วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความสามารถการแข่งขันด้านไอทีของไทยอยู่อันดับ 42 แพ้มาเลเซีย

วันนี้ (8 ต.ค.2551) ผมได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีบทความเรื่อง "พบงานวิจัยและพัฒนาลดลงส่งผลความสามารถแข่งขันด้านไอที" ซึ่งเขียนโดย อรนุช ศรีมหาโพธิ์ทอง ซึ่งเป็นบทความที่กล่าวถึง ผลการศึกษาความสามรถในการแข่งขันด้านไอที ของ EIU ซึ่งได้ศึกษาประเทศต่างๆ ในโลกถึง 66 ประเทศ ว่ามีเหตุปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางด้านไอที ซึ่งประเทศไทยเราก็เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มถูกศึกษาด้วย ผมจึงได้คัดลอกบทความดังกล่าวมาเผยแพร่ลงในบล็อกแห่งนี้ เพื่อเป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะช่วยเผยแพร่ความรู้ต่อไป...ดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ของประเทศ โดยความแข็งแกร่งทางด้านไอทีจะส่งผลต่อการส่งเสริมการเพิ่มค่า GDP การสร้างงานที่สูงขึ้น คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การเติบโตทางเศษฐกิจและสังคมที่เร็วขึ้น และจากการศึกษาของ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรือ อีไอยู (Economist Intelligence Unit, EIU) เพื่อเป็นการประเมินสภาวะโดยรวมที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไอที เป็นปีที่2 ของการศึกษา โดยเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลเทียบกับปี 2550

นายเจฟฟรีย์ ฮาร์ดีย์ รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย กลุ่มพันธมิตรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ กล่าวว่า จากการศึกษาของ อีไอยู ได้ประเมินและเปรียบเทียบสภาวะแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมไอทีของ 66 ประเทศ โดยมี 2 ประเทศที่เพิ่มมาในปี 51 คือ บังกลาเทศ และโครเอเชีย โดยอีไอยู ศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อระบุว่าแต่ละประเทศมีความสามารถในการแข่งขันด้านไอทีในระดับใด ปรากฎว่า

  • 20 อันดับแรกยังคงเป็นประเทศกลุ่มเดียวกับปีที่แล้ว
  • แต่ 9 ประเทศ ได้รับการเลื่อนอันดับขึ้น
  • ในขณะที่ 11ประเทศถูกลดอันดับลง
  • 3 ประเทศใน 5 อันดับแรกเป็นประเทศหน้าใหม่ คือ ไต้หวัน สวีเดน และเดนมาร์ก
  • และเมื่อดูเป็นภูมิภาค 5 อันดับแรกของเอเชียแปซิฟิกคือ ไต้หวัน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ และญี่ปุ่น
“ผลการศึกษาปีนี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอันดับ เกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ การวิจัยและพัฒนา บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ประเทศที่มีการพัฒนาใน 3 ด้านนี้ ไม่เพียงได้รับการปรับอันดับสูงขึ้นแต่ยังนำตนเองมาอยู่ในจุดที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ จากการมีภาคไอทีที่แข็งแกร่ง ที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการรับมือกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคม” รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย บีเอสเอ กล่าว

นายเจฟฟรีย์ กล่าวถึงภาพรวม ดัชนีชี้วัดความสามารถทางด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอที ของประเทศไทยว่า
ในปี 51 ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 42 ของโลก และอันดับที่ 9 ของเอเชียแปซิฟิก โดยได้คะแนนรวม 31.5 คะแนน ลดลงจากปี 50 0.4 คะแนน และอันดับถูกลดลงจากปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 41 ของโลก อย่างไรก็ตามค่าน้ำหนักในการคำนวณจะใช้ตัวชี้วัด 25 จุด ใน 6 กลุ่ม ได้แก่



