน ฝึกงานกับเรา แล้วเขาก็เก็บเงินส่งไปให้พ่อแม่ ก็มีความสุขมาก แล้วเดี๋ยวนี้พวกที่ยากจนที่สุดจบประถม 3 บางทีไม่จบประถม 4 บางคนก็ไม่ได้เรียนเลย กลายเป็นคนที่เรียกว่า ชาวต่างชาติมาดูแล้วบอกว่า นี่มือหนึ่งของโลก อันนี้ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจที่สุด แล้วก็ภาคภูมิใจในมูลนิธิส่งเสริมศูนย์ศิลปาชีพที่ข้าพเจ้าตั้งมา ถ้าเผื่อข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ จะไม่มีวันได้รู้ว่าคนไทยของเรา หรือผู้ที่อยู่ในประเทศไทยของเรา เป็นคนที่เก่งเช่นไร ถ้าได้โอกาสในชีวิตแล้ว เขาจะพุ่งไปไกล ทำอะไรก็ทำได้ทั้งนั้น ไม่มีที่เรียกว่าไม่รู้จะทำอะไร ทำไม่ได้ อะไรเช่นนี้ คนไทยนี้เก่งจริงๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ภาคเหนือ ภาคใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง เก่งทั้งนั้น เป็นคนที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจว่า มีเพื่อนร่วมชาติที่เก่ง ขอโอกาสสักนิดเดียวเท่านั้น เขาไปลิ่วทีเดียว กลายเป็นมือหนึ่งของโลก
ข้าพเจ้าได้รับเชิญจากเพื่อนขอให้ไปสหรัฐอเมริกาอีก ข้าพเจ้าก็คิดอยากจะไปเพราะว่าไปทีไรทางสหรัฐอเมริกาได้ให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดีเลิศดีมากเลย มิหนำซ้ำในรัฐสภาเขาก็จะพูดถึงว่าประเทศไทย คนไทยเนี้ยเก่งมาก เป็นคนที่เก่งและพระเจ้าแผ่นดินก็เป็นคนที่มีความสามารถ และพระราชินีของท่านกำลังจะมา เขาก็พูดกันในสภาว่า next a welcome her น่ารักมากคนอเมริกัน น่ารักจริงๆ ข้าพเจ้ายังปลื้มมากคือ ไม่เคยคิด
ถ้าท่านยังสงสัยอยู่ก็ให้ท่านไปที่พระที่นั่งอนันตสมาคมไปดูผลงานที่คนไทยที่จบแค่ป.3 หรือไม่ได้เรียนเลยที่เขาสามารถประดิษฐ์ อย่างแกะสลักได้สวยงามเหลือเกิน ชิ้นเบอเร่อ สวยงามมาก แกะสลักเป็น 3 ยุคด้วยกัน เอ๊ะ อยู่ไหนก็ไม่รู้จรุงจิตต์จ๋า 3 ยุค 3 ยุคด้วยกัน แหม ชื่อยาก 4 ยุคหรือ แค่3 ก็แย่แล้ว อันนี้ เป็นข้าพเจ้าไม่ได้รู้เอง พรรคพวกข้าพเจ้าไปอ่านมาว่าข้อมูลจากหนังสือไตรภูมิ เทพฤาษีเงื้อคนธรรพ์เฝ้าพระอิศวรอยากทราบว่าแก้ว 9 ประการ เกิดขึ้นได้อย่างไร พระอิศวรก็บอกให้ไปถามพระฤาษีชื่ออังคต เพราะเป็นฤาษีอายุยืนที่สุดตั้งแต่สร้างโลกมา ฤาษีอังคตเกิดในยุคกฤติยุค ยุคนี้ข้าพเจ้าก็เพิ่งเคยทราบและเพิ่งเคยได้ยินว่า กฤติยุคเนี่ย เป็นยุคที่บริบูรณ์ไปด้วยคุณงามความดี ที่ข้าพเจ้าต้องทราบเพราะว่าชาวศิลปาชีพของข้าพเจ้าเองเด็กที่เอามาตั้งแต่เล็กๆ เนี่ย เป็นผู้แกะสลักใช้เวลานานมากเลย แกะสลักยุคต่างๆ บนไม้สัก
ยุคที่ 2 ชื่อว่าไตรดายุค เป็นยุคที่มีความดี 3 ส่วน ความไม่ดี 1 ส่วน
ยุคที่ 3 ชื่อทราวรยุค เป็นยุคที่ความดีและความไม่ดีเสมอกัน ครึ่งต่อครึ่ง
