ผู้สมัคร 1 คน ใน 1 เขต จำนวน 9 เขต คิดเป็นร้อยละ 30
- อ.เมือง 4 เขตจาก 7 เขต
- อ.บ้านโป่ง 1 เขตจาก 6 เขต
- อ.ดำเนิน 1 เขตจาก 3 เขต
- อ.บางแพ 1 เขตจาก 2 เขต
- อ.วัดเพลง 1 เขตจาก 1 เขต
- อ.บ้านคา 1 เขตจาก 1 เขต
- อ.เมือง 3 เขตจาก 7 เขต
- อ.บ้านโป่ง 4 เขตจาก 6 เขต
- อ.โพธาราม 3 เขตจาก 5 เขต
- อ.ดำเนินสะดวก 2 เขตจาก 3 เขต
- อ.ปากท่อ 2 เขตจาก 2 เขต
- อ.จอมบึง 2 เขตจาก 2 เขต
- อ.บางแพ 1 เขตจาก 2 เขต
- อ.สวนผึ้ง 1 เขตจาก 1 เขต
- อ.บ้านโป่ง 1 เขตจาก 6 เขต
- อ.โพธาราม 2 เขตจาก 5 เขต
จากการดูผลสรุปผู้สมัครที่กล่าวมา อาจส่อเค้าให้เห็นเรื่องสำคัญ คือ วิธีการลงทุนของนายทุนพรรคการเมืองที่ชาญฉลาด คือ ต้องการประหยัดเงินลงทุนซื้อเสียงบนฐานความขาดเขลาของประชาชน อ.เมืองราชบุรี ดูเหมือนจะมีการลดจำนวนเงินลงทุนซื้อเสียงมากที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้ว อ.เมืองราชบุรี น่าจะเป็นอำเภอที่เป็นตัวอย่างของประชาชนที่มีความรู้ เพราะเปรียบเสมือนเมืองหลวงของ จ.ราชบุรี แต่กลับสู้ อ.บ้านโป่ง และ อ.โพธาราม ไม่ได้ เพราะนายทุนพรรคการเมืองต้องเสี่ยงเรื่องการลงทุนโดยใช้กลยุทธ์ที่แยบยลขึ้นกว่า อ.เมืองราชบุรี
สมมติฐานของผู้เขียน
- ประชาชนใน 1 เขตเลือกตั้งมีผู้มีสิทธิ์ 20,000 คน
- การซื้อเสียงขั้นต่ำของนายทุนพรรคการเมือง เสียงละ 1,000 บาท
- การเลือกตั้งมีการซื้อสิทธิ์และขายเสียงจริง
- ประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส่วนใหญ่จะเลือกเบอร์ที่จ่ายเงินซื้อเสียงมากที่สุด
- เสียงที่ได้รับการเลือกตั้งไม่นับรวมประชาชนที่มีอุดมการณ์
กรณีผู้สมัคร 1 คน 1 เขต
ก็แค่ต่อสู้ให้ได้คะแนนเสียงเกินร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง การสมัครคนเดียวจึงทำให้การจ่ายเงินซื้อเสียงน้อยลง จ่ายเงินแค่ 2,000 เสียง (ซึ่งเกินร้อยละ 10 แล้ว) เสียงละ 1,000 บาท ก็เป็นเงิน 2,000,000 บาท ดีกว่ามีคู่แข่งซึ่งหากสมัคร 2 คนต้องจ่ายขั้นต่ำ 10,000 เสียงๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงินถึง 10,000,000 บาท ถึงแม้หากจะมีผู้สมัคร 3 คน เพื่อความแน่ใจก็ยังต้องจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างน้อย 10,000,000 บาทเช่นกัน แล้วนายทุนพรรคการเมืองจะเลือกแบบไหน (ลอบบี้ครับ..คนเดียวพอ จ้างคนไม่ต้องลงแข่ง)
กรณีผู้สมัคร 2 คน ใน 1 เขต อาจแยกเป็น 2 กรณี
- กรณีที่ 1 ถ้าเกิดการจ้างลงเพื่อเป็นคู่แข่ง เพื่อหลีกเหลี่ยงร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ก็ไม่ต้องคำนึงถึง 2,000 คะแนน อาจจะจ่ายเงินซื้อเสียงเพียง 1,000 เสียงๆ ละ 1,000 บาทก็ใช้เงินแค่ 1,000,000 บาทเท่านั้นเอง เพราะคู่แข่งที่จ้างลงนั้นเป็นแค่ไม้ประดับ อาจได้ไม่ถึง 100 เสียงด้วยซ้ำไป
- กรณีที่ 2 ถ้าเกิดการแข่งขันกันจริงๆ เป็นคนละขั้วสัมปทานอำนาจ อย่างน้อยแต่ละฝ่ายต้องจ่ายขั้นต่ำถึง ฝ่ายละ 10,000 เสียงๆละ 1,000 บาท ก็เป็นเงินฝ่ายละ 10,000,000 บาท หากต้องอัดฉีดเพิ่มคงต้องจ่ายเงินถึง 15,000,000 บาท (เสียงละ 1,500 บาท)
กรณีผู้สมัคร 3 คน ใน 1 เขต อาจแยกเป็น 3 กรณี
- กรณีที่ 1 หากเป็นการจ้างลงทั้ง 2 เบอร์ ผู้ชนะอาจใช้เงินซื้อเสียงขั้นต่ำแค่ 500 เสียงๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 500,000 บาท อีกเบอร์ซื้อเสียง 300 เสียงๆละ 400 บาทเป็นเงิน 120,000 บาท อีกเบอร์ซื้อเสียงๆละ 300 เสียงๆละ 300 บาทเป็นเงิน 90,000 บาท (เพื่อให้ดูเหมือนการแข่งขัน) นายทุนพรรคการเมืองรวมจ่ายซื้อเสียงแค่ 710,000 บาท
- กรณีที่ 2 จ้างลง 1 เบอร์ อีก 1 เบอร์ เป็นสัมปทานอำนาจที่สู้กัน ก็จะจ่ายเงินซื้อเสียงขั้นต่ำถึง 10,000,000 บาท
- กรณีแข่งขันกันอย่างจริงจังทั้ง 3 เบอร์ เพื่อความมั่นใจนายทุนพรรคการเมืองต้องจ่ายเงินลงทุนซื้อเสียงถึง 10,000,000 บาท (10,000 เสียงๆละ1,000 บาท) เช่นกัน แต่หากต้องการอัดฉีดเพื่อให้ชนะคู่แข่งอย่างมั่นใจ อาจต้องเพิ่มเงินซื้อเสียงเป็น 2 เท่า ก็คือ 20,000,000 บาทเลยทีเดียว
เลือกตั้งคือประชาธิปไตย จริงหรือ?
ที่ผมเขียนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ผมคิดมาก จับผิด หรือเพ้อฝันไปเองนะครับ แต่มันเป็นเรื่องจริง เขาคุยกันเรื่องนี้จริงๆ เป็นความคิดของนายทุนพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจริง เขาคิดแยบยลกว่านี้อีกมากนักแต่ผมอธิบายไม่หมด ยังมีเรื่องการซื้อขายตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ.ราชบุรี กันอีก...นี่แหละครับ หนทางเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง
(ขออภัย สำหรับผู้สมัคร ส.อบจ.ราชบุรี บางท่าน ที่มีอุดมการณ์ และไม่ได้อยู่ในกรณีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว)
(ขออภัย สำหรับผู้สมัคร ส.อบจ.ราชบุรี บางท่าน ที่มีอุดมการณ์ และไม่ได้อยู่ในกรณีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว)
***************************************
ชาติชาย คเชนชล : 24 ก.ค.2555
อ่านเพิ่มเติม
รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ.ราชบุรี ปี 2555
ชาติชาย คเชนชล : 24 ก.ค.2555
อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น