1.สภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวม 10% แบ่งย่อยเป็น นโยบายภาครัฐต่อการลงทุนจากต่างชาติ 15% การปกป้องและรับประกันในสิทธิทรัพย์ส่วนบุคคล 40% การควบคุมจากภาครัฐ 25% และเสรีภาพในการแข่งขัน 20% ในหัวข้อดังกล่าวประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลก มีคะแนน 78 คะแนน ดีขึ้นจากปีก่อนที่ได้ 76 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 31 ของโลก อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของ อีไอยู ยังระบุถึงปัญหาของประเทศไทยที่เป็นตัวฉุดคะแนนด้านดังกล่าวคือ ปัญหาการเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน ความตึงเครียดภายหลังการเลือกตั้ง ปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจมีน้อย ถึงแม้จะมีส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ แต่นโยบายของรัฐทำให้การตัดสินใจลงทุนจากต่างชาติช้าลง สมาพันธ์แรงงานไม่แน่น มีการรวมตัวต่อต้านการนำองค์กรเข้าสู่มหาชน และความไม่มั่นคงทางการเมืองของพรรครัฐบาลร่วม อาจนำไปสู่การทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

2.โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที (20%) แบ่งย่อยเป็น การลงทุนทางด้านไอที 20% จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 60% จำนวนผู้ใช้บรอดแบรนด์ 10% ความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต 10% โดยประเทศไทยมีคะแนน 6.0 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 49 ของโลก โดยประชากรของไทย
  • มีคอมพิวเตอร์ Desktop/Laptop ที่ 6.9 เครื่องต่อประชากร 100 คน เป็นอันดับที่ 9 ในเอเซีย
  • มีการใช้อินเทอร์เน็ต Broadband 2 จุดเชื่อมต่อ สำหรับประชากร 100 คน เป็นที่ 10 ในเอเซีย ขณะที่ประเทศจีนมีประชากรสูงกว่าแต่มีการเชื่อมต่อที่ 7 จุดต่อประชากร 100 คน
  • ประเทศไทยมีบริษัทที่จดทะเบียบมี เว็บไซต์ เพียง 30,000 - 40,000 บริษัทจาก 820,000 มี 6,000 บริษัทที่ทำ e-commerce
  • มีผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากปี 49 ที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 8 ล้านคน เป็น 9.5 ล้านคนในปี 50 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการส่งเสริมจากภาครัฐ และค่าใช้จ่ายลดลง
3.การลงทุนทางด้านบุคลากร(20%) แบ่งย่อยเป็น จำนวนนักเรียนในการศึกษาชั้นสูงกว่าขั้นพื้นฐาน 25% การเข้าเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ 5% การจ้างงานในภาคเทคโนโลยี 10% คุณภาพของแรงงาน 60% โดยประเทศไทยมีคะแนน 43.4 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 46 ของโลก ลดลงจากปี 50 ที่อยู่ในอันดับที่ 38 อีไอยูได้ระบุปัญหาในหัวข้อนี้ว่า แม้ประเทศไทยจะมีนักเรียนลงทะเบียนเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์สูงถึง 420,882 คน แต่ยังไม่สัมพันธ์กับตัวเลขของจำนวนประชากร 64 ล้านคน ที่ควรจะผลิตบุคลากรด้านไอที และ software engineers ได้สูงกว่านี้ และเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียที่มีประชากรน้อยกว่าไทยถึง 1 ใน 3 แต่มีบุคลากรด้านไอทีที่ผลิตออกมาเท่ากับประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติยังเห็นว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนอยู่
  • กำหนดนโยบายการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP framework)
  • นโยบายการจัดการด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต (Cyber security framework)Cybercrime ,Spam, Data privacy / data ,protection,Data breach
  • ภาคเอกชนควรได้รับการสนับสนุนที่เป็นธรรมและแป็นกลางจากทางภาครัฐมากขึ้น
จากผลสำรวจที่ปรากฎ คงจะเป็นตัวชี้วัดให้เห็นได้แล้วว่างานด้านวิจัยและพัฒนา เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้การแข่งขันไอทีประสบความสำเร็จได้ แต่ในประเทศไทย ภาครัฐยังไม่เห็นความสำคัญในด้านดังกล่าวมากเท่าที่ควร แต่เราเชื่อว่าหลังจากผลสำรวจดังกล่าวออกมา ภาครัฐจะให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีเทคโนโลยีที่แข่งขันกับนานาประเทศและเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคตหลังจากที่เป็นเพียงฝ่ายตามมาโดยตลอด...

