ผมได้อ่านบทความ "หมายเหตุประเทศไทย" ของคุณลม เปลี่ยนทิศ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 ก.ย.2554 เกี่ยวกับเรื่อง "งบการศึกษา 4.7 แสนล้านบาท แต่เด็กไทยยิ่งเรียนยิ่งโง่" ในบทความนี้คุณลมฯ ได้เขียนถึงจดหมายจาก "ครูชนบท" ท่านหนึ่งที่ส่งมาให้ ซึ่งครูชนบทท่านนี้ ได้เขียนมุมมองเรื่องราวของการศึกษาไทย ได้อย่างน่าสนใจ
ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าครูชนบทท่านนี้ เขียนได้แบบมองเห็นภาพจริงๆ เลยอยากนำมาเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง เพื่อให้หลายๆ ท่านลองอ่านและพิจารณากันดูว่า "การศึกษาของเราเป็นแบบที่ครูชนบทท่านนี้เขียนไว้จริงหรือไม่" ครูชนบทท่านนี้เขียนว่า
"คุณลมครับ ข่าวที่เด็กไทยได้รับรางวัลนั้นรางวัลนี้อยู่เรื่อยๆ เมื่อทราบข่าว ผมก็รู้สึกดีใจกับลูกหลานที่เป็นนักเรียน ครู อาจารย์ และสถาบันนั้นๆ เช่นเดียวกับคนทั่วไป" ...ฯลฯ... "คุณลมครับ ที่ผ่านมานโยบายการศึกษาของชาติไทย ยึดนโยบาย "ขุนช้างเผือก" เอาไว้เพื่อโชว์แขก ส่วน "ช้างขี้เรือน" ปล่อยให้มันเป็นปุ๋ยของชาติก็แล้วกัน
เดี๋ยวนี้ ครูฉลาด (แกมโกง) เขาไม่สอนนักเรียนตามหลักสูตร เพราะไม่มีประโยชน์อะไร สู้ไปตั้งใจฝึก เด็กที่มีพรสวรรค์ (ช้างเผือก) ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วส่งเข้าประกวดเพื่อรับประกาศนียบัตรและโล่รางวัลระดับต่างๆ (ระดับกลุ่ม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ) ในปีการศึกษาหนึ่งขอให้ได้รับ 1 รางวัลก็พอแล้ว
ครูที่ฝึกและผู้อำนวยการโรงเรียน จะได้รับการยกย่องว่าเป็นครูที่ดี มีฝีมือเป็นที่ยอมรับในสังคม สามารถนำใบประกาศนียบัตรหรือโล่ไปอ้าง เพื่อขอเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ และถือเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่สามารถนำเสนอ เพื่อเลื่อนตำแหน่งและวิทยฐานะครู ให้สูงขึ้นได้
แต่นักเรียนที่อ่านไม่ออกอีกเกินครึ่ง ช่างหัวมัน ไม่เกี่ยวกับฉัน"
อ่านแล้วก็คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมอะไรมากนัก เพราะเห็นภาพได้ชัดเจน และผมก็ยังมองเห็นว่า ค่านิยมร่วมของผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการและครู โดยเฉพาะในระดับขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยเป็นเช่นนี้จริง การที่โรงเรียนจะมีชื่อเสียงได้ ครูจะเก่ง ผู้อำนวยการจะได้เลื่อนขั้น มักวัดกันจากโล่ รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับเหล่านี้ แต่ผลผลิตและผลลัพธ์ของนักเรียนในภาพรวมไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง ยกตัวอย่างเช่น หากเราผลิตสินค้าออกมา 10 ชิ้น แต่เราสนใจและพัฒนาคุณภาพแค่ 2 ชิ้น ที่เหลืออีก 8 ชิ้นกลับทิ้งมันไป อย่างนี้ถือว่าการลงทุนครั้งนี้ "ขาดทุน"
นโยบายที่ผิดพลาด มักจะสร้าง "ค่านิยมร่วม" ที่ผิดพลาดตามไปด้วย
