ผมสองจิตสองใจอยู่นานมาก ว่าผมจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ เพราะมันล่อแหลมต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของเรา แต่ชั่งใจดูแล้วคงต้องเขียน ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะหากปล่อยให้พวกขบวนการล้มเจ้าใช้รูปแบบการสื่อสารทุกวิถีทางเพื่อใส่ร้ายพระองค์ฯ อยู่ข้างเดียวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 พี่ชายตัวเองเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์" คงไม่ได้ พวกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความน่าเชื่อถือต่อพระองค์ท่าน ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนรุ่นใหม่ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยและเข้าใจผิด อันจะเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการชักจูงเพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยในอนาคตต่อไป
บทความต่อไปนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของผู้เขียน ถ้อยคำบางคำอาจจะใช้คำสามัญแทนคำราชาศัพท์บ้าง อีกทั้งรายนาม รายพระนาม และบรรดาศักดิ์ อาจเขียนคำย่อลง ผู้เขียนจึงขออนุญาตไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะเพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
สำหรับผู้อ่านที่อาจยังไม่เคยได้ศึกษาเรื่องราวโดยละเอียดมาก่อน ผู้เขียนจึงขอสรุปย่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนและหลังจากที่ รัชกาลที่ 8 จะถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวในขั้นต้น ก่อนที่จะอ่านในรายละเอียดต่อไป ดังนี้
ลำดับเหตุการณ์สำคัญก่อนและหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8
หมุดที่ระลึกแห่งการเปลี่ยนแปลง การปกครองของสยาม เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ ลานพระราชวังดุสิต |
สำหรับผู้อ่านที่อาจยังไม่เคยได้ศึกษาเรื่องราวโดยละเอียดมาก่อน ผู้เขียนจึงขอสรุปย่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนและหลังจากที่ รัชกาลที่ 8 จะถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวในขั้นต้น ก่อนที่จะอ่านในรายละเอียดต่อไป ดังนี้
ลำดับเหตุการณ์สำคัญก่อนและหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8
- 20 ก.ย.2468 -รัชกาลที่ 8 พระราชสมภพ ที่เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี
- 26 พ.ย.2468 - รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์
- 5 ธ.ค.2470 - รัชกาลที่ 9 พระราชสมภพ ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- 13 ธ.ค.2471 -ครอบครัวมหิดล เสด็จกลับประเทศไทย
- 24 ก.ย.2472 -สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบิดาของรัชกาลที่ 8 และ 9 เสด็จสวรรคต (ขณะที่รัชกาลที่ 8 มีพระชนมายุ 4 พรรษา รัชกาลที่ 9 มีพระชนมายุ 2 พรรษา)
- 24 มิ.ย.2475 -ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร จากรัชกาลที่ 7 (หลังจากนั้นไม่นาน ครอบครัวมหิดลเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
- 28 มิ.ย.2475 - แต่งตั้งพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร
- 9 ธ.ค.2475 - พระยามโนปกรณฯ ลาออกจากประธานคณะกรรมการราษฎร
- 10 ธ.ค.2475 - พระยามโนปกรณฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนแรกของประเทศไทย
- 20 มิ.ย.2476 - พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ทำการรัฐประการยึดอำนาจจากรัฐบาล
- 21 มิ.ย.2476 - พันเอกพระยาพหลฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อยู่ต่อเนื่อง ถึง 5 สมัย
- 11 ต.ค.2476 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมนำกำลังเข้าล้มล้างและยึดอำนาจจากรัฐบาลแต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์นี้เรียกว่า "กบฎบวรเดช"
- 2 มี.ค.2477 -รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ และรัชกาลที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อ (พระชนมายุ 8 พรรษา และเรียนอยู่ต่างประเทศ) โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
- 11 ก.ย.2481- พันเอกพระยาพหลฯ ยุบสภา ลาออกจากนายกรัฐมนตรี
- 15 พ.ย.2481-รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งแรก
- 16 ธ.ค.2481- จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 13 ม.ค.2482 - รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์
- 1 ก.ย.2482 - เริ่มเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
- 24 มิ.ย.2482 - จอมพล ป. เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย (ตามนโยบายรัฐนิยม)
- 8 ธ.ค.2484 - ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกของผ่านประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (จอมพล.ป สนับสนุนข้างญี่ปุ่น แต่ นายปรีดีฯ กลับตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้าน)
- 16 ธ.ค.2484 - แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทน รัชกาลที่ 8 เนื่องจากผู้สำเร็จราชการเดิมถึงแก่อสัญกรรม ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
- 31 ก.ค.2487 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ลาออกจากการเป็นผู้สำเร็จราชการ จึงเหลือนายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียว
- 1 ส.ค.2487- นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน จอมพล ป.
- 31 ส.ค.2488 -นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 2 ก.ย.2488 - สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
- 17 ก.ย.2488 - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 5 ธ.ค.2488 - รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2
- 31 ม.ค.2489 - นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
- 24 มี.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
- 13 เม.ย.2489 - ฉันท์ หุ้มแพร (นายทัศน์ สุจริตกุล) มหาดเล็กผู้จงรักภักดีที่คอยรับใช้ครอบครัวมหิดล ถูกวางยาพิษตาย
- 9 พ.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่)
- 8 มิ.ย.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากมติของสภา
- 9 มิ.ย.2489 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 10 ค่ำ เดือนเจ็ด ปีจอ เวลาประมาณ 09:25 น. รัชกาลที่ 8 ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะนอนหลับอยู่ในห้องพระบรรทม บนชั้น 2 ของพระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ด้วยกระสุนปืนจำนวน 1 นัด สิ้นพระชนม์ทันทีด้วยพระชนมายุ 21 พรรษา และในคืนวันเดียวกัน นายปรีดี พนมยงค์ทำการเรียกประชุมรัฐสภาเวลา 21.10 น. ที่ประชุมมีมติประกาศให้พระอนุชาของรัชกาลที่ 8 (เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช) ขึ้นครองราชย์สืบต่อนับเป็นรัชกาลที่ 9 ตามความในมาตรา 9 (8) แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 และหลังจากนั้นนายปรีดี พนมยงค์ ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- 11 มิ.ย.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการแต่งตั้งเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ ตามมติเห็นชอบของสภา
- กลางเดือน ส.ค.2489 - รัชกาลที่ 9 เสด็จกลับไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- 23 ส.ค.2489 - นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีลาออกเพราะทนแรงกดดันเรื่องการสวรรคตของ ร.8 ไม่ได้ และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
- 18 ก.ย.2490 - เริ่มสอบสวนคดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8
- 8 พ.ย.2490 - เกิดการรัฐประหาร โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ น.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช หลบหนีการรัฐประหารออกไปนอกประเทศ
- 10 พ.ย.2490 - กลุ่มที่ทำรัฐประหาร เชิญนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 15 พ.ย.2490 - ตำรวจจับ นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และออกหมายจับ นายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
- 20 พ.ย.2490 - แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีสววรคตของรัชกาลที่ 8 ใหม่
- 8 เม.ย.2491 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้รับเชิญให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยสมัยที่ 2 (โดยกลุ่มนายทหารที่ทำการรัฐประหารเป็นผู้บีบบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออก)
- 26 ก.พ.2492 - นายปรีดี พนมยงค์ แอบกลับมาประเทศไทยเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จ เหตุการณ์นี้เรียกว่า "กบฎวังหลวง"
- ต้นปี พ.ศ.2493 - รัชกาลที่ 9 เสด็จกลับประเทศไทย
- 29 พ.ย.2494 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหารรัฐบาลตนเอง
- 21 มิ.ย.2497 - พิพากษาคดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8 ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม
- 17 ก.พ.2498 - ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน ก่อนถูกประหาร พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ มีการบันทึกการสนทนาของจำเลยทั้งสามก่อนจะถูกประหาร แล้วนำเสนอต่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จน ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำริจะรื้อฟื้นคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลยทั้งสามคน รวมทั้งนายปรีดี พนมยงค์ และเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
- 16 ก.ย.2500 - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องหลบหนีไปต่างประเทศ)
ลำดับเหตุการณ์ทั้งก่อนและหลังที่ผู้เขียนเรียบเรียงมานี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา มีกลุ่มอำนาจต่างๆ พยายามช่วงชิงอำนาจการปกครองมาเป็นของตนเอง สถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ถูกดูแคลนและลดความสำคัญลง มีการเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย และในระหว่างเกิดสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศไทยขณะนั้น อยู่ในมือของ จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งซึ่งเข้าข้างฝ่ายอักษะ กับ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับ จอมพล.ป และได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นมาต่อต้านอย่างลับๆ
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีการแบ่งกลุ่มอำนาจต่างๆ ดังนี้
- กลุ่มจอมพล ป.พิบูลสงคราม (ที่สูญเสียอำนาจไป)
- กลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ (ที่กำลังมีอำนาจ)
- กลุ่มราชวงศ์หัวก้าวหน้า (ส่วนใหญ่เรียนจบจากต่างประเทศ) ที่ต้องการเข้ามาบริหารประเทศผ่านการเล่นการเมือง
- กลุ่มราชวงศ์หัวเก่า ที่ต้องการอำนาจกลับคืน
- กลุ่มราชวงศ์ที่ต้องการทวงคืนความชอบธรรมในราชบัลลังก์
กลุ่มไหนบ้างจะได้ประโยชน์จากการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8
และกลุ่มไหนบ้างที่จะถูกกำจัดออกไป
**********************************
อ่านต่อ หยุดใส่ร้ายพระองค์ (ตอนที่ 2)