ที่มา : อรนุช ศรีมหาโพธิ์ทอง

รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย บีเอสเอ กล่าวด้วยว่า สำหรับ ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยในเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านไอที คือ ประเทศไทยควร
4.สภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย (10%) แบ่งย่อยเป็น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 35% การปราบปรามทรัพย์สินทางปัญญา 35% กฎหมายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ 10% กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลและอีเมล์ขยะ 10% กฎหมายของอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต 10% โดยประเทศไทยมีคะแนน 43.5 คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 56 ของโลก อันดับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทยลดลงจาก 80% ในปี 2549 เป็น 78% ในปี 2550 แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องกฎหมายที่มีขั้นตอนช้าและยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การปราบปรามยังมีช่องว่างที่ควรปรับปรุงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการผ่านกฏหมาย Cybercrime Crime ช่วยให้ประเทศไทยได้คะแนนเพิ่มในหัวข้อดังกล่าว

5.สภาพแวดล้อมด้านการวิจัยและพัฒนา (25%) แบ่งย่อยเป็น งบประมาณในการวิจัยของภาครัฐ 10% งบประมาณในการวิจัยของภาคเอกชน 10% สิทธิบัตร 65% ค่าธรรมเนียบลิขสิทธิ์ 15% โดยประเทศไทยมีคะแนน 0.2 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 59 ของโลก ลดลงจากอันดับที่ 51 ในปี 2550 และเป็นหัวข้อที่ทำให้ฉุดคะแนนโดยรวมลง เนื่องจากงบประมาณในการทำ R&D ของภาครัฐอยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐต่อประชากร 100 คน เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนามที่มีงบการทำ R&D อยู่ที่ 3 เหรียญสหรัฐต่อประชากร 100 คน งบประมาณด้าน R&D ของภาคเอกชนในไทยมีเพียง 14.8 เหรียญสหรัฐต่อประชากร 100 คน และประเทศไทยมีการจดทะเบียนสิทธิบัติน้อยลงทุกปี โดยไทยจดสิทธิบัตร 1 ใบ ต่อประชากร 27 ล้านคนต่อปี ในขณะที่ไต้หวันมีการจดสิทธิบัตร 1 ใบ ต่อประชากร 2,000 คน ญี่ปุ่น สิทธิบัตร 1 ใบ ต่อประชากร 5,000 คน และสิงคโปร์สิทธิบัตร 1 ใบ ต่อประชากร 700 คน

6.การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมไอที (15%) แบ่งย่อยเป็น การเข้าถึงแหล่งการเงินเพื่อการลงทุน 25% กลยุทธในการทำ e-Government 30% งบในการจัดซื้อไอที 10% นโยบายภาครัฐทางด้านไอทีที่เป็นกลาง 35% โดย ประเทศไทยมีคะแนน 62.7 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 31 ของโลกเท่ากับปีก่อน เนื่องจากประเทศไทยได้มีการจัดตั้งกระทรวง ICT ในปี 2545 และมีการนำหน่วยงานมารวมกัน มีการจัดทำแผนไอทีแห่งชาติ National IT policy, IT2010 มีแผนแม่บทในการเป็น knowledge-based ให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และนวรรตกรรม และผลการดำเนินงานของกระทรวงในการ เปิดตัว electronic procurement มีการริเริ่มsmart ID card จัดตั้ง SIPA : Software Industry Promotion Agency จัดตั้งคณะกรรมการธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต (Electronic Transactions Committee) มีการจัดทำโครงการ Low cost computer and low cost internet projects มีการจัดกฎระเบียบ Online gaming และมีการควบคุมข้อมูล อินเทอร์เน็ต และมีการลดราคาค่าโทรศัพท์ทางไกล

โดยสรุปแล้วคะแนนรวมของประเทศไทยมี 31.5 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 42 ของโลก ตกลงมาจากปี 2550 ที่อยู่ในอันดับที่ 41 ของโลก และอันดับที่ 9 ของเอเชีย รองลงมาจากมาเลเซีย (อันดับที่ 36 ของโลก) และนำฟิลิปินส์ (อันดับที่ 46 ของโลก) itdigest@thairath.co.th
สำหรับประเทศไทยได้คะแนนดีในเรื่องสภาวะแวดล้อมทั่วๆ ไป ในการดำเนินธุรกิจแต่การขาดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 42 ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านไอที

ไม่มีความคิดเห็น: