เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.2552 ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมเดินทางไป จ.พัทลุง ในนามสมาคมสื่อมวลชนราชบุรี ตามโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ประจำปี 2552 ของจังหวัดพัทลุง ซึ่งประเด็นหลัง เรื่องกีฬาฯ นี้ เป็นภารกิจที่สำคัญ เนื่องจาก จ.ราชบุรี มีนโยบายที่จะจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ให้เหมือน จ.พัทลุง
ก่อนอื่น ต้องขออธิบาย การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ให้ทราบพอสังเขปก่อน ดังนี้
การแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง เริ่มการแข่งขัน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493 ซึ่งเริ่มจากการแข่งขันที่สนามเล็กๆ ในโรงเรียนพัทลุง การแข่งขันดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2538 กรมพลศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ให้ได้มาตรฐาน และในปี พ.ศ.2552 นี้ จะเป็นการจัดการแข่งขันปีที่ 60 การจัดมหกรรมกรีฑา ในครั้งนี้ จึงใช้ชื่อเกมว่า “60 ปี กรีฑาพัทลุง”
การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง จะจัดขึ้นในวันที่ 5-7 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งชาวพัทลุงทุกคนจะจำได้ว่า ในวันที่ 5 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันพิธีเปิด พี่น้องชาวพัทลุงไม่ว่าจะอยู่แห่งหน ตำบลใดก็ตาม จะต้องมาพบกันให้ได้ เพราะวันนี้เป็นวันชุมนุมใหญ่ในการแข่งขันกีฬา-กรีฑา ของบุตรหลานชาวพัทลุง ภาพของผู้คนจำนวนมากที่ยืนเบียดเสียดกัน ริมสองข้างถนน ตั้งแต่หน้าโรงเรียนพัทลุง จนถึงสนามกีฬากลาง เพื่อคอยเป็นกำลังใจและคอยชมขบวนพาเหรดของบุตรหลานตนเองนั้น เป็นภาพที่เชื่อว่าทุกคนเห็นแล้วจะรู้สึกปิติยินดี ในความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวพัทลุงทุกคน ขบวนพาเหรดของแต่ละโรงเรียน ถูกออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามวิจิตร นำหน้าขบวนด้วยวงโยธวาทิตที่สง่างาม ขบวนพาเหรดทั้งหมดมีความยาวกว่า 5 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินเข้าสู่สนามกีฬากลาง ตั้งแต่ประมาณ 14.00 นาฬิกา จนกระทั่งถึง 18.00 นาฬิกาใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง และในปีนี้ทางจังหวัดพัทลุง ยังได้จัดให้มีงานคู่ขนานกับงานมหกรรมกีฬา-กรีฑา นักเรียนฯ ในครั้งนี้ด้วย คือ งานเปิดโลกการศึกษา สร้างปัญญาเด็กพัทลุง ณ ศูนย์ประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนชาวพัทลุง ได้แสดงออกถึงความสามารถในด้านต่างๆ อีกด้วย
จากการที่ได้ฟังการบรรยายสรุปจากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน จากการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง และผู้ที่ร่วมคณะเดินทางฯ พบว่า การจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษาประชาชน ของจังหวัดพัทลุง ที่กลายมาเป็นประเพณีของชาวพัทลุง สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ใช้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ พยายามผลักดันให้มีการจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี กระบวนการถ่ายทอดเจตนารมณ์จากคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. พยายามกำหนดวันในการจัดการแข่งขัน อย่างชัดเจน คือ วันที่ 5-7 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อให้ชาวพัทลุงทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจดจำได้
3. นโยบายของผู้ปกครอง ผู้บริหารแต่ละยุคสมัย ล้วนสนองตอบต่อการจัดการแข่งขัน อาจจะมีบ้างในบ้างสมัย (ที่ผู้ปกครองหรือผู้บริหาร ไม่ใช่ชาวพัทลุง) อาจจะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง แต่คณะผู้จัดการแข่งขัน (ซึ่งเป็นชาวพัทลุง) ก็พยายามใช้ความอดทน และแก้ไขปัญหา
