“เราย่ำเท้า ขณะที่คนอื่นเขาก้าวเดิน” เป็นคำบรรยายตอนหนึ่งของ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2552 ในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา" ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกสะท้อนถึงการปฏิรูปการศึกษาของไทยเมื่อปี พ.ศ.2542 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 9 ปี แล้ว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ไม่ประสบความสำเร็จ พวกเราเหมือนย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เขาเดินแซงหน้าไปหมดแล้ว ท่าน อ.วิจิตรฯ กล่าวว่า บทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ก็คือ “พวกเราไม่สามารถจัดการให้โรงเรียนในประเทศไทยมีคุณภาพใกล้เคียงกันได้” (ท่านใช้คำว่า ใกล้เคียง ไม่ใช่ เท่ากัน ซึ่งท่านบอกว่าคำว่า เท่ากัน นั้นเป็นไปไม่ได้) ผู้ปกครองและนักเรียนยังมีค่านิยม “โรงเรียนดี โรงเรียนเด่น โรงเรียนดัง” อยู่ การเรียนฟรีในโรงเรียนที่ดี กับการเรียนฟรีในโรงเรียนที่ไม่ได้เรื่อง มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
ในข้อเสนอ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) (สำนักงานเลขาธิการสภากาศึกษา.2552 : 5-9) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อคราวประชุมวันที่ 18 ส.ค.2552 ได้สรุปผลการปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมาไว้น่าสนใจ โดยแยกปัญหาไว้ 9 ด้าน ซึ่งพอที่สรุปประเด็นสำคัญให้อ่านได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา พบว่า
1.1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเมินของ สมศ. รอบแรก ถึงร้อยละ 65 (จากสถานศึกษาสามหมื่นแห่งทั่วประเทศ) และต่อมามีการประเมินรอบสองอีก ก็ยังมีสถานศึกษาที่ต้องได้รับการพัฒนาอีก ถึงร้อยละ 20.3
1.2. สัมฤทธิผลการเรียนของนักเรียนในวิชาหลัก มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50
1.3. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีความสามารถและสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
2. ด้านการผลิตและพัฒนาครูอาจารย์ พบว่า
2.1. นโยบายจำกัดอัตราคนภาครัฐ และมาตรการจูงใจให้ครูออกก่อนเกษียณ (ปี 2543-2549) มีผลให้วงการการศึกษาต้องสูญเสียอัตราครูไปถึง 53,948 อัตรา
2.2. บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางส่วนจบแล้วไม่เป็นครู อาจารย์
2.3. ครูสอนไม่ตรงวุฒิ
2.4. ขาดแคลนครูในบางพื้นที่
2.5. ในอนาคตอีกประมาณ 5-10 ปี จะมีครูประจำการเกษียณมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนผลิตครูรองรับ
2.6.การคัดเลือกบุคคลมาเป็นครู พบว่าผู้เข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แม้จะมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนไว้เป็นอันดับท้ายๆ เป็นความจำเป็นต้องเรียน ดังนั้น จึงไม่ได้คนเก่ง และมีใจรักมาเป็นครู
2.7. ด้านการพัฒนาครู ขาดระบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ขาดการดูแลเอาใจใส่
2.1. นโยบายจำกัดอัตราคนภาครัฐ และมาตรการจูงใจให้ครูออกก่อนเกษียณ (ปี 2543-2549) มีผลให้วงการการศึกษาต้องสูญเสียอัตราครูไปถึง 53,948 อัตรา
2.2. บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ บางส่วนจบแล้วไม่เป็นครู อาจารย์
2.3. ครูสอนไม่ตรงวุฒิ
2.4. ขาดแคลนครูในบางพื้นที่
2.5. ในอนาคตอีกประมาณ 5-10 ปี จะมีครูประจำการเกษียณมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนผลิตครูรองรับ
2.6.การคัดเลือกบุคคลมาเป็นครู พบว่าผู้เข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แม้จะมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเรียนไว้เป็นอันดับท้ายๆ เป็นความจำเป็นต้องเรียน ดังนั้น จึงไม่ได้คนเก่ง และมีใจรักมาเป็นครู
2.7. ด้านการพัฒนาครู ขาดระบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ขาดการดูแลเอาใจใส่
3. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมรวมทั้งการกระจายอำนาจ พบว่า
3.1. แม้จะมีกฎกระทรวง และหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจ แต่หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานและจัดการศึกษาเท่าที่ควร
3.2. การจัดการศึกษาของเอกชนยังไม่การขยายตัวเท่าที่ควร
3.3. สถานประกอบการและสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนน้อยมาก
3.1. แม้จะมีกฎกระทรวง และหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจ แต่หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานและจัดการศึกษาเท่าที่ควร
3.2. การจัดการศึกษาของเอกชนยังไม่การขยายตัวเท่าที่ควร
3.3. สถานประกอบการและสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนน้อยมาก
4. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา พบว่า
4.1. ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
4.2. เด็กที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับออกกลางคันมาก
4.3. เด็กไม่นิยมเรียนอาชีวศึกษา
