หลายคนในแวดวงการศึกษา คงตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่า ใครจะเป็น "ครูสอนดีของประเทศไทยประจำปี 2554" จำนวน 20,000 คน จากจำนวนครูทุกสังกัดทั่วประเทศที่มีมากกว่า 600,000 คน ซึ่งจะได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชู แถมได้รับเงินรางวัล อีกคนละ 10,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 200 ล้านบาท และในจำนวน 20,000 คนนี้ จะมีเพียง 600 คน ที่จะได้รับ "ทุนครูสอนดี" โดยได้รับเงินสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการเพื่อขยายผลโครงการละ 500,000 บาท เป็นเงินรวม 300 ล้านบาท ตามเงื่อนไขและสัญญาผูกพันเป็นเวลา 3 ปี นอกจากนั้นแล้ว จะมี "จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือก " อีกจำนวน 10 จังหวัดจาก 77 จังหวัด ที่มีกระบวนการคัดสรรครูสอนดีที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม จะได้รับเงินรางวัลจังหวัดละ 5,000,000 บาท รวม 10 จังหวัด เป็นเงินรางวัล 50 ล้านบาท รวมแล้วเงินรางวัลในโครงการนี้ รวมทั้งสิ้น 550 ล้านบาท
แนวทางการคัดเลือกครูสอนดี
ครูสอนดีนี้ เป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี" โดยมี สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เป็นเจ้าของโครงการ โดยกำหนดให้แต่ละจังหวัดจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ จำนวน 2 ระดับ ดังนี้
- คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด (คกก.จังหวัด) จำนวน 1 คณะ โดยประกอบด้วยผู้แทนทุกภาคส่วนของจังหวัด มี ผู้ทรงคุณคุณวุฒิ(ภาควิชาการ)เป็นประธาน มี นายก อบจ. เป็นรองประธานโดยตำแหน่ง มีผู้ที่นายก อบจ. แต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ
- คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น (คกก.ท้องถิ่น) จำนวนคณะ เป็นตามจำนวนเทศบาล และ จำนวน อบต. ของ จังหวัดนั้นๆ โดยประกอบด้วยผู้แทนทุกภาคส่วนในเขตการปกครองนั้นๆ มี นายกเทศมนตรีหรือนายก อบต. เป็นประธานโดยตำแหน่ง และมีผู้ที่นายกเทศมนตรีหรือนายก อบต. แต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ
หลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกครูสอนดีที่สำคัญ
การดำเนินการสรรหาจะประกอบด้วย 2 ช่องทาง คือ
โดยสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และสังกัดเทศบาล อบต. เป็นผู้ส่งชื่อครูสอนดี
หลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
- สถานศึกษาแต่ละแห่ง ต้องสรรหาโดยมติของบุคคล 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน
- จำนวนครูสอนดีที่แต่ละสถานศึกษาเสนอ จะไม่เกินตามที่ คกก.ท้องถิ่นนั้นๆ กำหนด ซึ่ง คกก.ท้องถิ่นจะกำหนดตามเหมาะสม แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนครูในแต่ละสถานศึกษานั้นๆ
- สถานศึกษาใดมีจำนวนครูไม่ถึงเกณฑ์ ให้แต่ละสถานศึกษานัั้นๆ รวมกลุ่มกัน เพื่อให้จำนวนครูถึงเกณฑ์ ที่จะเสนอได้ชื่อได้
- แต่ละสถานศึกษา เสนอชื่อครูสอนดีของตนเอง ไปยัง คกก.ท้องถิ่น ในเขตการปกครองที่สถานศึกษา นั้นๆ ตั้งอยู่
หลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
- คัดเลือกเฉพาะ ครูสอนเด็กด้อยโอกาสนอกสถานศึกษา และครูในรูปแบบการศึกษาทางเลือก ในเขตพื้นที่การปกครองของตนเอง
หลักเกณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
- คกก.ท้องถิ่นประชุมคัดเลือกครูสอนดี ที่เสนอชื่อมาจากสถานศึกษา และที่ตนเองคัดเลือกมาจากครูสอนเด็กด้อยโอกาสนอกสถานศึกษา และครูในรูปแบบการศึกษาทางเลือก ในเขตพื้นที่
- คกก.ท้องถิ่น จะต้องคัดเลือกจำนวนครูสอนดี ทั้งหมดที่กล่าวมาให้เหลือไม่เกินจำนวนร้อยละ 4 แล้วส่งชื่อให้ คกก.จังหวัด
- คกก.จังหวัด พิจารณาคัดเลือกครูสอนดี ที่ส่งมาจาก คกก.ท้องถิ่นทุกคณะ แล้วคัดเลือกให้เหลือตามจำนวนที่ สสค.ประกาศเอาไว้ เช่น ที่จังหวัดราชบุรีของผมได้รับโควต้ารางวัลครูสอนดี จำนวน 256 คน โควต้าทุนครูสอนดี 8 คน (จากจำนวนครูทั้งจังหวัด 8,508 คน)
เราจะได้ครูสอนดี จริงหรือไม่
ที่ผมต้องเขียนกล่าวนำมายืดยาวอย่างนี้ เพื่อให้ผู้อ่านหลายท่านพอได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาครูสอนดีของประเทศไทย แล้วผลสุดท้ายเราจะได้ ครูสอนดี จริงหรือไม่ ต้องลองใช้วิจารญาณดูเอาเองนะครับ ผมจะขอยกตัวอย่างปัญหาที่อาจพบเห็นในการปฏิบัติ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ เช่น
กรณีโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่
ตัวอย่าง : สถานศึกษาสามารถเสนอชื่อครูสอนดี ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของจำนวนครูในสถานศึกษา (สมมติว่า คกก.ท้องถิ่น ให้เสนอได้จำนวนร้อยละ 20 คือสูงสุด)
- โรงเรียน ก มีครู 4 คน "ครู A" ได้รับการคัดเลือกจากบุคคล 4 ฝ่ายให้เป็นครูสอนดี แต่เสนอชื่อไม่ได้ เพราะโควต้าไม่ถึง (4X20%=0.8 คน)
- โรงเรียน ข มีครู 3 คน "ครู B" ได้รับการคัดเลือกเป็นครูสอนดีเช่นกัน แต่ก็เสนอชื่อไม่ได้
- โรงเรียน ค มีครู 4 คน "ครู C" ได้รับการคัดเลือกเป็นครูสอนดีเช่นกัน แต่ก็เสนอชื่อไม่ได้
- โรงเรียน ง มีครู 20 คน "ครู D,E,F,G" ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 4 คน เพราะได้โควต้า 4 คน (20x20%=4)
- กรณีนี้ โรงเรียน ก ข และ ค ต้องรวมกลุ่มกันถึงจะได้โควต้าเสนอชื่อครูสอนดี ซึ่งหากรวมกันก็จะได้ครูจำนวน 4+3+4 = 11 คน เสนอชื่อร้อยละ 20 ก็จะได้ครูสอนดี 2 คน (11X20%=2.2 คน) แล้วใครจะเป็นผู้ตัดสินระหว่าง ครู A ครู B และ ครู C ว่าจะตัดชื่อใครออก 1 คน เพราะทั้ง 3 คนก็ถูกคัดเลือกมาจากบุคคลทั้ง 4 ฝ่ายของแต่ละโรงเรียนเหมือนกัน
- หากครู B ถูกตัดทิ้งออกไปหรือยอมเสียสละไม่เสนอชื่อตนเอง แล้วใครจะบอกว่า "ครู D,E,F,G ของโรงเรียน ง จะสอนดีกว่าครู B"
- ครู B เสียโอกาสตั้งแต่แรกแล้ว ที่จะถูกเสนอชื่อเข้าคัดเลือกใน คกก.ท้องถิ่น
ตัวอย่าง : สถานศึกษาสามารถเสนอชื่อครูสอนดี ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของจำนวนครูในสถานศึกษา (สมมติว่า คกก.ท้องถิ่น ให้เสนอได้จำนวนร้อยละ 20 คือสูงสุด) และ คกก.ท้องถิ่น จะต้องคัดเลือกจำนวนครูสอนดี ทั้งหมดที่กล่าวมาไม่เกินจำนวนร้อยละ 4 ส่งชื่อให้ คกก.จังหวัด ต่อไป
- คกก.เทศบาลตำบล A มีครูในเขตการปกครองทั้งหมด 200 คน มีการเสนอชื่อครูสอนดีเข้ามาทั้งสิ้นตามโควต้า คือ 40 คน (ร้อยละ 20)
- คกก.เทศบาลตำบล A จะต้องคัดเลือกครูสอนดีออก 32 คน ให้เหลือ 8 คน คือ ร้อยละ 4 (200X4%) เพื่อเสนอชื่อให้ คกก.จังหวัด คัดเลือกต่อไป
- แล้ว คกก.ท้องถิ่น จะคัดครูสอนดีออก 32 คน ด้วยวิธีการอะไร?
