เนื่องจากในปัจจุบัน มีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมาย ทั้งในโลกแห่งความจริง และในโลกออนไลน์ ผู้เขียนเพียรพยายามที่จะหาวิธีอ่านข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ ให้เร็วขึ้นและมีเงื่อนไขว่าต้องเข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือ เอกสาร วารสาร และแม้แต่ อี-บุ๊ค ในอินเตอร์เน็ต มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการอ่านหนังสือให้เร็ว ไว้จำนวนมากมายหลายวิธีการ
s463368@hotmail.com แล้วผู้เขียนจะพยายามค้นหาคำตอบจากหนังสือเล่มดังกล่าวดู และตอบให้ท่านทราบต่อไป เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2550 ผู้เขียนได้ไปร่วมประชุมทางวิชาการ เรื่อง ICT เพื่อการศึกษาไทย ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ผู้เขียนได้ซื้อหนังสือที่สำนักพิมพ์บิสคิตมาวางจำหน่ายอยู่หน้าห้องประชุม ชื่อเรื่องว่า “Speed Reading in a week” (อ่านไวใน 7 วัน) ซึ่งเขียนโดย Tina Konstant แปลโดย โอฬาร สุนทรภูษิต จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2550 นี้เอง หลังจากผู้เขียนได้อ่านแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ทราบกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องอ่านหนังสือจำนวนมาก ได้บ้างไม่มากก็น้อย
Konstant เธอได้แนะนำวิธีการอ่านหนังสือให้ไว ว่ามีเทคนิคการอ่านหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน กล่าวคือ
1. Prepare (การเตรียมตัวอ่าน)
2. Preview (การอ่านแบบผ่าน)
3. Passive Reading (การอ่านแบบข้าม)
4. Active Reading (การอ่านแบบสรุป)
5. Selective Reading (การเลือกอ่าน)
Prepare (การเตรียมตัวอ่าน) ขั้นตอนแรกนี้ ผู้อ่านต้องพยายามถามคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้? อะไรบ้างที่ผู้อ่านรู้อยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้? และอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องการจะรู้จากหนังสือเล่มนี้? เมื่อได้คำตอบแล้ว ผู้อ่านต้องตั้งปณิธานให้แนวแน่ ไม่อยากนั้นอาจจะหลงทาง ต่อจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
Preview (การอ่านแบบผ่าน) ขั้นตอนที่ 2 นี้ก็เพื่อทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือที่อ่าน ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง โดยหลักการอ่านแบบผ่านที่สำคัญ คือ
-สิ่งที่ต้องอ่าน : ปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน สารบัญ ดัชนี และบรรณานุกรม
-สังเกต : โครงสร้างของหนังสือ เช่น ชื่อบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพ กราฟ การ์ตูน และรูปถ่าย
-กำจัด : เนื้อหาในหนังสือที่ผู้อ่านมั่นใจ ว่าไม่ต้องอ่าน
-เน้น : เนื้อในหนังสือที่ผู้อ่านต้องการ
-ถามย้ำ : ถามตัวเองอีกครั้งว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจากหนังสือเล่มนี้
Passive Reading (การอ่านแบบข้าม) การอ่านแบบนี้ Konstant บอกว่าหนังสือหนา 300 หน้า จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที เท่านั้นเอง โดยต้องพยายามสแกนแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว หาคำศัพท์ที่โดดเด่น สังเกตข้อความที่หนังสือ โดยเฉพาะข้อความที่เน้นตัวหนา ตัวเอียง พยายามทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคย
Active Reading (การอ่านแบบสรุป) หมายถึง การอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท อ่านประโยคแรกของทุกๆ ย่อหน้า (และประโยคท้ายสุด ถ้าย่อหน้านั้นมีความยาวมาก) ขณะที่อ่านให้ใช้ปากกาเน้นข้อความ ขีดเส้นใต้ วงกลมใจความสำคัญ หรือจดสรุปความเข้าใจ หรือเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) ก็ได้
Selective Reading (การเลือกอ่าน) อ่านเฉพาะในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอ่าน อ่านเพื่อหาคำตอบที่ผู้อ่านค้นหา และหัวข้อต่างๆ ที่ผู้อ่านสนใจ (ตามปณิธานที่ผู้อ่านตั้งเอาไว้)
เทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน นี้ หากจะทำให้การอ่านเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องฝึกเพื่อประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น เทคนิคการอ่านเร็ว เทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน เทคนิคการกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
1. Prepare (การเตรียมตัวอ่าน)
2. Preview (การอ่านแบบผ่าน)
3. Passive Reading (การอ่านแบบข้าม)
4. Active Reading (การอ่านแบบสรุป)
5. Selective Reading (การเลือกอ่าน)
Prepare (การเตรียมตัวอ่าน) ขั้นตอนแรกนี้ ผู้อ่านต้องพยายามถามคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้? อะไรบ้างที่ผู้อ่านรู้อยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้? และอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องการจะรู้จากหนังสือเล่มนี้? เมื่อได้คำตอบแล้ว ผู้อ่านต้องตั้งปณิธานให้แนวแน่ ไม่อยากนั้นอาจจะหลงทาง ต่อจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
Preview (การอ่านแบบผ่าน) ขั้นตอนที่ 2 นี้ก็เพื่อทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือที่อ่าน ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง โดยหลักการอ่านแบบผ่านที่สำคัญ คือ
-สิ่งที่ต้องอ่าน : ปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน สารบัญ ดัชนี และบรรณานุกรม
-สังเกต : โครงสร้างของหนังสือ เช่น ชื่อบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพ กราฟ การ์ตูน และรูปถ่าย
-กำจัด : เนื้อหาในหนังสือที่ผู้อ่านมั่นใจ ว่าไม่ต้องอ่าน
-เน้น : เนื้อในหนังสือที่ผู้อ่านต้องการ
-ถามย้ำ : ถามตัวเองอีกครั้งว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจากหนังสือเล่มนี้
Passive Reading (การอ่านแบบข้าม) การอ่านแบบนี้ Konstant บอกว่าหนังสือหนา 300 หน้า จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที เท่านั้นเอง โดยต้องพยายามสแกนแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว หาคำศัพท์ที่โดดเด่น สังเกตข้อความที่หนังสือ โดยเฉพาะข้อความที่เน้นตัวหนา ตัวเอียง พยายามทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคย
Active Reading (การอ่านแบบสรุป) หมายถึง การอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท อ่านประโยคแรกของทุกๆ ย่อหน้า (และประโยคท้ายสุด ถ้าย่อหน้านั้นมีความยาวมาก) ขณะที่อ่านให้ใช้ปากกาเน้นข้อความ ขีดเส้นใต้ วงกลมใจความสำคัญ หรือจดสรุปความเข้าใจ หรือเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) ก็ได้
Selective Reading (การเลือกอ่าน) อ่านเฉพาะในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอ่าน อ่านเพื่อหาคำตอบที่ผู้อ่านค้นหา และหัวข้อต่างๆ ที่ผู้อ่านสนใจ (ตามปณิธานที่ผู้อ่านตั้งเอาไว้)
เทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน นี้ หากจะทำให้การอ่านเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องฝึกเพื่อประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น เทคนิคการอ่านเร็ว เทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน เทคนิคการกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
Konstant ได้คิดเทคนิคประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้โดยไม่ยากเย็น แต่เราคิดไม่ถึง เช่น การใช้เครื่องมือช่วยในการอ่าน การอ่านแบบกวาด (Skimming) การอ่านแบบค้นหา (Scanning) เป็นต้น
การอ่านแบบ Skimming กับการอ่านแบบ Scanning หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายนิดเดียว อ่านแบบ Scanning คือ เมื่อเจอข้อมูลที่ต้องการก็เลิกอ่าน อ่านแบบ Skimming คือ เมื่อเจอข้อมูลแล้วจะยังไม่หยุดอ่าน จนกว่าผู้อ่านอยากจะหยุดอ่านเอง
ที่เขียนมานี้เป็นเพียงเรื่องราวบางส่วน ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจเทคนิคการอ่านเร็วในเบื้องต้น แต่หากผู้อ่านท่านใดต้องการทราบในรายละเอียดเพื่อฝึกฝนตนเองก็คงต้องหาซื้อหนังสืออ่านเอง หรือถ้าไม่อยากซื้อหนังสือ ก็ลองอีเมล์ในสิ่งที่ท่านต้องการทราบเพิ่มเติมมาได้ที่ผู้เขียน
3 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณมากๆค่ะ จะลองนำไปใช้ดูค่ะ
แสดงความคิดเห็น