ในวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2553 ที่จะถึงนี้เป็นวันเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ซึ่งจะเป็นการกำหนดชะตากรรมของเขตเทศบาลเมืองราชบุรีไปอีก 4 ปี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับประชาชนชาวเขตเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตัดสินใจการเลือกตั้งในครั้งนี้ให้ถูกต้องมากที่สุด มากกว่าความถูกใจ....
ความถูกต้องที่ว่านี้ หมายถึง ความถูกต้องตามโครงสร้างเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวเขตเทศบาลเมืองอย่างแท้จริง ไม่ควรจะตัดสินใจด้วยการขายสิทธิ์ตัวเองกับเงินเพียงไม่กี่บาท
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในภาพรวมๆ เสียก่อน
นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถเลือกนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ได้ 1 คน ซึ่งตอนนี้มีผู้สมัคร 5 คน โดยผมจะสมมติเป็น เบอร์ A, B, C, D และ E ตามลำดับ
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี (สท.) แบ่งออกเป็น 3 เขต ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ จะเลือกตัวแทนเข้ามาเป็น สท.ได้ 6 คน เมื่อมาอยู่ในสภาฯ ก็จะรวมเป็น 18 คน (3 เขตๆ ละ 6 คน)
ดังนั้นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งก็จะเลือกนายกฯ ได้ 1 เบอร์ และ สท.ไม่เกิน 6 เบอร์
ขณะนี้มีผู้สมัคร สท.แต่ละเขต ดังนี้
ความถูกต้องที่ว่านี้ หมายถึง ความถูกต้องตามโครงสร้างเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อชาวเขตเทศบาลเมืองอย่างแท้จริง ไม่ควรจะตัดสินใจด้วยการขายสิทธิ์ตัวเองกับเงินเพียงไม่กี่บาท
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในภาพรวมๆ เสียก่อน
นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถเลือกนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ได้ 1 คน ซึ่งตอนนี้มีผู้สมัคร 5 คน โดยผมจะสมมติเป็น เบอร์ A, B, C, D และ E ตามลำดับ
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี (สท.) แบ่งออกเป็น 3 เขต ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ จะเลือกตัวแทนเข้ามาเป็น สท.ได้ 6 คน เมื่อมาอยู่ในสภาฯ ก็จะรวมเป็น 18 คน (3 เขตๆ ละ 6 คน)
ดังนั้นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งก็จะเลือกนายกฯ ได้ 1 เบอร์ และ สท.ไม่เกิน 6 เบอร์
ขณะนี้มีผู้สมัคร สท.แต่ละเขต ดังนี้
เขต 1 (รวม 15 คน)
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ A จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ B จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ C ไม่มี
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ D จำนวน 3 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ E ไม่มี
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ A จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ B จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ C ไม่มี
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ D จำนวน 2 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ E ไม่มี
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ A จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ B จำนวน 6 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ C ไม่มี
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ D จำนวน 3 คน
- ผู้สมัครกลุ่มของนายกฯ เบอร์ E ไม่มี
- ผู้สมัครอิสระ(ไม่ขึ้นกับกลุ่มใด) จำนวน 1 คน
- นายกฯ เบอร์ A + สท.ของกลุ่ม A ทั้งหมด(18 คน) หรือถือเสียงข้างมาก (อย่างน้อย 10 คน)
- นายกฯ เบอร์ B + สท.ของกลุ่ม B ทั้งหมด (18 คน) หรือถือเสียงข้างมาก (อย่างน้อย 10 คน)
- นายกฯ เบอร์ C + สท.กลุ่มใดก็ได้
- นายกฯ เบอร์ D + สท.ของกลุ่ม D (8 คน) + สท.กลุ่มใดก็ได้ (ที่เหลืออีก 10 คน)
- นายกฯ เบอร์ E + สท.กลุ่มใดก็ได้
- ในทัศนะของผมแล้ว หากผลการเลือกตั้ง เป็นไปตาม ข้อ 1 เมืองราชบุรีก็จะเป็นเหมือนเดิมๆ เพราะทุกท่านก็เคยเห็นฝีมือในการบริหารบ้านเมืองของกลุ่มการเมืองกลุ่มนี้มาแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน
- หากผลการเลือกตั้งออกมาตาม ข้อ 2 ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร เพราะสมัยที่ผ่านมากลุ่มการเมืองนี้ มี สท.เสียงข้างน้อย นโยบายหลายอย่างจึงไม่ค่อยเป็นไปตามที่เคยหาเสียงไว้ แต่ก็มีข่าวเชิงลบหลายกระแสเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานแบบครอบครัวและวงศาคณาญาติ ทำให้กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ ลดกระแสความนิยมลง ส่วนภาพรวมของเมืองราชบุรี ในสมัยที่ผ่านมาก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางยั่งยืน ที่เห็นได้เด่นชัดและเป็นรูปธรรมมากนัก
- หากผลการเลือกตั้งออกมาเป็นตามข้อ 3 และ ข้อ 5 แล้ว นายกฯ ก็ไม่สามารถบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายของตนเองได้ ขึ้นอยู่กับ สท.ของกลุ่มใดจะถือเสียงข้างมากกว่า นายกฯ คงเป็นเพียงแค่หุ่นเชิด
- หากผลออกมาเป็นตามข้อ 4 ก็ขึ้นอยู่กับว่า สท.ที่เหลืออีก 10 คน จะมีท่าทีอย่างไร หากรวมกลุ่มกันต่อต้านนายกฯ เบอร์ D การบริหารเมืองราชบุรีก็ล้มเหลว แต่หากมีหลายกลุ่มแตกกันไปรวมกับ สท.ของกลุ่ม D เพื่อเป็นเสียงข้างมากแล้ว นายกเบอร์ D ก็ยังพอที่จะบริหารงานต่อไปได้ แต่จะบริหารงานดีหรือไม่นั้น ไม่อาจทราบได้เพราะไม่เคยเห็นฝีมือในการบริหารมาก่อน
ในทัศนะส่วนตัวแล้วผมเห็นว่า ไม่ว่านายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีจะเป็นใครก็ตาม จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี (สท.) เป็นปัจจัยสำคัญ สท.ไม่ควรให้มีการผูกขาดในการถือเสียงข้างมากให้กลุ่มการเมืองใดการเมืองหนึ่ง ควรที่จะมีโครงสร้างในการคานอำนาจซึ่งกันและกันระหว่าง สท.กลุ่ม A, สท.กลุ่ม B, สท.กลุ่ม D และ สท.ที่เป็นอิสระ เพื่อจะได้มุ่งไปที่ประโยชน์ของชาวเทศบาลเมืองราชบุรีอย่างแท้จริง
สท.เมืองราชบุรี จำนวน 18 คน ควรมีสัดส่วนดังนี้
- สท.กลุ่ม A จำนวน 6 คน (เขตละ 2 คน)
- สท.กลุ่ม B จำนวน 6 คน (เขตละ 2 คน)
- สท.กลุ่ม D จำนวน 5 คน (เขต 1 จำนวน 2 คน, เขต 2 จำนวน 2 คน, เขต 3 จำนวน 1 คน)
- สท.อิสระ จำนวน 1 คน (เขต 3 จำนวน 1 คน)
หาก สท.สัดส่วนในสภาฯ เป็นเช่นนี้แล้ว ก็จะไม่มีการผูกขาดอำนาจในสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ให้แก่ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ไม่ว่าจะเป็นท่านใดก็ตาม..เพราะไม่มีกลุ่มการเมืองใดมีเสียงข้างมาก ผลประโชน์ต่างๆ ก็จะได้รับแก่ชาวเมืองราชบุรีอย่างทั่วถึงกันและมีประสิทธิภาพ เพราะ สท.แต่ละกลุ่มก็จะมีความคิดเห็นที่หลากหลาย การจัดทำนโยบายแบบแบ่งเค๊กก็จะกระทำกันได้ยากขึ้น
ดังนั้นประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีสิทธิเลือกตั้ง ควรจะวางแผนเลือกนายกฯ และ สท.เมืองราชบุรี โดยเฉพาะเพื่อให้สภาเทศบาลเมืองราชบุรี เป็นสภาที่มีคุณภาพ มิใช้ตรายางสำหรับนายกฯ ท่านใดก็ตามที่พยายามจะมี สท.เป็นเสียงข้างมากในสภา
การเลือกนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ใครก็ได้ที่ท่านชอบ
การเลือกสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 6 คน ควรเลือกคนที่ท่านคิดว่าดีที่สุดในแต่ละกลุ่มการเมืองในเขตของท่าน อย่าเลือกแบบยกทีม ดังนี้การเลือกนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ใครก็ได้ที่ท่านชอบ
- เขต 1 เลือก สท.กลุ่ม A,B และกลุ่ม D กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 6 คน
- เขต 2 เลือก สท.กลุ่ม A,B และกลุ่ม D กลุ่มละ 2 คน รวมเป็น 6 คน
- เขต 3 เลือก สท.กลุ่ม A และ B กลุ่มละ 2 คน,กลุ่ม D จำนวน 1 คน และผู้สมัครอิสระ จำนวน 1 คน รวมเป็น 6 คน
หากวางแผนเลือกแบบนี้แล้วเราก็จะได้ สท. เป็นไปตามสัดส่วนที่สามารถคานอำนาจกันเองได้ ไม่มีการผูกขาดกันในสภาฯ ไม่ว่านายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีจะเป็นใครก็ตาม ผลประโยชน์ก็ตกแก่ประชาชนโดยแท้จริง...จงเลือกแบบมีแผน อย่าเลือกเพราะเงิน
เขียนโดย ชาติชาย คเชนชล 13 ก.ย.2553
อ่านเพิ่มเติม : ให้เงินมากาเบอร์อื่น เป็นความคิดที่ถูกหรือผิด
เขียนโดย ชาติชาย คเชนชล 13 ก.ย.2553
อ่านเพิ่มเติม : ให้เงินมากาเบอร์อื่น เป็นความคิดที่ถูกหรือผิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น