4. ใช้ความเป็นเลิศของนักกีฬา-กรีฑาชาวพัทลุงที่ประสบผลสำเร็จในระดับชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ
5. ทุกภาคส่วนในจังหวัดพัทลุง ล้วนให้การสนับสนุน ทั้งในด้านงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ที่มี
6. เป็นกิจกรรมที่ใครก็ตามที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ใน จ.พัทลุง ต้องมีโอกาสได้เข้าร่วมอย่างน้อย 1 ครั้ง ถึงจะเรียกว่าเป็นชาว จ.พัทลุง โดยสมบูรณ์
7. เป็นกิจกรรมที่ชาวพัทลุงทุกคน รู้สึกมีความภาคภูมิใจร่วมกัน
หากจังหวัดราชบุรี จะพยายามสร้างกีฬา นักเรียน นักศึกษา ของจังหวัดให้ประสบผลสำเร็จอย่าง จ.พัทลุง แล้ว คงจะต้องคำนึงถึงประเด็นน่าสนใจทั้งหมดที่กล่าวมา ว่าเราจะสามารถกระทำได้หรือไม่
ไม่ใช่ว่า ที่พัทลุงไม่มีปัญหา จริงๆ แล้วก็มีเหมือนกัน ก็คือ 1. งบประมาณ 2.ความขัดแย้งของผู้บริหาร 3 .ความไม่ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(โดยเฉพาะด้านตัวบุคคล) แต่ปัญหาทั้งหมด คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ก็พยายามที่จะใช้ทฤษฎีการบริหารความขัดแย้งแบบ win – win โดยมุ่งให้ทุกคน ทุกฝ่าย คำนึงถึงประโยชน์ของเด็กนักเรียนนักศึกษาเป็นสำคัญ มากกว่าความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ของผู้บริหาร กลยุทธ์โดยสังเขปของจังหวัดพัทลุง ที่พอจะคาดเดาหรือเรียบเรียงได้ มีดังนี้
1. กลยุทธ์จับเข่าคุยกัน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมหารือกันล่วงหน้า เพื่อหาข้อสรุปรวมเป็นนโยบายการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษา ในแต่ละปีให้เกิดความชัดเจนจนเป็นมติที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมจัดสรรงบประมาณประจำปีไว้ล่วงหน้า โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
2. กลยุทธ์ Put the right man on the light job. พยายามแต่งตั้งคณะทำงานต่างๆ ให้ตรงตามอำนาจและบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถอำนวยการให้การจัดการแข่งขันเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่สับสน ทุกคนมีเอกภาพในการทำงาน ผู้มีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ขับเคลื่อนและผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3. กลยุทธ์โครงสร้างหน่วยกิจกรรม คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดโครงสร้างหน่วยกิจกรรมเป็น 3 หน่วยหลัก คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด โดยแต่ละสถานศึกษาหรือหน่วยงานจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามจำนวนหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้ง ในสัดส่วนที่เหมาะสมชัดเจน ตัวอย่าง เช่น
3.1. ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อาจจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ครบทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้ง 3 หน่วยกิจกรรม
3.2. ในโรงเรียนขนาดกลาง อาจจะจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้เพียง 2 หน่วย คือ หน่วยกีฬา และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียง 2 หน่วยกิจกรรม
3.3. ในโรงเรียนขนาดเล็ก หากไม่สามารถจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ ให้ไปรวมกันจัดหน่วยกิจกรรมในระดับ เทศบาล หรือ อบต. ของตนเอง
3.4. สำหรับประชาชนทั่วไป ก็สามารถรวมกลุ่มกันจัดตั้งหน่วยกิจกรรมทั้ง 3 หน่วยได้ในนามชุมชน หรือ อบต. หรือ เทศบาล เป็นต้น