ในการบริหารการศึกษา ผมว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Managment) เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า การบริหารคุณภาพเป็นหย่อมๆ (Sparse Quality Managment) ไม่อยากนั้นเด็กที่ไม่มีทั้งพรสวรรค์ ทั้งไม่ค่อยฉลาด และบางครั้งก็ขาดโอกาส ยิ่งจะถูกทิ้งออกไปกลายเป็นคนไร้คุณภาพของสังคม
"คุณลมครับ ข่าวที่เด็กไทยได้รับรางวัลนั้นรางวัลนี้อยู่เรื่อยๆ เมื่อทราบข่าว ผมก็รู้สึกดีใจกับลูกหลานที่เป็นนักเรียน ครู อาจารย์ และสถาบันนั้นๆ เช่นเดียวกับคนทั่วไป" ...ฯลฯ... "คุณลมครับ ที่ผ่านมานโยบายการศึกษาของชาติไทย ยึดนโยบาย "ขุนช้างเผือก" เอาไว้เพื่อโชว์แขก ส่วน "ช้างขี้เรือน" ปล่อยให้มันเป็นปุ๋ยของชาติก็แล้วกัน
เดี๋ยวนี้ ครูฉลาด (แกมโกง) เขาไม่สอนนักเรียนตามหลักสูตร เพราะไม่มีประโยชน์อะไร สู้ไปตั้งใจฝึก เด็กที่มีพรสวรรค์ (ช้างเผือก) ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วส่งเข้าประกวดเพื่อรับประกาศนียบัตรและโล่รางวัลระดับต่างๆ (ระดับกลุ่ม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ) ในปีการศึกษาหนึ่งขอให้ได้รับ 1 รางวัลก็พอแล้ว
ครูที่ฝึกและผู้อำนวยการโรงเรียน จะได้รับการยกย่องว่าเป็นครูที่ดี มีฝีมือเป็นที่ยอมรับในสังคม สามารถนำใบประกาศนียบัตรหรือโล่ไปอ้าง เพื่อขอเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ และถือเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่สามารถนำเสนอ เพื่อเลื่อนตำแหน่งและวิทยฐานะครู ให้สูงขึ้นได้
แต่นักเรียนที่อ่านไม่ออกอีกเกินครึ่ง ช่างหัวมัน ไม่เกี่ยวกับฉัน"
อ่านแล้วก็คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมอะไรมากนัก เพราะเห็นภาพได้ชัดเจน และผมก็ยังมองเห็นว่า ค่านิยมร่วมของผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการและครู โดยเฉพาะในระดับขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยเป็นเช่นนี้จริง การที่โรงเรียนจะมีชื่อเสียงได้ ครูจะเก่ง ผู้อำนวยการจะได้เลื่อนขั้น มักวัดกันจากโล่ รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับเหล่านี้ แต่ผลผลิตและผลลัพธ์ของนักเรียนในภาพรวมไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง ยกตัวอย่างเช่น หากเราผลิตสินค้าออกมา 10 ชิ้น แต่เราสนใจและพัฒนาคุณภาพแค่ 2 ชิ้น ที่เหลืออีก 8 ชิ้นกลับทิ้งมันไป อย่างนี้ถือว่าการลงทุนครั้งนี้ "ขาดทุน"
นโยบายที่ผิดพลาด มักจะสร้าง "ค่านิยมร่วม" ที่ผิดพลาดตามไปด้วย
ในการบริหารการศึกษา ผมว่า การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Managment) เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า การบริหารคุณภาพเป็นหย่อมๆ (Sparse Quality Managment) ไม่อยากนั้นเด็กที่ไม่มีทั้งพรสวรรค์ ทั้งไม่ค่อยฉลาด และบางครั้งก็ขาดโอกาส ยิ่งจะถูกทิ้งออกไปกลายเป็นคนไร้คุณภาพของสังคม