วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ครูไทยมีหนี้สิ้นเฉลี่ย 2 ล้านบาทต่อคน

วันนี้ผมลองเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ ในหน้าข่าวสำนักงานรัฐมนตรี เพื่อจะดูนโยบายของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ว่ามีนโยบายอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเรื่องแจกแท็บเล็ต การพักหนี้ กยศ. เปลี่ยนเป็น กรอ. การเตรียมพร้อมประชาคมอาเชียน การพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรใหม่ ฯลฯ เผอิญผมไปอ่านเจอข่าวเรื่อง "การแก้ปัญหาหนี้สิ้นครู"  อ่านดูแล้ว ผมรู้สึกว่า รัฐมนตรี ศธ.ท่านนี้ คงจะไม่เข้าใจเรื่องราวของครูอย่างแท้จริง และท่านมักจะพูดจาดูถูกอาชีพครูอยู่เสมอ เช่น จะยกเลิกการผลิตครูพันธุ์ใหม่ หันไปเชิญนักธุรกิจหรือผู้ประกอบอาชีพที่มีผลสำเร็จ มาเป็นครูสอนให้มากขึ้น  แค่นี้ก็รู้แล้วว่า ท่านไม่รู้จริง ครูเป็น "วิชาชีพ" มันไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะมาเป็นครู อย่างนี้เป็นต้น  ลองมาดูวิธีการแก้ปัญหาหนี้สินครูที่แลดูสวยหรูของ ท่านรัฐมนตรีท่านนี้ดู

ท่านจะล้างหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 700,000 บาท 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2554 ว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างจริงจัง โดยได้เตรียมงบประมาณจำนวนกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการบริหารจัดการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูจากการกู้ยืมในรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 700,000 ล้านบาท  
ขอถามว่า : ท่านรู้หรือปล่าว ครูเขากู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เขาก็ได้ปันผลกำไรของเขา เพราะเขากู้เงินของพวกเขากันเอง อัฐยายซื้อขนมยายเงินทองไม่หายไปไหน แล้วหากเปลี่ยนไปกู้เงินที่รัฐบาลให้มา 50,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ต้องเสียเหมือนกัน  แล้วใครได้ประโยชน์ครับ หรือว่ารัฐบาลให้กู้โดยไม่เสียดอกเบี้ย... มีแต่เขาจะส่งเสริมให้ประชาชนจัดตั้งสหกรณ์ฯ ท่านคนนี้กลับคิดจะล้างบางสหกรณ์

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่
ที่มาของภาพ

 http://www.moe.go.th/websm/2011/sep/224.html
สกสค.ตกกระป๋อง ศธ.จะรวบอำนาจทำเอง
นายวรวัจน์ฯ กล่าวต่อว่า จะจัดตั้งเป็นกองทุน เพื่อเข้ามาบริหารจัดการเกี่ยวกับหนี้สินครูทั้งหมด แต่จะไม่เป็นการให้เปล่า ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อนำไปใช้หนี้เดิม แต่จะเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้ครูสร้างหนี้เพิ่มและช่วยดูแลไม่ให้ครูถูกเอารัดเอาเปรียบ การดำเนินการจะเป็น ศธ. ไม่ใช่ สกสค.(สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา) เพราะรูปแบบการดำเนินการที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในระบบธนาคาร เสมือนการตั้งบริษัทขึ้นมาและกู้กันเอง ทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูไม่จบ มีการสร้างหนี้และกู้เพิ่มไปเรื่อยๆ
ขอถามว่า  หาก ศธ.จะดำเนินการเอง ท่านจะใช้ใครทำ แล้วทำไมต้องดูแคลน สกสค.ว่าไม่อยู่ในระบบธนาคาร ตั้งกันขึ้นมาเองและกู้กันเอง ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว (ซึ่งผมไม่ใช่ครู) ผมยังเห็นว่า สกสค.เขามีระบบดูแลสวัสดิการเพื่อนครูของเขาดีกว่าหน่วยงานของรัฐอื่นๆ อีกตั้งหลายแห่ง แล้วหากท่านจะให้เป็นระบบธนาคาร แสดงว่าท่านจะตั้ง "ธนาคารแห่งกระทรวงศึกษาธิการ" หรือครับ

ครูมีหนี้สินเฉลี่ย 2 ล้านบาทต่อคน
ท่านรัฐมนตรีท่านนี้กล่าวต่อว่า โดยเฉลี่ยครูมีหนี้สินประมาณ 2 ล้านบาทต่อคน ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี หาก ศธ.สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน หรือลดดอกเบี้ยได้ จะทำให้ครูมีเงินเพิ่มประมาณ 100,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเหลือและดูแลครู เพื่อให้ครูมีเงินเพียงพอในการใช้ก่อน  จากนั้นจะพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้จบ นายวรวัจน์ฯ ยืนยันว่า ไม่ใช่การปลดหนี้ ไม่ใช่การกู้มาเพื่อปลดหนี้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะเป็นการสร้างหนี้สินโดยไม่จำเป็นต่อไปอีก แต่ถ้าครูมีความจำเป็นจริงๆ ก็จะมีระบบที่ยืดหยุ่นและสามารถช่วยเหลือครูได้
ขอเตือนว่า  ท่านอย่าเหมาเข่งซิครับว่าครูไทยมีหนี้สิ้นเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาทต่อคน มีครูมากมายที่เขามีเงินฝากในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูของเขาตั้งเยอะแยะ แล้วก็มีครูอีกมากมายที่เขาไม่มีหนี้สิ้น อย่าเที่ยวพูดจาพล่อยๆ ไปอีก ใครเขาได้ยินเข้า "เขาจะดูถูกอาชีพครูไทย" ให้อายไปทั่วฟ้าดิน ยิ่งต่างชาติเขาได้ยินเข้า แล้วครูชาติเราจะเอาหน้าไปซุกไว้ที่ไหน ใครเขาจะเชื่อถือการศึกษาของเรา 

เงิน 50,000 ล้านบาทหามาจากไหน
สำหรับงบประมาณจำนวน 50,000 ล้านบาทที่กล่าวมาข้างต้น นายวรวัจน์ฯ บอกว่าเป็นงบประมาณที่จะต้องดูต่อไปว่า รัฐบาลจะให้มาทั้งหมด หรือจะต้องตั้งเป็นงบประมาณประจำปี  อย่างไรก็ตามต้องการให้ครูได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างแท้จริง เพราะปัญหาหนี้สินครูเป็นปัญหาที่ถูกสะสมและถูกทอดทิ้งมานานมากแล้ว
สดท้าย  อุตส่าห์ฟังมาตั้งนานแต่ยังไม่รู้ รัฐบาลจะให้เงินหรือปล่าว....

ก่อนที่ท่านรัฐมนตรีจะพูดอะไรออกมา ท่านจงถามตัวเอง 3 อย่างก่อนที่จะพูดว่า  
  • มันเป็นจริงหรือไม่ ?
  • มันดีหรือไม่?
  • และมันจำเป็นหรือไม่?

****************************

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อย่าเหมาเข่ง...เห็นด้วยค่ะ...ผอ.

Suchart Chantrawong, Ph.D. กล่าวว่า...

ระวังนะ...เดี๋ยว แทบเล็ต จะมาอีก เตรียมตัวกันหรือยังคุณครูทั้งหลาย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คอมยังไปไม่รอดเลย เด็กเมืองพร้อม แต่เด็กชนบทจะไหวไหม ใครจะดูแลให้ ครูหรือ ผู้ปกครองมันนั่งวางแผนบนหอคอยงาช้างจริง ๆ