หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนที่ 2)

ต่อจาก หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนที่ 1)
*********************************************

บทความนี้ไม่ได้เขียนเกี่ยวกับกรณีการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แต่เขียนเพื่อปกป้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จากการถูกใส่ร้ายของพวกขบวนการล้มเจ้าล้มสถาบันกษัตริย์  ที่ใส่ร้ายพระองค์ฯ ท่านว่า ปลงพระชนม์พระเชษฐา  ข้อเขียนทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง และขออนุญาตใช้คำสามัญแทนราชาศัพท์ในบางคำ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น 

มีชีวิตเรียบง่าย..ไม่เคยคิดฝันว่าจะเป็นกษตริย์
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475  พระราชมารดาต้องหอบหิ้วพระราชธิดา 1 พระองค์และพระราชโอรส 2 พระองค์ ที่เสียพระราชบิดาตั้งแต่เล็ก  ออกจากประเทศไทย ไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ตามเดิม ภายใต้ตามคำแนะนำของผู้เป็นย่า  เพราะประเทศไทยช่วงนั้นค่อนข้างอันตรายสำหรับบรรดาเหล่าราชวงศ์

จนกระทั่งวันที่ 2 มี.ค.2477  เจ้าฟ้าอนันท์ พระราชโอรสองค์โต  ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในวัยเพียง 8 พรรษา โดยไม่เคยคาดฝันมาก่อน  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาชีวิตพระราชมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาที่เคยอบอุ่น ใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนธรรมดา เปลี่ยนไปในทันทีกลายเป็นชีวิตของเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน

วาสนาหรือชะตากรรม
พระราชมารดาเล็งเห็นว่า ประเทศไทยกำลังวุ่นว่ายอยู่กับการแย่งชิงอำนาจ จึงพยายามหาข้ออ้างและบ่ายเบี่ยงที่จะพาพระราชโอรสยุวกษัตริย์กลับสู่ประเทศไทย เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย จนกระทั่งพระราชโอรสเรียนจบบรรลุนิติภาวะ  จึงเสด็จกลับประเทศไทยมารับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ โดยเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่  5 ธ.ค.2488 แต่นี่คือการกลับสู่ประเทศไทยเป็นครั้งสุดท้าย เพราะในอีก 6 เดือนต่อมา พระราชโอรสรัชกาลที่ 8 ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน ภายในห้องพระบรรทม ยามเช้าของวันอาทิตย์ที่ 9 มิ.ย.2489 

ตั้งใจสร้างเรื่องเพื่อโยนมลทิน
เหตุการณ์ในเช้าวันนั้น ผู้วางแผนตั้งใจสร้างสถานการณ์เพื่อให้ทุกคนเชื่อว่า "พระอนุชาฆ่าพระเชษฐา เพื่อหวังแย่งชิงราชบัลลังก์"  เพราะเหตุเกิดที่ห้องพระบรรทมของรัชกาลที่ 8 ภายในพระตำหนักที่ครอบครัวมหิดลพักอาศัยอยู่ มีข้าทาสบริวารไม่กี่คน ภายนอกก็มีเวรยามเฝ้าอยู่อย่างแน่นหนา  ไม่มีทางที่คนภายนอกจะลอบเข้าไปปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ได้ นอกจากคนภายในเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าว ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตุ ไว้ดังนี้
  • พระราชมารดาจะกล้าปลงพระชนม์พระราชโอรสในใส้ที่อุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูกันมาด้วยความยากลำบากเพราะไม่มีพระราชบิดาเป็นเสาหลักคอยปกป้องคุ้มภัย  ผ่านทุกข์ ผ่านสุข มาตั้งแต่เล็ก อยู่กันเพียงลำพัง 4 แม่ลูกด้วยความรักและอบอุ่น  พระราชมารดาจะกล้าทำหรือ?  ลูกจะเลวแค่ไหนแม่ไม่เคยฆ่าลูก
  • พระราชมารดาไม่เคยอยากให้พระราชโอรสของเธอเป็นกษัตริย์ เพราะพระราชมารดาหวั่นใจว่าจะมีอันตรายรอคอยพระราชโอรสอยู่ข้างหน้า แล้วมันก็เป็นจริงอย่างที่เธอกลัว  
  • พระอนุชาจะกล้าปลงพระชนม์พระเชษฐาที่เติบโตด้วยกันมาเหมือนคู่แฝด  ร่วมเล่น ร่วมเรียน ร่วมกิจกรรม ไปไหนก็ไม่เคยห่างกัน แค่เพียงเพื่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์ที่ไม่เคยแม้แต่จะฝัน พระอนุชาจะกล้าปลงพระชนม์พระเชษฐาได้เชียวหรือ 
  • เวลานั้น รัชกาลที่ 8 เปรียบเสมือนนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เพิ่งจบ ยังเยาว์เกินไปนักที่ต้องมาสวรรคต ส่วนรัชกาลที่ 9  ก็มีวัยเท่ากับนักศึกษามหาวิทยาลัย ปี 2 เอง   นักศึกษาปี 2 จะมีความคิดอันเลวร้ายและวางแผนได้แยบยลเช่นนี้เชียวหรือ
  • หากพระราชมารดาจะปลงพระชนม์พระราชโอรส หรือพระอนุชาจะปลงพระชนม์พระเชษฐาจริงๆ แล้วทำไม ? ต้องมาเลือกปลงพระชนม์ในห้องพระบรรทม ในพระตำหนักที่ตัวเองอยู่ และด้วยพระแสงปืน ทำให้ผู้คนต่างเกิดความเคลือบแคลงสงสัย หากคิดจะปลงพระชนม์จริง ยังมีสถานที่และโอกาสให้ปลงพระชนม์มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การวางยาพิษ หรือเหตุการณ์อะไรก็ได้ที่จะทำให้พระเชษฐาเสียชีวิต
  • ตอนนั้น รัชกาลที่ 8 ยังไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นรัชทายาท หากพระอนุชาปลงพระชนม์ชีพพระเชษฐาสำเร็จแล้ว  พระอนุชาก็อาจจะไม่ได้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็นรัชกาลที่ 9 ก็ได้         
ด้วยเหตุผลง่ายๆ ไม่กี่ข้อเหล่านี้ ท่านผู้อ่านคงพอจะพิจารณาได้ว่า
"ในหลวงฯ ไม่ได้ปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์เอง"