4.4. การให้บริการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง
4.5. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน ขาดองค์ความรู้เครื่องมือในการจัดการ
4.1. ท้องถิ่นไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
4.2. เด็กที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับออกกลางคันมาก
4.3. เด็กไม่นิยมเรียนอาชีวศึกษา
4.4. การให้บริการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง
4.5. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจน ขาดองค์ความรู้เครื่องมือในการจัดการ
5. การผลิตและพัฒนากำลังคน พบว่า
5.1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษากว่าร้อยละ 70 ศึกษาต่อปริญญาตรี ทำให้ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางอย่างต่อเนื่อง
5.2. ผู้สำเร็จขาดความรู้และทักษะที่จำเป็น
5.3. การผลิตคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เกินความต้องการ ทำให้บัณฑิตจบใหม่ตกงาน
5.1. ผู้สำเร็จอาชีวศึกษากว่าร้อยละ 70 ศึกษาต่อปริญญาตรี ทำให้ขาดแคลนกำลังคนระดับกลางอย่างต่อเนื่อง
5.2. ผู้สำเร็จขาดความรู้และทักษะที่จำเป็น
5.3. การผลิตคนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เกินความต้องการ ทำให้บัณฑิตจบใหม่ตกงาน
6. ด้านการเงินเพื่อการศึกษา พบว่า
6.1. ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
6.2. กลไกของรัฐไม่เอื้อให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3. การจัดสรรงบประมาณตามความต้องการปัจจัยการผลิตไม่สัมพันธ์กับผลผลิต
6.4. การบริหารภายใต้กฎระเบียบทางราชการที่มีความตึงตัวสูง ทำให้สถานศึกษาขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อการแข่งขัน
6.1. ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
6.2. กลไกของรัฐไม่เอื้อให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาและระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3. การจัดสรรงบประมาณตามความต้องการปัจจัยการผลิตไม่สัมพันธ์กับผลผลิต
6.4. การบริหารภายใต้กฎระเบียบทางราชการที่มีความตึงตัวสูง ทำให้สถานศึกษาขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อการแข่งขัน
7. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่า
7.1. มีปัญหาการดำเนินการเนื่องมาจากขาดการพัฒนาเนื้อหาผ่านสื่อที่มีคุณภาพ
7.2. ขาดการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้สอน
7.3. ครูและนักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย
7.4. สถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
7.1. มีปัญหาการดำเนินการเนื่องมาจากขาดการพัฒนาเนื้อหาผ่านสื่อที่มีคุณภาพ
7.2. ขาดการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้สอน
7.3. ครูและนักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย
7.4. สถานศึกษามีจำนวนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
8. ด้านกฎหมายการศึกษา พบว่า
8.1. กฎหมายการศึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการหลายฉบับ
8.2. กฎหมายการศึกษาที่มีผลใช้บังคับแล้ว ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.3. การบริหารจัดการศึกษาบางเรื่องยังขาดกฎหมายรองรับ
8.4. หน่วยงานส่วนกลางบังคับใช้กฎหมายการศึกษา โดยเน้นโครงสร้างองค์กรมากกว่าการปฏิรูปคุณภาพการเรียนการสอน
8.1. กฎหมายการศึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการหลายฉบับ
8.2. กฎหมายการศึกษาที่มีผลใช้บังคับแล้ว ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.3. การบริหารจัดการศึกษาบางเรื่องยังขาดกฎหมายรองรับ
8.4. หน่วยงานส่วนกลางบังคับใช้กฎหมายการศึกษา โดยเน้นโครงสร้างองค์กรมากกว่าการปฏิรูปคุณภาพการเรียนการสอน
9. ด้านการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า
9.1. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยังขาดเนื้อหาและวิธีการที่เหมาะสม
9.2. ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.3. การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ปัญหาที่พบจากศึกษา การปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 9 ด้าน จำเป็นต้องนำมาเขียนเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อน ศัพท์ทางวิชาการบางคำ อาจจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่จำเป็นต้องเขียนเพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนจากเจ้าของบทความ
9.1. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยังขาดเนื้อหาและวิธีการที่เหมาะสม
9.2. ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
9.3. การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ปัญหาที่พบจากศึกษา การปฏิรูปการศึกษาใน 9 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 9 ด้าน จำเป็นต้องนำมาเขียนเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อน ศัพท์ทางวิชาการบางคำ อาจจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่จำเป็นต้องเขียนเพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนจากเจ้าของบทความ