4. กลยุทธ์การจัดสรรงบประมาณและความรับผิดชอบผ่านไปทางอำเภอ ทุกโรงเรียน ชุมชน อบต. หรือเทศบาล เมื่อจัดตั้งหน่วยกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ส่งไปยังอำเภอของตนเอง เพื่อรวบรวมเป็นหน่วยกิจกรรมของอำเภอ หลังจากนั้น จังหวัดก็จะจัดสรรงบประมาณ (ตามที่ประชุมกันไว้ ) ตามหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้งมายังอำเภอ อำเภอก็จะรับงบประมาณเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่หน่วยกิจกรรมต่างๆ ภายในอำเภอของตนเอง ตรงนี้แหละที่เป็นกลยุทธ์ เป็นที่แน่นอนได้เลยว่างบประมาณที่ได้จากจังหวัดย่อมไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดหน่วยกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอตัวเองให้สวยงาม และยิ่งใหญ่อลังการได้ (อย่างที่พวกเราเห็นกัน) ดังนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอ จึงต้องเร่งระดมทรัพยากรในอำเภอของตนเอง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหลานของเขา (เพื่อให้ไม่น้อยหน้าอำเภออื่นๆ )
2. กลยุทธ์ Put the right man on the light job. พยายามแต่งตั้งคณะทำงานต่างๆ ให้ตรงตามอำนาจและบทบาทหน้าที่ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถอำนวยการให้การจัดการแข่งขันเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ก้าวก่ายกัน ไม่สับสน ทุกคนมีเอกภาพในการทำงาน ผู้มีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ขับเคลื่อนและผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3. กลยุทธ์โครงสร้างหน่วยกิจกรรม คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดโครงสร้างหน่วยกิจกรรมเป็น 3 หน่วยหลัก คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด โดยแต่ละสถานศึกษาหรือหน่วยงานจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามจำนวนหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้ง ในสัดส่วนที่เหมาะสมชัดเจน ตัวอย่าง เช่น
3.1. ในโรงเรียนขนาดใหญ่ อาจจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ครบทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วยกีฬา หน่วยเชียร์ และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้ง 3 หน่วยกิจกรรม
3.2. ในโรงเรียนขนาดกลาง อาจจะจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้เพียง 2 หน่วย คือ หน่วยกีฬา และหน่วยขบวนพาเหรด ก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียง 2 หน่วยกิจกรรม
3.3. ในโรงเรียนขนาดเล็ก หากไม่สามารถจัดตั้งหน่วยกิจกรรมได้ ให้ไปรวมกันจัดหน่วยกิจกรรมในระดับ เทศบาล หรือ อบต. ของตนเอง
3.4. สำหรับประชาชนทั่วไป ก็สามารถรวมกลุ่มกันจัดตั้งหน่วยกิจกรรมทั้ง 3 หน่วยได้ในนามชุมชน หรือ อบต. หรือ เทศบาล เป็นต้น
4. กลยุทธ์การจัดสรรงบประมาณและความรับผิดชอบผ่านไปทางอำเภอ ทุกโรงเรียน ชุมชน อบต. หรือเทศบาล เมื่อจัดตั้งหน่วยกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ส่งไปยังอำเภอของตนเอง เพื่อรวบรวมเป็นหน่วยกิจกรรมของอำเภอ หลังจากนั้น จังหวัดก็จะจัดสรรงบประมาณ (ตามที่ประชุมกันไว้ ) ตามหน่วยกิจกรรมที่จัดตั้งมายังอำเภอ อำเภอก็จะรับงบประมาณเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำมาแจกจ่ายให้แก่หน่วยกิจกรรมต่างๆ ภายในอำเภอของตนเอง ตรงนี้แหละที่เป็นกลยุทธ์ เป็นที่แน่นอนได้เลยว่างบประมาณที่ได้จากจังหวัดย่อมไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดหน่วยกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอตัวเองให้สวยงาม และยิ่งใหญ่อลังการได้ (อย่างที่พวกเราเห็นกัน) ดังนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอ จึงต้องเร่งระดมทรัพยากรในอำเภอของตนเอง ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหลานของเขา (เพื่อให้ไม่น้อยหน้าอำเภออื่นๆ )