พอมาถึงยุคนี้เป็นยุคที่ข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าล่ะใจหายใจคว่ำ ชื่อว่ากลียุค แหมไม่ค่อยดีเลยนะ กลียุคเป็นยุคที่มีความดีส่วนเดียวค่ะ ความไม่ดี 3 ส่วน แล้วเขาก็บรรยายต่อไปว่า กลียุคคือยุคปัจจุบันที่พวกเราที่ข้าพเจ้ากับพวกท่านทั้งหลายอยู่เนี่ยคือกลียุค ต่อจากกลียุค เขาก็บอกว่าจะเกิดไฟบรรลัยกัลล้างโลก มีลมหอบ แผ่นดินไหว แผ่นดินแยก ข้าพเจ้าก็ไม่อยากรู้แล้วต่อไป เขาเขียนว่าใครอยากรู้มากกว่านี้ให้อ่านในหนังสือไตรภูมิพระร่วง แต่หวังว่าคงจะไม่เกิดผลงานศิลปาชีพถึงจะอยู่กลียุคก็ยังมีผลงานของศิลปาชีพ เป็นนักศิลปาชีพฝีมือที่ชาวต่างประเทศบอกระดับหนึ่งของโลก ก็ยังภูมิใจถึงจะอยู่ในกลียุคก็ตาม ดั่งที่ข้าพเจ้าได้นำภาพส่วนหนึ่งมาให้ท่านดูให้ท่านทั้งหลายชมและยังมีจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ท่านที่ประสงค์จะชมของจริงก็ยังไปชมได้
ทุกครั้งที่ข้าพเจ้ามีโอกาสที่ได้ออกนอกประเทศ ข้าพเจ้าก็จะให้จับฉลากกัน ให้พวกคณะศิลปาชีพ เด็กหนุ่มสาวของข้าพเจ้าจับฉลากกันและให้ตามเสด็จฯ ให้ส่วนหนึ่งตามเสด็จฯ ได้ ตอนที่ข้าพเจ้าได้รับเชิญจากประธานาธิบดีของฝรั่งเศสให้ไปแสดงผลงานศิลปาชีพบนหอไอเฟล ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในประธานาธิบดีและมาดามที่ให้โอกาสศิลปาชีพได้มาแสดงผลงานที่งดงามที่หอไอเฟลมียอดผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติครั้งนั้นประมาณ 1 แสน 5 หมื่นคน แหมจากข้างบนสวย และปลื้มใจ และก็ภรรยาประธานาธิบดีก็ไปจับมือกับเด็กศิลปาชีพที่ไปกับข้าพเจ้า จับมือทุกคน หลังจากได้ดูฝีมือการทำงานของเขา แล้วก็ไปจับมือทุกคนบนหอไอเฟลนั้น ทำให้ปลาบปลื้มมาก
โรงฝึกศิลปาชีพที่สวนจิตรลดาในขณะนี้ มีนักเรียนที่ยากจนแต่ไม่ได้ยากจนสติปัญญาเลย ยากจน 700 คน มีครู 50 คน และก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพต่างๆ ที่สวนอัมพร ระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม นี้ และน่าปลื้มใจที่คนไทยทั้งหลายก็ช่วยกันไปสนับสนุน ไปดู ไปซื้อของเท่าที่จะซื้อได้ และก็ที่ฮิตมากคือที่พัทลุง เขาคิดทำเอาผักต่างๆ มาทำเป็นข้าวเกรียบ พอทอดข้าวเกรียบผัก คนมาเข้าคิวยาวเชียว ว่า อร่อยมาก อันนี้ ข้าพเจ้าปลื้มทอดข้าวเกรียบขายนี่ก็ตั้งแต่เช้าจรดเย็น จนคนทอดเหนื่อย และตะโกนบอกคนที่เข้าคิว วันนี้อย่ามาซื้อเลย ไม่อร่อยหรอกข้าวเกรียบ ไล่คนไปเสียอีก ข้าพเจ้าบอกทำไมอย่างนั้น ไม่พยายามฝืนใจ เหนื่อยก็เหนื่อย ก็สู้ เขาบอกสู้มาจนเช้าแล้ว จนใกล้ค่ำแล้ว เลยบอกว่าอย่าเข้าคิวเลย ไม่อร่อยหรอกวันนี้ ไม่อร่อย แต่ประชาชนก็มาช่วยเหลือ เพราะเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพนี่เป็นฝีมือของชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา ที่ยากจนเหมือนกับว่าคนไทยมาช่วยคนไทยด้วยกัน เงินทองก็จะได้หมุนเวียนกลับไปสู่คนไทยมากขึ้น อีกทั้งเป็นการหมุนเวียนไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง ทั่วประเทศ หลายแสนครัวเรือน
ข้าพเจ้าปลื้มมากที่ท่านทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย ได้ไปชมงานศิลปาชีพที่สวนอัมพรแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ชื่นชมศิลปาชีพจริงๆ อย่างเขาไปนี่เขาแต่งกายด้วยผ้าของศิลปาชีพที่เขาซื้อเมื่อปีที่แล้ว หรือถือกระเป๋าของศิลปาชีพ หรือตะกร้าศิลปาชีพ เมื่อพบกันก็ชื่นชมซึ่งกันและกัน ชวนกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ๆ เจ้าหน้าที่ศิลปาชีพเห็นแล้วก็ชื่นใจ เพราะจำได้ จำได้แต่ละคนว่าคุ้นหน้า มาอุดหนุนเสมอ จนกระทั่งคุ้นหน้ากัน
ผลิตผลจากเกษตรก็เหมือนกัน ข้าพเจ้าก็ได้สร้างฟาร์มตัวอย่างในหลายจังหวัด เพราะบางทีบางจังหวัดไม่ปลอดภัยที่จะไปซื้อข้าวของที่ตลาดเช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ไป ไปจ่ายของที่ในตลาด ก็มักจะเสียชีวิตเสมอ ก็เลยช่วยกันคิดว่าอย่าเลย เราสร้างเป็นคล้ายๆ ตลาดของศิลปาชีพที่ในหมู่บ้านต่างๆ ก็แล้วกัน จะได้ใช้จ่ายกันได้ดี และไม่ต้องเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย อย่างพัทลุงนี่ ทำข้าวยำผักใต้อร่อยที่สุด ข้าพเจ้ายังไปชิมที่พัทลุง
ที่โครงการศิลปาชีพที่พัทลุงเก่งมาก และเดี๋ยวนี้เป็ดอี้เหลียงซึ่งทางเมืองจีนให้ข้าพเจ้า ตอนที่ข้าพเจ้าไปแทนพระองค์ที่เมืองจีน เป็ดอี้เหลียง เดี๋ยวนี้ก็มาทำลาบเป็ด ทำเท่าไรก็หมดเท่านั้น ดอกไม้ทอดจากพัทลุง หมูจินหัวแดดเดียว ข้าวสารหลายชนิดข้าพเจ้าก็เที่ยวไปดูตามที่เขาเอาออกมาแสดงจังหวัดต่างๆ ข้าวสังข์หยด และข้าวเกรียบรสต่างๆ ที่ชาวบ้านทำจากผักต่างๆ เราก็เอามาทำรับประทานกัน
ทีนี้ขอคุยอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องโขน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดแสดงโขนชุดพรหมมาศ เรื่องโขนสมเด็จเจ้าฟ้า ลูกสาวข้าพเจ้า สมเด็จพระเทพฯ เป็นห่วงเหลือเกินว่า โขนไม่ค่อยแสดง เพราะเสื้อผ้าก็ทรุดโทรมเก่าไม่ได้แสดงแล้ว ทั้งๆ ที่มีคนที่ฝีมือดีที่จะแสดงโขนได้ แต่ก็แสดงไม่ได้เนื่องจากเงินจำกัด แล้วเสื้อผ้าก็เก่า ก็พระราชทานสร้างชุดโขนขึ้นใหม่อีก แล้วก็มีการซ้อม พวกครูโขนที่เก่งต่างๆ ก็ซ้อมลูกศิษย์ แล้วก็แสดงให้ประชาชนดูเมื่อเร็วๆ นี้เอง
สมเด็จพระเทพฯ เล่าเป็นห่วงมากว่าโขนเป็นของที่วิเศษ อย่างที่อินโดนีเซียเขายังรักษาของเขาไว้ แต่ของเรานับวันเสื้อผ้ามันแพง นับวันจะไม่ได้แสดงก็กลัวว่าจะหายไปจากความนิยมของคนไทย ข้าพเจ้าก็ปรึกษากับ อาจารย์สมิทธิ ศิริภัทร แล้วอาจารย์สมิทธิ ก็ไปรวบรวมผู้รู้หลายคน ศึกษาค้นคว้า จัดสร้างเครื่องแต่งกายของโขนหัวโขน เครื่องประดับต่างๆ คราวนี้งดงามมาก เครื่องแต่งกายโขนเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วสวยงามเหลือเกิน นับว่าเป็นการคุ้มค่าในการรอคอยจริงๆ แสดงโขนเมื่อเร็วๆ นี้ ท่านทั้งหลายบางคนคงได้ชมแล้ว เห็นว่าประชาชนมาชมกันแน่นขนัด จนเพิ่มรอบการแสดงแล้วก็ยังไม่เพียงพอ ยังมีผู้ขอร้องให้จัดแสดงอีก น่ารักที่ลูกพาคนแก่ พ่อ แม่ หรือปู่ ย่า ตา ยาย ที่แก่ๆ จูงมือกันไปดูโขนที่ทำขึ้นใหม่ สำเร็จใหม่นี้ เห็นว่าสวยงามมากเลย อุปกรณ์การแสดงก็เรียบร้อย เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายชื่นใจ หายเหนื่อยเพราะได้รับคำชมจากประชาชนมากเลย เขามีรูปเสื้อผ้าโขนที่สร้างขึ้นใหม่
การแสดงโขนครั้งนี้ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จเพียงแค่ได้เผยแพร่ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยเราเท่านั้น แต่ยังเกิดสิ่งที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นมาอีก คือพวกเราได้สร้างช่างฝีมือรุ่นใหม่เอี่ยมขึ้นมา รุ่นใหม่ที่เข้าใจถ่องแท้ถึงศิลปะการสร้างเครื่องแต่งกายโขน และได้เห็นความผูกพันอย่างใกล้ชิดแบบสังคมไทยสมัยโบราณ ลูกหลานจูงพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย คนแก่ในบ้าน ไปดูโขนครั้งนี้ ได้เห็นการแสดงความรัก เอื้ออาทรต่อกันในครอบครัว ก็เป็นภาพที่สร้างความสุขใจแก่ผู้พบเห็นทุกคน และเสียงที่เรียกร้องว่าให้จัดการแสดงโขนขึ้นอีกนั้น ข้าพเจ้าก็รับฟัง และกำลังตรึกตรองว่าจะเลือกตอนไหนมาจัดแสดงใหม่ แต่ก็ต้องฝึกซ้อมนานหน่อย ขอให้ นี่เขาสั่งให้ข้าพเจ้าพูดว่า ขอให้แฟนๆ โขนคอยติดตามข่าวต่อไป เขาสั่งมา อย่าลืมรับสั่งตรงนี้ให้ได้ โฆษณาไปในตัวรับรองว่า ต่อไปต้องมีให้ชมแน่นอน ในโอกาสนี้ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณกรุงเทพมหานคร และสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ร่วมกันจัดนิทรรศการโขนชุดพรหมมาศ ที่หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ซึ่งประชาชนได้ชมความงดงามของเครื่องแต่งกายโขนทุกชนิด หัวโขน เครื่องประดับต่างๆ พร้อมทั้งอุปกรณ์การแสดงที่สำคัญ มีช้างเอราวัณ เป็นต้น ที่นี้ใครเป็นผู้เชี่ยวชาญการโขนก็ช่วยแนะนำข้าพเจ้าว่าคราวหน้าจะเอาตอนไหนมาแสดงดี ให้ช่วยกัน
ต่อไปจะขอเล่าเรื่องแนวประการังเทียมที่ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ชาวประมงบ้านละเวง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี มาหาข้าพเจ้าแล้วขอร้องให้ช่วยเหลือ เพราะเขามีอาชีพอยู่อย่างเดียวคือออกเรือไป เป็นเรื่องเล็กๆ เพราะเป็นคนจนมาก ออกเรือก็ไปตกปลา จับปลาได้ก็มาขายได้เงินเลี้ยงชีพ และปลาที่เหลือก็รับประทาน ที่นี่เรื่องปลาในเขตน้ำตื้นร่อยหรอจนแทบไม่มีเหลือแล้ว ข้าพเจ้าเองก็จนปัญญาก็ปรึกษากันกับผู้เชียวชาญต่างๆ ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้ลองทดลองสร้างแนวประการังเทียมขึ้น อันนี้เป็นความคิดที่เรียกว่าข้าพเจ้าไม่เคยรู้มาก่อนเลย ก็ได้อาศัยราษฎรเนี่ย ได้รับความรู้ต่างๆ ขึ้นมา ให้สร้างประการังเทียมขึ้นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
ข้าพเจ้าก็ได้เปิดโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลขึ้นใน พ.ศ.2544 ที่จ.นราธิวาส มีหน่วยงานหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนโครงการนี้ เป็นโครงการที่น่าชุ่มชื่นใจ เพราะว่าเป็นการยกระดับชีวิตของคนที่ยากจน ไม่แทบว่าจะไม่มีหวัง ยากจนยากจน ผู้ที่สนับสนุนโครงการนี้ เช่น กรมประมง กองทัพเรือ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง อย่างการรถไฟแห่งประเทศไทยบริจาคตู้รถไฟที่ชำรุด ข้าพเจ้าเห็นก็งงว่า เอะไอ้ตู้รถไฟมันจะมาทำช่วยให้ปลาชื่นชมได้ยังไง ก็งง ตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรทั้งสิ้น การรถไฟบริจาคตู้รถไฟที่ชำรุด กรมทางหลวงก็บริจาคท่อคอนกรีต เป็นต้น
ต่อมากรุงเทพมหานคร ก็ยังช่วยบริจาครถขนขยะที่ชำรุดอีกด้วย นี่ข้าพเจ้าได้เรียนเป็นพระราชินีไม่รู้เรื่องอะไรเลย ได้เรียนจากความต้องการของประชาชนและได้เรียนที่ท่านทั้งหลายช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และก็ทิ้งลงไปในทะเล ที่เขากะแล้วว่าที่ตรงนี้ทิ้งได้ประการังเทียม แล้วทางกองทัพเรื่องก็ไปถ่ายหนังมาให้ข้าพเจ้าดู โอ้โหตกใจพอเราทิ้งอะไรต่ออะไรต่างๆ ลงไป ปลามันก็ขนโขยงมากันใหญ่ มันนึกว่าแหมนี่มีบ้านที่ดีของเราแล้ว มันมากันเป็นแถวเชียว ถ้าเขาไม่ไปถ่ายหนังให้ดูก็ไม่รู้ แหมมามากมายก่ายกอง ซึ่งประชาชนมาบอกข้าพเจ้าว่าจับปลาได้สบาย จับปลาได้ดีเลยตอนนี้ มันมากันเป็นแถว ปลาต่างๆ ที่หายากก็เข้ามา ถ้าทิ้งลึกลงไปปลาใหญ่ๆ เมื่อไม่นานนี้ข้าพเจ้าได้รับรายงานว่าเขาได้ถ่ายหนังภาพของฝูงปลานานาชนิดเข้ามาอาศัยอยู่ในแนวประการังเทียม แม้แต่ปลาที่หายากที่สุด กรมประมงบอกว่าหายากแทบไม่ได้เห็นเนี่ย คือปลาหมอทะเลตัวใหญ่เบ้อเร้อเชียวขนาด 2-3 เมตร ก็เข้ามาหาที่อยู่ที่นี่ ข้าพเจ้าได้ยินก็มหัศจรรย์ใจ ไม่เคย เป็นความรู้ใหม่ทั้งนั้นเลย ปลาจารเม็ดสีเทาซึ่งแต่ก่อนก็ไม่มีแล้ว ปลาช่อนทะเล ปลากุเลาก็เข้ามาได้
ชาวประมงพื้นบ้านก็เข้ามาหา ข้าพเจ้าบอก แหมดีท่าน เดี๋ยวนี้พวกเราไม่ต้องออกไปไกลก็จับปลาได้มากขึ้น จากแทบว่าไม่มีรายได้ กลับมามีรายได้เพิ่มขึ้น ถึงเดือนละ 1 หมื่นกว่าบาทแน่ะ ชาวบ้านยากจนเหลือเกิน แปลว่าคนที่มีความรู้ของเรา ของประเทศไทยเรามีมากและก็พร้อมเสมอที่จะช่วยชาติบ้านเมือง ปีนี้กรมประมงพื้นบ้านตั้งแต่ปัตตานีจนถึงนราธิวาสหลายร้อยคน เขียนจดหมายถึงข้าพเจ้าแล้วก็เซ็นชื่อเป็นบัญชีหางว่าวเลย ขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดทำประการังเทียมเพิ่มเติมขึ้นอีก แล้วตอนนี้ใครจะช่วยข้าพเจ้าหล่ะ ตอนนี้จะเอาอะไรไปทิ้งให้ปลามันอยู่
ข้าพเจ้าจึงนำมาเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังว่าประการังเทียมนั้น ใช้ได้ผลจริงๆ น่าภูมิใจแทนหน่วยงานทั้งหลายที่ช่วยเหลือประชาชนประสบผลสำเร็จ และข้าพเจ้าก็เลยขอถือโอกาสนี้ ส่งข่าวถึงกลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่เขาเขียนจดหมายมาถึงข้าพเจ้า ขอปะการังเทียมเพิ่มด้วยว่า ข้าพเจ้าจะพยายามขอร้อง ขอให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกแห่ง ช่วยกันประสานงาน เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอก็คงจะเริ่มจัดสร้างพื้นที่บริเวณปะการังเทียมได้อีก เพื่อประชาชนจะได้ไปตกปลา ไปทำมาหากินได้เพิ่มนะคะ ท่านนายกฯ
คราวนี้สบายหน่อย แหมเขาเขียนให้เป็นฉากๆ และคราวนี้ พระราชทานพันธุ์ข้าว ฤดูเพาะปลูกปีนี้ นายกสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกร จ.มหาสารคาม ก็แจ้งความเดือดร้อนมาว่า นาของเกษตรกร 1,500 ราย ในภาคอีสาน 19 จังหวัด ประสบอุทกภัยและโรคแมลง ทำให้ไม่มีข้าวพันธุ์ดีที่จะปลูกต่อไป ราษฎรจึงมีจดหมายมาขอข้าวพันธุ์ดีจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ส่งเรื่องไปที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องพันธุ์ข้าวโดยตรง เขาจะได้เป็นธุระจัดหาพันธุ์ข้าวให้ กรมการข้าวก็ได้รีบจัดพันธุ์ข้าวปลูกอย่างดี เป็นข้าวเจ้า พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ และข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 อย่างละครึ่ง รวม 75 ตัน มอบให้เกษตรกร เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยมาแต่โบราณ ข้าพเจ้าเองก็ไม่เคยทราบว่า ข้าวมีประโยชน์อย่างเหลือหลาย ก็พอโตขึ้นมาจะเป็นสาวเข้าหน่อยเขาก็สอนกันว่า ถ้ากินข้าวมากจะพุงป่อง จะไม่ดีจะพุงป่อง จะอ้วน แต่มาตอนนี้ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือนิวส์วีค และไทม์แมกกาซีน เขาพูดถึงข้าวว่าข้าวเป็นอาหารที่ยอดเยี่ยมที่สุดของมนุษย์ เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรตที่อ้วนน้อยที่สุด เทียบกับขนมปัง เทียบกับสปาเก็ตตี้ เทียบกับเส้นอะไรต่างๆ ข้าวอ้วนน้อยที่สุด มีประโยชน์เหลือหลาย ส่วนที่มีประโยชน์จริงๆ อยู่ที่ผิวที่หุ้มเมล็ด ส่วนที่เมื่อกระเทาะเปลือกแข็งออกไปแล้วก็จะเห็นเป็นสีน้ำตาลกับจมูกข้าว ข้าพเจ้าเองก็เลยขอร้องพวกประชาชนที่เป็นสมาชิกศิลปาชีพ ให้ตำข้าวจากนาของเขามาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับข้าพเจ้า เขาก็จะตำและส่งมาให้ตลอด เพราะว่าฝรั่งเขียนว่า ข้าวนี่เป็นอาหารที่ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะว่ามีวิตามินที่จะไปทำให้ร่างกายของเรานี่ ข้าพเจ้าอ่านว่า 25 เซลล์ที่สมองก็เริ่ม เริ่มจะเสียแล้ว เริ่มต้นแล้ว อายุ 25 แล้วก็เซลล์ต่างๆ จะเริ่มเสียไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นหมอที่อเมริกาจากทุกหนแห่ง เขาพูดว่า เราเนี่ยควรจะรับประทานวิตามินรวม เพื่อให้เซลล์ในร่างกายของเราเนี่ยเสื่อมช้าลง
และเขาก็พูดถึงข้าวว่า ข้าวเนี่ยถ้าไปเข้าโรงสีมากมายก่ายกอง ก็เป็นแค่แป้งเท่านั้นเอง แต่ถ้าเผื่อเรามากระเทาะ ตำเอง เอากระเทาะเปลือกข้างนอกออกนิดเดียว โหมีคุณค่าเหลือที่จะพรรณาเชียว จะไปช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่กำลังจะชำรุดทรุดโทรม ไอ้เราก็คิดว่า ข้าวเนี่ยมันอ้วน อ้วนนะ ก็ไม่รับประทาน แต่ขอให้ทุกคนทราบเถอะว่า นิวส์วีค เป็นหนังสือพิมพ์ของทั่วโลก และก็ไทม์ เขาบอกข้าวนี่ยอดเยี่ยมที่สุด มีวิตามิน บี 1 บี 2 มีธาตุเหล็ก มีแคลเซียม แล้วก็ที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงวัยเช่นข้าพเจ้าเป็นต้น คือ มีสารที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายด้วย ทุกคนกลับไปรับประทานข้าวเลยนะ เอาจริงๆ ไอ้ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่อะไรมันอ้วนอยู่ดีเหมือนกัน แต่ว่ามันมีประโยชน์น้อยกว่าข้าว นี่เป็นที่ฝรั่งเขาพูดนะ
และอีกเรื่องที่ข้าพเจ้าชื่นชมเหลือเกินที่ทราบข่าวดีมาว่า เยาวชนของเราที่เก่งของเราอย่าง น.ส.นพวรรณ เลิศชีวกานต์ อายุ 17 จากเชียงใหม่ ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน 2009 ที่ประเทศอังกฤษ และก็ทราบว่า เยาวชนจากโรงเรียนมัธยมหลายแห่ง ได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน ในการแข่งขันโอลิมปิควิชาการ เกี่ยวกับฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และชีววิทยา และนอกจากนี้ยังมีทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ หุ่นยนต์กู้ภัยโลก และโรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนเรยีนาเชลี ก็ได้รับรางวัลวงโยธวาทิตระดับโลก มันแสดงให้ข้าพเจ้ามั่นใจ และปลื้มใจมาก และคิดว่าคนไทยทั้งประเทศก็คงปลื้มใจว่า คนไทยของเรานี่เก่ง เก่งจริงๆ ขอให้มีโอกาสในชีวิตเท่านั้น บางคนที่เก่งอย่างข้าพเจ้าได้เห็นตัวอย่างตัวเองแล้ว สมาชิกส่งเสริมศิลปาชีพที่จบแค่ ป.3 แล้วไม่ได้เรียนเลย ซึ่งบัดนี้ชาวต่างประเทศไปดูฝีมือที่พระที่นั่งอนันตสมาคมบอกว่า เป็นฝีมือ 1 ของโลกแห่งนี้ คนที่พูดเป็นคนที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้วย นี่มันฝีมือ 1 ของโลก ข้าพเจ้าก็คิดว่าเมื่อไหร่ที่ได้โอกาสไปที่สหรัฐอเมริกาก็จะพาพวกเขาไป แล้วจะเอาฝีมือที่เขาทำไปแสดงให้คนไทยที่อเมริกาได้เห็นด้วยว่า นี่คือคนไทยของเรา
เรื่องพระบวรพุทธศาสนา ข้าพเจ้าเอง คนทั้งหลายเป็นห่วง แต่ข้าพเจ้าเองเชื่อว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่ที่ว่าไม่ค่อยสนใจในพระพุทธศาสนา ก็คงจะไม่จริง ข้าพเจ้าทราบว่าเด็กไทยสนใจในพุทธศาสนามากขึ้น ไปนั่งปฏิบัติธรรม ไปเข้าค่ายธรรมะกันเป็นแถว ข้าพเจ้าเองพออายุ 70 ก็นึกอยากฟังพระเทศน์ วันพระใหญ่ก็จะไป ชักชวนพวกพ้องไปกันแน่นเชียว ไปที่วัดหนึ่งวัดใดขอให้ท่านช่วยเทศน์ให้ฟัง เปลี่ยนวัดไปเรื่อยๆ ไปฟังเทศน์ แล้วไปแล้วก็ตกใจ เห็นประชาชนมานั่งมารอเป็นแถว คอยที่จะฟังเทศน์ ข้าพเจ้าก็เลยจัดแจงให้มีลำโพงออกมา ให้ประชาชนที่มานั่งได้ฟังคำพระเทศน์ด้วย ซึ่งเขาก็คงจะภูมิใจ ถ้าใครว่าง ก็ชวนไปฟังเทศน์กับข้าพเจ้าได้ คราวที่แล้วฟังที่หัวหิน ที่วัดที่หัวหิน
รู้สึกจวนจะจบแล้ว ขอบพระคุณในน้ำใจของทุกคนที่มาฟัง และก็คงช่วยกันให้เด็กไทยของเราได้รับโอกาส อย่างที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยเด็กศิลปาชีพ และได้เห็นฝีมือของเขา เพราะว่าข้าพเจ้าเอาเด็กศิลปาชีพมา เขาอายุ 13, 14, 15 มาสอนให้เขียนลายถมทอง และก็ตัวการอยู่นี่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หัวร่อข้าพเจ้า บอกแม่จะเอาเด็กชาวบ้านมาให้ทำถมทองยังไง และเดี๋ยวนี้ เด็กชาวบ้านต่างๆ ทำยิ่งกว่าถมทองอีก ฝีมือสวยเหลือเกิน ที่ชาวต่างชาติมาดูและบอกว่า ฝีมือระดับโลกเลย ถ้าเผื่อข้าพเจ้ามีโอกาส มีโชคดี ความจริงเขาก็เชิญมาแล้ว ให้ไปสหรัฐอเมริกาตอนที่เรียกว่าเศรษฐกิจอะไรต่ออะไรของโลกค่อยดีขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าจะเอาเด็กเหล่านี้ไปให้ได้เห็นสหรัฐอเมริกา แล้วเอาฝีมือที่เขาทำไปประกวดด้วย
ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณทุกท่าน ซาบซึ้งในน้ำใจของทุกท่าน เป็นกำลังใจเหลือเกินที่ 77 ปี จะได้กำลังใจอย่างนี้ แล้วก็จะไปฉิวได้อีก แหมตัวเลขฟังเสียงแล้วน่ากลัว 77 ปี ขอขอบคุณนะคะ”