ปัญหาการจัดการศึกษาที่พบดังกล่าว ส่งผลให้เกิด การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) โดยมี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นเจ้าภาพหลัก รวมกับหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ได้สรุปเป็นข้อเสนอต่างๆ มีสาระสำคัญ พอสรุปได้ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
2. เป้าหมาย เน้นประเด็นหลักสามประการ
2.1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2.2. โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
2.3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา
3. คนไทยยุคใหม่ จากเป้าหมายการเน้นประเด็นหลักสามประการ จะส่งผลให้คนไทยยุคใหม่มีลักษณะดังนี้
3.1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3. มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
3.4. มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก
4. ประเด็นสำคัญ ของระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน สี่ประการหลัก (สี่ใหม่) คือ
4.1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
4.2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่4.3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่4.4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ จากข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองฯ ที่กล่าวมาจะเห็นว่า ช่างเลิศหรู อลังการ ประดิษฐ์ถ้อยคำที่สุดแสนจะไพเราะสวยงาม คราวนี้ จึงมีคำถามว่า จะทำอย่างไร (Know how) ผมได้มีโอกาสฟัง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ในการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2552 ในการมอบนโยบายการศึกษาให้กับหัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา จ.ราชบุรี ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ พอที่จะสรุปและจับประเด็นได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะทำอย่างไรบ้าง ซึ่งผมจะได้เขียนเป็นเรื่องๆ ตอนๆ ตามความคิดเห็นส่วนตัว และความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในวงสนทนาโอกาสต่างๆ เป็นลำดับต่อไป
1. วิสัยทัศน์ สำหรับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
2. เป้าหมาย เน้นประเด็นหลักสามประการ
2.1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2.2. โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
2.3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา
3. คนไทยยุคใหม่ จากเป้าหมายการเน้นประเด็นหลักสามประการ จะส่งผลให้คนไทยยุคใหม่มีลักษณะดังนี้
3.1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2. มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3. มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
3.4. มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก
4. ประเด็นสำคัญ ของระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน สี่ประการหลัก (สี่ใหม่) คือ
4.1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
4.2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่4.3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่4.4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ จากข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองฯ ที่กล่าวมาจะเห็นว่า ช่างเลิศหรู อลังการ ประดิษฐ์ถ้อยคำที่สุดแสนจะไพเราะสวยงาม คราวนี้ จึงมีคำถามว่า จะทำอย่างไร (Know how) ผมได้มีโอกาสฟัง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552 ในการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2552 ในการมอบนโยบายการศึกษาให้กับหัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา จ.ราชบุรี ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ พอที่จะสรุปและจับประเด็นได้ว่า กระทรวงศึกษาธิการจะทำอย่างไรบ้าง ซึ่งผมจะได้เขียนเป็นเรื่องๆ ตอนๆ ตามความคิดเห็นส่วนตัว และความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในวงสนทนาโอกาสต่างๆ เป็นลำดับต่อไป
ชาติชาย คเขนชล : 19 ก.ย.2552
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2552). บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา"
อ้างอิง :
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษามนทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : สกศ.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2552). บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการ "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา"
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ (18 มิ.ย.2552)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น