วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ราชบุรี สมุทรสงคราม พื้นที่เสี่ยงภัย..หากน้ำล้นฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน

ข่าวจากสำนักข่าวไทยเมื่อ 4 พ.ย.2554 แจ้งว่า เจ้าหน้าที่กรมชลประทานนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 2 เครื่อง ติดตั้งที่ประตูระบายน้ำภาษีเจริญ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ด่านสุดท้ายเพื่อรับน้ำจากพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน สูบเพิ่มขึ้นวันละ 500,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) รวมกับเครื่องสูบน้ำเดิมที่มีอยู่แล้ว 70 เครื่อง ทำให้ระบายน้ำได้รวม 3.5 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน พยายามพร่องน้ำปลายคลองภาษีเจริญ เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังในเขตภาษีเจริญ หนองแขม และบางแค ไหลลงทางตอนล่างสะดวกขึ้น จะทำให้ระดับน้ำท่วมลดลง ปัญหาและอุปสรรค คือ ยังมีอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงกว่าระดับน้ำในคลอง

จากลุ่มน้ำเจ้าพระยา สู่ลุ่มน้ำท่าจีน
ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำแต่อย่างใด  แต่ผมเห็นว่าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  และพรรคพวกทั้งหลาย  กำลังทำงานแบบ "แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ "  บริหารจัดการน้ำแบบภาพเล็กๆ คอยป้องกันแต่น้ำผุด น้ำโผล่ น้ำท่วม ตามถนนหนทางต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร  ไม่สนใจว่าบ้านเรือนราษฎรในจังหวัดชานเมืองรอบๆ กรุงเทพฯ นั้นจะเป็นอย่างไร  วันนี้มวลน้ำมหาศาลน้ำที่กำลังโอบล้อมกรุงเทพฯ ถูกเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตก จำนวนมาก มันกำลังเดินทางไปยัง จ.สมุทรสาคร 



     

















ต่างคนต่างป้องกัน
จากภาพแสดงให้เห็นว่าน้ำกำลังเดินทางจากบางบัวทอง บางใหญ่ ศาลายา พุทธมณฑล ลงมายัง ต.อ้อมใหญ่ ต.อ้อมน้อย เขต อ.กระทุ่มแบน และจะข้ามถนนพระราม 2  เข้าสู่ตัว อ.เมืองสมุทรสาคร เพื่อออกทะเล  พื้นที่ที่กล่าวมานี้ เป็นที่ตั้งของโรงงานจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะผลิตเกี่ยวกับอาหาร สิ่งอุปโภคและบริโภค หากจมอยู่ใต้น้ำแล้ว จะหนักหนาสาหัสกว่านิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านมา เพราะ อาหารการกิน เป็นความจำเป็นของมนุษย์ เมื่อเห็นความจำเป็นเช่นนี้แล้ว  แนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่หมายเลข 2 จึงต้องทำการป้องกันอย่างเต็มที่ ไม่ต่างจากกรุงเทพมหานคร

เมื่อ จ.สมุทรสาคร ทำแนวป้องกันน้ำของตนเอง
น้ำจึงไม่สามารถเดินทางลงทิศใต้ เพื่อออกทะเลได้
น้ำ..ก็จะเบี่ยงซ้ายต่อไปทางทิศตะวันตก ลงสู่แม่น้ำท่าจีนตอนกลาง

ภาวนาอย่าให้น้ำล้นฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน
ปริมาณน้ำจากเขื่อนทางภาคเหนือจำนวน 7 เขื่อน ซึ่งตอนนี้มีระดับน้ำกักเก็บเต็ม 100% ปล่อยน้ำจากเขื่อนรวมวันละ 52.76 ล้าน ลบ.ม. (ข้อมูล ณ 4 พ.ย.2554) แล้วยังมีน้ำที่ถูกสูบมาจากกรุงเทพฯ อีกวันละ 3.5 ล้าน ลบ.ม. ทั้งหมดนี้คือ หน้าที่ของแม่น้ำท่าจีนที่ต้องรับน้ำและระบายออกไปสู่ทะเล  ลักษณะของแม่น้ำท่าจีนนี้ค่อนข้างคดเคี้ยวกว่าแม่น้ำสายอื่น การไหลของน้ำจึงเป็นไปได้ช้า คลองขุดลัดที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ 

ดังนั้น ...โอกาสที่น้ำจะเอ่อล้นฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีนจึงมีสูง

นอกจากนั้น คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองขุดที่เชื่อมตรงระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง โอกาสที่น้ำจากแม่น้ำท่าจีนจะระบายออกมาตามคลองดำเนินสะดวกลงสู่แม่น้ำแม่กลองจึงมีความเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าจะมีประตูระบายน้ำคอยควบคุมอยู่ก็ตาม หากมวลน้ำมีมากก็ไม่สามารถเอาอยู่ เหมือนกับกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกที่มีบทเรียนมาแล้ว

