วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศ

ในทัศนะของผู้เขียน ความมั่นคงของประเทศประกอบด้วยความมั่นคงในด้านต่างๆ จำนวน 10 ด้าน ซึ่งได้กล่าวไว้ในเรียงความความฉบับที่ 2 แต่เพื่อให้การวิเคราะห์ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ในบทความนี้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ผู้เขียนจึงได้รวมกลุ่มเป็นความมั่นคงใหม่เป็น 8 ด้าน ได้แก่

1. ความมั่นคงทางด้านการเมือง
2. ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
3. ความมั่นคงทางด้านสังคม
4. ความมั่นคงทางด้านการทหาร
5. ความมั่นคงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน
7. ความมั่นคงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. ความมั่นคงทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร
ความสำเร็จของการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศ ผูกโยงอยู่กับตัวชี้ความวัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงทั้ง 8 ด้านที่กล่าวมา ซึ่งหากแต่ละด้านมีระดับความสำเร็จหรือความล้มเหลว ก็จะส่งผลถึงระดับความมั่นคงของประเทศในภาพรวมไปด้วย ดังนั้น ผู้เขียนจึงพยายามค้นคว้าและแยกแยะตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน ตามทัศนะของผู้เขียน โดยใช้เอกสารอ้างอิงหลัก คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) สรุปโดยสังเขป ได้ดังนี้

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านการเมือง1. ร้อยละของประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ
2. ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ระบบรัฐสภา และระบบพรรคการเมือง
3. กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. ผลการประเมินการพัฒนาระบบราชการในด้านต่างๆ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักและวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
5. ความสามารถในการกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ความสามารถของภาคเอกชนที่เข้ามีบทบาทในการพัฒนาประเทศร่วมกับภาครัฐ
7. การจัดอันดับธรรมาภิบาลภาคเอกชนของสถาบันจัดอันดับ IMD ในด้านความรับผิดชอบในด้านสังคม การให้ความสำคัญต่อลูกค้า การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร ความสามารถของผู้บริหารในการสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ความโปร่งใสและความเป็นธรรม
8. ความเชื่อมั่นองค์กรอิสระในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
9. ความสามารถในการบริหารจัดการและกระบวนการยุติธรรม
10. ความสำเร็จของการบังคับใช้กฏหมาย
11. ความสามารถในการถ่วงดุลนอกภาครัฐของกลไกต่างๆ เช่น สื่อมวลชน องค์พัฒนาเอกชน ภาคนักวิชาการ/วิชาชีพ
12. ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสในการบริหารจัดการภาครัฐ เช่น ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index : CPI) โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) และมหาวิทยาลัยกอตทิงเกน ประเทศเยอรมันนี
13. ตัวเลขการจัดอันดับความโปร่งใสของภาครัฐ โดย World Economic Forum
14. จำนวนข้าราชการต่อปริมาณงาน
15. ความสามารถของการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธี
16. จำนวนและความถี่ของกลุ่มประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องในเรื่องต่างๆ

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ1. จำนวนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี
2. อัตราเฉลี่ยการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อปี
3. รายได้ต่อหัวต่อปีของประชากร และรายได้ต่อหัวต่อปีที่คำนวณในรูปของกำลังซื้อที่แท้จริง
4. อัตราว่างงานของประชากร
5. มูลค่าการส่งออกและนำเข้าในตลาดโลก
6. สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ
7. สัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
8. สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
9. สัดส่วนการใช้ตราสารหนี้ระดมทุนของภาคเอกชน
10. ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ
11. หนี้สินต่างประเทศ
12. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
13. อัตราเงินฟืด
14. ดัชนีต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์
15. ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด
16. อัตราการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย
17. ผลการดำเนินธุรกรรมของกองทุนบริหารความเสี่ยงของชาวต่างชาติ(Hedge Fund)
18. ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศสุทธิของประเทศไทย (International investment position : IIP)
19. สัดส่วนการออมรวมของประเทศ
20. สัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด
21. สัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
22. กำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพ
23. ค่าเฉลี่ยระดับการศึกษาของแรงงานไทย
24.อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยสถาบันต่างๆ อาทิ สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการจัดการ (Institute for Management Develop : IMD)
25. ค่าดัชนีเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy Index ; KEI) โดยธนาคารโลก
26.สัดส่วน จำนวนของธนาคารและสถาบันการเงินของชาวต่างชาติ กับ จำนวนของธนาคารและสถาบันการเงินที่เป็นของประเทศไทย
27.อัตราการเติบโต และจำนวนร้อยละของผลิตภาพการผลิตภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการก่อสร้าง ภาคการค้าส่งและค้าปลีก ภาคการผลิตเหมืองแร่ การการไฟฟ้าและประปา ภาคการเงินและธนาคาร ภาคบริการและอื่นๆ
28. สัดส่วนการนำเข้าของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยี ต่อผลิตภาพการผลิต
29. สัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
30. สัดส่วนรายจ่ายค่ารอแยลตี้และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
31. การมีธรรมาภิบาลภาคเอกชน
32. ร้อยละของครอบครัวที่ไม่มีความสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
33. อัตราการเข้ามาทำงานในประเทศไทยของชาวต่างชาติ
34. จำนวนวิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนใหม่และล้มเลิกกิจการ
35. จำนวนประชากรที่ยังอยู่ภายใต้เส้นความยากจน
36. อัตราการกระจายรายได้ ค่าดัชนีจีนี่ (Gini coefficient) ของประเทศไทย
37. จำนวนรายได้ของประชากร จากสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
38. รายได้จากการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
39. ส่วนแบ่งของตลาดนักท่องเที่ยวในโลก
40. ต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านสังคม
1. ดัชนีการวัดผลการพัฒนาคน (Human Development Index : HDI) ของ UNDP ที่วัดด้านสาธารณสุข การศึกษาและมาตรฐานความเป็นอยู่
2. ตัวเลขระดับการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศไทยเทียบกับนานาประเทศ จากสถาบันต่างๆ อาทิ สถาบัน IMD WEF และ OECD ตัวเลขเหล่านี้ ได้แก่ จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย การประเมินเชิงคุณภาพการศึกษาที่สามารถตอบสนองต่อการแข่งขัน ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทย สัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาซึ่งประเมินจากค่าผลสะสมทางการศึกษา หรือระดับความรู้ทักษะในระดับสูงสุดของคนไทย โดยวัดจากจำนวนปีการศึกษาของคนไทย อัตราส่วนนักเรียนต่อประชากร อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา อัตราส่วนนักเรียนอุดมศึกษาต่อประชากร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยที่วัดจากคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบ 4 วิชาหลัก (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ผลการวัดทักษะการอ่านของนักเรียนไทย
4. ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและการดูแลผู้สูงอายุ
5. อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทย
6. ร้อยละของประชากรที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพ
7. อัตราการเจ็บป่วยโดยรวมของคนไทยต่อประชากร
8. อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็ง
9. ภาวการณ์เจ็บป่วยจากโรคอุบัติใหม่และโรคระบาดซ้ำ เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
10. อัตราการลงทุนด้านสุขภาพของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
11. จำนวนเครือข่ายชุมชนด้านอาหารและสุขภาพ
12. จำนวนแรงงานนอกระบบที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองทางสังคม
13. จำนวนประชากรกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม เช่น การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากจน ผู้ป่วยเอดส์ยากไร้ ผู้พิการยากไร้ โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กวัยเรียนจากครัวเรือนที่ยากจน การสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวนประชากรในชุมชนแออัด
14. ตัววัดความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินและการก่อความไม่สงบในสังคม เช่น สัดส่วนต่อประชากร เกี่ยวกับคดียาเสพติด คดีอาชญากรรม คดีการประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน คดีต่อชีวิตร่างกายและเพศ คดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน นอกจากนั้นในด้านของปัญหาอุบัติภัยและภัยพิบัติ อาจวัดได้จาก อัตราการตายด้วยอุบัติเหตุการจราจร อัตราการเกิดและความสูญเสียจากภัยพิบัติและอุบัติภัยอื่นๆ ส่วนปัญหาการก่อความไม่สงบในสังคม อาจวัดได้จาก ปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองมาใช้แรงงานและแสวงประโยชน์ทางเพศ
15. จำนวนงบประมาณของประเทศในแผนงานป้องกันและควบคุมอาชญากรรม

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านการทหาร1. อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบระหว่างกองทัพไทยและกองทัพของประเทศเพื่อนบ้าน
2. สัดส่วนงบประมาณที่กองทัพไทยได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารของกองทัพ
4. ความสามารถในการพัฒนากำลังคนของกองทัพ
5. ความสามารถในการบริหารนโยบายต่างๆ ด้านความมั่นคง
6. จำนวนอาวุธยุทโปกรณ์ที่จัดหาเพิ่มเติม
7. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกองทัพ
8. ค่าความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกองทัพ

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1. การจัดอันดับขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
2. ร้อยละของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
3. ร้อยละของกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำงานด้านการออกแบบและการวิจัยและพัฒนา
4. อัตราส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อประชากร
5. อัตราความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี
6. จำนวนบทความด้านวิทยาศาสตร์ของไทยที่เผยแพร่ในระดับสากล
7. จำนวนการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยของคนไทย
8. สัดส่วนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร
9. อัตราการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อประชากร
10. อัตราส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อประชากร

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านพลังงาน1. สัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากนอกประเทศ
2. สัดส่วนของการใช้พลังงานประเภทต่างๆ
3. สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนพลังงานเดิม
4. สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
5. สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานทั้งหมด
6. สัดส่วนมูลค่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
7. สัดส่วนความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ย
8. สัดส่วนการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
9. อัตราการใช้น้ำมันในภาคขนส่ง

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม1. อัตราการลดลงของพื้นที่ป่าไม้
2. อัตราการลดลงของป่าชายเลน
3. อัตราการลดลงของการจับสัตว์น้ำ เป็นกิโลกรัมต่อชั่วโมง
4. อัตราการลดลงของแหล่งปะการัง และหญ้าทะเล
5. อัตราการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล
6. อัตราการสูญพันธ์ของพืชและสัตว์
7. คุณภาพอากาศเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณเขตอุตสาหกรรม บริเวณริมถนนในเขตกรุงเทพมหานคร
8. อัตราการขยายตัวของจำนวนรถยนต์สะสม
9. อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon dioxide emissions)
10.ปริมาณกากของเสีย ทั้งขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย
11. อัตราการผลิตขยะมูลฝอยในเขตเมือง
12. อัตราการนำของเสียมาใช้ใหม่
13. อัตราการผลิตและการนำเข้าสารอันตรายเพื่อใช้ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
14. ปริมาณน้ำจืดเฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากร
15. เกณฑ์การวัดคุณภาพน้ำ
16. จำนวนระบบบำบัดน้ำเสียในเขตเมือง และความสามารถในการบำบัด
17. ร้อยละของจำนวนที่ดินที่มีปัญหาต่อพื้นที่ทั้งหมด ในด้านปัญหาการชะล้างพังทลาย ดินขาดอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว เป็นต้น
18. เกณฑ์การวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. จำนวนความหลากหลายทางชีวภาพ
20. ขีดความสามารถในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร
21. จำนวนขององค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องการกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร1. อัตราการเพิ่มขึ้นของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
2. จำนวนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นของภาคประชาชน
3. จำนวนช่องของสถานีโทรทัศน์ในประเทศที่ประชาชนสามารถเลือกดูได้โดยอิสระ
4. จำนวนดาวเทียมทุกประเภทที่เป็นของรัฐ
5. จำนวนคลื่นความถี่ต่างๆ ที่เป็นของรัฐ
6. จำนวนผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก
7. ความสามารถในการเข้าถึงการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ของประชาชน
8. สถิติการฟังรายการวิทยุ ประเภทต่างๆ ของประชากร
9. สถิติการชมรายการโทรทัศน์ ประเภทต่าง ๆ ของประชากร
10. สถิติการใช้อุปกรณ์การสื่อสาร ประเภทต่างๆ ของประชากร

ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ด้านที่กล่าวมา ต้องเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล ตามความเป็นจริง แต่ส่วนใหญ่ข้อมูลที่จัดทำโดยภาคราชการที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ มักจะจัดทำข้อมูลเท็จเพื่อแสดงผลงานของตนเองไปในเชิงบวก จึงทำให้ข้อมูลที่ได้รับ ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขได้อย่างตรงประเด็น

¯¯¯¯¯¯¯¯¯¯

อ้างอิง :
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบใจจ้า สำหรับบทความ