7 สิงหาคม 2559 จะเป็นวันออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.....และประเด็นเพิ่มเติม พร้อมกันทั่วประเทศไทย ระหว่างเวลา 08:00-16:00 น. โดยมีประเด็น 2 ประเด็นที่ต้องออกเสียง คือ
- ประเด็น "ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช........ทั้งฉบับ" ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ว่า เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ
- ประเด็นเพิ่มเติม "ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี" ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ว่า เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ
จุลสาร 1 เล่ม กับ ความเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้...ปราบโกง
ผมลองสอบถามครอบครัว ญาติพี่น้อง รวมทั้งพี่น้องเพื่อนฝูงหลายคน ที่มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ โดยถามว่า เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่เขาให้ไปออกเสียงบ้างไหม ทุกคนตอบทำนองคล้ายๆ กันว่า "ไม่เคยอ่าน" กับ "รู้คร่าวๆ" และพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่มีทีท่าที่แสดงออกถึงความสนใจหรือความกระตือรือล้นที่อยากจะรู้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญอีกด้วย
ข้อมูลที่พวกเขามีตอนนี้ คือ "จุลสารการออกเสียงประชามติ" ฉบับเล็กๆ ที่ทาง กกต.ส่งมาให้ที่บ้านจำนวน 1 เล่มต่อครอบครัว ในเนื้อหามีการสรุปสาระสำคัญบางประการในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมอ่านแล้วรู้สึกว่า มันคล้ายๆ กับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองมากกว่า ดูคล้ายกับนโยบายประชานิยมหรือการให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชน อะไรทำนองนั้น ลองดูตัวอย่าง วลีจากบางข้อ เช่น คุ้มครองตั้งแต่ท้องแม่จนแก่เฒ่า, เรียนฟรี 14 ปี ตั้งแต่ก่อนอนุบาลถึง ม.3, ปฎิรูปตำรวจอย่างเร่งด่วน, สกัดคนโกงเข้าสภาด้วยกติกาในรัฐธรรมนูญ, ปฏิรูปประเทศให้เสร็จภายใน 5 ปี, ป้องกันไม่ให้การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐรั่วไหล, การบริหารงานท้องถิ่นมีความโปร่งใสเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนและประชาชนมีส่วนร่วม ฯลฯ นอกจากนั้น ความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่พวกเขามี คือ ความเชื่อใจใน คสช.และรัฐบาล ที่ว่า "รัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ ร่างขึ้นมาเพื่อปราบโกง"
จากข้อมูลที่มีไม่มาก บวกด้วยความเชื่อใจใน คสช. กับการรณรงค์ออกเสียงประชามติ (สีเทาๆ) โดยภาคราชการ ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ผมเชื่อได้เลยว่า พวกเขาเหล่านี้ คงให้ความเห็นชอบผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 100%
ทำไม? ต้องมีประเด็นเพิ่มเติม
ที่ต้องมีการออกเสียงประเด็นเพิ่มเติม ในจุลสารฯ ดังกล่าวให้เหตุผลว่า นายกรัฐมนตรี คือ หัวหน้าทีมคนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบผลสำเร็จ ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติต้องใช้เวลาวางรากฐานอย่างน้อย 5 ปีจึงจะเห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงสมควรให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (หมายถึงประชุมร่วมระหว่าง ส.ส.และ ส.ว.) เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ทำไม? ต้องมีประเด็นเพิ่มเติม
ที่ต้องมีการออกเสียงประเด็นเพิ่มเติม ในจุลสารฯ ดังกล่าวให้เหตุผลว่า นายกรัฐมนตรี คือ หัวหน้าทีมคนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบผลสำเร็จ ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติต้องใช้เวลาวางรากฐานอย่างน้อย 5 ปีจึงจะเห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงสมควรให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (หมายถึงประชุมร่วมระหว่าง ส.ส.และ ส.ว.) เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
หลายคนหากได้ลองศึกษาเรื่องราวในอดีตย้อนหลังดู จะมองเห็นเหตุการณ์และสถานการณ์หลายอย่างมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
- การรัฐประหารเงียบของโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี พ.ศ.2501 รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ ถูกใช้ปกครองบ้านปกครองเมืองอยู่ถึง 13 ปี และอ้างว่ากำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เหมาะสมอยู่ (ดูรายละเอียด)
- เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี พ.ศ.2535 หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และสัญญาว่าจะคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยเร็ว แต่กลับมอบรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจแทน เกิดการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอก จนเกิดปรากฏการณ์ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" (ดูรายละเอียด)
- ฯลฯ
ปัจจุบัน ข่าวสารเรื่องการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ ล้วนหลั่งไหลเข้ามาสู่ประชาชนจำนวนมากมายหลายช่องทาง ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ข่าวสารของการเห็นชอบจะมีมากกว่า เพราะ คสช.และรัฐบาล ไม่เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
ดังนั้น ทุกคนจึงควรมีวิธีการที่จะตัดสินใจที่ดีว่าข่าวสารที่ได้รับมานั้นเป็นเท็จ เป็นจริง แค่ไหน ก่อนที่จะตัดสินใจทำอย่างหนึ่งอย่างใดลงไป
ใช้หลักกาลามสูตร ตัดสินใจกาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณหรือโทษ ดีหรือไม่ดี ก่อนที่จะเชื่อ ซึ่งมีหลักอยู่ 10 ประการ ได้แก่ (ขออนุญาตปรับปรุงคำพูดให้เข้าใจง่ายๆ ครับ)
- อย่าเชื่อ ด้วยการฟังหรือการบอกเล่าต่อๆ กันมา
- อย่าเชื่อ เพราะว่าเป็นสิ่งที่เขาทำตามๆ กันมา
- อย่าเชื่อ เพราะว่าเขาเล่าลือกันกระฉ่อนไปหมดว่ามันเป็นความจริง
- อย่าเชื่อ เพราะว่ามันมีอ้างอยู่ในตำรา หนังสือ หรือทฤษฎี
- อย่าเชื่อ เพราะว่ามันเป็นตรรก หรือจากการคำนวณ
- อย่าเชื่อ โดยการอนุมานเทียบเคียง หรือการคาดคะเนเอาเอง
- อย่าเชื่อ โดยการตรึกตรองเอาตามอาการ
- อย่าเชื่อ เพราะมันตรงกับความเชื่อหรือทฤษฎีของตัวเอง
- อย่าเชื่อ เพราะมองเห็นรูปร่างลักษณะที่น่าเชื่อถือได้
- อย่าเชื่อ เพราะผู้ที่บอกเป็นครู อาจารย์ของเรา
การออกเสียงประชามติครั้งนี้ จงคิดพิจารณาไตร่ตร่องให้ดี เพราะอนาคตของประเทศไทยในวันข้างหน้าอยู่ในมือของท่านทุกคน
***********************
ชาติชยา ศึกษิต : 26 ก.ค.2559
ข้อมูลที่ควรอ่านประกอบการตัดสินใจ (โปรดทำใจให้เป็นกลาง มองหลายๆ มุม)
- ประเทศไทยกำลังถูกนำเข้าสู่การบริหารประเทศตามแนวประชารัฐ จริงหรือ?
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์ "ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย"
- ไม่เปิดพื้นที่ประชาชน จบแบบ "พฤษภาทมิฬ"
- ภาค ปชช.ร้อง กกต.ขอร่วมดีเบต รธน. แจงไม่รับร่างเหตุ ม.178 เสี่ยงทำเสียดินแดน
- ทนายเสื้อแดงบี้ ปธ.กกต.ฟัน กรธ.พิมพ์คำอธิบายร่าง รธน.ชี้นำ บอกแต่ข้อดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น