ราชบุรีและสมุทรสงคราม พื้นที่เสี่ยงภัย
อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร  เขต อ.บางแพ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี  และเขต อ.บางคณฑี อ.อัมพวา อ.เมือง  จ.สมุทรสงคราม จึงอาจพิจารณาจัดได้ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการถูกน้ำท่วม เพราะน้ำที่เอ่อล้นมาจากฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีนพยายามที่จะไหลมาลงทะเลที่แม่น้ำแม่กลอง และหากไหลลงไม่ทัน น้ำทะเลหนุน โอกาสที่น้ำก็จะเอ่อท่วมขังตามพื้นที่ลุ่มต่างๆ จึงเป็นไปได้สูง นอกจากนั้นปริมาณน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ที่ไหลมาจากทางด้านเหนือของแม่น้ำแม่กลองอีกวันละ 23.48 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน (ข้อมูล ณ 4 พ.ย.2554)  จะไหลลงมาสมทบอีก 

หากมวลน้ำทั้งหลายที่แม่น้ำแม่กลองรับไว้ ทำการระบายน้ำลงทะเลไม่ทัน ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองก็จะเอ่อล้นสูงขึ้นเหนือไปตามลำน้ำ

คราวนี้จะเป็นคิวของ อ.เมือง อ.โพธาราม และ อ.บ้านโป่ง ของ จ.ราชบุรีเป็นรายต่อไป 

เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับฝีมือการบริหารจัดการน้ำภายใต้หน้ากาก ศปภ. ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ฯ และพรรคพวกเป็นเดิมพัน

********************************
เรื่องที่เขียนมานี้เป็นบทความเชิงวิเคราะห์ ผู้อ่านต้องใช้วิจารญาณในการตัดสินใจเอาเอง

ชาติชาย คเชนชล : 5 พ.ย.2554

อ่านบทความย้อนหลัง

4 ความคิดเห็น:

Suchart Chantrawong, Ph.D. กล่าวว่า...

ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ตรวจสภาพเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำท่าจัน บริเวณเขื่อนเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งขณะนี้มีการเสริมกระสอบทรายในจุดที่เป็นช่องทางขึ้นลง เพื่อป้องกันน้ำล้นเข้าตลาดมหาชัยและเขตเมือง ส่วนริมสองฝั่งแม่น้ำท่าจีนมีการนำเรือประมงวกว่า 30 ลำ จอดกระจายตามจุดต่าง ๆ เพื่อช่วยผลักดันน้ำให้ระบายได้เร็วขึ้น พร้อมกล่าวว่า ขณะนี้น้ำเริ่มไหลบ่าเข้าท่วมในพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน แล้วบางส่วน คาดมวลน้ำก้อนใหญ่จากกรุงเทพฯ และนครปฐม จะมาเพิ่มในอีก 3-7 วันข้างหน้า อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ อ.เมือง และบ้านแพ้ว จึงได้เตรียมการรับมือไว้พร้อมแล้ว โดยเฉพาะการขุดลอกคลองสายหลัก ทั้งคลองภาษีเจริญ คลองมหาชัย ที่จะส่งน้ำเข้าไปยังแก้มลิงมหาชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคลองสาขาอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำให้เร็วขึ้น และจะขอเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาเพิ่มที่ประตูระยายน้ำภาษีเจริญอีก 2 เครื่อง โดยประเมินว่าสถานการณ์เลวร้ายสุดระดับน้ำไม่เกิน 50 ซม. (สำนักข่าวไทย 6พ.ย.54)

ทิศทางน้ำไหล-พื้นที่ไหนเสี่ยง กล่าวว่า...

ฝั่งตะวันตก มีห้าวง วงสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ควรระวังน้ำเหนือที่วกลงมาจากนครปฐม น่าจะกระทบกับคนทำนาปลา นากุ้ง แต่พอมาเจอระบบคลองแพรกลำประโดงที่บางยางลงมา น่าจะไม่เท่าไหร่ แต่คุณภาพน้ำและน้ำที่สูงขึ้น ไงๆ ก็อาจจะกระทบกับสวน และแปลงกล้วยไม้ ตั้งแต่สามพราน คลองจินดา แน่นอน

เร่งเตือนสมุทรสาครท่วมสูง 2 เมตร กล่าวว่า...

ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ที่คาดว่ามวลน้ำจากทางเหนือจะไหลเข้าสู่พื้นที่ 4-6 วันที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลได้ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ไหลลงสู่ทะเล จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนแล้วหรือไม่ ว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่สูง 1-2 เมตร และหากน้ำท่วมถนนพระราม 2 สูง 10 ซม.จะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สูง 80 ซม.

วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม-ศศิน กล่าวว่า...

หากไม่ปล่อยมาทางแม่กลอง