ผมได้รับบทความเรื่องนี้ทางอีเมลล์จากเพื่อนคนไหนจำไม่ได้แล้ว ในรูปแบบของ Power Point ดาวน์โหลดมาหลายวันแล้ว วันนี้ว่างจึงมาเปิดดู...พออ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นบทความที่ดีมาก จึงนำมาลงไว้ในบล็อกนี้เพื่อแบ่งปันกันต่อๆ ไป โดยแปลงจากรูปแบบสไลด์มาเป็นข้อความ ลองอ่านดูนะครับ หากดีก็ส่งเมล์ต่อๆ กันไปได้เลยนะครับ
ความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศด้อยพัฒนา
ไม่ได้อยู่ที่การไม่เคยเสียเอกราชให้ใคร สามารถดูได้จากประเทศ ญี่ปุ่น เยอรมัน แม้จะแพ้สงครามโลก แต่ก็กลับมายิ่งใหญ่ในเศรษฐกิจโลก
ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้นๆ สามารถดูได้จากประเทศ อินเดีย อียิปต์ ซึ่งมีอารยธรรม มานานกว่า 3,000 ปี แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังยากจน ในขณะที่ประเทศเกิดใหม่ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่เป็นประเทศเล็กๆ ไม่มีศักยภาพอะไรเลย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่วันนี้กลับพัฒนาจนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ร่ำรวยได้
และความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศด้อยพัฒนา ก็ไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรของประเทศอีกนั่นล่ะ
ญี่ปุ่น ที่มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยมาก 80% ของพื้นที่เป็นภูเขา ไม่เหมาะในการทำเกษตรกรรม แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่ส่งออกอาหาร และ สินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก
สวิสเซอร์แลนด์ อากาศหนาวจัดจนใน 1 ปี ทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือนและ ไม่มีการทำไร่โกโก้เลย แต่กลับทำช็อคโกแลตส่งออกรายใหญ่ของโลก และยังนำเอาความซื่อสัตย์ ความตรงเวลาความมีระเบียบของคน มาใช้ประโยชน์ จนได้รับการยอมรับให้เป็นธนาคารของโลก
สีผิว และ เผ่าพันธุ์ก็ไม่ใช่เหตุผลอีกแหละ เพราะเมื่อแรงงานที่เคยขี้เกียจในประเทศของตนย้ายไปอยู่และหากินในประเทศที่เจริญแล้วกลับกลายเป็นแรงงานที่ขยันด้วยซ้ำไป แล้วอะไรที่ทำให้แตกต่าง ?
สิ่งที่แตกต่าง คือ ทัศนคติ ที่ฝังรากลึกมานานปี ผ่านระบบการศึกษา และการอบรมปลูกฝัง
จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักปรัชญา ได้แก่
- ใช้จริยธรรมนำทางชีวิต (Ethics as the basic principle)
- ความซื่อสัตย์ (Integrity)
- ความรักในงาน (Work Loving)
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility)
- จิตใจมุ่งมั่น สู่ความเป็นที่หนึ่ง ( Will of super action)
- การเคารพต่อกฏระเบียบ (Respect to the law and rules)
- การเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น (Respect to the rights of other citizens)
- การตรงต่อเวลา (Punctuality)
- การออมและความสนใจในการลงทุน (Strive for saving and investment)
แต่น่าเสียดายที่ในประเทศด้อยพัฒนา มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ใช้หลักปรัชญาเหล่านี้ในการดำเนินชีวิต ประเทศไทยของเรายังเป็นประเทศด้อยพัฒนา ไม่ใช่เพราะเราขาดทรัพยากร หรือมีภัยธรรมชาติเป็นปัญหาแต่เพราะเราขาดทัศนคติ และแรงผลักดันที่สอดคล้องไปตามหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตที่กล่าวมา
ปรมาจารย์ ขงจื๊อ (551-479 ปีก่อนปีคริสตกาล) สอนไว้ว่า
- หากเจ้าวางแผนไว้ 1 ปี จงปลูกข้าว
- หากเจ้าวางแผนไว้ 10 ปี จงปลูกต้นไม้
- หากเจ้าวางแผนไว้ 100 ปี จงให้ความรู้ แก่บุตรหลาน
แต่ถ้าคุณรักประเทศไทย และอยากเห็นประเทศไทยของเราเปลี่ยนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ขอให้เริ่มจากตัวคุณเอง พัฒนาสังคมใกล้ตัวคุณ จากที่บ้าน ที่ทำงาน และอย่าลืมช่วยกันส่งข้อความนี้ต่อให้คนรอบข้างคุณให้มากที่สุด
หวังว่าจะได้เป็นส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยได้คิด วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ การปฏิรูปประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคต
ใน Power Point ดังกล่าวได้ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนไว้ท้ายเรื่องดังนี้
- http://www.Gearmag.info นิตยสารเกียร์ แหล่งรวมสาระความรู้ด้าน เทคโนโลยี วิศวกรรม นวัตกรรม การบริหาร
- http://www.sciMag.info นิตยสารซายแมก สาระความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1 ความคิดเห็น:
ชนกลุ่มใดก็แล้วแต่ไม่เคารพในสิทธิของตัวเองและผู้อื่นและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองมันคงเอาดีไม่ได้
ไปดูหน้าโรงเรียนดังๆ ตอนเช้าคุณพ่อแสนดีคุณแม่ใจดี ยังจอดรถป้อนข้าวลูกน้อยที่รับประทานข้าวไม่ทัน จัดกระเป๋าเตรียมเครื่องเขียนแบบเรียนให้อนาคตของชาติ โดยที่ไม่ใยดีว่ารถจะติดยาวเหยียด ด้วยความคิดที่ว่า "จอดแป๊บเดียว เดี๋ยวฉันก็ไปแล้วคงไม่เป็นไร" สิ่งที่สูญเสียคือสิทธิของคนอื่นที่ต้องใช้ถนนในการเดินทาง
แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือการแสดงให้อนาคตของชาติเห็นว่า "การกระทำที่ผิดกฎระเบียบนั้นกระทำได้" อนาคตของชาติถูกปลูกฝั่งอย่างนี้ทุกวัน "ตั้งแต่เล็กจวบจน เป็นรัฐมนตรี" พูดเรื่องนี้แล้วเลืดฉีดแรง สรุปเลยแล้วกัน "ถ้าคนไทยยังไม่รู้สิทธิและหน้าที่แล้วพาประเทศไปดีได้อย่างไร"
แสดงความคิดเห็น