ตัวอย่าง : จ.ราชบุรี มีครูทุกสังกัดจำนวน 8,508 คน สสค.ให้โควต้าครูสอนดี 256 คน ในขณะที่ คกก.ท้องถิ่นทุกคณะเสนอรายชื่อครูสอนดีมายัง คกก.จังหวัด ตามโควต้าคือ ร้อยละ 4 รวมทั้งหมด 340 คน (8,508X4%)
- คกก.จังหวัด จะต้องคัดครูสอนดีออกถึง 84 คน (340-256 คน) ให้เหลือ 256 คน ตามที่ได้รับโควต้า จาก สสค.
- แล้ว คกก.จังหวัด จะคัดครูสอนดีออก 84 คน ด้วยวิธีการอะไร?
โรงเรียนบางโรงเรียน ครูทะเลาะกัน ชิงดีชิงเด่น แตกแยกความสามัคคี โรงเรียนไม่เคยมีความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง เด็กนักเรียนก็มีแค่ ป.1-ป.6 รวมทั้งโรงเรียนแล้วไม่เกิน 60 คน แล้วคณะบุคคล 4 ฝ่ายที่จะมาคัดเลือกครูสอนดีในโรงเรียนนั้น จะมาจากไหน ผู้อำนวยการโรงเรียนก็รู้ว่าที่โรงเรียนไม่มีครูคนไหนสอนดีเลยสักคน แต่กลัวเสียโควต้าและกลัวถูกนินทาว่าโรงเรียนของตนเองไม่มีครูสอนดีเลย จึงสั่งครูสอนไม่ดีคนหนึ่งให้เสนอรายชื่อเป็น "ครูสอนดี" (ของผู้อำนวยการ) จัดสร้างเอกสารหลักฐานต่างๆ เสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือก
ครูสอนดี(ของผู้อำนวยการ)
โรงเรียนบางโรงเรียน มีครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า พร้อมที่จะประชุมเพื่อคัดเลือกครูสอนดีของโรงเรียน แต่กลับไม่ประชุม ผู้อำนวยการใช้อำนาจเผด็จการเสนอชื่อ ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นเด็กในกำกับของตนเอง ให้เป็น "ครูสอนดี" เที่ยวขอเอกสารสร้างหลักฐานเท็จจากนักเรียนคนโน้นคนนี้ เพื่อจะประกอบเป็นผลงานของตนเอง พอรายชื่อ "ครูสอนดี" ของโรงเรียนประกาศออกมา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์และนักเรียนทั้งหลาย ต่างพากันส่ายหน้าทุกคน
อยากได้ "ครูสอนดี" หรือวิธีจัดสรรงบประมาณ
กระบวนการคัดเลือกครูสอนดี ที่ สสค.ประกาศมานี้ ผมว่ามันเป็นหลักการที่ดีมาก แต่ผมเกรงว่ามันจะกลายเป็นวิธีการจัดสรรงบประมาณมากกว่า โยนภาระการตัดสินใจไปให้ คกก.จังหวัด และ คกก.ท้องถิ่น และอันตรายก็คืออาจเกิดระบบอุปถัมภ์ขึ้นได้ในการคัดเลือกของคณะกรรมการในแต่ละระดับ หลักการจัดสรรแบบโควต้าเป็นร้อยละนั้น จะได้มาซึ่ง "ครูสอนดี" ที่ไม่เป็นจริง สังคมไม่เกิดการยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่มีอาชีพ "ครู" ทุกคน ที่จะถูกสังคมดูถูกดูแคลนในวิธีการคัดสรร
โรงเรียนแห่งหนึ่ง ทั้งโรงเรียนไม่มีครูสอนดีเลย แต่กลับได้รับเชิดชูเป็นครูสอนดีตามโควต้า จำนวน 5 คน กับโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ครูสอนดีทั้งโรงเรียน แต่กลับได้รับเชิดชูเป็นครูสอนดีตามโควต้า จำนวน 5 คน เช่นกัน สรุปได้ว่า ครูทั้ง 10 คน เป็นครูสอนดี จริงหรือไม่?
เงินรางวัลกว่า 550 ล้านบาทนี้ ผมว่ามันน่าเสียดาย มันน่าจะสร้างเรื่องราวดีดีให้แก่แวดวงการศึกษาของไทยได้มากกว่านี้ วิธีจะสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูยังมีอีกหลายวิธี แต่รางวัล "ครูสอนดี" ครั้งนี้ รังแต่จะทำให้ครูแตกแยก สังคมดูถูกเพราะขาดการยอมรับ เหตุเพราะคนที่ได้รับการคัดเลือก ไม่ใช่ "ครูสอนดี" ตัวจริง
********************************
ครูสอนดี(ของผู้อำนวยการ)
โรงเรียนบางโรงเรียน มีครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า พร้อมที่จะประชุมเพื่อคัดเลือกครูสอนดีของโรงเรียน แต่กลับไม่ประชุม ผู้อำนวยการใช้อำนาจเผด็จการเสนอชื่อ ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นเด็กในกำกับของตนเอง ให้เป็น "ครูสอนดี" เที่ยวขอเอกสารสร้างหลักฐานเท็จจากนักเรียนคนโน้นคนนี้ เพื่อจะประกอบเป็นผลงานของตนเอง พอรายชื่อ "ครูสอนดี" ของโรงเรียนประกาศออกมา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์และนักเรียนทั้งหลาย ต่างพากันส่ายหน้าทุกคน
อยากได้ "ครูสอนดี" หรือวิธีจัดสรรงบประมาณ
กระบวนการคัดเลือกครูสอนดี ที่ สสค.ประกาศมานี้ ผมว่ามันเป็นหลักการที่ดีมาก แต่ผมเกรงว่ามันจะกลายเป็นวิธีการจัดสรรงบประมาณมากกว่า โยนภาระการตัดสินใจไปให้ คกก.จังหวัด และ คกก.ท้องถิ่น และอันตรายก็คืออาจเกิดระบบอุปถัมภ์ขึ้นได้ในการคัดเลือกของคณะกรรมการในแต่ละระดับ หลักการจัดสรรแบบโควต้าเป็นร้อยละนั้น จะได้มาซึ่ง "ครูสอนดี" ที่ไม่เป็นจริง สังคมไม่เกิดการยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่มีอาชีพ "ครู" ทุกคน ที่จะถูกสังคมดูถูกดูแคลนในวิธีการคัดสรร
โรงเรียนแห่งหนึ่ง ทั้งโรงเรียนไม่มีครูสอนดีเลย แต่กลับได้รับเชิดชูเป็นครูสอนดีตามโควต้า จำนวน 5 คน กับโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ครูสอนดีทั้งโรงเรียน แต่กลับได้รับเชิดชูเป็นครูสอนดีตามโควต้า จำนวน 5 คน เช่นกัน สรุปได้ว่า ครูทั้ง 10 คน เป็นครูสอนดี จริงหรือไม่?
เงินรางวัลกว่า 550 ล้านบาทนี้ ผมว่ามันน่าเสียดาย มันน่าจะสร้างเรื่องราวดีดีให้แก่แวดวงการศึกษาของไทยได้มากกว่านี้ วิธีจะสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูยังมีอีกหลายวิธี แต่รางวัล "ครูสอนดี" ครั้งนี้ รังแต่จะทำให้ครูแตกแยก สังคมดูถูกเพราะขาดการยอมรับ เหตุเพราะคนที่ได้รับการคัดเลือก ไม่ใช่ "ครูสอนดี" ตัวจริง
********************************
2 ความคิดเห็น:
เห็นด้วยกับประเด็นต่างๆ ที่เสนอมา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ม่เส้นสาย และโปร่งใสจริง หนักใจจริงๆ
ถ้าไม่เห็นด้วยกับรายชื่อที่ถูกเสนอจากสถานศึกษา และคณะกรรมที่แต่งตั้งไว้เป็นผู้เลือก จะมีกรรมการไว้ทำไม คณะกรรมการไม่มีจรรณยาบรรณหรือ คนที่โต้แย้ง แสดงว่าไม่มีนำใจนักกีฬา
แสดงความคิดเห็น