จากการสอบถามทางลึกส่วนใหญ่ อำเภอจะหาเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานแข่งขันกีฬาทุกครั้ง อย่างน้อย 4 เท่าเป็นขั้นต่ำ เช่น ได้รับงบประมาณค่าหน่วยกิจกรรมของอำเภอจากจังหวัดมาทั้งหมด 100,000 บาท แต่ทางปฏิบัติแล้วต้องใช้ถึง 400,000 บาท เป็นต้น ดังนั้น นายอำเภอ ต้องระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพิ่มเติมให้อีกประมาณ 300,000 บาท นี่แหละเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ กรีฑาพัทลุงถึงยิ่งใหญ่อลังการ
ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ประจำปี เม็ดเงินถูกหมุนสะพัดหมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของพัทลุงไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ตั้งแต่ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างแต่งหน้าทำผม ร้านเช่าเครื่องแต่งกาย ร้านดอกไม้ ร้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ร้านขายเสื้อผ้า มอเตอร์ไซด์รับจ้าง รถรับจ้าง รถบัส รถโดยสาร ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ ร้านขายของชำ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
ผมต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเขียนในสิ่งที่ได้ไปดูงานมา ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเจาะลึกในรายละเอียดย่อยๆ ได้ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หากท่านใดต้องการแก้ไขหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขอให้แสดงความเห็นไว้ท้ายบทความนี้ได้ครับ เราจะได้ช่วยกันหาวิธีที่จะทำให้ จ.ราชบุรี ของเราสามารถจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ได้ยิ่งใหญ่เหมือนอย่าง จ.พัทลุง ยิ่งทราบข่าวว่าในการจัดกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ในปีต่อไป อบจ. จัดสรรงบประมาณมาให้ ตั้ง 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ผมคิดว่าไม่น่าจะทำยาก ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกัน
ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ของ จ.พัทลุง ประจำปี เม็ดเงินถูกหมุนสะพัดหมุนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของพัทลุงไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ตั้งแต่ ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างแต่งหน้าทำผม ร้านเช่าเครื่องแต่งกาย ร้านดอกไม้ ร้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ร้านขายเสื้อผ้า มอเตอร์ไซด์รับจ้าง รถรับจ้าง รถบัส รถโดยสาร ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ ร้านขายของชำ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
ผมต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเขียนในสิ่งที่ได้ไปดูงานมา ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเจาะลึกในรายละเอียดย่อยๆ ได้ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หากท่านใดต้องการแก้ไขหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขอให้แสดงความเห็นไว้ท้ายบทความนี้ได้ครับ เราจะได้ช่วยกันหาวิธีที่จะทำให้ จ.ราชบุรี ของเราสามารถจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา ได้ยิ่งใหญ่เหมือนอย่าง จ.พัทลุง ยิ่งทราบข่าวว่าในการจัดกีฬานักเรียน นักศึกษา ของ จ.ราชบุรี ในปีต่อไป อบจ. จัดสรรงบประมาณมาให้ ตั้ง 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ผมคิดว่าไม่น่าจะทำยาก ถ้าทุกคน ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยช่วยกัน
ชาติชาย คเชนชล : 25 ส.ค.2552
1 ความคิดเห็น:
ดีใจที่จังหวัดพัทลุงเราได้จัดกิจกรรมแข่งขันกรีฑาประจำจังหวัดขึ้น นอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้ว
ยังได้เป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นไต่อไปด้วยค่ะ
แสดงความคิดเห็น