"แต่มีคนวางแผนปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 แล้วตั้งใจใส่ร้ายป้ายสีโยนความเคลือบแคลงสงสัย ความมีมลทินไปให้พระอนุชา (เจ้าฟ้าภูมิพล)  และราชสกุลมหิดล"      

ทฤษฎีสมคบคิด 
ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น


********************************
อ่านต่อ หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนจบ)

16 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2555 เวลา 09:45

    อยากรู้จักผู้เขียน ไม่ทราบพอจะติดต่กกลับมาที่เราได้ไหมคะ
    อยากพิมพ์งานเขียนคุณเป็นหนังสือค่ะ พอดีหัวหน้า(บก.บห.พี่ต้อย สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม)สนใจงานเขียนคุณค่ะ
    สนพ.กรีนปัญญาญาณ
    fromgreeneditor@gmail.com

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2555 เวลา 18:49

    แล้วใครหล่ะ??

    ตอบลบ
  3. แล้วใครล่ะ ที่เสียผลประโยชน์ และได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ .... คิดกันหนอย เราคนนึงที่ไม่เคยเชื่อว่าพระอนถชาจะปลงพระชนม์พี่ชายตัวเอง ไม่มีทางเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2559 เวลา 22:15

      ไม่เคยเชื่อเช่นกัน

      ลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2559 เวลา 11:20

    ความจริงพิจารณาจากเท่านี้ไม่ได้นะครับต้อง พยานหลักฐานที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนร่วมด้วยเราเองก็เสียดายที่ร.9ท่านมีอำนาจบารมีสูง ท่านเป็นเพียงพระองค์เดียวที่คืนความยุติธรรมให้พระเชษฐา และนาย ชิต บุศย์ เฉลียว ได้

    ตอบลบ
  6. ใครจะทำแบบนี้เพื่อเข้ามาทำงานหนักตลอด 70 ปี คนที่มักใหญ่ใฝ่สูง แค่ปีสองปีก็ออกลายแล้ว จะทนทำความดีมาตลอด 70 ปีไปเพื่ออะไร และไม่ใช่เพราะรักในแม่ในพี่ชายหรอกเหรอจึงได้กัดฟันยืนหยัดพิสูจน์ตนเองจวบจนสิ้นลม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ที่สุดค่ะเห็นด้วยคิดเท่านี้เพียงพอไม่ต้องค้นหาอะไรเลยดูที่การกระทำ

      ลบ
    2. อ่านแล้วจะร้องไห้ มันใช่จริงๆ

      ลบ
    3. รักพ่อหลวง18 ตุลาคม 2559 เวลา 19:44

      ใช่คะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง

      ลบ
    4. คุณพูดถูกมากฟฟๆฟๆ

      ลบ
  7. ในหลวงทรงงานหนัก มากกว่าที่รัฐมนตรีคนไหนเคยทำ
    ไม่เชื่อว่าในหลวงจะปรงพระชน ร๘
    คิดในความเป็นจริง จะฆ่าพี่เอามรดก จะฆ่าที่บ้านตัวเองทำไมยังไงก็ต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัย จ้างคนอื่นทำหรือทำให้เป็นอุบัติเหตุดีกว่ามั้ย แล้วจะทำไปทำไมสู้ใช้ชีวิตสบายๆเป็นน้องชายไม่ดีกว่าเหรอ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